ผู้เชี่ยวชาญด้าน Online Payment เผย Blockchain จะมีบทบาทอย่างยิ่งในอนาคต

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          ภายในงานแสดงศักยภาพการให้บริการโทรคมนาคมครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งปี CAT NETWORK SHOWCASE 2017 ซึ่งบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT ผู้นำการให้บริการสื่อสารโทรคมนาคมรายใหญ่ของประเทศไทย จัดขึ้นภายใต้แนวความคิด Thailand 4.0 Let's Rock เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา โดย CAT ได้รวบรวมสุดยอดผู้เชี่ยวชาญจากวงการไอที หมุนเวียนกันมาให้ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัลใหม่ๆ ตลอดทั้งวัน ในการนี้ คุณสุวิชา นะลิตา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท TreePay ประเทศไทย ผู้เชี่ยวชาญด้าน Online Payment ได้กล่าวถึง เทคโนโลยี Blockchain ในอนาคตไว้อย่างน่าสนใจ
          "นับตั้งแต่ นักพัฒนาด้านซอฟต์แวร์ผู้ใช้นามแฝงว่า ซาโตชิ นากาโมโตะ (SATOSHI NAKAMOTO) นำเสนอสกุลเงินดิจิทัลที่เรียกว่า bitcoin ในปี 2008 ซึ่งถือเป็นสกุลเงินแรกของโลกที่ถูกเรียกว่า คริปโตเคอเรนซี (Cryptocurrency) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสกุลเงินที่เป็นอิสระจากรัฐบาลและธนาคาร, สามารถส่งหากันผ่านระบบอินเทอร์เนตและมีค่าธรรมเนียมที่ถูกมาก นำมาใช้ใน online payment โดยไม่มีคนกลาง ทำให้ bitcoin ได้รับการกล่าวถึง และเป็นการจุดประกายความสนใจของคนทั่วโลก โดยล่าสุดมีมูลค่า กว่า 1 ล้านล้าน ยูเอสดอลล่าร์ และนั่นทำให้โลกรู้จัก platform ของ Bitcoin ที่เราเรียกกันว่าบล็อกเชน (Blockchain)"
          "Blockchain ถือเสมือนเป็นระบบปฏิบัติการแบบใหม่ที่เกิดขึ้น โดยมีหลักการทำงานคือ การแชร์ข้อมูลร่วมกันบนเครือข่าย ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลของแต่ละคนบนเครือข่ายได้เหมือนกันหมด เมื่อมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างคนใดคนหนึ่งในระบบ ทุกคนสามารถที่จะรับรู้และเป็นพยานในกิจกรรมดังกล่าว ซึ่งทำให้เกิดความปลอดภัย และเกิดความโปร่งใสในระบบ โดยก่อนหน้านี้ Blockchain ถูกใช้สำหรับ Cryptocurrency ซึ่งมีอยู่อยู่ราวๆ 1000 กว่าสกุล นับเป็นเพียง 1% ของศักยภาพของระบบนี้เท่านั้น เนื่องจาก Blockchain สามารถทำธุรกรรมระหว่างบุคคลหรือกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องได้อย่างสมบูรณ์ โดยไม่ต้องมีคนกลาง จึงทำให้การดำเนินธุรกรรมเป็นไปอย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังสามารถตรวจสอบธุรกรรมแต่ละรายการได้ จึงสามารถสร้างความโปร่งใสในการทำธุรกรรมและการดำเนินธุรกิจ แนวคิดของบล็อกเชนคือ ข้อมูลจะต้องมีความปลอดภัย มีการเผยแพร่ และบันทึกไว้ในทุกที่อย่างเป็นธรรม เพื่อป้องกันการปลอมแปลงโดยมิชอบ จึงเรียกได้ว่าเทคโนโลยี Blockchain ได้สร้างบรรทัดฐานใหม่ของในการยืนยันตน และยืนยันสิทธิ เพื่อทำธุรกรรมดิจิทัลอย่างปลอดภัยและถูกต้อง และด้วยความสามารถเหล่านี้ ทำให้ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นตรงกันว่าในอีก 5 ปี ข้างหน้า เราน่าจะเห็น Blockchain อยู่ในหลายๆ ระบบที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของมนุษย์ นอกเหนือจากด้านการเงิน เพราะนอกจาก Blockchain จะเป็นพื้นฐานสำคัญของการใช้ประโยชน์จาก IoT แล้ว ด้วยตัวระบบเอง ยังเอื้อประโยชน์ในการประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายรูปแบบอีกด้วย ทั้งนี้หน่วยงานภาครัฐในหลายๆ ประเทศ อาทิ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อิสราเอล ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย เริ่มมีนโยบายที่จะพัฒนาเทคโนโลยีบล็อกเชนมาปรับใช้เพื่อประโยชน์ต่อการทำงานของภาครัฐ และเมื่อดูจากสถิติของ Start up จากทั่วโลก ที่ใช้ระบบ Blockchain ในการพัฒนา Application ซึ่งเติบโตถึง 3 เท่าในระยะเวลาเพียงครึ่งเดือนแล้ว เชื่อว่าอีกไม่นาน เราน่าจะสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนี้ได้อย่างเต็มที่"
          นับได้ว่า "Blockchain" เป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่เกิดขึ้นซึ่งมาสร้างความเปลี่ยนแปลงในทุกส่วนของภาคอุตสาหกรรม ดังนั้นการศึกษา สร้างการรับรู้ การเตรียมความพร้อม และการสร้างความเข้าใจในเทคโนโลยีใหม่ ๆ จะกลายเป็นข้อได้เปรียบของผู้ประกอบการในการคว้าโอกาสใหม่ ๆ เหล่านี้มาประยุกต์ใช้ในการธุรกิจได้อย่างทันยุคสมัยและเกิดประโยชน์มากที่สุด ทั้งนี้ ทรีเพย์ ซึ่งเป็นบริษัทที่เกิดจากร่วมทุนระหว่าง บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT จากประเทศไทย ,บริษัท SK Telecom และ NHN KCP จากประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งดำเนินธุรกิจด้าน Payment Gateway และ e-Business อย่างครบวงจร ก็อยู่ระหว่างการศึกษาเทคโนโลยี Blockchain เพื่อนำมาพัฒนาและใช้ประโยชน์ต่อไปในอนาคต

ผู้เชี่ยวชาญด้าน Online Payment เผย Blockchain จะมีบทบาทอย่างยิ่งในอนาคต

ข่าวกสท โทรคมนาคม+สุวิชา นะลิตาวันนี้

NT เปิดตัวมาสคอตน้อง "Connect" เชื่อมต่อทุกสังคมและไลฟ์สไตล์ สู่เป้าหมายความสำเร็จของคนไทย

NT ก้าวสู่ปีที่ 2 เปิดตัวน้อง Connect มาสคอตตัวแทนการเชื่อมต่อแบรนด์ NT กับผู้คนและสังคมทั่วโลกผ่านดิจิทัลไลฟ์สไตล์ พันเอก สรรพชัยย์ หุวะนันทน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT กล่าวเนื่องในวาระครบรอบ 2 ปีวันคล้ายวันสถาปนาองค์กรว่าจากการที่ NT ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2564 โดยการควบรวมกิจการระหว่างบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) หรือ TOT มาเป็นบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT นั้น จนถึงปัจจุบัน

หลังจากที่มีการควบรวม บมจ.ทีโอที และ บมจ.... "เพาะพันธุ์ดี NT YOUTH CLUB" เทคโนโลยีดิจิทัล ยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน — หลังจากที่มีการควบรวม บมจ.ทีโอที และ บมจ. กสท โทรคมนาคม เป็น บริษัท โทรคมนาคมแห่งช...

นายวิโรจน์ โตเจริญวาณิช รองกรรมการผู้จัดก... NT จ่ายค่าคลื่น 700 MHz งวดแรก พร้อมเดินหน้าต่อยอดพัฒนาธุรกิจ 5G — นายวิโรจน์ โตเจริญวาณิช รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานสื่อสารไร้สาย 1 บริษัท โทรคมนาคมแ...

เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2564 นางสาวอัจฉรินทร... คณะผู้บริหารฯ ดีอีเอส ร่วมงานควบรวมตั้ง NT รัฐวิสาหกิจยักษ์ใหญ่ — เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2564 นางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจแ...

ดีอีเอส ชวน 4 หน่วยงานในสังกัด กรมอุตุนิย... ดีอีเอส จัดเต็มของขวัญปีใหม่ 2564 ให้คนไทยทั่วประเทศ — ดีอีเอส ชวน 4 หน่วยงานในสังกัด กรมอุตุนิยมวิทยา, ทีโอที, กสท โทรคมนาคม และไปรษณีย์ไทย มอบของขวัญปีใ...

CAT มอบของขวัญปีใหม่ 2564 ส่งต่อความสุขให... CAT ส่งสุขปีใหม่ มอบสิทธิพิเศษ พร้อม Wi-Fi โทรฯ ฟรีรับปี 64 — CAT มอบของขวัญปีใหม่ 2564 ส่งต่อความสุขให้ผู้ใช้บริการผ่านดิจิทัลเซอร์วิสทั่วประเทศ เริ่ม 30...