คอร์นเฟอร์รี่ เฮย์กรุ๊ป เผยรายงานอัตราเงินเดือนทั่วโลกปี 2018 ชี้อัตราค่าจ้างในเอเชียเติบโตสูงสุดแต่ไม่แรงเท่าปีก่อน

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          - อัตราการขึ้นเงินเดือนหลังหักอัตราเงินเฟ้อในแต่ละประเทศ ส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย
          - ชี้อัตราฯปรับเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเพียง 1.5% ตามค่าเงินเฟ้อ
          - อัตราการขึ้นเงินเดือนหลังหักอัตราเงินเฟ้อในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเพียงครึ่งหนึ่งของปีที่ผ่านมา
          - สหราชอาณาจักร อาหรับเอมิเรตส์ และอียิปต์ มีอัตราฯที่ปรับตัวต่ำลง

          ข้อมูลการคาดการณ์เงินเดือนปี ค.ศ. 2018 ซึ่งออกโดยคอร์นเฟอร์รี่ เฮย์กรุ๊ป (รหัสในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก: KFY) เผยผลสำรวจของภูมิภาคเอเชียมีการเติบโตของอัตราการขึ้นเงินเดือนหลังหักอัตราเงินเฟ้อ (Real wage) สูงสุด แม้อัตราการขึ้นเงินเดือนของปีนี้จะต่ำกว่าปีที่ผ่านมา
          สำหรับภูมิภาคเอเชีย คาดการณ์ว่าอัตราเงินเดือนจะเพิ่มขึ้นราว 5.4% ซึ่งลดลงจากที่คาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้น 6.1% จากเมื่อปีก่อน โดยคาดว่าการปรับขึ้นของอัตราการขึ้นเงินเดือนหลังหักอัตราเงินเฟ้อ (Real wage) จะอยู่ที่ราว 2.8% ซึ่งถือว่าเป็นอัตราสูงที่สุดในโลก แต่ยังลดลงจาก 4.3% ของปีก่อน โดยจีนมีการคาดการณ์ว่าอัตราฯจะเพิ่มขึ้นที่ 4.2% ในปี 2018 ใกล้เคียงกับที่คาดการณ์ไว้ในปีก่อนว่าจะเพิ่มขึ้น 4% ทั้งนี้ ขณะที่ประเทศส่วนใหญ่ในเอเชียมีอัตราฯมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องทุกปี อาทิ เวียดนามคาดการณ์ที่ 4.6% ลดลงจาก 7.2% ของปีก่อน สิงคโปร์ที่ 2.3% ลดจาก 4.7% ญี่ปุ่นที่ 1.6% ลดลงจาก 2.1% ของปีก่อน ส่วนประเทศไทย คาดการณ์ว่าอัตราการขึ้นเงินเดือนหลังหักอัตราเงินเฟ้อจะสูงขึ้น 4.5 % ซึ่งยังต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 5.6 % ในปีที่แล้ว
          ภูมิภาคส่วนใหญของโลกมีอัตราการขึ้นเงินเดือนหลังหักอัตราเงินเฟ้อลดต่ำลง
          เมื่อพิจารณาการปรับขึ้นตามภาวะเงินเฟ้อ คาดการณ์ว่าลูกจ้างทั่วโลกจะได้รับอัตราฯเฉลี่ยเพียง 1.5% ซึ่งลดลงจากที่คาดการณ์ปี 2017 ที่ 2.3% และ 2.5% ของปี 2016
          "เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นในแต่ละประเทศ เราจึงได้เห็นถึงการลดลงของอัตราการขึ้นเงินเดือนหลังหักอัตราเงินเฟ้อ" บ็อบ เวสเซลเคมเปอร์ หัวหน้าฝ่ายงานระหว่างประเทศ Rewards and Benefits Solutions ของ คอร์นเฟอร์รี่ เฮย์กรุ๊ป กล่าวว่า "อัตราฯของการเพิ่มหรือลดเงินเดือนจะแตกต่างไปตามตำแหน่งงาน อุตสาหกรรม ประเทศ และภูมิภาค แต่ประเด็นสำคัญที่เห็นชัดเจนคือ ในส่วนของพนักงานนั้น จะไม่สามารถรู้ได้ถึงการเพิ่มขึ้นของค่าตอบแทนที่แท้จริง เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา"
          ภูมิภาคออสตราเลเซียมีอัตราการขึ้นเงินเดือนหลังหักอัตราเงินเฟ้อต่ำสุด
          ค่าจ้างในออสตราเลเซียคาดการณ์ว่าจะเติบโตราว 2.5% ซึ่งคิดเป็นอัตราการขึ้นเงินเดือนหลังหักอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นจริงเพียง 0.7% โดยในประเทศออสเตรเลียจะมีการปรับขึ้นค่าจ้างสูงสุดที่ 2.5% โดยที่ภาวะเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น 2.1% และคิดเป็นอัตราการขึ้นเงินเดือนหลังหักอัตราเงินเฟ้อ 0.4% ส่วนในนิวซีแลนด์ คาดว่าเงินเดือนจะเพิ่มขึ้น 2.5% ภาวะเงินเฟ้อเพิ่มที่ 1.5% จึงคิดเป็นอัตราการขึ้นเงินเดือนหลังหักอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 1% 
          ภูมิภาคอเมริกาเหนือให้อัตราการขึ้นเงินเดือนหลังหักอัตราเงินเฟ้อที่ลดลง
          ในสหรัฐฯ คาดการณ์ว่าค่าจ้างจะมีอัตราฯเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 3% เท่ากับเมื่อปีก่อน เมื่อเปรียบเทียบกับค่าเงินเฟ้อที่ 2% ในปี 2018 ทำให้อัตราการขึ้นเงินเดือนหลังหักอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น 1% ลดลงจาก 1.9% ของปีก่อน ส่วนในประเทศแคนาดาอัตราการขึ้นค่าจ้างเพิ่มขึ้นราว 2.6% โดยมีค่าเงินเฟ้ออยู่ที่ 1.7% จึงทำให้อัตราการขึ้นเงินเดือนหลังหักอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 0.9%
          ภูมิภาคยุโรปตะวันออกให้อัตราฯดีกว่าฝั่งยุโรปตะวันตก
          จากผลจากสำรวจของ คอร์นเฟอร์รี่ เฮย์กรุ๊ป ในปี 2018 ลูกจ้างทางฝั่งยุโรปตะวันออกจะมีอัตราเงินเดือนเพิ่มขึ้น 6% อย่างไรก็ดี เมื่อคำนวณกับค่าเงินเฟ้อ จะมีอัตราการขึ้นเงินเดือนหลังหักอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 1.4% ซึ่งลดลงจาก 2.1% ของเมื่อปีก่อน ส่วนทางฝั่งยุโรปตะวันตก ลูกงานจะมีอัตราการเพิ่มค่าจ้างที่ต่ำลง โดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นที่ 2.3% โดยเมื่อคำนวณกับการปรับค่าเงินเฟ้อแล้วจะได้อัตราการขึ้นเงินเดือนหลังหักอัตราเงินเฟ้อเพียง 0.9%
          เนื่องจากความผันผวนหลังการออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร ทำให้ค่าจ้างในสหราชอาณาจักรเพิ่มขึ้นเพียง 2% เมื่อคำนวณกับค่าเงินเฟ้อที่ 2.5% ทำให้อัตราการขึ้นเงินเดือนหลังหักอัตราเงินเฟ้อลดลงมาอยู่ที่ -0.5% ซึ่งแตกต่างจากในปี 2017 ที่ค่าจ้างที่ปรับตามค่าเงินเฟ้อในสหราชอาณาจักรอยู่ที่ 1.9% ส่วนลูกจ้างในประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดของยุโรปอย่างฝรั่งเศสและเยอรมนี คาดการณ์ว่าจะมีอัตราการขึ้นเงินเดือนหลังหักอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น อยู่ที่ 0.7% และ 0.8% ตามลำดับ
          ภูมิภาคตะวันออกกลางมีอัตราปรับตัวขึ้นเล็กน้อย
          ค่าจ้างในตะวันออกกลาง คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นราว 3.8% ลดลงจาก 4.5% ของเมื่อปีก่อน โดยอัตราการขึ้นเงินเดือนหลังหักอัตราเงินเฟ้อเมื่อคำนวณกับค่าเงินเฟ้อ จะเพิ่มขึ้น 0.9% ซึ่งลดลงจาก 2.5% ของปีก่อน ส่วนในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มีค่าเงินเฟ้อที่ 4.6% เมื่อคำนวนณกับค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพียง 4.1% ทำให้อัตราการขึ้นเงินเดือนหลังหักอัตราเงินเฟ้อลดลงมาอยู่ที่ -0.5% 
          จอร์แดนและเลบานอนจะมีภาวะตกต่ำรุนแรงที่สุดในภูมิภาค โดยคาดการณ์ว่าจอร์แดนจะมีอัตราการขึ้นเงินเดือนหลังหักอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น 1.6% ลดลงจาก 6.3% ของปีก่อน และเลบานอนคาดว่าเพิ่มขึ้นเพียง 1.8% ลดลงจาก 6.1% ของปีที่ผ่านมา
          ภาวะเงินเฟ้อกระตุ้นอัตราการเพิ่มเงินเดือนในเอเชีย
          แม้เอเชียจะมีอัตราการเพิ่มเงินเดือนสูงสุดที่ 8.5% แต่ด้วยภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้อัตราการขึ้นเงินเดือนหลังหักอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 1.7% เพิ่มจากเมื่อปีก่อนซึ่งอยู่ที่ 0.7% ในณะที่อียิปต์มีอัตราการเพิ่มเงินเดือนสูงสุดอยู่ที่ 15% แต่กลับพบว่ามีอัตราเงินเฟ้อสูงถึง 18.8% ทำให้ลูกจ้างมีอัตราการขึ้นเงินเดือนหลังหักอัตราเงินเฟ้อลดลงมาอยู่ที่ -3.8%
          ละตินอเมริกามีอัตราการเพิ่มอัตราการขึ้นเงินเดือนหลังหักอัตราเงินเฟ้อสูงสุดเป็นอันดับสอง
          คาดการณ์ว่า ลูกจ้างในละตินอเมริกาจะได้ค่าแรงเพิ่มขึ้น 6.2% เมื่อคำนวณกับภาวะเงินเฟ้อที่ชะลอตัวมากสุดในภูมิภาค ทำให้มีอัตราการขึ้นเงินเดือนหลังหักอัตราเงินเฟ้อที่ 2.1% สูงกว่า 1.1% ของปีก่อน ส่วนในโคลัมเบีย คาดว่าจะมีอัตราเงินเฟ้อที่ 2.7% ในปี 2018 เมื่อคำนวณกับอัตราการเพิ่มเงินเดือนที่ 5.3% ทำให้โคลัมเบียมีอัตราการขึ้นเงินเดือนหลังหักอัตราเงินเฟ้อที่ 2.6% และสำหรับบราซิล คาดว่าจะมีอัตราการเพิ่มเงินเดือนที่ 7.3% เงินเฟ้อ 4% ทำให้มีอัตราการขึ้นเงินเดือนหลังหักอัตราเงินเฟ้อที่ 3.3%
          "การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวในเศรษฐกิจขนาดใหญ่ทั่วโลกทำให้อัตราการเพิ่มค่าจ้างลดต่ำลง" บ็อบ เวสเซลเคมเปอร์ กล่าว "สำหรับในเขตเศรษฐกิจเกิดใหม่ ลูกจ้างที่มีทักษะการทำงานสูงจะถือเป็นทรัพยากรที่สำคัญมากสำหรับบริษัทในการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน ซึ่งลูกจ้างที่มีทักษะเหล่านั้นย่อมคาดหวังว่าจะได้ค่าจ้างเพิ่มขึ้น ในขณะที่การขาดแคลนบุคลากรที่มีความสามารถในภูมิภาคย่อมส่งผลทำให้เงินเดือนในภูมิภาคนั้นเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน"
          ที่ปรึกษาทางด้านการบริหารค่าจ้างค่าตอบแทนของ คอร์นเฟอร์รี่ เฮย์กรุ๊ป แนะนำว่าให้วิเคราะห์ถึงปัจจัยต่างๆ และคำนึงถึงองค์ประกอบโดยรวมในการพิจารณาเรื่องการปรับเงินเดือน
          "แม้อัตราเงินเฟ้อจะเป็นดัชนีเปรียบเทียบและปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อตลาดในเรื่องการจ่ายค่าจ้าง ทั้งนี้บริษัทต้องมีมุมมองที่กว้างขึ้นในการกำหนดและตกลงใช้มาตรการต่าง ๆ ทั้งในเรื่องปัจจัยด้านต้นทุน ด้านกลยุทธ์ธุรกิจ และเงื่อนไขการดำเนินธุรกิจของแต่ละประเทศ" เบนจามิน ฟรอสต์ Global General Manager จากคอร์นเฟอร์รี่ เฮย์กรุ๊ป กล่าว "โครงสร้างเงินเดือนและค่าตอบแทนต่างๆควรได้รับการตรวจสอบและทบทวนอยู่เสมอ เพื่อให้บริษัทมั่นใจได้ว่า การจ่ายผลตอบแทนสามารถแข่งขันได้กับตลาด โดยยังคงมีความสอดคล้องกับกลยุทธ์และการพัฒนาของธุรกิจ"
คอร์นเฟอร์รี่ เฮย์กรุ๊ป เผยรายงานอัตราเงินเดือนทั่วโลกปี 2018 ชี้อัตราค่าจ้างในเอเชียเติบโตสูงสุดแต่ไม่แรงเท่าปีก่อน
 
คอร์นเฟอร์รี่ เฮย์กรุ๊ป เผยรายงานอัตราเงินเดือนทั่วโลกปี 2018 ชี้อัตราค่าจ้างในเอเชียเติบโตสูงสุดแต่ไม่แรงเท่าปีก่อน

ข่าวตลาดหลักทรัพย์+สหราชอาณาจักรวันนี้

InnovestX บริษัทหลักทรัพย์ในกลุ่ม SCBX คว้า 3 รางวัล จากเวที IAA Best Analyst Award 2024 ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านบทวิเคราะห์การลงทุนของไทย

บล. อินโนเวสท์ เอกซ์ เรือธงด้านการลงทุนภายใต้กลุ่มเอสซีบีเอกซ์ (SCBX Group) ประกาศความสำเร็จคว้า 3 รางวัล นักวิเคราะห์ยอดเยี่ยมประจำปี 2024 ได้แก่ 1. นักเศรษฐศาสตร์ตลาดทุนยอดเยี่ยม (Best) 2. ทีมวิเคราะห์การลงทุนยอดเยี่ยม (Outstanding) และ 3. รางวัลกลุ่มธุรกิจการเงินโดดเด่น (Outstanding) จากเวที IAA Best Analyst Awards 2024 ซึ่งจัดโดยสมาคมนักวิเคราะห์การลงทุนร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สะท้อนถึงศักยภาพของทีมวิจัยและนักวิเคราะห์ของ InnovestX ในการยกระดับมาตรฐานบทวิเคราะห์ของไทยสู่

Merkle Capital แต่งตั้ง ธนลภย์ ปรีดามาโนช... Merkle Capital แต่งตั้ง ธนลภย์ ปรีดามาโนช นั่งเก้าอี้ ผู้จัดการเงินทุน — Merkle Capital แต่งตั้ง ธนลภย์ ปรีดามาโนช ดำรงตำแหน่ง ผู้จัดการเงินทุน เสริมความแ...

ก.ล.ต. เปิดรับฟังความคิดเห็นการปรับปรุงหลักเกณฑ์ให้ Tokenized Carbon Credit

ก.ล.ต. เปิดรับฟังความคิดเห็นการปรับปรุงหลักเกณฑ์ให้ Tokenized Carbon Credit และผลิตภัณฑ์อื่นที่สนับสนุนการลดการปล่อยคาร์บอน สามารถซื้อขายผ่านศูนย์ซื้อขาย นายหน้า และผู้ค้าสินทรัพย์ดิจิทัล สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์...

บริษัท นูทริชั่น โปรเฟส จำกัด (มหาชน) หรื... ก.ล.ต.นับหนึ่งไฟลิ่ง "นูทริชั่น โปรเฟส" พร้อมก้าวสู่ตลาดหลักทรัพย์ mai — บริษัท นูทริชั่น โปรเฟส จำกัด (มหาชน) หรือ NUT ผู้นำด้านการพัฒนาและผลิตผลิตภัณฑ์เ...

ดร.ชัยยุทธ ชุณหะชา ประธานเจ้าหน้าที่บริหา... จีเอเบิล ขึ้นเครื่องหมาย XD 30 เมษายนนี้ ในอัตราหุ้นละ 0.2703 บาทต่อหุ้น จ่ายปันผลในเดือนพฤษภาคม — ดร.ชัยยุทธ ชุณหะชา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท จีเอเ...

ก.ล.ต. ผ่อนผันให้ SAM นำส่งรายงานผลการตรวจสอบเป็นกรณีพิเศษ ภายในวันที่ 9 กรกฎาคม 2568

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) สั่งการให้บริษัท สามชัย สตีล อินดัสทรี จำกัด (มหาชน) (SAM) ส่งรายงานผลการตรวจสอบเป็นกรณีพิเศษ (special audit) ภายในวันที่ 9 กรกฎาคม 2568 ตามที่ SAM...