ชี้แจงกรณีการลดอัตราการหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาสำหรับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(7) และ (8)

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ ไม่เห็นด้วยในการลดอัตราการหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาในการคำนวณเงินได้สุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(7) และ (8) แห่งประมวลรัษฎากร และเป็นการออกกฎหมายที่เป็นโทษจึงใช้ย้อนหลังไม่ได้ นั้น 
          นางแพตริเซีย มงคลวนิช รองอธิบดีกรมสรรพากร ในฐานะโฆษกกรมสรรพากร ขอเรียนว่า 
          1. คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบในหลักการตั้งแต่วันที่ 9 สิงหาคม 2559 ให้มีการปรับปรุงอัตราการหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาสำหรับเงินได้จากการรับเหมาและเงินได้จากการประกอบธุรกิจอันเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40(7) และ (8) แห่งประมวลรัษฎากร จากร้อยละ 60-85 เหลือร้อยละ 60 เพียงอัตราเดียว อย่างไรก็ดี หากผู้เสียภาษีมีหลักฐานค่าใช้จ่ายในการประกอบธุรกิจซึ่งมีจำนวนค่าใช้จ่ายมากกว่าร้อยละ 60 ก็สามารถ หักค่าใช้จ่ายตามหลักฐานนั้นได้ ซึ่งมาตรการดังกล่าวเป็นการสนับสนุนให้บุคคลธรรมดาที่เป็นผู้ประกอบธุรกิจ หักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร (หักค่าใช้จ่ายตามจริง) อันเป็นการแสดงผลการประกอบการที่แท้จริง ในการประกอบกิจการ 
          2. กรมสรรพากรได้มีการประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ผู้เสียภาษีเตรียมตัวในเรื่องดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม 2559 ได้แก่ การออกแถลงข่าวกระทรวงการคลัง การประชาสัมพันธ์ผ่านทางเว็บไซต์กรมสรรพากร การจัดอบรมสัมมนาภาษี รวมถึงการประชาสัมพันธ์ผ่านสำนักงานสรรพากรพื้นที่ และ RD Intelligence Center 
          3. เมื่อกระบวนการทางกฎหมายแล้วเสร็จ พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 629) พ.ศ. 2560 กำหนดให้เงินได้ พึงประเมินตามมาตรา 40 (7) และ (8) แห่งประมวลรัษฎากร สามารถหักค่าใช้จ่ายเหมาได้สูงสุดไม่เกินอัตรา ร้อยละ 60 โดยให้ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินประจำปีภาษี พ.ศ. 2560 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป จึงได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2560 ทั้งนี้ กฎหมายดังกล่าวเป็นการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ของเงินได้ตามมาตรา 40 (7) และ (8) แห่งประมวลรัษฎากร ที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ครึ่งปี ภายในเดือนกันยายน 2560 และยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ประจำปีภายในเดือนมีนาคม 2561 เป็นต้นไป จึงมิได้เป็นการบังคับใช้กฎหมายย้อนหลังแต่อย่างใด 
          4. ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 161) เรื่อง กำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและมิได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจัดทำบัญชีหรือรายงานแสดงรายได้และรายจ่าย ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2549 (http://www.rd.go.th/publish/33189.0.html) กำหนดให้ผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่มิได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและมีเงินได้ตามมาตรา 40(5) (6) (7) (8) แห่งประมวลรัษฎากร จัดทำรายงานเงินสดรับ-จ่าย ซึ่งเป็นการจัดทำบัญชีอย่างง่ายด้วยตนเอง
          ดังนั้น ผู้เสียภาษีที่มีเงินได้ตาม มาตรา 40(7) และ (8) แห่งประมวลรัษฎากร แม้ว่าในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะเลือกหักค่าใช้จ่ายด้วยวิธีการเหมาก็ตาม มีหน้าที่ต้องจัดทำรายงานเงินสด รับ-จ่ายซึ่งใช้แสดงรายการการรับและจ่ายเงินในการประกอบกิจการอยู่แล้ว ตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2549 ซึ่งหากผู้เสียภาษีเลือกหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร (หักค่าใช้จ่ายตามจริง) ผู้เสียภาษีสามารถใช้รายงานเงินสดรับ-จ่ายดังกล่าว เป็นหลักฐานประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 
          5. กรณีผู้เสียภาษีที่มีเงินได้ตาม มาตรา 40(7) และ (8) แห่งประมวลรัษฎากร ประสงค์จะหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร (หักค่าใช้จ่ายตามจริง) หากได้จ่ายค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการประกอบการ แต่ผู้รับเงินไม่ยอมออกหลักฐานการรับเงิน รวมถึงไม่ยอมลงลายมือชื่อว่าเป็นผู้ได้รับเงิน ผู้เสียภาษีสามารถจัดทำใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงินเป็นหลักฐานการจ่ายเงิน โดยให้ผู้เสียภาษีเองเป็นผู้รับรองการจ่ายเงินดังกล่าว
          6. การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายนี้เป็นการสนับสนุนให้บุคคลธรรมดาที่เป็นผู้ประกอบธุรกิจจัดทำบัญชีแสดงรายการรับจ่ายเงินเพื่อให้ทราบฐานะในการประกอบการของตน ทั้งทางด้านรายได้ ต้นทุน และกำไรหรือขาดทุน ซึ่งจะเป็นการช่วยให้สามารถแข่งขันได้ในยุคการค้าไร้พรมแดน รวมถึงเป็นการสร้างความโปร่งใสและเป็นธรรมในการเสียภาษี ให้สอดคล้องตามผลการประกอบการที่แท้จริงอีกด้วย
หากผู้เสียภาษีมีข้อสงสัยสามารถสอบถามได้ที่สำนักงานสรรพากรทุกแห่ง หรือศูนย์สารนิเทศสรรพากร โทร. 1161
 
 

ข่าวแพตริเซีย มงคลวนิช+สื่อสังคมออนไลน์วันนี้

SME D Bank เข้าพบผู้บริหารกระทรวงการคลัง เนื่องในเทศกาลปีใหม่ 66

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank โดยนางสาวนารถนารี รัฐปัตย์ กรรมการผู้จัดการ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารธนาคาร เข้าพบผู้บริหารระดับสูงกระทรวงการคลัง เนื่องในเทศกาลปีใหม่ 2566 โดยมี นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) นางปานทิพย์ ศรีพิมล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และ นางแพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ให้การต้อนรับ พร้อมมอบคำอวยพร เพื่อความเป็นสิริมงคลในการทำงานของ SME D Bank

"ออมเพิ่มสุข" บนวอลเล็ต สบม. เต็มวงเงิน 10,000 ล้านบาทแล้ว พบกันอีกครั้ง 15 มิถุนายน 2565 ผ่าน 4 ธนาคารตัวแทนจำหน่าย

นางแพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ เปิดเผยว่า การจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ รุ่นออมเพิ่มสุขบนวอลเล็ต สบม. วงเงิน 10,000 ล้านบาท จำหน่ายได้ครบวงเงินเรียบร้อยแล้ว...

นางแพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อำนวยการสำนักงาน... พร้อมออมกับพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษ รุ่น "ยิ่งออมยิ่งได้" — นางแพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่ากระทรวงการคลังจะเริ่...

Fitch Ratings คงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยที่ BBB+ และคงมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศไทยอยู่ในระดับมีเสถียรภาพ

นางแพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ เปิดเผยว่า บริษัท Fitch Ratings (Fitch) ได้คงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Sovereign Credit Rating) ที่ BBB+ ...

8,000 ล้านบาทสุดท้ายกับพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษ "เราชนะ"

นางแพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ เปิดเผยว่า ขณะนี้วงเงินจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษรุ่น "เราชนะ" คงเหลือเพียง 8,000 ล้านบาทสุดท้าย จากวงเงินรวม 55,000 ล้านบาท จึงขอให้ผู้สนใจรีบติดต่อสอบถามไปยังธนาคารตัวแทนจำหน่ายทั้ง...

หมดแล้ว !!!! "เราชนะบนวอลเล็ต สบม." รอพบ "เราชนะ" ผ่าน 4 ธนาคารตัวแทน วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564 นี้

นางแพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ เปิดเผยว่า การจำหน่ายในรอบนี้ได้รับการตอบรับที่ดี เนื่องจากผลตอบแทนน่าสนใจ ประชาชนคุ้นเคยกับแอปพลิเคชันเป๋าตังมากขึ้น ...

พันธบัตรออมทรัพย์วอลเล็ต สบม. เปิดตัวแรง สามารถจำหน่ายได้สูงถึง 3,500 ล้านบาท ในครึ่งวันแรก

พันธบัตรออมทรัพย์รุ่น "เราชนะบนวอลเล็ต สบม." จำหน่ายแล้ว 3,500 ล้านบาท จากวงเงิน 5,000 ล้านบาท ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชันเป๋าตัง เปิดใช้งานและโอนเงินเข้าวอลเล็ต สบม. ได้ตั้งแต่บัดนี้ นางแพตริเซีย...

พันธบัตรออมทรัพย์ รุ่นวอลเล็ต สบม. พร้อมแล้ว!! กับการโอนดอกเบี้ยงวดแรกและการซื้อขายในตลาดรองบนแอปเป๋าตัง

นางแพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่าผู้ลงทุนวอลเล็ต สบม. จะได้สัมผัสประสบการณ์ใหม่ 2 เรื่อง ได้แก่ 1) ดอกเบี้ยจ่ายงวดแรกของวอลเล็ต สบม. โอนเข้าวอล...