“รัฐเปิด” พัฒนาประสบการณ์ในการใช้เทคโนโลยีของประชาชนในภูมิภาคเอเชีย

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          โดย เดิร์ก-ปีเตอร์ แวน ลีอูเว่น, รองประธานอาวุโส และผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก, เร้ดแฮท
          ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัลพบเห็นได้ในทุกวงการรอบตัวเราไม่เว้นแม้แต่ในภาครัฐ จากการสำรวจล่าสุดของ การ์ทเนอร์ พบว่าผู้บริหารด้านสารสนเทศในภาครัฐระบุว่าเทคโนโลยีการวิเคราะห์ขั้นสูง การรักษาความปลอดภัยของระบบดิจิทัล และอินเทอร์เน็ตออฟธิงค์ (IoT) มีความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ ในด้านการลงทุนทางเทคโนโลยี หลายต่อหลายประเทศต่างกำลังสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ด้านดิจิทัลเช่น นโยบาย "ชาติอัจฉริยะ" หรือ Smart Nation และ "เศรษฐกิจอัจฉริยะ" หรือ Smart Economy
          การเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วดังกล่าวเป็นทั้งโอกาสและความท้าทาย ดังจะเห็นได้จากเทคโนโลยีที่น่าตื่นตาตื่นใจอย่างคลาวด์คอมพิวติ้ง เวอร์ชวลไลเซชั่น การพัฒนาบนโมบาย และบิ๊กดาต้า ซึ่งช่วยให้เกิดทางเลือกที่หลากหลายในการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน ในขณะเดียวกัน ผลวิจัยของการ์ทเนอร์ดังกล่าวมาข้างต้น ก็พบว่า มีอุปสรรค 3 ประการที่ภาครัฐจะต้องเผชิญในการเปลี่ยนแปลงสู่ระบบดิจิทัล ได้แก่ ทักษะหรือทรัพยากร งบประมาณ และวัฒนธรรมองค์กร
โอเพนซอร์ส และการเปิดกว้างทางความคิด
          องค์กรต่างๆ ทั่วโลกต่างก็นำโซลูชั่นโอเพนซอร์สมาช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพ ไม่ใช่แค่ในการจัดการค่าใช้จ่าย แต่ยังช่วยพัฒนาด้านนวัตกรรม เช่น รัฐบาลประเทศอินเดียได้ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีโอเพนซอร์ส สำหรับการกำกับดูแลทางอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และกลยุทธ์ต่างๆ [1] ยิ่งไปกว่านั้น เรายังพบว่ารัฐบาลในหลายๆ ประเทศ (อาเซียน, ออสเตรเลีย, เกาหลี และญี่ปุ่น) และองค์กรภาครัฐต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียต่างร่วมกันเสริมสร้างการใช้งานและพัฒนาซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส การก่อตั้ง Asian Open Source Software Center (AOSSC) เป็นต้นแบบหนึ่งของการร่วมมือของหลายๆ ประเทศ และหลายๆ ภูมิภาค ประกอบด้วยประเทศจีน ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเก๊า มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และประเทศไทย [2]
          โอเพนซอร์สได้ประโยชน์จากความร่วมมือของชุมชนนักพัฒนาที่มีทักษะสูงและมีความเชี่ยวชาญที่จะสร้างสรรค์แนวคิดที่ดีขึ้นมาพัฒนาร่วมกัน เมื่อประโยชน์ดังกล่าวรวมกับความจริงที่ว่าโอเพนซอร์สช่วยให้องค์กรธุรกิจมากมายทั่วโลกปลดล็อคตัวเองจากการผูกติดกับผู้ค้าเพียงรายเดียว ทำให้โอเพนซอร์สกลายเป็นทางเลือกในการสร้างบริการและแอปพลิเคชั่นใหม่ๆ ที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วและคุ้มค่ามากขึ้น
          ที่งานประชุม Red Hat Summit ครั้งล่าสุด ซึ่งเป็นงานด้านเทคโนโลยีโอเพนซอร์สชั้นนำ เพื่อนำเสนอเทคโนโลยีใหม่ๆ ด้านคลาวด์คอมพิวติ้ง, แพลตฟอร์ม, เวอร์ชวลไลเซชั่น, มิดเดิลแวร์, สตอเรจ และการจัดการระบบ Peter Watkins, executive director, office of the chief intellignece officer, British Columbia ได้พูดคุยเกี่ยวกับวิธีการที่ สำนักงานของเขาได้ใช้เทคโนโลยีโอเพนซอร์สเพื่อให้กลุ่มนักพัฒนาซอฟต์แวร์และผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีจำนวนมากในชุมชนสามารถเข้าถึงข้อมูลภาครัฐ เพื่อนำมาใช้ในการสร้างแอปพลิเคชั่นต่างๆ
          หน่วยงานภาครัฐทั่วโลก รวมทั้งในทวีปเอเชีย ต่างก็หันมาใช้โอเพนซอร์สในโครงการสำคัญต่างๆ ของรัฐบาล เช่น การรวมศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์เข้าด้วยกัน ระบบเวอร์ชวลไลเซชั่น คลาวด์คอมพิวติ้ง บิ้กดาต้า และความต้องการใหม่ๆ ที่เติบโตขึ้นอย่างมาก
การใช้โซลูชั่นโอเพนซอร์สโดยมุ่งเน้นไปที่ข้อมูลแบบเปิดที่สามารถปลดล็อคแนวทางใหม่เพื่อกระตุ้นให้ผู้คนมีส่วนร่วมมากขึ้น และใช้ศักยภาพของภาครัฐมาช่วยในการวิจัยและพัฒนา ซึ่งจะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงได้ และเมื่อแพลตฟอร์มดิจิทัลเริ่มเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไปมากขึ้น หน่วยงานภาครัฐก็จะมีโอกาสเก็บรวบรวมข้อมูลจำนวนมากเพื่อนำมาปรับปรุงการให้บริการและแก้ปัญหาต่างๆ ได้ดีขึ้น
          ในเวลาเดียวกัน โอเพนซอร์สไม่ใช่เป็นเพียงเทคโนโลยีที่ใช่เท่านั้น รัฐบาลต่างๆ ควรทำงานเพื่อรับมือกับความคิดที่เปิดกว้างซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้ทีมงานก้าวไกลเกินขีดจำกัดของนวัตกรรมได้มากยิ่งขึ้น โดยองค์กรต่างๆ สามารถเริ่มต้นด้วยการสร้างสภาพแวดล้อมที่เปิดให้แต่ละบุคคลสามารถแสดงความสามารถ และลองทำสิ่งใหม่ๆ มากกว่าการวางแผนทุกอย่างไว้ล่วงหน้า ผ่านการทำงานร่วมกันของกลุ่มคนหัวกะทิที่พร้อมเสี่ยงและต้องการทดลองสิ่งใหม่ๆ เพื่อบรรลุถึงนวัตกรรมที่ล้ำสมัย
          ในยุคของรัฐบาลที่เปิดกว้างเช่นนี้จะช่วยให้ประเทศมีศักยภาพในการปฏิรูปขั้นพื้นฐาน มีทิศทางชัดเจนว่าจะเดินไปทางไหน ขณะเดียวกันก็สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในหลายๆ ด้าน ตั้งแต่ด้านเทคโนโลยีจนถึงวัฒนธรรม

          [1] http://deity.gov.in/sites/upload_files/dit/files/policy_on_adoption_of_oss.pdf
          [2] https://cacm.acm.org/news/29719-alliance-formed-to-push-development-and-adoption-of-open-source-in-asia/fulltext

“รัฐเปิด” พัฒนาประสบการณ์ในการใช้เทคโนโลยีของประชาชนในภูมิภาคเอเชีย

ข่าวรักษาความปลอดภัย+เอเชียแปซิฟิกวันนี้

พาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ คาดการณ์ความปลอดภัยไซเบอร์: ทิศทางในปี 2568 และอนาคตข้างหน้า

วันนี้ พาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ ผู้นำระดับโลกด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ เผยแพร่รายงานการคาดการณ์เกี่ยวกับความปลอดภัยทางไซเบอร์สำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคประจำปี 2568 โดยย้ำถึงแนวโน้มสำคัญ 5 ประการที่ผู้ปฏิบัติงานด้านไซเบอร์พึงระวังในอีก 12 เดือนข้างหน้า เพื่อเตรียมความพร้อมให้องค์กรมีความปลอดภัยยิ่งขึ้น ในปี 2567 องค์กรต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกต่างเน้นย้ำในเรื่องการนำ AI เข้ามาใช้ในกระบวนการธุรกิจ ซึ่งรวมถึงกระบวนการด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ที่ทั้งองค์กรและคนร้ายหันไปพึ่งพา AI

บริษัท ซินเน็ค (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ... ซินเน็คฯ จับมือแอกซิส คอมมิวนิเคชั่นส์ ขยายตลาดเทคโนโลยีความปลอดภัยอัจฉริยะในประเทศไทย — บริษัท ซินเน็ค (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ดิสทริบิวเตอร์ผู้นำด้านไ...

ผลสำรวจฉบับใหม่จากแคสเปอร์สกี้ (Kaspersky... Kaspersky เผย องค์กรธุรกิจใน APAC เกินครึ่ง เลือกลงทุนเอ้าต์ซอร์สด้านความปลอดภัยไซเบอร์ — ผลสำรวจฉบับใหม่จากแคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) ระบุว่า ผู้นำองค์กรต่...

การละเมิดนโยบายความปลอดภัยของข้อมูลองค์กร... Kaspersky เผย การละเมิดความปลอดภัยข้อมูลโดยพนักงานใน APAC อันตรายพอๆ กับการโดนแฮก — การละเมิดนโยบายความปลอดภัยของข้อมูลองค์กรโดยพนักงานนั้นอันตรายพอๆ กับก...

แคสเปอร์สกี้ชี้ องค์กรธุรกิจต่าง ๆ ให้ควา... แคสเปอร์สกี้รายงานภัยคุกคามไซเบอร์บนอุปกรณ์โจมตีธุรกิจอาเซียนเพิ่มขึ้น 15% — แคสเปอร์สกี้ชี้ องค์กรธุรกิจต่าง ๆ ให้ความสำคัญกับการรักษาความปลอดภัยเครือข่า...

ผลการวิจัยของแคสเปอร์สกี้ระบุว่า ความกังว... รายงานแคสเปอร์สกี้ระบุองค์กรอุตฯ เกือบ 40% กังวลความปลอดภัยไซเบอร์ขวางแผนดิจิทัล — ผลการวิจัยของแคสเปอร์สกี้ระบุว่า ความกังวลด้านความปลอดภัยไซเบอร์กลายเป็...

Secutech Thailand 2025 ปักหมุดศูนย์การประ... Secutech Thailand 2025 ปักหมุดศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ 5-7 พฤศจิกายน 2568 — Secutech Thailand 2025 ปักหมุดศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ สถานที่จั...