คณะรัฐมนตรีรับทราบกรอบนโยบายการบริหารจัดการแร่ทองคำ ครอบคลุม 7 ด้าน ทั้งการบริหารจัดการ การกำกับดูแล การมีส่วนร่วมของประชาชน และการแบ่งปันผลประโยชน์

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          คณะรัฐมนตรีรับทราบกรอบนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการทรัพยากรแร่ทองคำตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ โดยกรอบนโยบายดังกล่าวจะเป็นแนวทางการบริหารจัดการแร่ทองคำให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ ทั้งการบริหารจัดการแหล่งแร่ ผลประโยชน์ตอบแทนแก่รัฐและท้องถิ่น ความปลอดภัยและการป้องกันรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและการฟื้นฟูพื้นที่ การกำกับดูแลการประกอบการ การมีส่วนร่วมของประชาชน รวมถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชน กระทรวงอุตสาหกรรมเตรียมออกประกาศและหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ต่อไป
          นายสมบูรณ์ ยินดียั่งยืน อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เปิดเผยความคืบหน้าการดำเนินการตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 72/2559 เรื่อง การแก้ไขปัญหาผลกระทบจากการประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำ ในส่วนของการเสนอกรอบนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการทรัพยากรแร่ทองคำว่า ขณะนี้ คณะรัฐมนตรีรับทราบกรอบนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการทรัพยากรแร่ทองคำตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอแล้ว ในการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2560 ซึ่งกรอบนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการทรัพยากรแร่ทองคำดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ นโยบายบริหารจัดการแร่แห่งชาติ (คนร.) ในการประชุม คนร. ครั้งที่ 1/2560 ที่มี พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2560 ที่ผ่านมา
          ทั้งนี้ กรอบนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการทรัพยากรแร่ทองคำดังกล่าว มีวัตถุประสงค์ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการทรัพยากรแร่ทองคำให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ โดยคำนึงถึงดุลยภาพทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยแบ่งออกเป็น 7 ด้าน ได้แก่
          1. ด้านการบริหารจัดการแหล่งแร่ทองคำ กำหนดให้มีการประมูลสิทธิสำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำ ในพื้นที่ที่ภาครัฐสำรวจและมีข้อมูลเพียงพอ ห้ามมิให้ส่งออกโลหะผสมทองคำไปต่างประเทศ กำหนดเงื่อนไขการ จ้างงานชาวไทย ยกเลิกการให้สิทธิประโยชน์ด้านการส่งเสริมการลงทุน ยกระดับการมีส่วนร่วมในเชิงนโยบายระหว่างผู้มีส่วนได้เสียตลอดห่วงโซ่การผลิต
          2. ด้านผลประโยชน์ตอบแทนแก่รัฐและท้องถิ่น ปรับปรุงผลตอบแทนแก่รัฐให้เหมาะสมยิ่งขึ้น และกระจายผลประโยชน์ให้แก่ท้องถิ่นและท้องถิ่นอื่นที่อยู่ติดกันด้วย จัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาหมู่บ้านรอบพื้นที่เหมืองแร่
          3. ด้านความปลอดภัย การป้องกันรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและการฟื้นฟูพื้นที่ กำหนดให้มีการตั้งกองทุน วางหลักประกัน และการทำประกันภัยต่าง ๆ เพื่อเป็นหลักประกันในการเยียวยาแก้ปัญหาในกรณีที่เกิดผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม การจัดทำแนวพื้นที่กันชนการทำเหมือง และการจัดทำข้อมูลพื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน
          4. ด้านการกำกับดูแลการประกอบการ มีการกำกับดูแลอย่างเคร่งครัดจากภาครัฐ โดยมีคณะกรรมการควบคุมเฝ้าระวังผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ทองคำ ซึ่งมีตัวแทนผู้มีส่วนได้เสียร่วมเป็นกรรมการ เพื่อเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบกำกับดูแลการประกอบกิจการ
          5. ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน เพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชนทั้งในขั้นตอนการขออนุญาต โดยการรับฟังความคิดเห็นของชุมชน ทั้งในขั้นตอนการขอประทานบัตรและการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมถึงเพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชนในขั้นตอนการประกอบกิจการ ซึ่งจะกำหนดให้มีตัวแทนผู้มีส่วนได้เสียของประชาชนในพื้นที่ร่วมเป็นคณะกรรมการควบคุมเฝ้าระวังผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ทองคำด้วย
          6. ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชน กำหนดให้ผู้ประกอบการต้องปฏิบัติตามและผ่านการทวนสอบมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคมอุตสาหกรรมแร่ (CSR-DPIM) ยกระดับการประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำให้มีความรับผิดชอบตามมาตรฐานสากล (Responsible gold mining practice)
          7. ด้านอื่น ๆ กำหนดให้การขอต่ออายุประทานบัตรแร่ทองคำและการเพิ่มชนิดแร่ทองคำ ใช้นโยบายนี้โดยอนุโลม แต่ไม่ครอบคลุมถึงการร่อนแร่ทองคำ
          "หลังจากนี้กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ จะออกประกาศและจัดทำรายละเอียดหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ตามกรอบนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการทรัพยากรแร่ทองคำดังกล่าว เพื่อให้ภาครัฐและท้องถิ่นได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากการประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำที่เหมาะสม ประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรแร่ทองคำเพิ่มขึ้น ปัญหาผลกระทบจากการประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำลดลง ผู้ประกอบการเหมืองแร่ทองคำมีการประกอบกิจการที่มีมาตรฐานสากล มีความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชน และสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างยั่งยืนต่อไป" นายสมบูรณ์ กล่าวทิ้งท้าย


ข่าวกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่+กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานวันนี้

วว.หารืออธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ พัฒนางานวิจัยด้าน Low Carbon Society และ Circular Economy

ดร. พัชทรา มณีสินธุ์ รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านพัฒนาอย่างยั่งยืน (พย.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) พร้อมด้วย คณะผู้บริหารกลุ่ม พย. ประกอบด้วย ดร.สุวิทย์ อัจริยะเมต ผู้อำนวยการศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมหุ่นยนต์และเครื่องจักรกลอัตโนมัติ นายเฉลิมชัย จีระพันธุ์ ผู้อำนวยการศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมพลังงานสะอาดและสิ่งแวดล้อม และดร.เรวดี อนุวัฒนา รักษาการผู้อำนวยการศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมวัสดุ หารือแนวทางความร่วมมือกับ ดร.อดิทัต วะสีนนท์ อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่

นายอดิทัต วะสีนนท์ อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้... สภาการเหมืองแร่ — นายอดิทัต วะสีนนท์ อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เป็นประธานเปิดงาน "การประชุมสามัญประจำปี 2567" พร้อมบรรยายพิเศษหัวข้อ ...

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งช... สวทช. ผนึกกำลัง กพร. ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมพื้นฐานและเหมืองแร่ไทยสู่อุตสาหกรรม 4.0 — สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และกรมอุตสาหกรรมพื...

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งช... สวทช. ผนึกกำลัง กพร. ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมพื้นฐานและเหมืองแร่ไทยสู่อุตสาหกรรม 4.0 — สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และกรมอุตสาหกรรมพื...

คุณศักดิ์สิทธิ์ บริสุทธนะกุล ประธานเจ้าหน... TPBI ผ่านการตรวจสอบมาตรฐานการรับรองแห่งชาติ (มตช.9-2565) — คุณศักดิ์สิทธิ์ บริสุทธนะกุล ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด บริษัท ทีพีบีไอ จำกัด (มหาชน) เป็นตัว...

บริษัท เชาว์ สตีล อินดัสทรี้ จำกัด (มหาชน... CHOW มุ่งยกระดับธุรกิจสู่องค์กร"คาร์บอนต่ำ"เปิดทางสู่ตลาดโลก — บริษัท เชาว์ สตีล อินดัสทรี้ จำกัด (มหาชน) หรือ CHOW ผู้ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์...

บริษัท เชาว์ สตีล อินดัสทรี้ จำกัด (มหาชน... โรงหลอมเหล็ก CHOW รับรางวัล CSR-DPIM ประจำปี 2565 เป็นปีที่ 5 — บริษัท เชาว์ สตีล อินดัสทรี้ จำกัด (มหาชน) หรือ CHOW ผู้ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ...

บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน... หนุนศก.หมุนเวียน "SSI-กพร.-ม.สุรนารี" วิจัยสำเร็จ แปรกรดเกลือเสื่อมสภาพเป็นวัตถุดิบทำสีกันสนิม — บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) หรือ "เอสเอสไอ...