ครอปไลฟ์ เอเชีย จัดสื่อมวลชนสัญจร ชมตัวอย่าง Smart Farmer ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิมาตรฐาน GAP รางวัลพระราชทานที่จ.กาฬสินธุ์

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          ครอปไลฟ์ เอเชีย พาสื่อมวลชนชมการทำนาแบบผสมผสาน ศูนย์ส่งเสริมและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิบ้านดงลิง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ หนุนเกษตรกรผลิตเมล็ดข้าวพันธุ์หอมมะลิมาตรฐานเมล็ดพันธุ์ข้าว GAP สร้างรายได้สูงกว่าขายข้าวเปลือกธรรมดากว่าเท่าตัว ด้วยหลักคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงผนวกแนวทางการปลูกพืชแบบผสมผสาน IPM สร้างชุมชนเข้มแข็งปลอดหนี้นอกระบบ 100%
          มร.แอนดริว โรเบิร์ต ผู้อำนวยการฝ่ายกำกับดูแลการใช้สารอารักขาพืชอย่างถูกต้อง ครอปไลฟ์ เอเชีย เปิดเผยในโอกาสครอปไลฟ์เอเชียนำคณะสื่อมวลชนเยี่ยมชมศูนย์ส่งเสริมและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิบ้านดงลิง ต.เจ้าท่า อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ว่า ครอปไลฟ์เอเชียเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร และเป็นหน่วยงานระดับภูมิภาคของครอปไลฟ์อินเตอร์เนชั่นแนล ที่มีพันธกิจสำคัญด้านสนับสนุนเรื่องความมั่นคงทางอาหาร โดยใช้นวัตกรรมทางเกษตรกรรม ภายใต้การสนับสนุนของ 15 สมาชิกในภูมิภาค ซึ่งในประเทศไทย ครอปไลฟ์ เอเชียได้เข้าไปให้ความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการเกษตรผ่านสมาคม สมาพันธ์ที่มีพันธกิจเดียวกันกับครอปไลฟ์ เอเชีย ที่มุ่งให้เกษตรกรภาคการผลิตสินค้าเกษตรสำคัญของไทย อาทิ ข้าว ข้าวโพด ยางพารา อ้อย ผลไม้ ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง ผักและผลไม้
          โดยร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐอย่างกรมวิชาการเกษตร สถาบันการศึกษา องค์กรท้องถิ่น เพื่อให้เกษตรกรเรียนรู้เข้าใจอย่างถูกต้องหากต้องใช้สารอารักขาพืชในกระบวนการผลิต ตั้งแต่การเลือกใช้ให้ถูกต้องกับโรคและแมลง การอ่านฉลาก การปฏิบัติตนขณะฉีดพ่น การเก็บซากบรรจุภัณฑ์ จนถึงระยะเวลาการเก็บเกี่ยวที่ปลอดภัย เพื่อยกระดับคุณภาพสินค้าของเกษตรกร ให้สามารถทำราคา แข่งขันเป็นที่ต้องการของตลาด และปลอดภัยสำหรับตนเอง ชุมชนและผู้บริโภค ผ่านกิจกรรมและงบประมาณ กว่า 70 ล้านบาท /ปี ตลอดระยะเวลา 6 ปีที่ผ่านมา โดยในปีหน้าได้ตั้งเป้าหมายการให้การอบรมแก่เกษตรกรในพื้นที่การเกษตรภูมิภาคในในอาเซียนอีกว่า 14 ล้านบาท
          สำหรับการสนับสนุนแก่เกษตรกรแก่กลุ่มเกษตรกรบ้านดงลิงนั้น ซึ่งถือเป็นศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนต้นแบบ ที่เป็นตัวอย่างการเปิดรับการเรียนรู้นวัตกรรมเทคโนโลยีทางการเกษตรใหม่ๆ เข้ามาปรับใช้กับกลุ่มของตน พัฒนาต่อยอด จนได้รับการยอมรับในการผลิตสินค้ามาตรฐาน GAP (Good Agriculture Practice) หรือสินค้าเกษตรปลอดภัย กระทั่งได้รับการคัดเลือกเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติประจำปี 2559 เข้ารับพระราชทานโล่รางวัลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในที่สุด
          นายไพศาล รัตน์วิสัย ประธานศูนย์ส่งเสริมและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิบ้านดงลิง พูดถึงการบริหารจัดการกลุ่มว่า สมาชิกในบ้านดงลิง ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม จาก 113 ครัวเรือน ทำนาได้ 2 ครั้งต่อปี ในพื้นที่นาข้าว 1,351ไร่ เดิมประสบปัญหาข้าวปนเมื่อซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิที่มีขายในร้านทั่วไป และได้รวมกลุ่มกันจัดตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาพันธุ์ข้าวตั้งแต่ปี 2554 โดยมีหน่วยงานภาครัฐเข้ามาให้ความรู้ในการลดต้นทุนการผลิต การบริหารจัดการไร่นา การทำบัญชีครัวเรือนเพื่อหาต้นทุนการเกษตรที่แท้จริง จนสามารถลดต้นทุนการเกษตรให้เหลือเพียง 1,430 บาทต่อไร่ ในขณะเดียวกันก็มีหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเข้ามาให้ความรู้ในการให้ความรู้ การบริหารจัดการโรคและแมลงในแปลงเกษตรสามารถ ยกระดับให้ได้มาตรฐานตามนโยบายน้อมนำศาสตร์พระราชาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ควบคู่ไปด้วยจนกลุ่มสามารถบริหารจัดการปัญหาโรคและแมลง จนช่วยลดต้นทุนการผลิตลงไปได้
          ปัจจุบันเกษตรกรกลุ่มนี้สามารถคัดเลือกและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชนภายใต้ตรารับรอง GAP สินค้าปลอดภัย มีเครื่องจักรทางการเกษตรเป็นของชุมชน รถดำนา รถเกี่ยวข้าว โรงสีชุมชน มีทุนภายใน 10 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินหมุนเวียนจากกองทุนหมู่บ้าน กลุ่มออมทรัพย์ และกลุ่มอาชีพทั้ง 10 กลุ่ม ชุมชนไม่มีปัญหาหนี้นอกระบบ 100 เปอร์เซ็นต์อีกด้วย
          ทางด้าน นายสมัคร สมรภูมิ เกษตรกรสมาชิกเครือข่ายที่ลงทะเบียนเป็นกลุ่มที่ร่วมผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิ พื้นที่ปลูกข้าวแบบผสมผสานจำนวน 5 ไร่ แบ่งปลูกข้าวจำนวน 4.2 ไร่ ที่เหลือ ขุดบ่อเลี้ยงปลา ปลูกพืชผสมผสานไว้กิน และขายในยามที่ไม่ได้ปลูกข้าว เล่าให้ฟังว่า หลังเกษียณกรมพัฒนาชุมชน ตนได้มาใช้ชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยได้เริ่มทำนาจริงจังมา 5 ปี เรียนรู้รูปแบบการทำนามาจากปู่ย่าตายาย ประกอบกับคำแนะนำ การเข้ามาให้การอบรมจากหลายหน่วยงานผ่านศูนย์ส่งเสริมฯ และได้นำมาประยุกต์ใช้ในนาของตน ด้วยรูปแบบการผสมผสาน ใช้วิธีการไถกลบตอซัง ทดแทนการเผา จากนั้นก็ปล่อยน้ำเข้านาพร้อมใส่ปุ๋ยคอกและจุลินทรีย์เพื่อเร่งการย่อยสลายในดิน แล้วจึงไถดะเพื่อปรับหน้าดิน จากนั้นให้รถดำของกลุ่มฯ มาดำเนินการปักดำ ซึ่งรวดเร็ว ได้ระยะ ประหยัด ทุ่นแรง และเวลามาก เพราะกลุ่มฯจะรับผิดชอบเรื่องเพาะเมล็ด ให้เสร็จ มั่นใจได้ว่าเมล็ดข้าวไม่ปนแน่นอน เพราะกลุ่มฯมีการดูแลกันเองอย่างเข้มงวดเพื่อรักษามาตรฐานการผลิต
          โดยในพื้นที่ 4.2 ไร่ที่เขาตัดสินใจเข้าร่วมโครงการเมล็ดพันธุ์ข้าวปลูกหอมมะลินั้น มีต้นทุนการผลิตที่ใช้ทั้งปุ๋ย ฮอร์โมน และวิธีการแบบผสมผสานหรือ IPM (Integrated Pest Management) อยู่ที่กิโลกรัมละ 5.1 บาท ได้ผลผลิตทั้งหมด ประมาณ 700 กิโลกรัมต่อไร่ โดยกลุ่มฯรับซื้อข้าวที่ได้คุณภาพอยู่ที่ราคากิโลกรัมละ 15 บาท หากขายให้นอกกลุ่มจะขายได้อยู่ที่ราคากิโลกรัมละ 25 บาท ฤดูกาลที่ผ่านมา เมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิของกลุ่มผลิตไม่พอความต้องการ โดยคาดว่าปีนี้ราคาเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิจะสูงขึ้นแน่นอนซึ่งเป็นผลกระทบจากน้ำท่วมในหลายพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ผ่านมา
          ตัวอย่างของศูนย์ส่งเสริมและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิบ้านดงลิง ดูจะเป็นอีกหน้าหนึ่งที่ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าการเป็น Smart Farmer ภายใต้ธงที่ภาครัฐต้องการมุ่งไปให้ถึงนั้นไม่ใช่เรื่องที่ยากเกินกว่าความพยายามของเกษตรกรพร้อมเรียนรู้ปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และกระบวนการผลิตสินค้าให้เป็น "สินค้าเกษตรปลอดภัย" ตอบโจทย์ให้ภาคการเกษตรของไทยมั่นคง มั่งคั่งอย่างยั่งยืน บนแนวร่วม ไทยแลนด์ 4.0 นั่นเอง

ครอปไลฟ์ เอเชีย จัดสื่อมวลชนสัญจร ชมตัวอย่าง Smart Farmer ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิมาตรฐาน GAP รางวัลพระราชทานที่จ.กาฬสินธุ์
ครอปไลฟ์ เอเชีย จัดสื่อมวลชนสัญจร ชมตัวอย่าง Smart Farmer ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิมาตรฐาน GAP รางวัลพระราชทานที่จ.กาฬสินธุ์
ครอปไลฟ์ เอเชีย จัดสื่อมวลชนสัญจร ชมตัวอย่าง Smart Farmer ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิมาตรฐาน GAP รางวัลพระราชทานที่จ.กาฬสินธุ์
 

ข่าวเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิ+ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงวันนี้

กรมการข้าวเตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิ 7 พันตัน ช่วยชาวนาล้านไร่หลังประสบภัยแล้งปี 61

นายประสงค์ ประไพตระกูล รักษาราชการแทนอธิบดีกรมการข้าว เปิดเผยว่า ในปี 2561/62 ประเทศไทยมีการปลูกข้าวหอมมะลิในพื้นที่ 22.74 ล้านไร่ หลังจากประสบเหตุฝนแล้ง ฝนทิ้งช่วงอย่างรุนแรง ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม – 31 ตุลาคม 2561 ความเสียหายที่เกิดขึ้นคาดการว่าผลผลิตข้าวเปลือกหอมมะลิที่เก็บเกี่ยวได้ลดลงเหลือ 6.59 ล้านตัน ต่ำกว่าเป้าหมายถึง 1.5 ล้านตันข้าวเปลือก หรือประมาณ 0.98 ล้านตันข้าวสาร จากเหตุการณ์ดังกล่าว ยังส่งผลต่อสถานการณ์ขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิคุณภาพดีที่จะใช้นาปี 2562

ครม. ไฟเขียว โครงการภายใต้แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปี 2560/61 หนุนยกระดับคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าว เพื่อผลผลิตข้าวที่มีคุณภาพดีมีตลาดรองรับ

พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบโครงการภายใต้แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปี...

โชว์ผลสำเร็จโครงการส่งเสริมเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิ เกษตรฯ พร้อมเดินเครื่องต่อเนื่องปี 60/61

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เผย ผลโครงการส่งเสริมสนับสนุนการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิคุณภาพดี ปี 2559/60 ช่วยเกษตรกรผลิตข้าวมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดการใช้เมล็ดพันธุ์ลง เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจคุ้มค่ากับการลงทุน พร้อม...

ภาพข่าว: ข้าวพันธุ์ดี

พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เยี่ยมชมการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิคุณภาพ ซึ่งสหกรณ์ วัน วัน วัน เตรียมส่งประกวดข้าวพันธุ์ดี โดยมีประธานสหกรณ์ ฯ ให้การต้อบรับและชี้แจงแนวทางการพัฒนาสหกรณ์ให้เข็มแข็ง ณ สหกรณ์ วัน วัน วัน จำกัด อ. เมือง...

ภาพข่าว: ข้าวตราฉัตร จัดงาน “โครงการเกษตรกรสมาชิก บุรีรัมย์ ครั้งที่ 4”

นายนิลองชัย พวงมาลัย ผู้จัดการทั่วไป กิจการโรงสีข้าว บริษัท ข้าว ซี.พี. จำกัด คืนกำไรแก่เกษตรกร มอบเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิ 105 มูลค่ากว่า 230,000 บาท ให้กับเกษตรกรสมาชิก โดยมีนายสมบูรณ์ ซารัมย์ เกษตรกรจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นผู้แทน...

มอบพันธุ์ข้าวหอมมะลิช่วยผู้ประสบภัย

สำนักงานเกษตรจังหวัดร่วมกับสำนักงานเกษตรอำเภอเมืองมหาสารคาม ให้ความช่วยเหลือชาวนาที่ได้รับผลกระทบจากภัยน้ำท่วมในฤดูกาลทำนาปีที่ผ่านมา เมื่อเร็วๆนี้ ที่ศาลาเอนกประสงค์ สำนักงานเกษตรจังหวัดมหาสารคาม นางรังสิมา เจริญศิริ เป็นประธานในพิธีมอบและปล่อยขบวนรถขนส่ง...