“GBS” จับตาสถานการณ์คาบสมุทรเกาหลี ให้กรอบ ดัชนี 1,610 – 1,630 จุด แนะสะสมทองคำลุ้นทดสอบ 1,365 ดอลลาร์ต่อออนซ์

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          บล.โกลเบล็ก จับตาสถานการณ์คาบสมุทรเกาหลี หลังเกาหลีเหนือทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ระเบิดไฮโดรเจนที่มีอำนาจทำลายล้างสูง ส่วนปัจจัยทางเศรษฐกิจคาดเฟดชะลอขึ้นดอกเบี้ยยาวถึงกลางปีหน้า จากการเร่งผลักดันมาตรการปฏิรูปภาษีให้มีผลในปีนี้ มองดัชนีแกว่งตัวในกรอบ 1,610-1,630 จุด กลยุทธ์การลงทุนแนะสะสมหุ้น PTTGC-IRPC อานิสงส์ค่าการกลั่นพุ่งสู่ระดับ 10 - 11 ดอลลาร์/บาร์เรล ด้านราคาทองคำมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อ จากความกังวลสถานการณ์เกาหลีเหนือ กับสหรัฐ มองการแกว่งตัวทองคำในกรอบ 1,310-1,365 ดอลลาร์ต่อออนซ์ 
          น.ส.วิลาสินี บุญมาสูงทรง ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัด หรือ GBS กล่าวว่า ปัจจัยหนุนตลาดหุ้นไทยมาจากการส่งสัญญาณการผลักดันมาตรการปฏิรูปภาษีให้มีผลภายในสิ้นปีนี้ของสหรัฐ บวกกับตัวเลขเงินเฟ้อที่ชะลอตัวลง จึงคาดว่าเฟดน่าจะชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ ประกอบกับการประมูลโครงการขนาดใหญ่ภาครัฐในประเทศที่เร่งตัวขึ้นในช่วงปลายปี และกระแส Fund Flow ต่างชาติพลิกเป็น Net Buy ตั้งแต่ต้นเดือนก.ย.ราว 1 พันล้านบาท
          สำหรับปัจจัยที่มีผลลบต่อการลงทุนในตลาดหุ้นไทยในระยะนี้มาจากความกังวลสถานการณ์ตึงเครียดในคาบสมุทรเกาหลีหลังเกาหลีเหนือทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ระเบิดไฮโดรเจนที่มีการทำลายล้างสูง ขณะที่สหรัฐได้เตือนเกาหลีเหนือหากทำการใดที่เป็นการคุกคามสหรัฐและพันธมิตรของสหรัฐจะต้องเผชิญกับการตอบโต้ทางทหารครั้งใหญ่ ส่วนปัจจัยที่ต้องจับตา ได้แก่ เดือน ก.ย. รัฐบาลจะนำเสนอร่าง พ.ร.บ. อีอีซี ต่อ สนช. ส่วนในวันที่ 7 ก.ย. ECB ประชุมนโยบายการเงิน และในวันที่ 19 – 20 ก.ย. ประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (FED) 
          ด้านนายชัยยศ จิวางกูร ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์ บล.โกลเบล็ก กล่าวว่า ภาวะตลาดหุ้นไทยสัปดาห์นี้ถูกแรงกดดันจากความกังวลสถานการณ์คาบสมุทรเกาหลีหลังเกาหลีเหนือทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามปัจจัยบวกจากสหรัฐส่งสัญญาณผลักดันมาตรการปฏิรูปภาษี รวมถึงเศรษฐกิจในประเทศที่มีสัญญาณฟื้นตัวตามการส่งออก และการประมูลโครงการใหญ่ภาครัฐจะเป็นแรงหนุนต่อดัชนี
ดังนั้นประเมินว่า SET จะแกว่งตัวในกรอบ 1,610 – 1,630 จุด ทั้งนี้แนะนำกลยุทธ์การลงทุนในการซื้อสะสมหุ้นในกลุ่มโรงกลั่น ได้แก่ PTTGC และ IRPC เนื่องจากได้รับอานิสงส์จากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของค่าการกลั่นสู่ระดับ 10 - 11 ดอลลาร์/บาร์เรล 
          สำหรับแนวทางการลงทุนในทองคำ นายณัฐวุฒิ วงศ์เยาวรักษ์ นักวิเคราะห์การลงทุน บล.โกลเบล็ก กล่าวว่า ราคาทองคำในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวขึ้น 33.84 ดอลลาร์ต่อออนซ์หรือเพิ่มขึ้น 2.6% สู่ระดับ 1,324 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยได้แรงหนุนจากตลาดให้ความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นถึงกว่า 65% ว่า Fed จะไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ยจนถึงต้นปีหน้า และส่วนใหญ่ให้น้ำหนักว่า Fed จะคงอัตราดอกเบี้ยต่อจนถึงกลางปีหน้า สอดคล้องกับตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่อ่อนแอลงทั้งตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐที่เพิ่มขึ้นเพียง 156,000 ตำแหน่งในเดือนส.ค.ซึ่งต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้ที่ 180,000 ตำแหน่ง และอัตราว่างงานปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.1% สู่ 4.4% % และการใช้จ่ายภาคการก่อสร้างของสหรัฐดิ่งลง 0.6% ต่ำสุดในรอบ 9 เดือน 
          นอกจากนี้ทองคำได้รับความสนใจในฐานะที่เป็นสินทรัพย์ปลอดภัยหลังเกาหลีเหนือทดลองยิงขีปนาวุธข้ามญี่ปุ่นไปตกในมหาสมุทรแปซิฟิกตั้งแต่สัปดาห์ก่อน อีกทั้งมีการทดลองผลิตระเบิดไฮโดรเจนเพื่อบรรจุในขีปนาวุธข้ามทวีป อย่างไรก็ตาม ตลาดคาดว่า Fed จะปรับลดงบดุลในการประชุมวันที่ 19-20 ก.ย. นี้ทำให้ทำให้เงินทุนเริ่มไหลกลับเข้าหาสกุลเงินดอลลาร์และพันธบัตรเป็นปัจจัยกดดันต่อราคาทองคำในระยะยาว 
          อย่างไรก็ตาม ในสัปดาห์นี้ราคาทองคำเคลื่อนไหวในกรอบ 1,310-1,365 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยราคาทองคำยังได้รับความสนใจในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยจากความกังวลเกี่ยวกับการทดลองขีปนาวุธของเกาหลีเหนือ แต่ให้ระวังแรงขายทำกำไรเมื่อราคาปรับตัวขึ้นใกล้แนวต้าน 1,355-1,365 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เนื่องจากราคาทองคำปรับตัวขึ้น 7.7%QTD และในสัปดาห์นี้จะมีการประกาศดัชนีภาคบริการสหรัฐ(คาดขยายตัวต่อซึ่งเป็นปัจจัยลบต่อราคาทองคำ) และการประชุมธนาคารกลางยุโรป(คาดคงมาตรการ QE จนกว่าจะถึงเดือน ต.ค. 60 ซึ่งไม่ส่งผลกระทบต่อราคาทองคำ)
“GBS” จับตาสถานการณ์คาบสมุทรเกาหลี ให้กรอบ ดัชนี 1,610 – 1,630 จุด แนะสะสมทองคำลุ้นทดสอบ 1,365 ดอลลาร์ต่อออนซ์

ข่าวนิวเคลียร์+ปฏิรูปภาษีวันนี้

รู้เท่าทันก๊าซเรดอน ภายหลังเหตุแผ่นดินไหว อาจารย์วิศวฯ นิวเคลียร์ จุฬาฯ แนะตรวจปริมาณเรดอนที่อาจแทรกผ่านรอยแยกอาคารได้

จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 8.2 แมกนิจูด เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 แรงสั่นสะเทือนส่งผลต่อประเทศไทยทำให้เกิดความเสียหายของอาคารต่าง ๆ โดยเฉพาะเขตเมืองที่ตั้งอยู่บนชั้นดินอ่อนอย่างกรุงเทพมหานครย่อมมีโอกาสที่รอยแยกใต้พื้นดินจะเพิ่มมากขึ้น สิ่งที่ตามมาคืออาจส่งผลให้ก๊าซเรดอนที่อยู่ใต้พื้นดินฟุ้งกระจายเข้าสู่ที่อยู่อาศัยและอาคารต่าง ๆ เพิ่มขึ้นได้ อาจารย์จากภาควิชาวิศวกรรมนิวเคลียร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้ข้อสังเกตที่น่าสนใจเกี่ยวกับความเชื่อมโยงระหว่างแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดิน

กว่าจะมาถึงจุดนี้ไม่ง่ายเลย .... สำหรับคว... โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดเล็ก SMR ก้าวหน้าไปถึงไหนกันแล้ว — กว่าจะมาถึงจุดนี้ไม่ง่ายเลย .... สำหรับความ "กล้า" ของประเทศที่ต้องการพัฒนาการผลิตไฟฟ้าที่ต้องการ...

"เล็กพริกขี้หนู" หรือ "จิ๋วแต่แจ๋ว" คงเป็... SMR โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ขนาดเล็กที่ทรงพลัง — "เล็กพริกขี้หนู" หรือ "จิ๋วแต่แจ๋ว" คงเป็นนิยามของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ขนาดเล็ก หรือ SMR (Small...

"ภาวะโลกร้อน...ถึงเวลาที่พลังงานฟอสซิลต้อ... นิวเคลียร์ พลังงานที่เหมือนจะเลือนหายไป แต่ทำไมเริ่มกลับมาชัดเจนในปัจจุบันและอนาคต ? — "ภาวะโลกร้อน...ถึงเวลาที่พลังงานฟอสซิลต้องเริ่มนับถอยหลังแล้วจริงหร...

คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับสถาบันเทคโ... คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดโครงการ "พุทธศิลป์ พุทธศึกษา จากพระพุทธปฏิมาสู่การอนุรักษ์" — คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ ...

อดีตประธานาธิบดีคาซัคสถานกล่าวปราศรัยที่อัสตานา คลับ เผยความต้องการเร่งด่วนในการผ่อนคลายความตึงเครียดทางนิวเคลียร์

เมื่อวันที่ 11-12 ธันวาคม เมืองหลวงของคาซัคสถานได้จัดการประชุมครั้งที่ 7 ของอัสตานา คลับ (Astana Club) ซึ่งนำผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลกมารวมตัวกัน เพื่อหารือเกี่ยวกับประเด็นเร่งด่วนระดับโลก ...

นักพุทธปรัชญาและนักสร้างสันติภาพชาวญี่ปุ่นเรียกร้องให้ผู้นำกลุ่ม G7 ผลักดันนโยบายอาวุธนิวเคลียร์ "No First Use" ในการประชุมสุดยอดที่ฮิโรชิมา

ในวันที่ 27 เมษายน 2023 ไดซาขุ อิเคดะ (Daisaku Ikeda) นักพุทธปรัชญาและนักสร้างสันติภาพ ผู้ดำรงตำแหน่งประธานสมาคมสร้างคุณค่าสากล หรือ เอสจีไอ (Soka Gakkai...