ธิสเซ่นครุปป์ จะใช้ประเทศไทย เป็นศูนย์กลาง ในการส่งมอบโซลูชั่นส์ทางวิศวกรรม ด้านเทคโนโลยี โอลีโอเคมีคอล (Oleochemical Technologies Hub) ให้แก่ลูกค้าทั่วโลก· ศูนย์วิจัยและพัฒนาแห่งใหม่นี้ มีอุปกรณ์ต่างๆที่จำเป็นต่อการพัฒนาเทคโนโลยี อาทิ แบบจำลอง 3 มิติ (3D) และแบบพลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณ (CFD) สำหรับจำลองแบบเครื่องปฏิกรณ์ (reactor) ห้องแล็บปฏิบัติการ และโรงงานต้นแบบซึ่งมีเครื่องปฏิกรณ์ระบบหัวฉีด เจ็ท รีแอ็คเตอร์ ที่ก้าวล้ำหน้า
· จากผลความสำเร็จครั้งสำคัญ ที่เราได้ก่อสร้างโครงการแบบแยกส่วน ในระบบ โมดูลาร์ แล้วนำไปประกอบเป็นโรงงานเคมีภัณฑ์สำเร็จรูปให้กับ บริษัทอ็อกซิเทโน่ จากประเทศบราซิล แสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการแข่งขันในระดับโลกเพื่อส่งออกเทคโนโลยีที่ "ผลิตในประเทศไทย"
ธิสเซ่นครุปป์ หนึ่งในกลุ่มบริษัทวิศวกรรมอุตสาหการที่มีความหลากหลายและมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ประกาศเปิดศูนย์เทคโนโลยีสำหรับอุตสาหกรรมโอลีโอเคมีคอลในจังหวัดระยอง ใกล้กับนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด เพื่อส่งมอบโซลูชั่นส์เชิงวิศวกรรมที่ดีที่สุดให้แก่ลูกค้าทั่วโลก ด้วยเงินลงทุนกว่า 18 ล้านยูโร (ประมาณ 680 ล้านบาท)
จึงทำให้มาบตาพุดจะกลายเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมที่เปี่ยมด้วยศักยภาพ ทั้งในด้านการวิจัยและพัฒนาวิศวกรรม การก่อสร้างโครงการ และการบริการด้านการพัฒนาเทคโนโลยีของธิสเซ่นครุปป์
ดร. ปีเตอร์ เฟลด์เฮาส์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มธุรกิจธิสเซ่นครุปป์ อิสดัสเตรียล โซลูชั่นส์ กล่าวว่า "ประเทศไทยคือตลาดสำคัญของเราในเอเชีย และเราภาคภูมิใจที่ได้ดำเนินธุรกิจอย่างมั่นคงยาวนานในประเทศนี้ การลงทุนในศูนย์โอลีโอเคมีคอลแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นอย่างแน่วแน่ของเราในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ธุรกิจในประเทศไทยให้เป็นหนึ่งในศูนย์กลางทางวิศวกรรมในระดับโลกของเรา"
ศูนย์เทคโนโลยีที่มาบตาพุดนี้ จะสามารถรองรับการดำเนินโครงการได้อย่างครบวงจร ด้วยระบบวิศวกรรมอันทันสมัย อีกทั้งยังสามารถ ทำการออกแบบ จัดซื้อ และก่อสร้างโครงการ (อีพีซี) มีห้องแล็บปฏิบัติการ และโรงงานต้นแบบ ที่จะทำให้เราสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ และรับประกันประสิทธิภาพของโรงงานที่เราก่อสร้าง ได้อย่างมั่นใจ โดยอาศัยเทคโนโลยีอัลค็อกไซเลชั่น (alkoxylation technology) เทคโนโลยีเอสเทอริฟิเคชัน (esterification technology) และเทคโนโลยีอามิเนชั่น (amination technology) ซึ่ง ธิสเซ่นครุปป์ ได้รับมาจาก บริษัทอินเวนต้า ในประเทศสิงคโปร์ เมื่อปี พ.ศ. 2558
เร็วๆนี้ ธิสเซ่นครุปป์ ได้ทำการส่งมอบโรงงานแบบโมดูลาร์ขนาดใหญ่ให้แก่อ็อกซิเทโน บริษัทผู้ผลิตเคมีภัณฑ์ระดับโลกจากประเทศจากบราซิล โดยโรงงานดังกล่าวได้รับการพัฒนาออกแบบทางวิศวกรรมและก่อสร้างในประเทศไทย โดยหลังจากได้รับการตรวจสอบคุณภาพแล้ว จึงได้ทำการถอดออกเป็นส่วนๆ เพื่อทำการเคลื่อนย้าย โดยปัจจุบัน โครงการดังกล่าวอยู่ระหว่างการขนส่งเพื่อส่งมอบให้ลูกค้านำไปประกอบเป็นโรงงานในประเทศสหรัฐอเมริกา เครื่องปฏิกรณ์ของโครงการนี้ เป็นนวัตกรรมระบบ เจ็ท รีแอ็คเตอร์ ซึ่งมีประสิทธิภาพอย่างเหนือชั้น พร้อมทั้งยังมีระบบอัตโนมัติควบคุมการผลิตที่ดีกว่า ทำให้มีระดับ อัลคีลีนออกไซด์ ลดลง แต่มีวงจรการทำปฏิกิริยาที่เร็วยิ่งขึ้นเมื่อเทียบกับเครื่องปฏิกรณ์แบบถังกวนดั้งเดิม
ไบรอัน คาเมรอน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของธิสเซ่นครุปป์ อินดัสเตรียล โซลูชั่นส์ ประเทศไทย เปิดเผยว่า "เทคโนโลยีของเราและเครื่องปฏิกรณ์ เจ็ท รีแอ็คเตอร์ ที่เป็นหัวใจของกระบวนการจะช่วยให้ลูกค้าของเรามีความยืดหยุ่นในการผลิตเคมีภัณฑ์ชนิดพิเศษ (specialty chemicals) ที่มีความหลากหลายด้วยการใช้อุปกรณ์ชนิดเดียวกัน และด้วยวงจรการผลิตที่เร็วยิ่งขึ้น เราสามารถยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันในประเทศไทยเพื่อมอบโซลูชั่นส์ให้แก่โรงงานเกือบทุกแห่งทั่วโลกด้วยการใช้แนวทางแบบโมดูลาร์ ที่คล้ายกับตัวต่อเลโก้ ซึ่งทำให้มีความปลอดภัยมากขึ้น คาดการณ์ระยะเวลาได้ ทั้งยังมีมูลค่าการลงทุนที่ต่ำกว่า ทำให้ลูกค้าของเราสามารถผลิตสินค้าเข้าสู่ตลาดได้รวดเร็วยิ่งขึ้น"
ดร. ปีเตอร์ เฟลด์เฮาส์กล่าวเพิ่มเติมว่า "การได้เห็นทีมงานที่มาบตาพุด ดำเนินโครงการระดับโลกจนแล้วเสร็จนั้น เป็นเรื่องน่าตื่นเต้นยินดีอย่างมาก โครงการนี้นับเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าประเทศไทยมีคุณภาพการผลิตอยู่ในระดับสูง และวิศวกรไทยก็มีความสามารถที่จะแข่งขันในระดับโลกได้อย่างแท้จริง"
โอลีโอเคมีมีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมเครื่องสำอาง อาหาร อาหารเสริมสุขภาพ และเภสัชกรรม อีกทั้งยังมีการใช้งานในอุตสาหกรรม การขุดเจาะน้ำมัน โลหะการ และสารเคมีทางการเกษตร พลังขับเคลื่อนหลักของการลงทุนในโอลิโอเคมีคือแนวโน้มการขยายตัวของประชากรโดยเฉพาะในทวีปเอเชีย และการให้ความสำคัญกับโซลูชั่นส์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในประเทศพัฒนาแล้ว คาดการณ์ว่าอัตราเติบโตในตลาดอุตสาหกรรมโอลีโอเคมีในเอเชียแปซิฟิกอยู่ที่ 8.5 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ตลาดทั่วโลกมีอัตราการเติบโตอยู่ที่ประมาณ 6 เปอร์เซ็นต์ต่อปี (ที่มา: รายงาน Market & Market ปี พ.ศ. 2557) ในปัจจุบันกำลังการผลิตทั่วโลกของอุตสาหกรรมนี้อยู่ที่ประมาณ 9 ล้านตันต่อปี
สำหรับประเทศไทย ธิสเซ่นครุปป์ อินดัสเตรียล โซลูชั่นส์ ประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง เรามีสัญญาจ้างกับลูกค้ารายใหญ่มากกว่า 100 รายในประเทศไทยและในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรวมถึงโครงการออกแบบ จัดซื้อ และก่อสร้าง (อีพีซี) และการให้บริการดูแลตลอดทั้งอายุโครงการ (lifecycle services) เราเป็นผู้ดำเนินโครงการสำคัญในประเทศไทยอย่างมากมาย อาทิ โครงการโรงงานปิโตรเคมีหลายแห่งในจังหวัดระยอง โครงการอุปกรณ์ทำเหมืองที่แม่เมาะ และโครงการก่อสร้างโรงงานปูนซีเมนต์ขนาดใหญ่ 4 แห่งในจังหวัดสระบุรี ปัจจุบัน ธิสเซ่นครุปป์ อินดัสเตรียล โซลูชั่นส์ มีวิศวกรกว่า 250 คน ประจำอยู่ในสำนักงานที่กรุงเทพฯ และมาบตาพุด จังหวัดระยอง
หัวเว่ยยังคงเดินหน้าสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านเสียง ด้วยความแข็งแกร่งด้านการพัฒนาเทคโนโลยีเสียงจากศูนย์วิจัยและพัฒนา 7 แห่งทั่วโลก ผู้เชี่ยวชาญด้านเสียงกว่า 1,000 คน และสิทธิบัตรด้านเสียงกว่า 250 รายการ HUAWEI FreeArc ไม่ใช่แค่หูฟังไร้สายทั่วไป แต่เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการออกแบบโดยคำนึงถึงผู้ใช้ที่มีไลฟ์สไตล์แอคทีฟ ไม่ว่าจะเป็นคนที่ออกกำลังกายเป็นประจำ นักกีฬา หรือแม้แต่มืออาชีพที่ต้องการหูฟังสำหรับการประชุมและการทำงานตลอดวัน หูฟังรุ่นนี้ถูกพัฒนาให้มีน้ำหนักเบา สวมใส่ได้นาน และไม่หลุดง่ายระหว่างการ
กรมวิชาการเกษตร ลุยถ่ายทอดเทคโนโลยีผลิตผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมันจาวมะพร้าว สู่การผลิตเชิงพาณิชย์ ตั้งเป้าบุกตลาดพรีเมียมภายใต้แบรนด์สินค้าชุมชน
—
นางสาวศุภมาศ...
Class Forecass ม.รำไพ ให้บริการตรวจวิเคราะห์โลหะหนัก สร้างความมั่นใจให้เกษตรกร
—
ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมสินค้าเกษตรและอาหารภาคตะวันออก มหาวิทยาลัยราชภั...
มาห์เล เดินหน้าขยายศูนย์วิจัยและพัฒนาในไทย
—
ไทยเป็นศูนย์กลางการวิจัยและพัฒนา (R&D) ที่สำคัญของมาห์เล ด้วยความพร้อมทั้งบุคลากรที่มีทักษะสูง ประวัติความ...
กสิกรไทยร่วม COP29 ผลักดันความมุ่งมั่นด้านสภาพภูมิอากาศของไทย หนุนใช้นวัตกรรมการเงินและการจัดการคาร์บอน
—
ดร.กรินทร์ บุญเลิศวณิชย์ รองผู้จัดการใหญ่ ธนาคาร...
ปิดฉากลงไปอย่างสวยงาม ด้วยบรรยากาศการแข่งขันสุดมันส์ กับ การแข่งขัน MakeX Thailand Robotics Competition National Championship 2024
—
เมื่อเร็วๆ นี้ กับ กา...
ไทยพีบีเอส จัดเสวนาเทคโนโลยี AI กับความรับผิดชอบทางจริยธรรมในงานสื่อ ชี้ AI มาใช้ในงานสื่อสารมวลชนมีทั้งแง่บวก - ลบ
—
ไทยพีบีเอส จัดเสวนาเทคโนโลยี AI กับค...
เปิดตัวอาคารตรวจสอบและปฏิบัติการควบคุมคุณภาพ บริษัท ไบเออร์ไทย จำกัด อ.วังทอง พิษณุโลก
—
นายภูสิต สมจิตต์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก ให้เกียรติเป็นประธาน...