19 มี.ค.นี้ วิศวฯ จุฬาฯ จัดการแข่งขัน Three Minute Thesis รอบชิงชนะเลิศ หนึ่งในไฮไลท์งานของนิทรรศการวิชาการทางวิศวกรรม ครั้งที่ 17 (NITAD 17)

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          โครงการความร่วมมือระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับภาคอุตสาหกรรม หรือ โครงการ ILP วิศวฯ จุฬาฯ ร่วมกับ บริษัท โทเทิ่ล แอ็กเซส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค เตรียมจัดงาน Three Minutes Thesis หรือการนำเสนอวิทยานิพนธ์ภายในเวลา 3 นาทีสำหรับนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยไม่จำกัดคณะที่ศึกษา ในรอบชิงชนะเลิศ ซึ่งจะจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2560 ถือเป็นหนึ่งในไฮไลท์ของงาน ''นิทรรศการวิชาการทางวิศวกรรม ครั้งที่ 17 หรือ NITAD 17' และงาน "จุฬาฯวิชาการ 2017"ที่จัดขึ้นระหว่าง 15-19 มีนาคมนี้
          โครงการนี้ริเริ่มขึ้นโดย University of Queensland ประเทศออสเตรเลีย โดยมีการนำการแข่งขันดังกล่าวนี้ เข้าร่วมจัดอยู่ในการประชุมนานาชาติ the McDonnell International Scholars Academy 6th International Symposium ซึ่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับเกียรติในการเข้าร่วมประชุมดังกล่าว ทางชมรมบัณฑิตศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงสนใจที่จะนำโครงการนี้มาจัดให้กับนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อพัฒนาให้นิสิตมีความกล้าแสดงออกในการนำเสนอผลงานทางวิชาการต่อหน้าสาธารณะชน รวมถึงสร้างความสัมพันธ์อันดีและหวังสร้างบุคลากรทางการวิจัยให้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนางานวิจัยและนำผลงานเผยแพร่สู่สังคม
          ทั้งนี้ได้เปิดรับสมัครผลงานมาตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2559 โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมสมัครทั้งสิ้นกว่า 80 คน และได้มีการคัดเลือกผลงานอย่างต่อเนื่องเพื่อผ่านมาสู่รอบสุดท้ายจำนวน 10 คน เพื่อชิงเงินทุนสนับสนุนงานวิจัยรวม 100,000 บาท และนิสิตปริญญาเอกที่ทำคะแนนได้ดีที่สุด จะได้รับสิทธิ์เป็นตัวแทนจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าร่วมแข่งขันในงาน Three Minute Thesis 2017 รอบ Asia-Pacific ณ เมืองบริสเบน ประเทศออสเตรเลีย
19 มี.ค.นี้ วิศวฯ จุฬาฯ จัดการแข่งขัน Three Minute Thesis รอบชิงชนะเลิศ หนึ่งในไฮไลท์งานของนิทรรศการวิชาการทางวิศวกรรม ครั้งที่ 17 (NITAD 17)

ข่าวจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย+โครงการความร่วมมือวันนี้

จุฬาฯ จับมือ 6 พันธมิตร AI ชั้นนำเปิดหลักสูตรผู้บริหารระดับสูง NEXUS AI ตามวิสัยทัศน์ AI University

ผู้นำยุคใหม่ต้องมีความรู้ความเข้าใจในปัญญาประดิษฐ์ AI จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมองเห็นความสำคัญในการพัฒนาผู้นำในองค์กรต่างๆ ให้มีความรู้ความเข้าใจด้าน AI เพิ่มศักยภาพและสร้างเครือข่ายผู้นำยุคใหม่ โดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จับมือ องค์กรพันธมิตรที่มีบทบาทสำคัญทั้งในระดับชาติและระดับโลก 6 พันธมิตร เปิดหลักสูตร "NEXUS AI" พร้อมขับเคลื่อนประเทศด้วยปัญญาประดิษฐ์ สู่อนาคตที่ยั่งยืนและแข่งขันได้ ศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จุฬาฯ ไม่ได้มองว่า AI เป็นเพียงเทคโนโลยี

ผู้บริหารบางจากฯ จุดประกายผู้นำรุ่นใหม่ ร... ถอดบทเรียน Passion with Purpose — ผู้บริหารบางจากฯ จุดประกายผู้นำรุ่นใหม่ รู้คุณค่าและรักในสิ่งที่ทำ สู่ความยั่งยืน นางกลอยตา ณ ถลาง รองกรรมการผู้จัดการ...

พบกับการบรรยายที่เปิดมุมมองใหม่อย่างชัดเจ... ขอเชิญเข้าร่วมฟังงาน Research Seminar ในหัวข้อ: AI, MARKETING ROBOTS AND LOVE — พบกับการบรรยายที่เปิดมุมมองใหม่อย่างชัดเจนเกี่ยวกับผลกระทบของ Artificial I...

ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับนิสิตชั้นปีที... เปิดโลกอุตสาหกรรมสีเขียว! ดั๊บเบิ้ล เอ ต้อนรับนิสิตวิศวฯ จุฬาฯ เยี่ยมชมโรงงานผลิตกระดาษ — ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับนิสิตชั้นปีที่ 4 ภาควิชาวิศวกรรมเคมี...

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังคงครองอันดับ 1 มห... จุฬาฯ อันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทย จากการจัดอันดับโดย THE Asia University Rankings 2025 — จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังคงครองอันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทย และ Top 200 ของ...