บกปภ.ช.กำชับจังหวัดบูรณาการป้องกันแก้ไขไฟป่า-หมอกควันอย่างเข้มข้นเตรียมพร้อมรับมือปัญหาภัยแล้งเชิงรุกล่วงหน้า – เน้นย้ำฟื้นฟูพื้นที่ประสบอุทกภัยในภาคใต้ครอบคลุมทุกด้าน

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          กองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (บกปภ.ช.) โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย ประชุมติดตามการบูรณาการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณภัย โดยเฉพาะไฟป่าหมอกควัน ภัยแล้ง และการฟื้นฟูพื้นที่ประสบอุทกภัยในภาคใต้กำชับทุกภาคส่วนขับเคลื่อนการดำเนินงานเชิงรุกผ่านกลไก "ประชารัฐ" พร้อมเน้นย้ำให้ดำเนินมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาให้สอดคล้องกับสภาพความเสี่ยงภัยในพื้นที่ รวมถึงยึดการปฏิบัติตามนโยบายรัฐบาล กรอบระยะเวลาที่กำหนด ระเบียบกระทรวงการคลังฯ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ด้าน ปภ. เตรียมพร้อมกำลังคน วัสดุอุปกรณ์ และเครื่องจักรกลด้านสาธารณภัยสนับสนุนทุกภาคส่วนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณภัยครอบคลุมทุกพื้นที่ เพื่อให้ผู้ประสบภัยได้รับการช่วยเหลืออย่างรวดเร็วและทั่วถึง 
          นายกฤษฎา บุญราช ปลัดกระทรวงมหาดไทย ในฐานะรองผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (บกปภ.ช.) เปิดเผยว่า ระยะนี้หลายพื้นที่ของประเทศมีความเสี่ยงต่อการเกิดสาธารณภัยในหลายรูปแบบ โดยเฉพาะภาคเหนือได้รับผลกระทบจากไฟป่าและหมอกควัน ขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาภัยแล้ง ในส่วนภาคใต้อยู่ในช่วงการฟื้นฟูพื้นที่ประสบอุทกภัย รัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ห่วงใยประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสาธารณภัย จึงได้สั่งการให้กองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (บกปภ.ช.)โดยกระทรวงมหาดไทยบูรณาการจังหวัดเตรียมพร้อมรับมือสาธารณภัยเชิงรุกผ่านกลไก "ประชารัฐ" ไว้ล่วงหน้า และวางมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาให้สอดคล้องกับสภาพความเสี่ยงภัยในพื้นที่ โดยการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควัน ให้กองอำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันระดับจังหวัด และอำเภอ เป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการแก้ไขปัญหากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบและครอบคลุมทุกด้าน โดยให้รองผู้ว่าราชการจังหวัดหรือปลัดจังหวัดติดตามการแก้ไขปัญหาอย่างใกล้ชิด พร้อมแบ่งพื้นที่และมอบหมายหน่วยปฏิบัติอย่างชัดเจนใน 3 พื้นที่ ได้แก่ 1.พื้นที่ป่าไม้ มุ่งจัดทำแนวกันไฟและกำจัดวัสดุที่เป็นเชื้อเพลิง รวมถึงจัดกำลังลาดตระเวนเฝ้าระวังไฟป่า 2.พื้นที่การเกษตรและชุมชน ให้ใช้กลไกของกระทรวงมหาดไทยสนับสนุนการควบคุมและลดการเผา 3.พื้นที่ริมทาง เฝ้าระวังไม่ให้มีการเผาในเขตริมทาง ทั้งนี้ ได้กำชับให้จังหวัดดำเนินมาตรการให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาในมิติเชิงพื้นที่ มุ่งรณรงค์การไถกลบเศษวัสดุทางการเกษตรแทนการเผาหรือใช้สารอินทรีย์ย่อยสลายตอซัง ประกาศเขตห้ามเผา จัดชุดลาดตระเวนเฝ้าระวังและระงับเหตุไฟป่า พร้อมระดมกำลังเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครภาคประชาชนจัดทำแนวกันไฟในพื้นที่เสี่ยง ควบคู่กับการรณรงค์ประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการห้ามเผาในพื้นที่ควบคุม สำหรับจังหวัดที่มีสนามบินพาณิชย์ ให้ประสานงานกับศูนย์ควบคุม การบิน เพื่อแจ้งสถานการณ์หมอกควันและวางแผนรองรับกรณีหมอกควันส่งผลกระทบต่อทัศนวิสัยทางอากาศ กรณีเกิดวิกฤตหมอกควัน ให้แจกจ่ายหน้ากากอนามัยและให้คำแนะนำการปฏิบัติตนในช่วงเกิดสถานการณ์หมอกควัน รวมถึงระดมวัสดุอุปกรณ์ฉีดพ่นละอองน้ำเพิ่มความชื้น เพื่อลดปริมาณ ฝุ่นละอองหมอกควันในอากาศ นอกจากนี้ ให้จังหวัดส่งเสริมการนำองค์ความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และเทคโนโลยีมาใช้ในการลดการเผาวัสดุทางการเกษตร เพื่อควบคุมปัญหาไฟป่าและวิกฤตหมอกควันเป็นศูนย์ 
          นายกฤษฎา กล่าวต่อไปว่า จากการติดตามสถานการณ์น้ำ พบว่า เขื่อนหลักทั่วประเทศมีปริมาณน้ำมากกว่าปี พ.ศ.2559 ขณะที่อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่บางแห่งมีปริมาณน้ำจำกัด จึงจำเป็นต้องจัดสรรน้ำไว้อุปโภคบริโภค และรักษาระบบนิเวศเป็นหลัก ทำให้หลายพื้นที่มีความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำในภาคการเกษตร บกปภ.ช. ได้กำชับให้จังหวัดเตรียมพร้อมป้องกัน แก้ไขปัญหา และช่วยเหลือผู้ประสบภัยภัยแล้งที่ครอบคลุมทุกมิติไว้ล่วงหน้า มุ่งบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ และและวางแผนจัดสรรน้ำให้เกิดประโยชน์สุงสุด โดยจัดชุดปฏิบัติการสำรวจและจัดทำบัญชีแหล่งน้ำและปริมาณน้ำต้นทุน ประเมินความต้องการใช้น้ำ และกำหนดมาตรการแก้ปัญหากรณีน้ำไม่เพียงพอต่อการใช้งาน รวมถึงรณรงค์ให้ประชาชนใช้น้ำอย่างประหยัด โดยเฉพาะเกษตรกรให้ปรับวิถีการทำการเกษตร งดเว้นการทำนาปรัง ปลูกพืชอายุสั้นที่ใช้น้ำน้อย นอกจากนี้ ให้จัดเตรียมทรัพยากรและเครื่องจักรกลด้านสาธารณภัยสำหรับแจกจ่ายและสนับสนุนการใช้น้ำในพื้นที่ต่างๆ อย่างทั่วถึง รวมถึงกำหนดจุดแจกจ่ายน้ำที่เข้าถึงประชาชในนทุกพื้นที่ เพื่อให้ทุกครัวเรือนมีน้ำอุปโภคบริโภคเพียงพอตลอดช่วงฤดูแล้ง
          นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า ในส่วนการฟื้นฟูพื้นที่ประสบอุทกภัยในภาคใต้บกปภ.ช.ได้ติดตามการดำเนินงานในระดับพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้กำชับให้จังหวัดน้อมนำพระราชกระแสรับสั่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ในการดูแลประชาชนอย่างดีที่สุด และบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประสบภัยโดยเร็ว โดยเฉพาะด้านการซ่อมแซมที่อยู่อาศัย และการประกอบอาชีพ ให้เร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด ส่วนด้านโครงสร้างพื้นฐานและคมนาคม ให้เร่งซ่อมแซมให้ใช้งานได้ตามปกติโดยเร็ว ควบคู่กับการวางแนวทางการจัดการปัญหาสิ่งกีดขวางทางน้ำทั้ง 111 จุด เพื่อป้องกันอุทกภัยในระยะยาว ทั้งนี้ ได้เน้นย้ำ ให้จังหวัดยึดการปฏิบัติตามนโยบายรัฐบาล กรอบระยะเวลาที่กำหนด ระเบียบกระทรวงการคลังฯ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ผู้ประสบภัยได้รับการช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว ทั่วถึง และครอบคลุมทุกพื้นที่ อย่างไรก็ตาม ปภ. จะได้สนับสนุนการปฏิบัติการของทุกภาคส่วนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณภัยในพื้นที่ต่างๆ อย่างต่อเนื่อง โดยขณะนี้ ปภ.ได้เตรียมพร้อมทั้งด้านกำลังคน วัสดุอุปกรณ์ และเครื่องจักรกลด้านสาธารณภัยให้พร้อมปฏิบัติการเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัย มั่นใจได้ว่าประชาชนจะได้รับการดูแลอย่างดีที่สุด ทั่วถึง และครอบคลุมทุกพื้นที่
 
 

ข่าวกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย+กระทรวงการคลังฯวันนี้

ปภ.รายงานสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ 4 จังหวัด เร่งช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างเต็มกำลัง

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานฝนตกหนักในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำไหลหลาก ดินสไลด์ และวาตภัยในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ สงขลา ยะลา นราธิวาส และปัตตานี รวม 31 อำเภอ 171 ตำบล 908 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 51,078 ครัวเรือน ซึ่ง ปภ. ได้ร่วมกับหน่วยทหาร จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยและคลี่คลายสถานการณ์ โดยเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่น้ำท่วมและสำรวจความเสียหายครอบคลุมทุกด้านเพื่อให้การช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ กรมป้องกัน

ปภ.รายงานยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ 3 จังหวัด เร่งช่วยเหลือผู้ประสบภัยต่อเนื่อง

22 ธ.ค. 63 เวลา 09.00 น. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำไหลหลาก ดินสไลด์ และวาตภัย ในพื้นที่ภาคใต้ 3 จังหวัด ได้แก่ นราธิวาส ปัตตานี และยะลา ซึ่ง ปภ. ได้ร่วมกับหน่วยทหาร...

ปภ.รายงานยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ 4 จังหวัด เร่งช่วยเหลือผู้ประสบภัยต่อเนื่อง

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำไหลหลาก ดินสไลด์ และวาตภัย ในพื้นที่ภาคใต้ 4 จังหวัด ได้แก่ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และนครศรีธรรมราช ซึ่ง ปภ. ได้ร่วมกับหน่วยทหาร จังหวัด...

ปภ.รายงานสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และวาตภัย 6 จังหวัด คลี่คลายแล้วยังคงประสานให้การช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำไหลหลาก และวาตภัย ในพื้นที่ 6 จังหวัด รวม 11 อำเภอ 21 ตำบล 57 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 434 ครัวเรือน ...

ปภ.รายงานสถานการณ์น้ำไหลหลาก 11 จังหวัด และวาตภัยในจังหวัดกาฬสินธุ์ เร่งให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย

กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานเกิดน้ำไหลหลากในพื้นที่ภาคเหนือ 11 จังหวัด ได้แก่ น่าน แพร่ เชียงใหม่ ลำปาง พะเยา อุตรดิตถ์ ลำพูน แม่ฮ่องสอน สุโขทัย ตาก และพิษณุโลก...

ปภ.รายงานมีพื้นที่ประสบวาตภัย 3 จังหวัด พร้อมประสานเร่งช่วยเหลือผู้ประสบภัยครอบคลุมทุกด้าน

วันนี้ (3 มี.ค.63) เวลา 11.00 น. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) นายมณฑล สุดประเสริฐ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เผยเกิดวาตภัยในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ เลย หนองคาย และอุดรธานี รวม 4 อำเภอ 5 ตำบล 11...

ปภ.รายงานมีจังหวัดได้รับผลกระทบจากวาตภัย 6 จังหวัดภาคเหนือ เร่งให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัย

กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานมีพื้นที่ได้รับผลกระทบจากวาตภัย 6 จังหวัดภาคเหนือ รวม 19 อำเภอ 48 ตำบล 200 ชุมชน/หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 6,782 หลัง ซึ่ง ปภ....

ปภ.รายงานมีจังหวัดได้รับผลกระทบจากวาตภัย 2 จังหวัดภาคเหนือ เร่งให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัย

กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานมีพื้นที่ได้รับผลกระทบจากวาตภัย 2 จังหวัดภาคเหนือ รวม 3 อำเภอ 7 ตำบล บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 10 หลัง เสาไฟฟ้า 40 ต้น ซึ่ง ปภ.ได้ร่วมกับหน่วยทหาร...

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ร่วมกั... NT ยืนยันความพร้อม ร่วมทดสอบระบบแจ้งเตือนภัย Cell Broadcast ในพื้นที่จริง — กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้...