สศท.6 เผยสถานการณ์ พืช-ไม้ผล ภาคตะวันออก ปี 59 ก่อนสรุปผลข้อมูลเอกภาพระดับประเทศ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 เผย สถานการณ์การผลิตพืชและไม้ผลที่สำคัญของภาคตะวันออก แจง ข้าวนาปี 2559/60 ภาคตะวันออกผลผลิตเพิ่มขึ้น ในขณะที่ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และไม้ผล ได้แก่ เงาะ ทุเรียน มังคุด ลองกอง ปี 2559 ผลผลิตโดยรวมลดลงจากปี 2558 จากความแห้งแล้งตั้งแต่ปลายปี 2557 ต่อเนื่องถึงปี 2558
          นายคมสัน จำรูญพงษ์ รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงสถานการณ์การผลิตพืชที่สำคัญจากการประชุมคณะทำงานพัฒนาคุณภาพข้อมูลด้านพืชภาคตะวันออก ซึ่งมีผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 จังหวัดชลบุรี (นายสุชัย กิตตินันทะศิลป์) เป็นประธานคณะทำงานฯ พบว่า
          ข้าวนาปี ปีเพาะปลูก 2559/60 เมื่อเปรียบเทียบกับปีเพาะปลูก 2558/59 ภาคตะวันออกภาพรวมผลผลิตเพิ่มขึ้น จากผลผลิตต่อไร่และเนื้อที่เก็บเกี่ยวเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีเนื้อที่เสียหายจากภัยพิบัติน้อยกว่าปีที่ผ่านมา แม้ว่าเนื้อที่เพาะปลูกลดลง เนื่องจากปีที่ผ่านมาเกษตรกรขายข้าวเปลือกได้ราคาอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ไม่จูงใจให้ขยายเนื้อที่เพาะปลูกข้าวในปี 2559/60 ประกอบกับในช่วงต้นปี 2559 มีปริมาณฝนตกน้อย เกษตรกรจึงปรับเปลี่ยนนาข้าวเป็นบ่อเลี้ยงกุ้ง ปลา และนโยบายลดพื้นที่ปลูกข้าวของรัฐบาลปรับเปลี่ยนปลูกพืชอื่นทดแทน เช่น อ้อยโรงงาน
          ยางพารา ปี 2559 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2558 ภาคตะวันออก ผลผลิตรวมลดลง จากทั้งการลดลงของเนื้อที่กรีดได้และผลผลิตต่อไร่ เนื่องจากราคายางพาราไม่จูงใจเกษตรกรโค่นเปลี่ยนไปปลูกไม้ผล เช่น ทุเรียน ลำไย และปาล์มน้ำมันทดแทน 
          ปาล์มน้ำมัน ปี 2559 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2558 ภาคตะวันออก ผลผลิตรวมลดลงจากผลผลิตต่อไร่ที่ลดลง เนื่องจากสภาพความแห้งแล้งตั้งแต่ปลายปี 2557 ต่อเนื่องถึงปี 2558 ส่งผลให้ปาล์มออกดอกไม่สมบูรณ์เป็นดอกเกสรตัวผู้มากกว่าตัวเมียทำให้ปาล์มขาดทะลาย (ปาล์มขาดคอ) และมีขนาดทะลายเล็ก ส่วนเนื้อที่ยืนต้น และเนื้อที่ให้ผลเพิ่มขึ้น เนื่องจากการส่งเสริมของบริษัทและโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มที่ส่งเสริมให้เกษตรกรขยายพื้นที่
          เงาะ ปี 2559 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2558 ภาคตะวันออก มีผลผลิตรวมลดลง เนื่องจากเนื้อที่ให้ผล และผลผลิตต่อไร่ลดลง จากสภาพอากาศที่แห้งแล้งขาดแคลนน้ำรดต้นทั้งจากแหล่งน้ำธรรมชาติและแหล่งเก็บกักในสวนทำให้ดอก และผลเงาะร่วงหล่นเสียหายจำนวนมาก เกษตรกรจำเป็นต้องปล่อยลูกร่วงเพื่อดูแลรักษาต้นเงาะไว้ 
          ทุเรียน ปี 2559 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2558 ภาคตะวันออกมีผลผลิตรวมลดลง เป็นผลจากผลผลิตต่อไร่ลดลง เนื่องจากสภาพดินฟ้าอากาศที่ไม่อำนวย กลางวันอากาศร้อน กลางคืนเย็น เช้ามีน้ำค้าง สภาพอากาศที่แปรปรวนทำให้ทุเรียนรับสารอาหารน้อยได้ธาตุอาหารไม่สมบูรณ์ จึงทำให้ทุเรียนมีขนาดผลเล็กกว่าปีปกติ รวมทั้งมีพายุฤดูร้อน ผลทุเรียนร่วงหล่นเสียหาย สำหรับเนื้อที่ยืนต้น และเนื้อที่ให้ผลเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาทุเรียนอยู่ในเกณฑ์สูงต่อเนื่องติดต่อมานานหลายปีเกษตรกรจึงขยายเนื้อที่ปลูกทุเรียนจำนวนมากและมีต้นที่เริ่มให้ผลปีแรกเป็นจำนวนมาก 
          มังคุด ปี 2559 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2558 ภาคตะวันออก มีผลผลิตรวมและผลผลิตต่อไร่ลดลง เนื่องจากสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวยโดยมีอากาศหนาวเย็นช่วงต้นปีทำให้มังคุดชะงักการออกดอกและมีฝนตกในฤดูหนาว ดอกมังคุดจึงร่วง และบางส่วนแตกใบอ่อนแทนการออกดอก รวมทั้งสภาพอากาศที่แห้งแล้งขาดแคลนน้ำ ส่งผลให้ติดผลน้อย ส่วนที่ติดผลแล้ว ผลร่วงหล่น แม้ว่าเนื้อที่ให้ผลเพิ่มขึ้น เนื่องจากต้นมังคุดที่ปลูกเมื่อปี 2552 เริ่มให้ผลผลิตได้ในปีนี้ 
          ลองกอง ปี 2559 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2558 ภาคตะวันออก ผลผลิตรวมลดลงจากการลดลงของเนื้อที่ให้ผล เนื่องจากลองกองส่วนใหญ่เป็นพืชปลูกแซมในสวนไม้ผล ขาดการใส่ใจดูแล ราคาไม่จูงใจเกษตรกรจึงโค่นสางต้นออกเพื่อปลูกทุเรียนแทนและให้ต้นทุเรียนมีทรงพุ่มดี แม้ว่าผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้งแล้ง ขาดแคลนน้ำทำให้ต้นลองกองใบสลด เป็นผลดีต่อการออกดอก เมื่อมีช่วงที่ฝนตกได้รับน้ำฝนส่งผลให้ต้นลองกองออกดอกและติดผลได้มากขึ้น แต่สำหรับต้นที่อยู่ในช่วงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยว เมื่อได้รับน้ำฝนทำให้ผลแตกเสียหาย ผลผลิตต่อไร่ปี 2559 จึงเพิ่มได้ไม่มาก
          ทั้งนี้ ข้อมูลในระดับอำเภอ และระดับจังหวัด เป็นข้อมูลเอกภาพเบื้องต้นซึ่งจะนำเสนอต่อคณะอนุกรรมการพัฒนาคุณภาพข้อมูลด้านการเกษตร ด้านพืช กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในกลางเดือนกันยายนต่อไป โดยท่านที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 โทร. 038 352 435 หรืออีเมล [email protected]
 
 

ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่+สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรวันนี้

กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง จ.พิษณุโลก สินค้าเกษตรที่มีศักยภาพ ทดแทนการผลิตข้าวนาปีในพื้นที่ไม่เหมาะสม สร้างรายได้เกษตรกร

นางธัญญ์พิชชา เถระรัชชานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 2 พิษณุโลก (สศท.2) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่ากล้วยน้ำว้ามะลิอ่องนับเป็นพืชเศรษฐกิจของจังหวัดพิษณุโลก หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จึงมีนโยบายส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาปลูกกล้วยน้ำว้ามะลิอ่องเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเป็นพืชที่มีโอกาสทางตลาด และมีความต้องการในอุตสาหกรรมการแปรรูป โดยกล้วยน้ำว้าสดที่ใช้เป็นวัตถุดิบมีทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัด (สุโขทัย อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร และ ตาก) ซึ่งกล้วยตากบางกระทุ่มเป็นสินค้า GI

นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษ... สศท. 7 เผยผลศึกษาการบริหารจัดการ "ฟางข้าว" ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคกลาง เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม — นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 7 ช...

นางสุจารีย์ พิชา ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐ... 'ปลานิล' สินค้าเกษตรทางเลือก จ.นครราชสีมา เสริมรายได้เกษตรกร แนะแปรรูปเพิ่มมูลค่า — นางสุจารีย์ พิชา ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 5 นครราชสีมา (...

นายนิกร แสงเกตุ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐก... สศท.8 โชว์ "กลุ่มกาแฟบ้านถ้ำสิงห์" จ.ชุมพร แปรรูปกาแฟโรบัสต้า สร้างกำไรกลุ่มปีละ 21 ล้านบาท — นายนิกร แสงเกตุ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 8 สุร...

นางสาวสมบัติ พุทธา รักษาราชการแทนผู้อำนวย... สศท.7 โชว์แปลงเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะ ศกอ. จ.สุพรรณบุรี ดึงเทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต — นางสาวสมบัติ พุทธา รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจกา...

นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษ... 'นมคุณภาพสูงล้านนา' เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ยกระดับมาจรฐานการผลิตน้ำนมโค สู่การเพิ่มรายได้เกษตรกร — นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่...