SPU : ม.ศรีปทุม ชลบุรี โชว์ศักยภาพนศ.กวาด 18 รางวัลโล่นายกรัฐมนตรีฯ “ศาสตร์พระราชา” โครงการส่งเสริม คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมไทย ประจำปี 2560

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          ผศ.ดร.วิรัช เลิศไพฑูรย์พันธ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีปทุม พร้อมด้วยผู้บริหารและคณาจารย์ นำนักศึกษา คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ และคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี ที่โชว์ศักยภาพสร้างผลงานกวาด 18 รางวัลจากผลงานการประกวดในโครงการส่งเสริม คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมไทย ประจำปี 2560 ภายใต้แนวคิด "ศาสตร์พระราชา" เข้ารับมอบโล่รางวัล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ประเภทสื่อดิจิทัล ได้แก่ รางวัลระดับดีมาก 6 รางวัล , รางวัลระดับดีเด่น 1 รางวัล, รางวัลระดับดี 4 รางวัล,รางวัล Popula Vate 1 รางวัล ประเภทโครงการต้นแบบ ได้แก่ รางวัลดีเด่น 1 รางวัล , รางวัล Popular Vote 1 รางวัล , รางวัลระดับดี 1รางวัล , รางวัลระดับดีมาก 3 รางวัล โดยมีหม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธีและมอบโล่รางวัลพร้อมเกียรติบัตรให้แก่ผู้ชนะการประกวดในครั้งนี้ ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ จังหวัดนครปฐม เมื่อเร็วๆนี้
          ผศ.ดร.วิรัช เลิศไพฑูรย์พันธ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้กล่าวว่า ในปัจจุบันการพัฒนาประเทศไปสู่ความทันสมัย ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแก่สังคมไทยอย่างมากในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม สังคมและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งกระบวนการของความเปลี่ยนแปลงมีความสลับซับซ้อนจนยากที่จะอธิบายในเชิงสาเหตุและผลลัพธ์ได้ เพราะการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดต่างเป็นปัจจัยเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน สำหรับผลของการพัฒนาในด้านบวกนั้น ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความเจริญทางวัตถุ และสาธารณูปโภคต่างๆ ระบบสื่อสารที่ทันสมัย หรือการขยายปริมาณและกระจายการศึกษาอย่างทั่วถึงมากขึ้น แต่ผลด้านบวกเหล่านี้ส่วนใหญ่กระจายไปถึงคนในชนบทหรือผู้ด้อยโอกาสในสังคมน้อย แต่ว่า กระบวนการเปลี่ยนแปลงของสังคมได้เกิดผลลบติดตามมาด้วย เช่น การขยายตัวของรัฐเข้าไปในชนบท ได้ส่งผลให้ชนบทเกิดความอ่อนแอในหลายด้าน ทั้งการต้องพึ่งพิงตลาดและพ่อค้าคนกลางในการสั่งสินค้าทุน ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ ระบบความสัมพันธ์แบบเครือญาติ และการรวมกลุ่มกันตามประเพณีเพื่อการจัดการทรัพยากรที่เคยมีอยู่แต่เดิมแตกสลายลง ภูมิความรู้ที่เคยใช้แก้ปัญหาและสั่งสมปรับเปลี่ยนกันมาถูกลืมเลือนและเริ่มสูญหายไป
          เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชดำริชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ดังนั้น ความพอเพียง จึงหมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในภายนอก ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการ ทุกขั้นตอน และขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง จึงประกอบด้วยคุณสมบัติ ดังนี้1) ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ 2) ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ และ 3) ภูมิคุ้มกัน หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยคุณสมบัติทั้ง 3 ข้อมีเงื่อนไข ของการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียง 2 ประการ คือ 1) เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในการปฏิบัติและ 2) เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักใน คุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
          ด้วยตระหนักถึงความสำคัญและการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อพัฒนาให้เยาวชนเติบโตเป็นบุคคลที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความรู้คู่คุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมไทย สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุขอย่างพอเพียง จึงเกิดการรวมตัวของหน่วยงานทั้ง 10 สถาบัน ประกอบด้วย
          1) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
          2) มหาวิทยาลัยศรีปทุม
          3) วิทยาลัยการทัพบก
          4) มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์
          5) มหาวิทยาลัยธนบุรี
          6) สมาคมการสถานการณ์จำลองและเกมเพื่อการเรียนรู้แห่งประเทศไทย
          7) มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
          8) สมาคมอีเลิร์นนิ่งแห่งประเทศไทย
          9) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
          10) สำนักงานวิจัยและพัฒนาทางทหารกองทัพบก
          ได้ร่วมใจกันจัดกิจกรรมส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนไทยได้เกิดความตระหนักและเห็นถึงคุณค่าความเป็นไทยในรูปแบบการจัดโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมไทยภายใต้แนวคิด "เศรษฐกิจพอเพียง" โดยมีการจัดกิจกรรมโครงการต้นแบบส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมไทย ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยยึดทางสายกลางของความพอดี 5 ประการ คือ
          1) ความพอดีด้านจิตใจ ต้องมีความเข็มแข็ง พึ่งตนเองได้ มีจิตสำนึกที่ดี เอื้ออาทร ประนีประนอม โดยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม
          2) ความพอดีด้านสังคม คือความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน สร้างความเข็มแข็งให้แก่ชุมชน รู้จักผนึกกำลัง และที่สำคัญ ต้องมีกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้เกิดรากฐานที่มั่นคงและแข็งแรง
          3) ความพอดีด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ต้องรู้จักใช้และจัดการอย่างฉลาดและรอบคอบ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนสูงสุด
          4) ความพอดีด้านเทคโนโลยี ต้องรู้จักประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ให้สอดคล้องกับความต้องการ และควรจะพัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาชาวบ้านของเราเอง เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสภาพ แวดล้อมของเราเอง
          5) ความพอดีด้านเศรษฐกิจ ต้องรู้จักเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ดำรงชีวิตอย่างพอสมควร พออยู่พอกินตามอัตภาพ และฐานะของตนเอง ซึ่งความพอดีทั้ง 5 ประการนี้ จะเป็นประโยชน์และเป็นหัวใจสำคัญ ของการพัฒนาประเทศ ในการร่วมกันสร้างพื้นฐานความพอกินพอใช้ และนำไปสู่การพัฒนาสังคมไทยให้เข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป
          เครดิตข้อมูลจาก http://sams.east.spu.ac.th/methai/frontend/web/
          หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยศรีปทุม ชลบุรี โทร. 0 38146123 โทรสาร 0 38146011
          e-mail : [email protected] เว็บไซต์ http://www.east.spu.ac.th/admission/
          หรือติดตามกิจกรรมต่างๆได้ที่ https://www.facebook.com/spuchonburi/
          หรือเยี่ยมชมวิดีทัศน์แนะนำมหาวิทยาลัยศรีปทุมได้ที่ https://www.youtube.com/user/SPUFriends
SPU : ม.ศรีปทุม ชลบุรี โชว์ศักยภาพนศ.กวาด 18 รางวัลโล่นายกรัฐมนตรีฯ “ศาสตร์พระราชา” โครงการส่งเสริม คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมไทย ประจำปี 2560
SPU : ม.ศรีปทุม ชลบุรี โชว์ศักยภาพนศ.กวาด 18 รางวัลโล่นายกรัฐมนตรีฯ “ศาสตร์พระราชา” โครงการส่งเสริม คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมไทย ประจำปี 2560
SPU : ม.ศรีปทุม ชลบุรี โชว์ศักยภาพนศ.กวาด 18 รางวัลโล่นายกรัฐมนตรีฯ “ศาสตร์พระราชา” โครงการส่งเสริม คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมไทย ประจำปี 2560
SPU : ม.ศรีปทุม ชลบุรี โชว์ศักยภาพนศ.กวาด 18 รางวัลโล่นายกรัฐมนตรีฯ “ศาสตร์พระราชา” โครงการส่งเสริม คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมไทย ประจำปี 2560

 

ข่าววิรัช เลิศไพฑูรย์พันธ์+กประยุทธ์ จันทร์โอชาวันนี้

SPU มุ่งปั้นนักศึกษาพร้อมทำงานจริง ย้ำมหาวิทยาลัยยุคใหม่ "ไม่ใช่แค่ผลิตบัณฑิต แต่ต้องสร้างอนาคตให้กับบัณฑิต"

ผศ.ดร.วิรัช เลิศไพฑูรย์พันธ์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยศรีปทุม และนายกสมาคมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย (คอวท.) ได้รับเกียรติร่วมเสวนาในรายการ "คลังสมอง-คลังปัญญาสยาม" ภายใต้หัวข้อ "มหาวิทยาลัยที่สร้างรายได้ให้กับผู้เรียน" จัดโดยสถาบันคลังสมองของชาติ โดยมี รศ.ดร.บวร ปภัสราทร ผู้อำนวยการสถาบันคลังสมองของชาติเป็นผู้ดำเนินรายการ ในการเสวนาครั้งนี้ ผศ.ดร.วิรัช เน้นว่าพันธกิจของมหาวิทยาลัยในยุคปัจจุบันไม่ใช่เพียงแค่การ "ผลิตบัณฑิต" แต่ต้อง "สร้างอนาคต" ให้กับผู้

สาขาภาษาญี่ปุ่นเพื่อการสื่อสารธุรกิจ คณะศ... ม.ศรีปทุม จับมือ ไทยเจแปน บิสซิเนส เน็ทเวิร์ค แมนพาวเวอร์ MOU มุ่งผลักดันบัณฑิตสู่ตลาดงานญี่ปุ่น — สาขาภาษาญี่ปุ่นเพื่อการสื่อสารธุรกิจ คณะศิลปศาสตร์ มหาว...