คณะกรรมการบูรณาการด้านพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ นำเยาวชนและครอบครัวร่วมกิจกรรม “ท่องเที่ยวสุขสันต์ที่พิพิธภัณฑ์เกษตรฯ” เน้น สุข สนุก เรียนรู้ชัด นำไปปฏิบัติได้จริง

11 Sep 2017
พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี และประธานคณะกรรมการบูรณาการด้านพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ นำ 20 หน่วยงาน จัดกิจกรรมส่งเสริมโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ 64 กิจกรรม ในพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ทั้ง 4 ภูมิภาคทั่วประเทศกว่า 223 แห่ง มุ่งเตรียมความพร้อมเด็กและเยาวชนสู่ยุค Thailand 4.0 ภายใต้แนวคิดการจัดกิจกรรมในรูปแบบ STEM Education ซึ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถนำไปแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตประจำวัน ควบคู่ไปกับทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 พร้อมนำเยาวชนร่วมกิจกรรม "ท่องเที่ยวสุขสันต์ที่พิพิธภัณฑ์เกษตรฯ" ของสำนักงานพิพิธภัณฑ์เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
คณะกรรมการบูรณาการด้านพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ นำเยาวชนและครอบครัวร่วมกิจกรรม “ท่องเที่ยวสุขสันต์ที่พิพิธภัณฑ์เกษตรฯ” เน้น สุข สนุก เรียนรู้ชัด นำไปปฏิบัติได้จริง

"การเกษตรนี่มีความสำคัญยิ่ง ถ้าไม่มีการเกษตรก็เกือบจะพูดได้ว่า เราจะต้องตายกันหมด เพราะจะไปอาศัยอาหารวิทยาศาสตร์ก็รู้สึกว่าลำบากอยู่และกินไม่ลง แต่ว่าทำไมคนถึงนึกว่า การเกษตรนี่เป็นสิ่งด้อย ที่ไม่สำคัญ ทั้งๆ ที่ความจริงเราต้องอาศัยการเกษตรเพื่อชีวิตของเรา การเกษตรนั้นไม่ใช่เฉพาะการเอาเมล็ดผักไปหยอดในร่อง แล้วมันจะขึ้นมาเป็นผลผลิตที่เหมาะสมได้ หากแต่ต้องอาศัยวิชาการอย่างอื่นทุกด้าน ตั้งแต่การหยอดเมล็ดพันธุ์ลงไปในร่อง จนกระทั่งให้ฝักหรือสิ่งนั้นงอกขึ้นมาเป็นประโยชน์ได้ ต้องอาศัยทุกอย่างในชีวิตของคน คือทุกสาขาของความรู้ที่ต้องผ่านมา"

พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ในปี พ.ศ. 2514 สะท้อนถึงการทุ่มเทพระวรกายและพระสติปัญญาในการบูรณาการหลักเศรษฐศาสตร์ร่วมกับศาสตร์อื่นๆ เพื่อทรงศึกษา ทรงทดลอง และทรงเข้าพระราชหฤทัยอย่างถ่องแท้ถึงแนวทางการพัฒนาการเกษตร ซึ่งเป็นรากฐานของการพัฒนาครัวเรือน ชุมชน และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ภายใต้เงื่อนไขการใช้ทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด

"การเกษตรนี่มีความสำคัญยิ่ง ถ้าไม่มีการเกษตรก็เกือบจะพูดได้ว่า เราจะต้องตายกันหมด เพราะจะไปอาศัยอาหารวิทยาศาสตร์ก็รู้สึกว่าลำบากอยู่และกินไม่ลง แต่ว่าทำไมคนถึงนึกว่า การเกษตรนี่เป็นสิ่งด้อย ที่ไม่สำคัญ ทั้งๆ ที่ความจริงเราต้องอาศัยการเกษตรเพื่อชีวิตของเรา …การเกษตรนั้นไม่ใช่เฉพาะการเอาเมล็ดผักไปหยอดในร่อง แล้วมันจะขึ้นมาเป็นผลผลิตที่เหมาะสมได้ หากแต่ต้องอาศัยวิชาการอย่างอื่นทุกด้าน ตั้งแต่การหยอดเมล็ดพันธุ์ลงไปในร่อง จนกระทั่งให้ฝักหรือสิ่งนั้นงอกขึ้นมาเป็นประโยชน์ได้ ต้องอาศัยทุกอย่างในชีวิตของคน คือทุกสาขาของความรู้ที่ต้องผ่านมา"

พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ในปี พ.ศ. 2514 สะท้อนถึงการทุ่มเทพระวรกายและพระสติปัญญาในการบูรณาการหลักเศรษฐศาสตร์ร่วมกับศาสตร์อื่นๆ เพื่อทรงศึกษา ทรงทดลอง และทรงเข้าพระราชหฤทัยอย่างถ่องแท้ถึงแนวทางการพัฒนาการเกษตร ซึ่งเป็นรากฐานของการพัฒนาครัวเรือน ชุมชน และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ภายใต้เงื่อนไขการใช้ทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด

พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้โครงการพระราชดำริ พระราชกรณียกิจ และโครงการพระราชพิธีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเผยแพร่พระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่ทรงเป็นพระมหากษัตริย์นักพัฒนา และเป็นสถานที่บอกเล่าเรื่องราวองค์ความรู้ที่นำไปสู่การปฏิบัติตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่เยาวชนและประชาชนทุกเพศทุกวัยจะได้สนุกและเพลิดเพลินไปกับการชมนิทรรศการและเชื่อมโยงสู่การปฏิบัติจริง ทั้งใน "พิพิธภัณฑ์ในอาคารเฉลิมพระเกียรติฯ" และ "พิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง" ซึ่งเป็นฐานเรียนรู้เรื่องการเกษตรต่าง ๆ บนพื้นที่กว่า 300 ไร่ บริเวณตรงข้าม รพ. การุญเวช นวนคร ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี

น.ส.สำเภาว์ งามเชย ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารสัมพันธ์และเครือข่าย สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ กล่าวว่า ภายใต้การทำงานของคณะกรรมการบูรณาการด้านพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ในครั้งนี้ สำนักพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ ได้จัดกิจกรรมไว้มากมาย และสำหรับกิจกรรม "ท่องเที่ยวสุขสันต์ที่พิพิธภัณฑ์เกษตรฯ" ทางเราได้จัดเตรียมหลักสูตรการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ภายใต้กระบวนการเรียนรู้เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง หลักการทรงงาน และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 14 หลักสูตร สำหรับโรงเรียน สถาบันการศึกษา และเด็กนักเรียนได้เลือกเรียนตามความต้องการ

ในวันเสาร์- อาทิตย์แรกของเดือน เราจะจัดตลาดนัดเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นตลาดนัดองค์ความรู้ โดยทำการอบรมหลักสูตรวิชาของแผ่นดิน และหลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการจากเกษตรกรเครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ ให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้จากผู้รู้จริง ได้ปฏิบัติจริง พร้อมกับได้ชม ได้ชิม ได้ช้อป สินค้าเกษตรปลอดภัย

ส่วนทุกวันเสาร์-อาทิตย์ที่สองและสามของเดือน จะเป็นกิจกรรมกระชับความสัมพันธ์ในครอบครัว ซึ่งพ่อแม่ลูกจะได้มาลงมือทำกิจกรรมเรียนรู้การเกษตรง่ายๆ ที่มีไว้ให้เลือกมากมาย เช่น ทำนาโยนกล้า ทำนาดำ เกี่ยวข้าว ทำบ้านดินบ้านฟ่าง ทำน้ำคลอโรฟิลล์จากใบข้าว ทำสบู่ใยบวบ เพาะเห็ดฟาง สร้างสวนผักจากวัสดุเหลือใช้ ทำสมุนไพรไล่แมลง ทำสลัดผักพื้นบ้านเพื่อสุขภาพ ทำเกษตร 1 ตารางเมตร เป็นต้น และนอกจากนี้ ภายใน 1 วัน ทั้งครอบครัวจะได้ชมพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง 1 ฐานการเรียนรู้ ฝึกปฏิบัติหลักสูตรตามตารางที่แต่ละครอบครัวเลือกมา พร้อมกับได้ชมพิพิธภัณฑ์และภาพยนตร์ 3 มิติ อีกด้วย

ในแต่ละวันจะมีบรรดานักเรียน นักศึกษา ผู้ปกครอง และประชาชนทั่วไปเข้ามาเยี่ยมชมและร่วมกิจกรรมที่นี่ มากมาย อย่างเช่น นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสามโคก จ.ปทุมธานี จำนวนกว่า 1,000 คน มาร่วมกิจกรรมทางการเกษตร โดย ด.ญ.อภิญญา สุพินนา เล่าด้วยน้ำเสียงใสแจ๋วว่า "นี่เป็นครั้งแรกที่หนูได้มาพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ ค่ะ มีความสุขและสนุกมาก เพราะมีกิจกรรมให้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับเกษตรกรรม หนูได้ปลูกต้นไม้ ได้เรียนรู้การปลูกพืชผักสวนครัว ได้ดูพิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับการเกษตร คำสอนของพ่อหลวงรัชกาลที่ 9 การใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงได้ และทำให้ได้รู้ว่าเกษตรกร เป็นอาชีพที่มีความสำคัญต่อประเทศไทยและคนไทยมาก เพราะเป็นทั้งผู้ผลิตอาหารและเป็นผู้รักษาทรัพยากรธรรมชาติด้วยค่ะ"

สำหรับน้องๆ เยาวชนจากโรงเรียนสามโคกอีก 3 คน ได้แก่ ด.ญ.ปริยากร แตงแจ้ง ด.ญ.รุ่งนภา เม้าเวียงแก และด.ญ.ธัญวรัตน์ สุขสำราญ ช่วยกันเล่าว่า "แม้จะเป็นครั้งแรกที่พวกเราได้มาที่พิพิธภัณฑ์เกษตรฯ แต่ที่ผ่านมาทางโรงเรียนก็ได้สอนเรื่องเกี่ยวกับการเกษตรมาบ้างค่ะ เรื่องการพึ่งพาตนเอง การปลูกผักสวนครัวไว้ทำเอง หรือการทำนา จึงทำให้พวกหนูมีพื้นฐานกันบ้างค่ะ พอได้มาร่วมกิจกรรมที่พี่ๆ ที่พิพิธภัณฑ์เกษตรฯ จัดให้ไว้ก็ยิ่งสนุกค่ะ เพราะพี่ๆ ไม่ได้มาบรรยายอย่างเดียว แต่ให้พวกหนูได้ลงมือปฏิบัติจริง ได้ปลูกต้นไม้จริง และได้ต้นไม้กลับบ้านจริงๆ ด้วยนะคะ หลายคนอาจจะไม่มีโอกาสได้ปลูกต้นไม้ หรือเรียนรู้การเกษตรอย่างแท้จริง แต่ถ้ามาที่นี่ก็ทำให้รู้อะไรมากมายเลยค่ะ"

"จากที่ได้มาสัมผัสเรื่องราวและเรียนรู้ในวันนี้ ทำให้พวกเรารู้ว่าการเป็นเกษตรกรไม่ยากอย่างที่คิด อาจเป็นอาชีพที่ดูเหนื่อย เพราะต้องเจอกับแดด ต้องคอยดูต้นไม้ พืชผัก สวน ไร่ นา ต้องรอคอยผลผลิต แต่ในความเป็นจริง ถ้ามุ่งมั่น ตั้งใจอย่างแท้จริง รวมถึงต้องรู้จักทดลอง คิดวิเคราะห์ อดทน และรอคอยได้ และหมั่นหาความรู้ ก็จะเป็นเกษตรกรที่มีความสุขได้นะคะ และที่พิพิธภัณฑ์เกษตรฯ นี่ก็เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ดีมาก ที่ให้ได้มาฝึกอบรมในการเป็นเกษตรกรที่ดี พวกหนูคิดว่า ถ้าเราโตขึ้นและมีโอกาสได้เป็นเกษตรกร ก็จะมาเรียนรู้ที่นี่ เพื่อผลิตสินค้าทางการเกษตรดีๆ ปลอดสารเคมี ให้คนไทยได้บริโภคกัน แล้วจะสืบทอดการทำเกษตรที่เหมาะสมแก่ประเทศไทยค่ะ" น้องๆ ทั้ง 3 คนกล่าวทิ้งท้าย

สำนักงานพิพิธภัณฑ์เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) ได้น้อมนำคำพ่อสอน โดยจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติในหลวงรักเรา เรื่อง หลักการทรงงาน 23 ข้อ "มิวเซียมกษัตริย์เกษตร มาดู มาทำ มาน้อมนำ คำพ่อสอน" ในกลุ่มพิพิธภัณฑ์ในอาคาร ได้แก่ พิพิธภัณฑ์ในหลวงรักเรา พิพิธภัณฑ์มหัศจรรย์พันธุกรรม พิพิธภัณฑ์ป่าดงพงไพร พิพิธภัณฑ์วิถีน้ำ พิพิธภัณฑ์ดินดล พิพิธภัณฑ์เกษตรคือชีวิต พิพิธภัณฑ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง พิพิธภัณฑ์เกษตรตามรอยพ่อ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.wisdomking.or.th หรือ โทร.02-529-2212, 02-2529-2213

สำหรับข้อมูลกิจกรรมของคณะกรรมการบูรณาการด้านพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ สามารถเข้าไปดาวน์โหลดได้ที่ www.okmd.or.th/MuseAndLearn2U หรือติดตามความคืบหน้าของกิจกรรมต่างๆ ได้ที่ www.facebook.com/MuseAndLearn2U สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) สำนักนายกรัฐมนตรี โทร. 02-105-6530

คณะกรรมการบูรณาการด้านพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ นำเยาวชนและครอบครัวร่วมกิจกรรม “ท่องเที่ยวสุขสันต์ที่พิพิธภัณฑ์เกษตรฯ” เน้น สุข สนุก เรียนรู้ชัด นำไปปฏิบัติได้จริง