ทีซีดีซี จับมือ บริติช เคานซิล ดันยุทธศาสตร์ “ย่านสร้างสรรค์ไทย” ถอดแบบโมเดลประเทศอังกฤษ พร้อมชี้ไทยมีศักยภาพสูงในภูมิภาค

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) ร่วมกับ บริติช เคานซิล (British Council) องค์กรนานาชาติเพื่อส่งเสริมโอกาสทางการศึกษา ศิลปะ และวัฒนธรรมแห่งสหราชอาณาจักร ผลักดันยุทธศาสตร์ "ย่านสร้างสรรค์ไทย" และ "ครีเอทีฟฮับ" ระดับภูมิภาคเพื่อการเติบโตของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ พร้อมเผยจุดเด่นของประเทศไทยว่ามีความชัดเจนในด้านการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ รวมถึงนโยบายของประเทศ ยังเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ และยังมีการจัดตั้งศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ ที่ทำหน้าที่เป็นครีเอทีฟฮับ (Creative Hub) หรือศูนย์รวมความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งล้วนเป็นกลไกที่จะสามารถผลักดันให้ประเทศไทยเป็นประเทศชั้นแนวหน้าด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของภูมิภาคผ่านความร่วมมือกับสหราชอาณาจักรและนานาประเทศ ทั้งนี้ เมื่อเร็วๆ นี้ ได้จัดกิจกรรมสัมมนา "การพัฒนาเมืองสร้างสรรค์และศูนย์รวมความคิดสร้างสรรค์" ถอดรหัสกรณีศึกษาของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในนานาประเทศ ณ ห้องฟังก์ชั่น ชั้น 4 อาคารส่วนหน้า ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ อาคารไปรษณีย์กลาง บางรัก
          สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) 1160 อาคารไปรษณีย์กลาง ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10501 โทรศัพท์ 02-105-7441
          นายกิตติรัตน์ ปิติพานิช รักษาการผู้อำนวยการศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) กล่าวว่า จากนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่ม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขันของเศรษฐกิจประเทศนั้น หนึ่งในปัจจัยหลักสำคัญ คือ การเร่งพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และผลักดันให้เกิดระบบนิเวศเชิงสร้างสรรค์ที่เอื้อต่อผู้ประกอบการ โดยการจะประสบความสำเร็จตามเป้าประสงค์ดังกล่าว ต้องอาศัยความร่วมมือของหลายภาคส่วน จึงทำให้เกิดการจับมือกับหน่วยงานภาครัฐ ในการดำเนินงานพัฒนาฐานข้อมูล นโยบายและมาตรการต่างๆ เพื่อผลักดันให้เกิดเป็นยุทธศาสตร์ "ย่านสร้างสรรค์ของไทย" และกลายเป็น "ศูนย์รวมความคิดสร้างสรรค์" (Creative Hub) ในระดับภูมิภาคต่อไป โดยล่าสุด ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) ได้ร่วมมือกับ บริติช เคานซิล (British Council) ซึ่งเป็นองค์กรนานาชาติเพื่อส่งเสริมโอกาสทางการศึกษา ศิลปะ และวัฒนธรรมแห่งสหราชอาณาจักร แลกเปลี่ยนความรู้ผ่าน งานสัมมนา "การพัฒนาเมืองสร้างสรรค์และศูนย์รวมความคิดสร้างสรรค์" เพื่อถอดองค์ความรู้ของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในนานาประเทศ โดยเฉพาะ สหราชอาณาจักร เพื่อนำไปสู่การสร้างระบบนิเวศสร้างสรรค์ที่เอื้อต่อการเติบโต และพัฒนาเมืองสร้างสรรค์และศูนย์รวมความคิดสร้างสรรค์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
          นายกิตติรัตน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า หัวใจสำคัญของย่านสร้างสรรค์ คือ การผสานความคิด ทัศนคติ และวิถีชีวิตของผู้คนในย่าน ที่รวมตั้งแต่ผู้อยู่อาศัยเดิม ผู้ประกอบการ และนักลงทุนที่สนใจในย่านนั้นๆ ให้มีความเข้าใจ ความคิดเห็น และเป้าหมายในการพัฒนาย่านดังกล่าวให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้สามารถหาเอกลักษณ์ ความถนัดเฉพาะทางที่มีร่วมกันและต่อยอดให้เกิดเป็นความเข้มแข็งของย่านต่อไป โดยจากงานวิจัยพบว่า ปัจจัย9 สิ่งที่จะผลักดันให้เกิดความสร้างสรรค์ที่จะนำมาซึ่งย่านสร้างสรรค์ที่ประสบความสำเร็จ ได้แก่ 1) เครือข่ายความร่วมมือในระดับชุมชน 2) องค์กรหรือสถาบันทางวัฒนธรรมในพื้นที่ 3) โครงการที่เกี่ยวเนื่องกับการอนุรักษ์อาคารประวัติศาสตร์ของย่าน การให้ประโยชน์ทางระบบภาษี และการสร้างแรงจูงใจในการอนุรักษ์ย่านประวัติศาสตร์ 4) ที่อยู่อาศัยและที่ทำงานสำหรับกลุ่มผู้ประกอบการและบุคลากรในกลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 5) เครือข่ายและการรวมกลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และบุคลากรสร้างสรรค์ 6) ระบบนิเวศเชิงสร้างสรรค์ภายในพื้นที่ 7) โครงการและสถานที่เพื่อการบ่มเพาะทักษะ 8) แผนพัฒนาเศรษฐกิจในระดับย่าน 9) กลไกสนับสนุนทางการเงิน และการให้สิทธิประโยชน์
          มร.แอนดรูว์ กลาส (Mr. Andrew Glass OBE) ผู้อำนวยการ บริติช เคานซิล ประเทศไทย กล่าวว่า บริติช เคานซิล คือองค์กรนานาชาติเพื่อส่งเสริมการศึกษา ศิลปะ และวัฒนธรรมแห่งสหราชอาณาจักร เราสร้างสรรค์ความรู้และความเข้าใจระหว่างผู้คนในสหราชอาณาจักรและผู้คนทั่วโลก เราดำเนินงานในประเทศไทยมากว่า 65 ปี และในปีนี้จนถึงปี 2020 กลยุทธ์ในการดำเนินงานของเราจะมุ่งเน้นใน 3 เรื่องหลักคือ การพัฒนาภาษาอังกฤษของคนในประเทศ การพัฒนาอุดมศึกษาและงานวิจัยสู่ความเป็นนานาชาติ และการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อความสอดคล้องกับโมเดลพัฒนาประเทศ ไทยแลนด์ 4.0 ที่มุ่งเน้นด้านนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ สหราชอาณาจักรเป็นผู้นำระดับโลกด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์และมีประวัติความสำเร็จอันยาวนาน การพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายของรัฐบาลมาตั้งแต่ปี 1997 นับตั้งแต่ปี 2008 เป็นต้นมา อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของสหราชอาณาจักรเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วและมีมูลค่ากว่า 8,700 ล้านปอนด์ หรือประมาณ 10 ล้านปอนด์ต่อชั่วโมง ในปัจจุบัน ซึ่งมีมูลค่ามากกว่าอุตสาหกรรมยานยนตร์และอุตสาหกรรมการบิน
          แผนกเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) ของบริติช เคานซิล ได้ทำงานร่วมกับพันธมิตรทั่วโลกเพื่อพัฒนาศูนย์รวมความคิดสร้างสรรค์และเมืองสร้างสรรค์ พันธมิตรหลักในการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของเราในประเทศไทยคือ ทีซีดีซี การจัดงานสัมมนาครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่เราได้รวบรวมผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์และเมืองสร้างสรรค์จากหลากหลายประเทศเพื่อทำความเข้าใจกับนิยาม บทบาทของศูนย์รวมความคิดสร้างสรรค์และความสำคัญของพื้นที่สร้างสรรค์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและพัฒนาสังคม
          นอกจากนี้ บริติช เคานซิล ยังได้จัดทำ คู่มือสร้างศูนย์รวมความคิดสร้างสรรค์ (Creative HubKit) และแผนที่ศูนย์รวมความคิดสร้างสรรค์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia Creative Hubs Mapping Report) เพื่อพัฒนาและต่อยอดองค์ความรู้ในการสร้างพื้นที่สร้างสรรค์และความร่วมมือในระดับภูมิภาคต่อไป นอกเหนือไปจากการอบรม สัมมนา และการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านพื้นที่สร้างสรรค์ระหว่างสหราชอาณาจักรและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน
          ทั้งนี้ งานสัมมนา "การพัฒนาเมืองสร้างสรรค์และศูนย์รวมความคิดสร้างสรรค์" จัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ ณ ห้องฟังก์ชั่น ชั้น 4 อาคารส่วนหน้า ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ อาคารไปรษณีย์กลาง บางรัก สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) 1160 อาคารไปรษณีย์กลาง ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10501 โทรศัพท์ 02-105-7441
ทีซีดีซี จับมือ บริติช เคานซิล ดันยุทธศาสตร์ “ย่านสร้างสรรค์ไทย” ถอดแบบโมเดลประเทศอังกฤษ พร้อมชี้ไทยมีศักยภาพสูงในภูมิภาค
 
ทีซีดีซี จับมือ บริติช เคานซิล ดันยุทธศาสตร์ “ย่านสร้างสรรค์ไทย” ถอดแบบโมเดลประเทศอังกฤษ พร้อมชี้ไทยมีศักยภาพสูงในภูมิภาค
 

ข่าวศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ+ขับเคลื่อนเศรษฐกิจวันนี้

กรมทรัพย์สินทางปัญญาจับมือองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลกและ CEA นำร่องสร้างดัชนีชี้วัดซอฟต์พาวเวอร์ไทย

กรมทรัพย์สินทางปัญญาร่วมกับองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (World Intellectual Property Organization: WIPO) และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA เปิดตัว Creative Economy Data Model (CEDM) ซึ่งเป็นโครงการศึกษาแบบจำลองข้อมูลผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของประเทศสมาชิก WIPO เมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๖๘ ณ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบกรุงเทพฯ (TCDC กรุงเทพฯ) นางสาวนุสรา กาญจนกูล อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า "รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุน Soft Power ของประเทศ

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์ก... CEA ปักหมุดกลางกรุงฯ เปิดพื้นที่ TCDC กรุงเทพฯ ณ อาคารไปรษณีย์กลาง บางรัก ให้บริการ 13 พื้นที่ 4 รูปแบบ เปิดโอกาสในการสร้างเครือข่ายนักสร้างสรรค์ไทย — สำนักงานส่ง...

จบไปแล้วกับงาน "Design Perspectives x Gol... แบ่งปันแนวคิดการออกแบบและประสบการณ์จากวิชาชีพ "Design Perspectives x Golden Pin Salon Bangkok 2023" โดย Golden Pin Design Award — จบไปแล้วกับงาน "Design P...

Golden Pin Design Award จัดงาน "Design Pe... โอกาสดีสำหรับเหล่านักออกแบบมาถึงแล้ว! Golden Pin Design Award จัดงาน "Design Perspectives x Golden Pin Salon Bangkok 2023" เดือนพฤษภาคมนี้ — Golden Pin De...

วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาล... ภาพข่าว : Logistics SPU ON TOUR เปิดโลกการเรียนรู้แบบบัณฑิตพันธุ์ใหม่@TCDC — วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม นำนักศึกษาบัณฑิตพันธุ์ใหม่...

สำนักส่งเสริมนวัตกรรมและสร้างมูลค่าเพิ่มเ... ก.พาณิชย์ ชูคอนเซ็ปต์ “Good Design = Good Business = Good Life” — สำนักส่งเสริมนวัตกรรมและสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อการค้า กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP...

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดโครงการ Service Inno... มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดโครงการ Service Innovation Fellowship Programme (SIF) เตรียมความพร้อมนักวิจัยเพื่อขับเคลื่อน อุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร — มหาวิทยาลัย...

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ภายหลังจากนิทรรศการ "อ... นิทรรศการ “ออกแบบ แบบญี่ปุ่น” เดินทางสู่ขอนแก่น ปลุกกระแสไอเดียงานดีไซน์ตามรอยแดนอาทิตย์อุทัย ที่ “ม.ขอนแก่น” — ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ภายหลังจากนิทรรศการ "ออ...

ซีอีเอ เปิดให้บริการ "ทีซีดีซี กรุงเทพฯ" ... ซีอีเอ เปิดให้บริการ “ทีซีดีซี กรุงเทพฯ” ฟรี! ตลอดเดือน พฤษภาคม’ 62 พร้อมชวนคนไทยอิ่มเอม “เสพงานศิลป์ – ฟังดนตรี” — ซีอีเอ เปิดให้บริการ "ทีซีดีซี กรุงเทพ...

เจแปนฟาวน์เดชั่น ประเทศไทย (Japan Foundat... นิทรรศการ “ออกแบบ แบบญี่ปุ่น” (Japanese Design Today 100) อะไรทำให้งานออกแบบญี่ปุ่นสร้างอิทธิพลระดับโลก? — เจแปนฟาวน์เดชั่น ประเทศไทย (Japan Foundation) ภ...