ก.แรงงาน รับลูกครม. เร่งพัฒนาทักษะรองรับอัตราค่าจ้างมาตรฐานฝีมือ 16 สาขาอาชีพ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          นายสุทธิ สุโกศล อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่าจากการที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบการกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ แบ่งเป็น 4 กลุ่มอุตสาหกรรม 16 สาขาอาชีพ ประกอบด้วย กลุ่มแรกอุตสาหกรรมเหล็ก กลุ่มที่ 2 กลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก กลุ่มที่ 3 กลุ่มอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ และกลุ่มที่ 4 อุตสาหกรรมรองเท้า โดยค่าจ้างอยู่ระหว่าง 340-600 บาท เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำก่อนหน้านี้ และเป็นการกระตุ้นให้คนทำงานมีการพัฒนาทักษะฝีมือตามสาขาอาชีพนั้น พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้กำชับให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน ในฐานะหน่วยงานหลักด้านการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน เร่งดำเนินการเตรียมความพร้อมในเพิ่มทักษะให้เป็นไปตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน ตามแนวทางที่พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี สั่งการให้ดำเนินการรอบด้าน ทั้งการสร้างความเข้าใจ การฝึกอบรม และสร้างมาตรฐานฝีมือให้เป็นที่ยอมรับ
          นายสุทธิ กล่าวต่อไปว่าการประกาศอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือในครั้งนี้เป็นการประกาศเพิ่มเติมจากที่มีอยู่เดิม 14 กลุ่มอุตสาหกรรม 67 สาขาอาชีพ กพร. มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัดสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน (สพร.) และสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงาน (สนพ.) 77 แห่ง เป็นศูนย์ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานให้กับพนักงาน ช่างฝีมือ นักศึกษาอาชีวะในการรับอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน และอนุญาตให้ภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา จัดตั้งเป็นศูนย์ทดสอบฯ อีกจำนวน 586 แห่ง ทั่วประเทศ ส่วนในบางสาขาอาชีพโดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีชั้นสูง มีการใช้แนวทางประชารัฐประสานหน่วยงานในพื้นที่จัดการทดสอบในสถานประกอบกิจการที่มีเครื่องมือทันสมัย เป็นต้น
          "เกณฑ์ที่ใช้ในการทดสอบฯ ประกอบด้วยความปลอดภัยในการทำงาน การใช้วัสดุอย่างประหยัด การใช้เครื่องมือเครื่องจักร ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ขั้นตอนการทำงาน เป็นข้อกำหนดทางวิชาการในการวัดระดับฝีมือ ความรู้ ความสามารถและทัศนคติในการทำงานของผู้ประกอบอาชีพในสาขาต่างๆ ประโยชน์ต่อทั้งนายจ้างและสถานประกอบกิจการ ใช้คัดเลือกบุคลากรที่มีทักษะฝีมือเข้าปฏิบัติงานในองค์กร ประกอบการเลื่อนตำแหน่งงาน ขั้นเงินเดือน ช่วยลดปัญหาความขัดแย้งในองค์กร ลดอัตราความเสียหายอันเนื่องจากอุบัติเหตุและการทำงานไม่มีประสิทธิภาพ เพิ่มคุณภาพและผลผลิตของสินค้าและการบริการ สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค และคนทำงาน ทราบระดับทักษะฝีมือและข้อบกพร่องของตนเอง เป็นแนวทางการวางแผนการพัฒนาฝีมือแรงงานของตนตามความสามารถ เพิ่มโอกาสการจ้างงานสำหรับบุคคลที่ไม่มีวุฒิการศึกษา ให้ได้รับค่าจ้างค่าตอบแทนที่เป็นธรรมมีมาตรฐาน พร้อมใบรับรองเป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน 0 2245 4837 และสายด่วน 1506 ต่อ 4" อธิบดีกพร. กล่าว
ก.แรงงาน รับลูกครม. เร่งพัฒนาทักษะรองรับอัตราค่าจ้างมาตรฐานฝีมือ 16 สาขาอาชีพ
 
ก.แรงงาน รับลูกครม. เร่งพัฒนาทักษะรองรับอัตราค่าจ้างมาตรฐานฝีมือ 16 สาขาอาชีพ
ก.แรงงาน รับลูกครม. เร่งพัฒนาทักษะรองรับอัตราค่าจ้างมาตรฐานฝีมือ 16 สาขาอาชีพ
ก.แรงงาน รับลูกครม. เร่งพัฒนาทักษะรองรับอัตราค่าจ้างมาตรฐานฝีมือ 16 สาขาอาชีพ

ข่าวกลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก+อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์วันนี้

PPP Plastics ประกาศความร่วมมือ "Building Ecosystem for Plastic Circularity" ผนึกพันธมิตรเดินหน้ายกระดับซาเล้ง และร้านรับซื้อของเก่าสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน

โครงการความร่วมมือภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม เพื่อจัดการพลาสติกและขยะอย่างยั่งยืน (PPP Plastics) ภายใต้การนำขององค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (TBCSD) ร่วมกับ กลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และองค์กรภาคีเครือข่ายจากทุกภาคส่วนที่เป็นผู้นำด้านการกำหนดนโยบายและกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการจัดการพลาสติกของประเทศไทย ได้ร่วมกันจัดงานแถลงข่าวผลงาน PPP Plastics "Building Ecosystem for Plastic Circularity" โดยมีการแถลงผลการดำเนินงานและการส่งมอบตำแหน่งประธาน PPP Plastics การ

โครงการความร่วมมือภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคประ... PPP Plastics ผนึกกำลังร่วมกับองค์กรพันธมิตรเดินหน้าแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกของประเทศไทย — โครงการความร่วมมือภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม เพื่อจัดการพลาสติกแ...

กทม.บูรณาการแนวทางจัดการขยะหน้ากากอนามัย - รณรงค์แยกทิ้งมูลฝอยติดเชื้อโควิด-19

นายวิรัตน์ มนัสสนิทวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม กทม. กล่าวถึงแนวทางบริหารจัดการขยะหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากทางการแพทย์ที่ใช้แล้ว โดยเฉพาะหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วในภาคครัวเรือนว่า กรุงเทพมหานคร โดยสำนักสิ่งแวดล้อม ...