5 อาการสังเกตเจ้าตัวน้อยหัวใจผิดปกติ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          ไม่เพียงแต่ผู้ใหญ่เท่านั้นที่มีความเสี่ยงโรคหัวใจ เจ้าตัวน้อยก็มีความเสี่ยงที่จะพบว่าเป็นโรคหัวใจได้เช่นกัน ซึ่งพ่อแม่ควรจะทำความรู้จักกับโรคหัวใจในเด็กและวิธีสังเกตอาการเบื้องต้นเพื่อจะได้รับมือได้ทันเวลา เพราะความรุนแรงของโรคหัวใจในเด็กนั้นไม่เพียงแต่ทำให้เจ้าตัวเล็กมีพัฒนาการและเติบโตช้า แต่อาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต อาการแรกได้แก่ หายใจหอบเหนื่อยง่าย อาการที่สอง เล็บและปากเขียว อาการที่สามใจสั่น หน้ามืด หรือเป็นลมบ่อยๆ ซึ่งอาจจะเกิดจากหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาการที่สี่ เจ็บหน้าอก อาการที่ห้าแพทย์ตรวจพบว่ามีเสียงหัวใจผิดปกติ อาการเหล่านี้เป็นสัญญาณเตือนความผิดปกติของหัวใจเจ้าตัวน้อยได้
          นายแพทย์อภิชัย คงพัฒนะโยธิน กุมารเวชศาสตร์โรคหัวใจ โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ กล่าวว่า จากสถิติโดยเฉลี่ยในเด็ก 1,000 คนจะพบเด็กเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดถึง 8 คน ซึ่งในกรณีนี้สามารถตรวจพบโดยแพทย์ตั้งแต่ก่อนคลอด หลังคลอดภายใน 7 วัน หรือตรวจพบเมื่อเป็นผู้ใหญ่ เช่น ผนังกั้นหัวใจห้องบนมีรูรั่ว เป็นต้น ในกรณีที่ตรวจพบเมื่อเป็นผู้ใหญ่อาจมีอาการรุนแรงจนไม่สามารถผ่าตัดได้ แต่โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดบางชนิดก็ใช้ชีวิตได้ตามปกติโดยไม่ต้องรักษา เพียงแต่ต้องดูแล ระวัง และป้องกันภาวะแทรกซ้อน เช่น ลิ้นหัวใจตีบเล็กน้อย รูในผนังหัวใจขนาดเล็ก เป็นต้น ส่วน โรคหัวใจที่เกิดขึ้นภายหลัง เกิดจากสาเหตุต่างๆ อาทิ โรคหัวใจรูห์มาติก ที่เกิดจากไข้รูห์มาติก ทำให้มีลิ้นหัวใจรั่ว และ/หรือ ตีบ ส่วนใหญ่พบในเด็กวัยเรียน แต่ไม่มากเท่าเมื่อก่อน เพราะการแพทย์เจริญและประชากรดูแลตนเองมากขึ้น โรคไข้คาวาซากิ ซึ่งมักพบในเด็กเล็ก อาจทำให้มีเส้นเลือดหัวใจโคโรนารีโป่งพอง โรคลิ้นหัวใจจากการติดเชื้อ โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรียเกือบทุกชนิดอาจเป็นสาเหตุการอักเสบของหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสได้เกือบทุกชนิดที่นำไปสู่การอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งในบางรายอาจเป็นสาเหตุของภาวะหัวใจวายอย่างเฉียบพลัน ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เต้นช้าหรือเร็วเกินไป แต่ที่พบส่วนใหญ่ในเด็กจะเป็นชนิดเต้นเร็วผิดปกติ มักมีอาการเป็นๆ หายๆ และอาจนำไปสู่ภาวะหัวใจวายและเสียชีวิตได้ เพราะความรุนแรงของโรคหัวใจในเด็กนั้นไม่เพียงแต่ทำให้เด็กมีพัฒนาการและเติบโตช้าแต่อาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต ดังนั้น พ่อแม่ผู้ปกครองควรสังเกต 5 อาการสัญญาณเตือน ที่ควรพาเจ้าตัวน้อยมาเข้ารับการตรวจและรักษาให้ทันท่วงที คือ 1. หายใจหอบ เหนื่อยง่าย 2. เล็บและปากเขียว 3. ใจสั่น หน้ามืด หรือเป็นลมบ่อยๆ ซึ่งอาจจะเกิดจากหัวใจเต้นผิดจังหวะ 4. อาการอื่นๆ เช่น เจ็บหน้าอก เป็นต้น (ในเด็กจะพบอาการลักษณะนี้ไม่มากเท่าผู้ใหญ่ อาการเจ็บหน้าอกในเด็กมีส่วนน้อยเท่านั้นที่เกิดจากโรคหัวใจ) 5.แพทย์ตรวจพบว่ามีเสียงหัวใจผิดปกติ ซึ่งอาจแสดงหรือไม่แสดงอาการที่ผิดปกติก็ได้ นอกจากนี้เด็กที่เป็นโรคหัวใจอาจจะโตช้า โดยเฉพาะรายที่มีภาวะหัวใจวาย มีอาการหายใจเร็ว เหนื่อยง่าย ส่วนสูงและน้ำหนักไม่เป็นไปตามเกณฑ์ เติบโตช้าไม่ทันเพื่อน เพราะหัวใจต้องทำงานหนักร่วมกับมีอาการหอบและรับประทานอาหารได้น้อย ซึ่งเป็นอีกข้อสังเกตที่พ่อแม่ผู้ปกครองควรใส่ใจและสังเกตอยู่เสมอ หากเจ้าตัวน้อยมีอาการต่างๆ ตามที่ปรากฏในลักษณะข้างต้น ควรรีบเข้ามาพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คร่างกาย หรือแนะนำให้พาเจ้าตัวน้อยไปตรวจสุขภาพกับกุมารแพทย์เป็นประจำทุกๆ ปี สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ โทร 02-310 3000 หรือ โทร. 1719

5 อาการสังเกตเจ้าตัวน้อยหัวใจผิดปกติ
5 อาการสังเกตเจ้าตัวน้อยหัวใจผิดปกติ
5 อาการสังเกตเจ้าตัวน้อยหัวใจผิดปกติ
5 อาการสังเกตเจ้าตัวน้อยหัวใจผิดปกติ
 

ข่าวโรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ+หัวใจเต้นผิดจังหวะวันนี้

กัญชา คาเฟอีน ทำเสี่ยงหัวใจเต้นผิดจังหวะ

หากร่างกายของเราได้รับกัญชาหรือคาเฟอีนในปริมาณที่ไม่เหมาะสม ได้รับมากเกินไปหรือไม่ถูกวิธี อาจส่งผลให้เกิดโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ เพราะจะเพิ่มการบีบตัวของหัวใจทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้นจนอาจจะก่อให้เกิดหัวใจโตขึ้นจนกระทั่งหัวใจอ่อนกำลังลง แล้วทำให้มีโอกาสในการเกิดหัวใจล้มเหลวได้ง่าย จึงควรรีบพบแพทย์ด้านโรคหัวใจทันที เพื่อลดความเสี่ยงต่อหัวใจและร่างกาย นพ.ยศวีร์ อรรฆยากร อายุรแพทย์โรคหัวใจและสรีระไฟฟ้าหัวใจ โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ กล่าวว่า หัวใจเต้นผิดจังหวะเกิดจากความผิดปกติของการกำเนิดกระแสไฟฟ้าหัวใจ

ภาพข่าว: เปิดโครงการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ชนิด AF เฉลิมพระเกียรติฯ

นายแพทย์ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ ประธานคณะผู้บริหารกลุ่มและกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) เป็นประธานในงานแถลงข่าว “โครงการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ชนิด Atrial Fibrillation เฉลิมพระเกียรติ...

ขอเชิญร่วมงาน Home of Heart by Bangkok Heart Hospital

ในช่วงเดือนหัวใจโลก โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ ในฐานะโรงพยาบาลเฉพาะทางด้านโรคหัวใจ ขอเชิญผู้ที่สนใจร่วมงาน “Home of Heart by Bangkok Heart Hospital” บ้านหัวใจที่ครบครันด้วยนวัตกรรมการดูแลโรคหัวใจ เปิดบ้านพร้อมทีมแพทย์ให้ความรู้และให้คำปรึกษาเพื่อรู้ทัน...

ภาพข่าว: เปิดคลินิกหัวใจเต้นผิดจังหวะ

นอกจากโรคเส้นเลือดหัวใจตีบแล้ว โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะก็อันตรายไม่แพ้กัน แต่คนไทยไม่รู้ตัวเพราะโรคนี้ไม่มีค่อยอาการเตือน นพ.ประดับ สุขุม ผู้อำนวยการ รพ.หัวใจกรุงเทพ เห็นความสำคัญ เปิดคลินิกหัวใจเต้นผิดจังหวะ ให้บริการตรวจและรักษาผู้ที่มีหัวใจเต้นผิดจังหวะทุกประเภท...

ภาพข่าว: เปิดคลินิกหัวใจเต้นผิดจังหว

นายแพทย์ชาตรี ดวงเนตร ประธานคณะผู้บริหาร ศูนย์การแพทย์โรงพยาบาลกรุงเทพ เป็นประธานในพิธีเปิดคลินิกหัวใจเต้นผิดจังหวะ ให้บริการตรวจและรักษาผู้ที่มีหัวใจเต้นผิดจังหวะทุกประเภท ด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง โดยมี นพ.ประดับ สุขุม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ และ...

ภาพข่าว: เปิดตัวสถาบันวิจัยหัวใจเต้นผิดจังหวะ แปซิฟิก ริม โรงพยาบาลกรุงเทพ

นพ. ชาตรี ดวงเนตร ประธานคณะผู้บริหาร ศูนย์การแพทย์โรงพยาบาลกรุงเทพ และ นพ. กุลวี เนตรมณี ประธานสถาบันวิจัยหัวใจเต้นผิดจังหวะ แปซิฟิก ริม โรงพยาบาลกรุงเทพ แถลงข่าวเปิด “สถาบันวิจัยหัวใจเต้นผิดจังหวะ แปซิฟิก ริม โรงพยาบาลกรุงเทพ...

สัมมนา “รักษ์ใจคุณ”

โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ ขอเชิญผู้ที่รักและใส่ใจสุขภาพ เข้าร่วมสัมมนา “รักษ์ใจคุณ” รับฟังสาระความรู้ เรื่อง “หัวใจกับเทคโนโลยีการตรวจรักษา” โดย นายแพทย์โชคชัย สุวรรณกิจบริหาร ศัลยแพทย์หัวใจ “หัวใจเต้นผิดจังหวะเหมือนไม่อันตราย” โดยนายแพทย์ธรณิศ จันทรารัตน์ อายุรแพทย์หัวใจ และ "...

โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ จัดสัมมนา “รักษ์ใจคุณ” รับฟังสาระความรู้ เรื่อง “หัวใจกับเทคโนโลยีการตรวจรักษา”

โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ ขอเชิญผู้ที่รักและใส่ใจสุขภาพ เข้าร่วมสัมมนา “รักษ์ใจคุณ” รับฟังสาระความรู้ เรื่อง “หัวใจกับเทคโนโลยีการตรวจรักษา” โดย นายแพทย์โชคชัย สุวรรณกิจบริหาร ศัลยแพทย์หัวใจ “หัวใจ...