ครบรอบ 23 ปี อพวช.จัดเสวนาส่งเสริมด้านอนุกรมวิธาน เรื่อง “สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่สำคัญอย่างไรกับคนไทยและโลกในยุค 4.0” พร้อมเปิดเผยผลการค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ กว่า 73 ชนิด

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

           องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา จัดเสวนา เรื่อง "สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่สำคัญอย่างไรกับคนไทยและโลกในยุค 4.0" เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการด้านความหลากหลายทางชีวภาพ แก่นักเรียน นักศึกษา ตลอดจนผู้สนใจและประชาชนทั่วไป รวมถึงส่งเสริมและกระตุ้นศาสตร์ด้านการศึกษาธรรมชาติให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากยิ่งขึ้น พร้อมฉลองครบรอบสถาปนา 23 ปี ของ อพวช. เปิดเผยข้อมูลการค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่กว่า 73 ชนิด จากนักธรรมชาติวิทยา 
          ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กล่าวว่า "อพวช. นอกจากมีภารกิจหลักในการสร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์ รวมถึงการเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งมีพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา หนึ่งในพิพิธภัณฑ์ของ อพวช. ที่จัดแสดงนิทรรศการและกิจกรรมให้แก่ประชาชนเพื่อได้เกิดความตระหนักด้านธรรมชาติ ทั้งยังได้ดำเนินงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพในด้านต่างๆ ทั้งการศึกษาวิจัย การสำรวจ และเก็บรวบรวมตัวอย่างอ้างอิง รวมถึงองค์ความรู้ด้านธรรมชาติวิทยา โดยดำเนินการมาไม่น้อยกว่า 16 ปี เริ่มจากการได้รับบริจาคตัวอย่างจากครอบครัว คุณหมอบุญส่ง เลขะกุล และหลังจากนั้นก็ได้รับบริจาคจากบุคคลและหน่วยงานต่าง ๆ ด้วยดีมาโดยตลอด อีกทั้งตัวอย่างส่วนหนึ่งได้จากนักธรรมชาติวิทยาของ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา ซึ่งปัจจุบันได้เก็บรวบรวมตัวอย่างสิ่งมีชีวิตไว้ ไม่น้อยกว่า 100,000 ชิ้น และนั่นก็คือสมบัติอันล้ำค่าของคนไทยทุกคน และในโอกาสครบรอบ 23 ปี อพวช. ในวันที่ 30 มกราคม นี้ อพวช. จึงกำหนดจัดการเสวนา เรื่อง "สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่สำคัญอย่างไรกับคนไทยและโลกในยุค 4.0" เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้กัน ระหว่างนักวิชาการ และนักเรียน นักศึกษา ผู้สนใจ และประชาชนโดยทั่วไป เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจด้านอนุกรมวิธาน และสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ของโลกที่มีความสำคัญต่อมนุษย์บนโลกปัจจุบัน
          ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลาที่นักธรรมชาติวิทยา ของ อพวช. ได้ทำงานสำรวจทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพ และศึกษาอนุกรมวิธานสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ และยังได้ค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ที่มีถิ่นอาศัยอยู่ในอาณาเขตประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ไม่น้อยกว่า 73 ชนิด ยกตัวอย่างในปี พ.ศ.2556 ได้ค้นพบมดชนิดใหม่ของโลกจำนวน 22 ชนิด จากภูมิภาคอาเซียนในจำนวนนี้ 9 ชนิดตั้งชื่อจากประเทศไทย และมีหนึ่งชนิดที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯพระราชทานนามมด ชื่อว่า "มดต้นไม้สิรินธร" (Cladomyrma sirindhornae) และในปีล่าสุด พ.ศ. 2560 ได้ค้นพบ ไผ่หนึ่งชนิด คือ "ไผ่ข้อหนาม" (Chimonocalamus elegans) และ ปลาหนึ่งชนิด ชื่อ "ปลากะรังจิ๋วแถบแดง" (Sacura sanguniea) ซึ่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ที่ถูกค้นพบกว่า 73 ชนิด ในระยะเวลาตั้งแต่ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีการจัดแสดงนิทรรศการการค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ภายในพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาอีกด้วย" 
          สำหรับผู้สนใจสามารถเข้ามาสัมผัสเรื่องราวความน่าอัศจรรย์ของธรรมชาติ ได้ที่ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา ณ อพวช. ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี โดยเปิดให้บริการทุกวันอังคาร – ศุกร์ เวลา 09.30 -16.00 น. วันเสาร์ – อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 09.30 -17.00 น. (หยุดทุกวันจันทร์) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร 0-2577-9960 หรือ Facebook : พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา Natural History Museum
ครบรอบ 23 ปี อพวช.จัดเสวนาส่งเสริมด้านอนุกรมวิธาน เรื่อง  “สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่สำคัญอย่างไรกับคนไทยและโลกในยุค 4.0” พร้อมเปิดเผยผลการค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ กว่า 73 ชนิด
ครบรอบ 23 ปี อพวช.จัดเสวนาส่งเสริมด้านอนุกรมวิธาน เรื่อง  “สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่สำคัญอย่างไรกับคนไทยและโลกในยุค 4.0” พร้อมเปิดเผยผลการค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ กว่า 73 ชนิด
ครบรอบ 23 ปี อพวช.จัดเสวนาส่งเสริมด้านอนุกรมวิธาน เรื่อง  “สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่สำคัญอย่างไรกับคนไทยและโลกในยุค 4.0” พร้อมเปิดเผยผลการค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ กว่า 73 ชนิด
ครบรอบ 23 ปี อพวช.จัดเสวนาส่งเสริมด้านอนุกรมวิธาน เรื่อง  “สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่สำคัญอย่างไรกับคนไทยและโลกในยุค 4.0” พร้อมเปิดเผยผลการค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ กว่า 73 ชนิด


ข่าวองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ+กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีวันนี้

พิธีปิดโครงการ สานใจไทย สู่ใจใต้ รุ่น 35 สะท้อนภาพการร่วมสร้างความสมานฉันท์ ณ อพวช. คลองห้า ปทุมธานี

เยาวชนชายแดนภาคใต้ 310 คน และครอบครัวอุปถัมภ์ร่วมอำลาในพิธีปิดโครงการ "สานใจไทย สู่ใจใต้" รุ่นที่ 35 สะท้อนภาพการร่วมสร้างความสมานฉันท์ โดยมี พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นประธานในพิธีปิด ณ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) คลองห้า ปทุมธานี วันนี้ (วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน 2562) เวลา 10.00 น. ที่องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี ประธานคณะกรรมการดำเนินการโครงการ "สานใจไทย สู่ใจใต้" ได้กล่าวขอบคุณในการ

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยองค์การ... สงกรานต์มหาสนุกกับ อพวช. ชวนย้อนอดีตการละเล่นพื้นบ้าน 12 – 17 เม.ย. นี้ — กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) จ...

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยองค์การ... อพวช. จัดงาน Natural History Forum ตอน “วิกฤตเต่าทะเล” ร่วมรณรงค์ลดการทิ้งขยะลงทะเล — กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชา...

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยองค์การ... อพวช. นำนิทรรศการ “ธรรมชาติบันดาลใจ” จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา เซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน — กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร...

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ขอแสดงควา... นิสิต คณะวิทยาศาสตร์ ม.พะเยา คว้านักสื่อสารวิทยาศาสตร์ดีเด่น เวทีระดับชาติ YTSA#20 — คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ขอแสดงความยินดีเป็นอย่างยิ่งกับ นางสา...

อพวช. ชวนเที่ยวงาน "ถนนสายวิทยาศาสตร์ รับ... อพวช. ชวนเที่ยวงาน "ถนนสายวิทยาศาสตร์ รับวันเด็กแห่งชาติ 2568" — อพวช. ชวนเที่ยวงาน "ถนนสายวิทยาศาสตร์ รับวันเด็กแห่งชาติ 2568" ภายใต้แนวคิด "Little Scien...