“ดีป้า” ร่วมกับจังหวัดภูเก็ต ดันดิจิทัลยกระดับความปลอดภัยด้านการท่องเที่ยวทางทะเล

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่าจังหวัดภูเก็ต หรือที่ได้ชื่อว่าเป็น "ไข่มุกแห่งอันดามัน" คือ สถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับต้นๆ ที่มีชื่อเสี่ยงไปทั่วโลก อีกทั้งยังเป็นจุดหมายปลายทางที่นักท่องเที่ยวนิยมชมชอบมากที่สุดในภาคใต้ ด้วยความงามทางทัศนียภาพทางทะเล พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน แต่อย่างไรก็ตามปัญหาในเรื่องของความปลอดภัยด้านการท่องเที่ยว ยังเป็นสิ่งที่หลายฝ่ายยังคงตั้งคำถาม
          เรื่องนี้ทางนายนรภัทร ปลอดทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ได้ดำเนินการเป็นประธานจัดประชุมความปลอดภัยของเรือและท่าเทียบเรือโดยสาร ครั้งที่ 1/2560 พร้อมด้วยนายสุรัฐ ศิริไสยาสน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค สาขาภูเก็ต, นายประชา อัศวธีระ ผู้จัดการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) สาขาภาคใต้ตอนบน, หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้ประกอบการท่าเรือต่างเข้าร่วม เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ที่ห้องประชุมคอซิมบี้ ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต
ปัจจุบันพบว่าจังหวัดภูเก็ตมีผู้โดยสารทางทะเลประมาณ 20,000 คนต่อวัน ซึ่งจากตัวเลขนี้เป็นปริมาณที่ค่อนข้างมากในการดูแลความปลอดภัยให้ครอบคลุมในทุกภาคส่วน เรื่องนี้นายนรภัทร ปลอดทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เปิดเผยถึงที่มาของการประชุมในครั้งนี้ว่าทุกภาคส่วนระหว่างจังหวัด ทั้งผู้ประกอบการท่าเทียบเรือ รวมไปถึงผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยว นั้นต้องตื่นตัวและเร่งดำเนินการหารือ เพื่อหาทางออกในการประสานข้อมูลซึ่งกันและกัน ในการยกระดับความปลอดภัยด้านการท่องเที่ยวทางทะเล จึงเห็นว่าควรมีระบบการแจ้งเตือนหากเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นในแต่ละที่ เพื่อให้หน่วยงาน และเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือสามารถเข้าถึงข้อมูลของเรือที่ออกจากท่า รวมไปถึงข้อมูลเฉพาะของนักท่องเที่ยว ในการให้ความช่วยเหลือได้ทันเวลา
          นายสุรัฐ ศิริไสยาสน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค สาขาภูเก็ต เล่าว่า มาตรการในการรับประกันความปลอดภัยให้กับผู้ที่ใช้เรือโดยสาร มีองค์ประกอบของการสัญจรทางน้ำอยู่ 3 ส่วนด้วยกัน โดยในส่วนของตัวเรือนั้นผู้ประกอบการจะต้องตรวจสภาพเรือพร้อมกับต่อใบอนุญาตใช้เรือเป็นประจำทุกปี ความมั่นคงแข็งแรงของตัวเรือ อุปกรณ์ประจำเรือ อุปกรณ์การช่วยชีวิต โดยมีกฎข้อบังคับสำหรับการตรวจเรือเป็นการเฉพาะ ซึ่งทางจังหวัดภูเก็ตได้มีประกาศให้เรือต่างประเทศติดตั้งระบบสำแดงข้อมูลเรืออัตโนมัติ (Automatic Identification System)หรือ AIS โดยมีข้อมูลเรือติดตั้งอยู่ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ มีตัวรับสัญญาณติดตั้งอยู่ 23 สถานีชายฝั่งทะเลอันดามัน ซึ่งอุปกรณ์นี้จะทำการส่งสัญญาณอยู่ตลอดเวลา
          "ทางเราได้มีการขอความร่วมมือไปยังผู้ประกอบการท่าเรือ ให้ทำการตรวจสอบว่ามีใบอนุญาตให้สร้างและใช้ท่าเทียบเรือหรือไม่ หากยังไม่มี จะต้องยื่นคำร้องและแสดงการครอบครอบสิทธ์ต่อสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค ภายในวันที่ 1 กันยายนนี้ ส่วนของผู้ควบคุมเรือ เราจัดให้มีการสอบประกาศนียบัตรของผู้ควบคุมเรือหรือผู้ควบคุมเครื่องจักร หากตรวจสอบแล้วพบว่าผู้ควบคุมเรือลำใด ไม่มีประกาศนียบัตรหรือมีประกาศนียบัตรไม่ตรงตามที่กฎหมายกำหนด ทางสำนักงานเจ้าท่าจะดำเนินคดีขั้นสูงสุด" นายสุรัฐ เสริม
ด้านนายประชา อัศวธีระ ผู้จัดการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) สาขาภาคใต้ตอนบน กล่าวว่า แม้ในปัจจุบันจังหวัดภูเก็ต มีระบบที่สามารถรู้ตำแหน่งเรือที่อยู่ในฝั่งอันดามันในแต่ละลำ และสามารถมองเห็นเรือที่วิ่งอยู่ในอันดามันได้ทั้งหมด แต่ยังไม่สามารถทราบข้อมูลเฉพาะของผู้โดยสารบนเรือในแต่ละลำ จึงได้นำเสนอการใช้ระบบดูแลความปลอดภัยทางทะเล (Maritime Safety) กับท่าเทียบเรือรับส่งคนโดยสารในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต โดยแบ่งเป็น 2 ระบบ ประกอบด้วย
1) ระบบฐานข้อมูลกลางผู้โดยสารทางทะเล
          เป็นการนำระบบ Vessel Tracking Monitoring System หรือ VTMS มาประยุกต์ใช้ ทำให้เราสามารถมองเห็นเรือทุกลำ ในอันดามัน เช่น พิกัดตั้งแต่ระนองถึงตรัง หรือออกจากภูเก็ตไปถึงพังงา ซึ่งเป็นระบบฐานข้อมูลกลางที่ช่วยตอบโจทย์ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้ประกอบการ ได้พิจารณาร่วมกันในการรวบรวมข้อมูลของนักท่องเที่ยว ที่จะออกจากท่าเทียบเรือในแต่ละวัน เพื่อให้จังหวัดมีระบบฐานข้อมูลกลาง หรือระบบตั๋วอิเล็กทรอนิกส์กลางในการยืนยันข้อมูลตัวบุคคล ซึ่งจะทำให้ทราบว่าเรือแต่ละลำมีจำนวนนักท่องเที่ยวกี่คน รวมทั้งยังช่วยให้พนักงานประจำเรือหรือไกด์ สามารถตรวจสอบจำนวน ชื่อ-นามสกุล เลขที่บัตรประชาชน รวมไปถึงที่พักของนักท่องเที่ยวได้อีกด้วย ทำงานโดยให้ผู้ขายตั๋วเรืออัพโหลดไฟล์ข้อมูลผู้โดยสารในรูปแบบของ Microsoft Excel ลงในฐานข้อมูลของจังหวัดก่อนออกเรือทุกครั้ง คาดเตรียมเปิดให้ผู้ประกอบการได้ทดลองใช้กลางเดือนสิงหาคมนี้
2) ระบบการดูแลความปลอดภัย ณ ท่าเทียบเรือ
          เรียกได้ว่าเป็นระบบการบริหารจัดการท่าเรือ ซึ่งระบบในส่วนนี้จะยังไม่ได้ถูกนำมาใช้ทั้งหมด โดยจะเลือกท่าเรือที่มีความพร้อมก่อน เช่น ท่าเรือจากทางภาครัฐ และภาคเอกชน โดยจะมีการจับคู่ (Matching System)ระหว่างข้อมูลของผู้โดยสารกับสายรัดข้อมือที่ฝังชิพ ซึ่งชิพตัวนี้จะใช้ในการยืนยันตัวตนของผู้โดยสารก่อนขึ้นเรือ ในรูปแบบ Radio Frequency Identification หรือ RFID ซึ่งจะทำการเชื่อมต่อกับแอพลิเคชั่น และระบบข้อมูลของท่าเรือ พร้อมกับกล้อง CCTV ในการบันทึกหน้าผู้โดยสาร ทำให้ผู้ประกอบการสามารถตรวจสอบได้ว่าผู้โดยสารที่ขึ้นเรือและกลับมาครบตามจำนวนที่ออกจากท่าหรือไม่
          "ทางดีป้าได้ทำการพัฒนาซอฟต์แวร์ต้นแบบไว้แล้ว ในโครงการ "Smart Growth" ภายใต้แนวคิด "Phuket Smart City" ในการยกระดับความปลอดภัยการท่องเที่ยวทางทะเล ซึ่งสถานะของระบบในตอนนี้กำลังทำการคัดเลือกท่าเรือที่มีคุณสมบัติพร้อม จำนวน 5 ท่าด้วยกัน โดยคาดว่าสามารถเริ่มทดลองใช้งานได้ภายในเดือนสิงหาคมนี้ หากผลการใช้งานเป็นที่น่าพอใจ ทางเราจะมีการขยายผลในการขอความร่วมมือให้ทุกท่าเรือใช้ระบบนี้โดยพร้อมเพรียงกัน" นายประชา กล่าว

“ดีป้า” ร่วมกับจังหวัดภูเก็ต ดันดิจิทัลยกระดับความปลอดภัยด้านการท่องเที่ยวทางทะเล
 
“ดีป้า” ร่วมกับจังหวัดภูเก็ต ดันดิจิทัลยกระดับความปลอดภัยด้านการท่องเที่ยวทางทะเล
 

ข่าวผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต+สถานที่ท่องเที่ยววันนี้

ไอแบงก์เปิดงาน Thailand Islamic Finance Forum 2025 (TIFF 2025) ผลักดันระบบนิเวศน์ของการเงินอิสลามในประเทศไทย สู่ความยั่งยืน

ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) โดย ดร.ทวีลาภ ฤทธาภิรมย์ กรรมการและผู้จัดการธนาคาร และ ผศ.ดร.วรวิทย์ บารู ผู้แทนจุฬาราชมนตรี และประธานเครือข่ายสหกรณ์อิสลามแห่งประเทศไทย ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีร่วมเปิดงาน Thailand Islamic Finance Forum 2025 (TIFF 2025) "มากกว่าธนาคาร : การเงินอิสลาม รากฐานเศรษฐกิจที่แท้จริง" โดยมี นายโสภณ สุวรรณรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นายบุญสิงห์ วรินทร์รักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นายชาครีย์อมร ติรชุลีสุนทร กรรมการธนาคาร

วันที่ 19 มีนาคม 2566 นายสุชาติ ชมกลิ่น ร... รมว.สุชาติ ร่วมคณะ นายก ลงภูเก็ต เร่งบรรจุงาน - อัพสกิลกำลังแรงงาน ป้อนธุรกิจท่องเที่ยว — วันที่ 19 มีนาคม 2566 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรง...

นายอานุภาพ รอดขวัญ ยอดระบำ รองผู้ว่าราชกา... จังซีลอนเปิดเฟสแรก อย่างเป็นทางการ — นายอานุภาพ รอดขวัญ ยอดระบำ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต (ที่ 3 จากซ้าย) ให้เกียรติเป็นประธานในงาน "Welcome Back to...

พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระ... องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน จับมือกระทรวงมหาดไทย เปิดเวทีแรก "ผู้นำ...กับการปราบโกง!" — พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานเสวนาออ...

สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 21 ภูเก็ต จัดประชุ... สพร. 21 ภูเก็ต จัดประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึกอาชีพ (กพร.ปจ.) ครั้งที่ 2/2565 — สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 21 ภูเก็ต จัดประชุมคณะอนุกรรมกา...

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ข... ภูเก็ตมุ่งหน้ายกระดับเป็นเมืองศูนย์สุขภาพระดับโลก — มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ตำบลกะรนเป็นต้นแบบสู่การแหล่งท่องเ...

เมื่อเร็วๆ นี้ นางสาวเมธิณี อนวัชกุล ผู้อ... แกร็บ เดินหน้าสนับสนุนการยกระดับมาตรฐาน บริการ "แอปเรียกรถ" ในจังหวัดภูเก็ต — เมื่อเร็วๆ นี้ นางสาวเมธิณี อนวัชกุล ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจการเดินทาง-ขนส่ง แ...