"
เครือข่ายจิตอาสา"รวมพลังภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน"รัฐ-เอกชน-การศึกษา-ประชาสังคม"ร่วม 100 องค์กรจัด "งานประชุมระดับชาติด้านการอาสาสมัคร ครั้งที่ 3" วันที่ 9-10 มกราคมนี้ ณ ม.ธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านอาสาสมัครในมิติต่างๆ กับผู้เข้าร่วมกว่า 600-800 คน ทั้งจากองค์กรในประเทศและองค์กร
ระหว่างประเทศ นับเป็นเวทีวิชาการงานอาสาสมัครระดับประเทศที่มีผู้เชี่ยวชาญเข้าร่วมมากที่สุด ตั้งเป้าหมายยกระดับงานอาสาสมัครให้เข้าไปมีบทบาทสำคัญในงานพัฒนา
ความยั่งยืน หรือ SDGs
จากแนวคิดเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ขององค์การสหประชาชาติที่ประกาศออกมาเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2558 เพื่อวางกรอบแนวคิดเรื่องการพัฒนาให้อยู่ในมิติทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ประกอบไปด้วยเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน 17 เป้าหมายนั้น
นางสาวนันทินี มาลานนท์ ผู้จัดการเครือข่ายจิตอาสา (Volunteer Spirit Network) องค์กรตัวกลางด้านการจัดการอาสาสมัครที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมไทยมานานกว่า 13 ปี กล่าวว่างานอาสาสมัคร (Volunteering) ถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทำงานด้านการพัฒนามายาวนานและการพัฒนาอย่างยั่งยืนจะประสบความสำเร็จได้นั้น องค์ประกอบสำคัญหนึ่ง คือ อาสาสมัคร ซึ่งจะเป็นพลังหนุนเสริมกิจกรรมซึ่งเป็นภารกิจสำคัญของสังคม ดังนั้น จึงร่วมมือกับภาคีเครือข่ายสานต่อการจัดงานประชุมระดับชาติด้านการอาสาสมัครครั้งที่ 3 เพื่อเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนองค์ความรู้การจัดการงานอาสาสมัครทั้งในระดับประเทศและระดับโลก ทำให้ผู้เข้าร่วมงานมองเห็นมิติที่หลากหลายของงานอาสาสมัครนำมาสู่การพัฒนาร่วมกันและยกระดับการขับเคลื่อนงานอาสาสมัครให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน และร่วมให้งานอาสาสมัครเป็นเครื่องมือสร้างพลเมืองที่มีจิตสาธารณะที่จะมีส่วนร่วมเพื่อส่วนรวม (Active Citizen)
งาน"ประชุมระดับชาติด้านการอาสาสมัคร ครั้งที่ 3"จะถูกจัดขึ้น 2 วันต่อเนื่องกัน (9-10 ม.ค. 2561) กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วม ประกอบด้วย องค์กรภาคีที่ขับเคลื่อนงานอาสาสมัครจากภาคส่วนต่างๆทั้งในประเทศกว่า 50 แห่ง สถาบันการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยกว่า 30 องค์กร อาสามัครองค์กร อาสาสมัครที่เป็นประชาชนทั่วไป และองค์กรระหว่างประเทศ คาดว่ามีจำนวนผู้ข้าร่วมประมาณ 600-800 คน
เกี่ยวกับเนื้อหางานวันที่ 9 มกราคม ช่วงเช้าหลังพิธีเปิดจะมีปาฐกถาพิเศษ "ประเทศไทยและการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน" โดยนางกาญจนา ภัทรโชค อธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ
จากนั้นจะเข้าสู่การสัมมาเชิงวิชาการในหัวข้อ "การขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนสู่การปฏิบัติด้วยกระบวนการอาสาสมัคร" ช่วงบ่ายจะเป็นการนำเสนอในห้องประชุมย่อย 2 ประเด็นหลัก ได้แก่ กระบวนการอาสาสมัครในฐานะเครื่องมือการพัฒนาทรัพยากร มนุษย์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนและการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยกระบวนการงานอาสาสมัครในเป้าหมายด้านคุณภาพการศึกษาและคุณภาพชีวิต
วันที่ 10 มกราคม ช่วงเช้าจนถึงช่วงบ่ายผู้เข้าร่วมงานจะเข้าสู่ห้องประชุมย่อย เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการยกระดับงานอาสาสมัครเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ประกอบด้วย 22 หัวข้อ ได้แก่ 1.การพัฒนานักศึกษาด้วยกระบวนการอาสาสมัคร 2. จากอาสาสมัครสู่การพัฒนาเป็นมืออาชีพ 3. การพัฒนาศักยภาพและการเปลี่ยนแปลงตนเองที่เกิดขึ้นจากการเป็นอาสาสมัคร 4. อาสาสมัครพนักงานองค์กรเพื่อการพัฒนาศักยภาพความเป็นผู้นำการมีส่วนร่วมของบุคลากร 5. การนำเสนอผลงานวิจัย "Impact beyond Volunteering" ว่าด้วยผลกระทบจากการทำงานอาสาสมัครที่สร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตัวเองของ อาสาสมัครและการพัฒนาอย่างยั่งยืน 6. การพัฒนาคุณภาพการศึกษาผ่านกระบวนการงานอาสาสมัคร 7. กระบวนการอาสาสมัครในมหาวิทยาลัยกับการพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษา 8.การจัดการเรียนการสอนด้วยการบริการสังคม
9. การใช้กระบวนการอาสาสมัครเพื่อการแก้ไขและพัฒนาศูนย์การเรียนชุมชน 10.อาสาสมัครผู้เชี่ยวชาญกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนและสังคม 11.การผลักดันเชิงนโยบาย กฎหมาย หรือยุทธศาสตร์เพื่อสร้างสภาพ แวดล้อมที่ส่งเสริมการทำงานอาสาสมัครทั้งในระดับประเทศและระดับพื้นที่ 12.การพัฒนาความร่วมมือและการทำงานแบบเป็นภาคีหุ้นส่วนที่ยั่งยืน ระหว่างภาคธุรกิจ สังคม และราชการ ด้วยกระบวนการด้านการอาสาสมัคร 13.ถอดรหัสแคมเปญสร้างสรรค์สังคม 14.ทักษะชีวิต พัฒนาจิต นวัตกรรมจิตอาสา 15.บทบาทอาสาสมัครกับการสร้างสันติภาพและความเป็นธรรม 16 .การยกระดับขบวนการเยาวชนอาสาสมัคร
17.เส้นทางการพัฒนาระบบสนับสนุนงานอาสาสมัครในการส่งเสริมงานอาสาสมัครในมหาวิทยาลัย กรณีศึกษาการพัฒนานโยบายและกลไกของมหาวิทยาลัย ในการส่งเสริมงานอาสาสมัครเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน 18.บทบาทภาคธุรกิจกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วยอาสาสมัครพนักงาน องค์กร 19.การบริหารจัดการอาสาสมัครในโรงพยาบาล 20.งานสื่อสารออนไลน์เพื่องานด้านอาสาสมัคร 21.รูปแบบการบริหารจัดการอาสาสมัครเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรและอยู่กับคนทำงานเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนองค์กร 22.บทบาทอาสาสมัครกับประเด็นผู้ลี้ภัย
จากนั้นจะมีเวทีเสวนาปิดในหัวข้อ "ก้าวต่อไปของการขับเคลื่อนงานอาสาสมัครเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในประเทศไทย" โดยวิทยากรทั้งจากภาคประชาสังคม สถาบันศึกษา ภาคเอกชน และภาครัฐ
"เราเน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จึงให้ความสำคัญกับการสัมมนาเชิงปฏิบัติการณ์ ในงานนี้จึงมีการประชุมห้องย่อยกว่า 22 หัวข้อ และทั้งหมดมาจากการออกแบบเนื้อหาของภาคีเครือข่าย เราจึงมั่นใจว่า ท่านผู้เข้าร่วมที่สนใจงานอาสาสมัครมางานนีแล้วจะได้ความรู้ใหม่ โอกาสใหม่และภาคีเครือข่ายเพื่อนใหม่กลับไปพัฒนางานของท่าน หรือองค์กรของท่านแน่นอน" นางสาวนันทินี กล่าว
รายละเอียดติดตามและลงทะเบียนร่วมงานได้ที่ www.volunteerspirit.org