บริษัท โรเบิร์ต บ๊อช จำกัด แผนกระบบรักษาความปลอดภัย (Security Systems) จะมีการเปลี่ยนชื่อแผนกเป็น "เทคโนโลยีอาคาร (Building Technologies)" เพื่อเป็นการสะท้อนภาพรวมของธุรกิจได้ดียิ่งขึ้นต่อไปในอนาคต โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2561 เป็นต้นไป ซึ่งมีการแบ่งโครงสร้างงานเป็น 2 ส่วนที่ทำงานแยกอิสระกัน ได้แก่ system integration และ product business
1.) System integration ส่วนงานที่ให้บริการด้านการทำโซลูชั่นสำหรับอาคารพาณิชย์ โดยมีประเทศที่จะดำเนินธุรกิจในส่วนนี้ทั้งสิ้น 8 ประเทศ ไม่รวมประเทศไทย ทั้งนี้ ขอบข่ายงานอาจแตกต่างกันไปตามภูมิภาค อาทิ ระบบรักษาความปลอดภัยอาคาร ระบบจัดการพลังงาน และระบบจัดการควบคุมอาคารอัตโนมัติ ซึ่งจะให้บริการครอบคลุมตั้งแต่การวางแผน การติดตั้ง และการใช้งานโซลูชั่นต่างๆ ตลอดจนการบริการอื่นๆให้แก่เจ้าของโครงการแบบเบ็ดเสร็จ
2.) Product business ส่วนงานธุรกิจผลิตภัณฑ์จะแบ่งออกเป็น 3 หน่วยธุรกิจ และยังคงจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทั่วโลกผ่านผู้จัดจำหน่าย หรือ system integrator ในแต่ละประเทศ ดังต่อไปนี้
? หน่วยธุรกิจผลิตภัณฑ์ระบบรักษาความปลอดภัย (Security) ได้แก่ ระบบวิดีโอ (ระบบโทรทัศน์วงจรปิด) ระบบแจ้งเตือนการบุกรุก ระบบควบคุมการเข้า-ออก และซอฟต์แวร์บริหารจัดการระบบรักษาความปลอดภัย
? หน่วยธุรกิจผลิตภัณฑ์ระบบแจ้งเตือนอัคคีภัย (Fire Alarm)
? หน่วยธุรกิจผลิตภัณฑ์ระบบการสื่อสาร (Communications) ได้แก่ ระบบเสียงประกาศสาธารณะ ระบบประชุม และระบบเสียงโปรซาวด์
ขั้นตอนนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อชื่อนิติบุคคลของแผนก
ในธุรกิจผลิตภัณฑ์นี้ จะรวมระบบวิดีโอ (ระบบโทรทัศน์วงจรปิด) ระบบแจ้งเตือนการบุกรุก ตลอดจนระบบควบคุมการเข้า-ออก และซอฟต์แวร์บริหารจัดการระบบรักษาความปลอดภัยเข้าด้วยกัน เป็นหน่วยธุรกิจเดียว คือ "Security" โดยการเปลี่ยนแปลงนี้ ทางบริษัทฯมีวัตถุประสงค์ที่จะตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งในอนาคตต่อจากนี้ เราตั้งใจที่จะเป็นผู้กำหนดทิศทางกระบวนการเปลี่ยนแปลงในยุคเทคโนโลยี IoT (Internet of Things) และมุ่งเน้นเรื่องการเชื่อมต่อ รวมทั้งโซลูชั่นและการบริการแบบครบวงจร
www.th.boschsecurity.com
[email protected]
แคสเปอร์สกี้ชี้ องค์กรธุรกิจต่าง ๆ ให้ความสำคัญกับการรักษาความปลอดภัยเครือข่ายออนไลน์มากขึ้น การโจมตีผ่านวิธีการ 'ออฟไลน์' จึงได้รับความนิยมมากขึ้น ถึงจะเป็นภัยคุกคามที่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักแต่ก็อันตรายไม่แพ้กัน ในปี 2024 แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) ตรวจพบและป้องกันการโจมตีด้วยมัลแวร์บนอุปกรณ์ (on-device malware) มีเป้าหมายเป็นองค์กรธุรกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA) ได้เกือบ 50 ล้านครั้ง ตัวเลขที่น่าตกใจนี้เน้นย้ำถึงความจำเป็นเร่งด่วนที่องค์กรต่าง ๆ จะต้องเสริมความแข็งแกร่ง
ฟอร์ติเน็ต เผยรายงานภัยคุกคาม ชี้ การโจมตีทางไซเบอร์แบบอัตโนมัติ ทะลุสถิติ ทะยานสูงเป็นประวัติการณ์ ผู้โจมตีใช้ AI และเทคนิคใหม่ล่าสุดเป็นเครื่องมือ
—
รายงานภัยคุ...
รายงานแคสเปอร์สกี้ระบุองค์กรอุตฯ เกือบ 40% กังวลความปลอดภัยไซเบอร์ขวางแผนดิจิทัล
—
ผลการวิจัยของแคสเปอร์สกี้ระบุว่า ความกังวลด้านความปลอดภัยไซเบอร์กลายเป็...
Secutech Thailand 2025 ปักหมุดศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ 5-7 พฤศจิกายน 2568
—
Secutech Thailand 2025 ปักหมุดศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ สถานที่จั...
รายงานการสนองตอบต่อเหตุการณ์ภัยไซเบอร์ระดับโลกจาก Unit 42 ปี 2568 เผยว่าเหตุการณ์ภัยไซเบอร์เกือบ 44% เกี่ยวข้องกับเว็บเบราว์เซอร์
—
พาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์ก...
ฟอร์ติเน็ต หนุนโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ อบรมฟรี "ปัญญาประดิษฐ์สำหรับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์" มอบใบเซอร์นักศึกษาและบุคคลทั่วไป
—
ฟอร์ติเน็ตให้การสนับสนุนหล...
มั่นใจทุกมิติ! ไอคอนสยามผนึกกำลังหน่วยงานภาครัฐ เตรียมพร้อมมาตรการรักษาความปลอดภัยเข้มข้นรับสงกรานต์ 2025 สร้างความเชื่อมั่นสูงสุดแก่ผู้มาร่วมงาน
—
ไอคอนสยาม ร...
สายสีแดง เพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัย และอำนวยความสะดวกผู้ใช้บริการ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์
—
รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง เพิ่มมาตรการในด้านการรักษาความปลอดภัยอย...
เอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย) คว้ารางวัล National Distributor Award จาก Hikvision
—
บมจ. เอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติรับรางวัล Na...
Cloudflare เปิดตัว Cloudflare for AI ชุดเครื่องมือเพื่อปกป้องการใช้ AI เต็มรูปแบบ เหมาะสำหรับธุรกิจทุกขนาด
—
ชุดเครื่องมือที่มีความสามารถในการรักษาความปลอ...