เปิดตำนาน เพลงร้องศิลป์ในประเทศไทยกับผลงาน ดร. สายสุรี จุติกุล

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติร่วมกับสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนาขอเชิญเข้าร่วมชมการแสดงคอนเสิร์ตในโครงการวิจัยเรื่อง "เพลงร้องศิลป์ในประเทศไทย : การเรียบเรียงและการแสดงผลงานเพลงร้องของ ดร.สายสุรี จุติกุล" โดย ดร.ชัญพงศ์ ทองสว่าง ในวันอาทิตย์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2561 เวลา 14:00 น. ณ ห้องสังคีตวัฒนา สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา โดยเปิดให้ผู้สนใจเข้าชมฟรี
          รายการแสดงประกอบด้วย 14 บทประพันธ์เพลงร้องของ ดร.สายสุรี จุติกุล และวรรณกรรมเพลงร้องไทย ประพันธ์โดย ท่านผู้หญิงพวงร้อย (สนิทวงศ์) อภัยวงศ์ นาวาตรีปิยะพันธ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา อาจารย์ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี และอาจารย์ณัฐ ยนตรรักษ์ บรรเลงเปียโนโดย ดร.ชัญพงศ์ ทองสว่าง และมรกต เชิดชูงาม ร่วมกับนักไวโอลินรับเชิญ อ.สิทธิชัย เพ็งเจริญ และนักร้องรับเชิญ อ.ใจรัตน์ พิทักษ์เจริญ ผศ.พงษ์ศักดิ์ อารยางกูร กรวิช เทพหัสดิน มัชฌิมา มีบำรุง และศิโยน ดาวรัตนหงษ์
          เพลงร้องศิลป์ (Art Song) เป็นเพลงขับร้องคลาสสิกขนาดสั้น มีที่มาจากชื่อประเภทบทเพลงร้องเยอรมันที่เรียกว่า "Lieder" (ลีเดอร์) โดยทั่วไปจะหมายความถึงลีเดอร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 สำหรับการขับร้องควบคู่ไปกับการบรรเลงเปียโนประกอบ ได้แก่ ลีเดอร์ที่ประพันธ์โดย ฟรานซ์ ชูเบิร์ต โรเบิร์ต ชูมานน์ และ โยฮันเนส บราห์มส์ เป็นต้น บทเพลงเหล่านี้ต้องใช้ทักษะและเทคนิคการขับร้องขั้นสูง คีตกวีจะประพันธ์แนวบรรเลงเปียโนอย่างพิถีพิถันให้สอดคล้องกับคำร้อง บทเพลงลีเดอร์เยอรมันตั้งแต่ช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 คีตกวีคนสำคัญจะประยุกต์แนวคิดวาทศาสตร์และประพันธ์ดนตรีให้เหมาะสมกับเนื้อหาของบทกวีที่คัดสรรมา
          เพลงร้องศิลป์เริ่มเป็นที่รู้จักในประเทศไทยในราวคริสต์ศตวรรษที่ 20 ดังปรากฏว่ามีอาจารย์ชาวไทยได้ประพันธ์เพลงร้องศิลป์ขึ้น ได้แก่ ดร.สายสุรี จุติกุล เพลงร้องศิลป์นี้ถือเป็นผลงานที่สะท้อนให้เห็นศิลปวัฒนธรรมไทย รวมทั้งแสดงการผสมผสานกันระหว่างดนตรีไทยกับดนตรีคลาสสิกตะวันตก เช่น การเขียนทำนองในบันไดเสียงห้าเสียงแบบไทยเข้ากับแนวคอร์ดประสานแบบคลาสสิกตะวันตกเพลงเหล่านี้มีคำร้องภาษาไทยที่สละสลวยและสอดคล้องกับแนวทำนองที่ไพเราะ ผู้ประพันธ์จำเป็นต้องเขียนแนวทำนองเพลงอย่างพิถีพิถันเพื่อให้เข้ากับคำร้องและความหมายของเนื้อเพลง
          ผู้ที่สนใจสามารถสำรองที่นั่งได้โดยไม่เสียค่าเข้าชมได้ทางโทรศัพท์ 02-447-8597 (ต่อ 1130) และสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.pgvim.ac.th สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา 2010 อรุณอัมรินทร์ 36 บางยี่ขัน บางพลัด กรุงเทพฯ 10700
เปิดตำนาน เพลงร้องศิลป์ในประเทศไทยกับผลงาน ดร. สายสุรี จุติกุล

ข่าวสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ+สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนาวันนี้

วิศวะมหิดล รวมพลัง 3 องค์กร เดินหน้า เฟส 3 พัฒนาระบบโลจิสติกส์และ Big Data สาธารณสุขไทย

สามองค์กรผู้นำระบบเฮลท์แคร์และเฮลท์เทคของไทย ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข, คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย ศูนย์การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสุขภาพ (LogHealth) และ สมาคมการค้าเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการเทคโนโลยีรายใหม่ สนับสนุนโดย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ลงนาม MOU ข้อตกลงความร่วมมือเดินหน้าเฟส 3 "โครงการศึกษาวิจัยเพื่อออกแบบและพัฒนาระบบโลจิสติกส์โครงสร้างพื้นฐานและระบบบูรณาการข้อมูลสารสนเทศและ Big Data ด้านสาธารณสุข" ในงานสัมมนาวิชาการ Thailand Healthcare & HealthTech

นักวิจัย ม.มหิดล คว้ารางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2563 คิดค้นยาชีวภาพแอนติบอดีมนุษย์สำหรับรักษาโรคไข้เลือดออก

เมื่อเร็วๆ นี้ ศาสตราจารย์ ดร. นายสัตวแพทย์พงศ์ราม รามสูต หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยแอนติบอดี และ หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์สังคมและสิ่งแวดล้อม คณะเวชศาสตร์เขตร้อน...

เมื่อเร็วๆ นี้ นายนันทวัฒน์ ขยันกสิกรรม น... นศ.สาขาเคมีสวนสุนันทาคว้า “เหรียญทองแดง” งานวิจัยแห่งชาติ’62 — เมื่อเร็วๆ นี้ นายนันทวัฒน์ ขยันกสิกรรม นางสาวจิตตรา มาแสวง และนางสาวเกศินี ปาทา นักศึกษาชั...

นายวุฒิชัย สุระรัตน์ชัย ผู้จัดการธนาคารอิ... ภาพข่าว: ไอแบงก์ ร่วมยินดีอ.มะรอนิง ประธานที่ปรึกษาด้านศาสนารับรางวัลวิจัยระดับประเทศ — นายวุฒิชัย สุระรัตน์ชัย ผู้จัดการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก...

เพื่อนๆ รอคิวยาวเพื่อจะเลี้ยงแสดงความยินด... แสดงความยินดีกับนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ — เพื่อนๆ รอคิวยาวเพื่อจะเลี้ยงแสดงความยินดีกับ ศ.นพ.สุรเดช หงส์อิง ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัย คณะแพทยศาสตร์...