กรีนพีซผลักดันให้มีมาตรการการจัดการและการอนุรักษ์ปลาทูน่าที่เข้มแข็งมากขึ้น ในการประชุมคณะกรรมาธิการประมงแห่งมหาสมุทรแปซิฟิกกลางและตะวันตก

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          ในวาระการประชุมประจำปีครั้งที่ 14 คณะกรรมาธิการประมงแห่งมหาสมุทรแปซิฟิกกลางและตะวันตก(Western and Central Pacific Fisheries Commission, WCPFC) ที่กรุงมะนิลาระหว่างวันที่ 3-7 ธันวาคม 2560 นี้ กรีนพีซระบุว่าคณะกรรมาธิการประมงแห่งมหาสมุทรแปซิฟิกกลางและตะวันตกจะต้องเห็นชอบต่อมาตรการการจัดการและการอนุรักษ์ปลาทูน่าที่รับรองว่าจะมีการฟื้นฟูประชากรปลา เช่น ปลาทูน่า ที่กำลังหร่อยหรอลง ให้ไปถึงระดับที่มีความอุดมสมบูรณ์
          มาตรการจัดการและอนุรักษ์ปลาทูน่าพันธุ์ตาโต(bigeye) พันธุ์ครีบเหลือง(yelloefin) พันธุ์ท้องแถบ(skipjack)ในมหาสมุทรแปซิฟิกกลางและตะวันตก(CMM 2016-11) หรือที่เรียกกันว่า มาตรการปลาทูน่าในเขตร้อน(the Tropical Tuna Measure,TTM) นั้นใกล้หมดอายุลงและจะมีการเจรจาใหม่อีกครั้งในการประชุมของคณะกรรมาธิการประมงแห่งมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกตอนกลางนี้ กรีนพีซระบุว่าต้องการเห็นสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นคือ - ประมงอวนล้อมปลาทูน่าควรให้ความสำคัญเพิ่มขึ้นในข้อตกลงที่จะลดจำนวนอุปกรณ์ล่อปลา(Fish Aggregating Devices หรือ FADs) และมีมาตรการที่เข้มแข็งในการรายงานและความโปร่งใสในการใช้ FADs -มาตรการติดตาม ควบคุม และเฝ้าระวังการทำประมงเบ็ดราวปลาทูน่า - และการยกร่างเป้าหมายจำเพาะของปริมาณปลาทูน่าและชุดข้อมูลที่ใช้อ้างอิงรวมถึงยุทธศาสตร์ในการจัดการ
          วินซ์ ชินนเชส ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านมหาสมุทรของกรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า แม้ว่าข้อตกลงที่เกิดขึ้นเมื่อเร็วๆนี้จะอยู่ในแนวทางที่ถูกต้อง และอุตสาหกรรมปลาทูน่าบางส่วนกำลังเดินหน้าแก้ปัญหาการทำประมงเกินขนาด การประมงผิดกฏหมายและการบังคับใช้แรงงานบนเรือ เป็นภาระหน้าที่ของคณะกรรมาธิการประมงแห่งมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกตอนกลางในการรับประกันว่าการปฏิรูปประมงจะส่งผลในทางปฏิบัติโดยมีมาตรการการอนุรักษ์ปลาทูน่าที่จริงจังมากขึ้น ซึ่งทำได้โดยเห็นชอบร่วมกันต่อมาตรการที่มีความสำคัญอันดับต้นในเรื่องของการเก็บข้อมูล การจัดการด้านศักยภาพในการประมงปลาทูน่ารวมถึง FADsการอนุรักษ์ปริมาณปลาทูน่า มาตรการติดตาม ควบคุมและเฝ้าระวังรวมถึงการขนถ่ายปลาทูน่ากลางทะเลและกฏเกณฑ์การควบคุมการใช้ประโยชน์ปลาทูน่า(harvest control rules)
          รายงานที่นำเสนอออกมาเมื่อเร็วๆนี้ของกรีนพีซซึ่งเปิดโปงการละเมิดสิทธิมนุษยชนในอุตสาหกรรมปลาทูน่านั้นอยู่ในขอบข่ายการดูแลของคณะกรรมาธิการประมงแห่งมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกตอนกลาง  ในขณะที่มาตรการต่างๆของคณะกรรมาธิการฯ ไม่ได้เน้นเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษชนเป็นการเฉพาะ การห้ามการขนถ่ายปลาสินค้าสัตว์น้ำกลางทะเลและการมีมาตรการติดตาม ควบคุมและเฝ้าระวังจะช่วยจัดการปัญหาที่ยังแก้ไม่ตกของอุตสาหกรรมประมงและการกดขี่ขูดรีดแรงงานบนเรือประมง มีหลักฐานเพียงพอที่แสดงให้เห็นถึงการมีอยู่ของการขนถ่ายสินค้าสัตว์น้ำกลางทะเลที่ผิดกฏหมาย แต่ไม่มีอะไรเกิดขึ้นจากการละเมิดกฏเกณฑ์ดังกล่าว การละเมิดใดๆ ที่มีขึ้นจากการขนถ่ายสินค้าสัตว์น้ำกลางทะเลจะต้องนำไปสู่การไม่ได้รับอนุญาตให้ทำการประมงของผู้ละเมิดนั้น
          กรีนพีซยังเรียกร้องให้มีการมาตรการที่เข้มงวดอย่างยิ่งในการเก็บรวบรวมข้อมูลและกฏเกณฑ์การควบคุมการใช้ประโยชน์ปลาทูน่า(harvest control rules) รวมถึงชุดข้อมูลที่ใช้อ้างอิง
          วินซ์ ชินเชส กล่าวต่อว่า "ผู้แทนประเทศที่เข้าร่วมการประชุมในปีนี้ควรเห็นชอบร่วมกันเพื่อยืนยันว่าการทำงานในเรื่องการตั้งเป้าหมายการอนุรักษ์ประชากรปลาทูน่า ชุดข้อมูลอ้างอิงที่ใช้ในการจำกัดปริมาณปลาทูน่าที่จับได้และยุทธศาสตร์การใช้ประโยชน์จากการประมงปลาทูน่าและฉลามทุกสายพันธุ์ในเขตมหาสมุทรแปซิฟิกกลางและตะวันตกจะดำเนินสืบเนื่องต่อไปและมีการสนับสนุนทรัพยากรและเงินทุนเป็นอย่างดีที่สอดคล้องกับกำหนดเวลาที่ตั้งไว้ ผู้แทนประเทศต่างๆ ควรจะต้องมีข้อสรุปเรื่องกฏเกณฑ์การควบคุมการใช้ประโยชน์(harvest control rules)ในกองเรือประมงอวนล้อมจับปลาทูน่าสายพันธุ์ท้องแถบ(skipjack) และการดำเนินการอย่างเร่งด่วนของชุดข้อมูลอ้างอิงบนหลักการป้องกันไว้ก่อนในเบื้องต้น(interim precautionary reference points) ของปลาทูน่าสายพันธุ์อัลบาคอร์แปซิฟิกใต้(South Pacific albacore) พันธุ์ตาโต(bigeye)และพันธุ์ครีบเหลือง(yellowfin)"
          ในขณะที่การประเมินปริมาณประชากรปลาทูน่าในปัจจุบันชี้ให้เห็นว่าปลาทูน่าสายพันธุ์หลักยังไม่ได้เผชิญกับปัญหาการประมงเกินขนาดหรือได้รับผลกระทบจากการประมงเกินขนาด แต่กรีนพีซเตือนว่ามีเหตุผลมากมายที่จะต้องระมัดระวัง กรีนพีซเห็นว่าจะต้องพิจารณาถึงความไม่แน่นอนของการประเมินประชากรปลาทูน่าและการประเมินดังกล่าวจะต้องชัดเจนว่าการเพิ่มขึ้นของปริมาณประชากรปลาทูน่านั้นเนื่องมาจากเงื่อนไขด้านสิ่งแวดล้อม มาตรการการจัดการหรือเป็นเพราะปัจจัยอื่นๆ บัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ(IUCN Red List of Threatened Species)  ได้ประเมินว่าปลาทูน่าสายพันธุ์ครีบน้ำเงินแปซิฟิก(pacific bluefin)และสายพันธุ์ตาโต(bigeye) อยู่ในระดับความเสี่ยงขั้นอันตรายต่อความเป็นอันตรายจากการสูญพันธุ์จากที่อาศัยตามธรรมชาติ(vulnerable) ส่วนสายพันธุ์ครีบเหลือง(yellowfin) และอัลบาคอร์(albacore) นั้นอยู่ในระดับความเสี่ยงขั้นอันตรายต่อสูญพันธุ์ในอนาคตอันใกล้
          ในบรรดากองเรือประมงปลาทูน่าที่จดทะเบียนกับคณะกรรมาธิการประมงแห่งมหาสมุทรแปซิฟิกกลางและตะวันตกจำนวน 4,509 ลำ มีร้อยละ 76.64 เป็นเรือประมงเบ็ดราว ร้อยละ 12.62 เป็นเรือประมงอวนล้อม และมีเพียงร้อยละ 2.22 เป็นเรือประมงเบ็ดตวัด ประเทศที่ครอบครองสัดส่วนร้อยละ 85 ของกองเรือประมงในเขตมหาสมุทรแปซิฟิกกลางและตะวันตกมี 6 ประเทศคือ จีนไทเป ญี่ปุ่น จีน ฟิลิปปินส์ สหรัฐอเมริกาและเกาหลีใต้ 
          วินซ์ ชินเชส กล่าวปิดท้ายว่า "การประชุมประจำปีของคณะกรรมาธิการประมงแห่งมหาสมุทรแปซิฟิกกลางและตะวันตกที่กรุงมะนิลาครั้งนี้จะต้องทำให้เกิดผลในการดูแลรักษาทรัพยากรปลาทูน่าของเรา และเลิกที่จะเป็นเวทีการรวมตัวกันของรัฐบาลและอุตสาหกรรมที่ทำการขัดขวางมาตรการในการอนุรักษ์ปลาทูน่าที่มีความจำเป็นเร่งด่วน เราขอเรียกร้องให้รัฐบาลฟิลิปปินส์ในฐานะเป็นเจ้าภาพการประชุมก้าวเป็นผู้นำในมาตรการอนุรักษ์ปลาทูน่าเขตร้อนอย่างจริงจัง นี่เป็นครั้งที่สองที่รัฐบาลฟิลิปปินส์เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม กรีนพีซหวังว่าครั้งนี้รัฐบาลจะอยู่เคียงข้างในการอนุรักษ์ทรัพยากรปลาทูน่าในมหาสมุทรแปซิฟิก"
 
 

ข่าวการประชุม+การประมงวันนี้

SCB WEALTH ชี้กนง.ปรับลดดอกเบี้ย มุมมองเศรษฐกิจเริ่มสอดคล้องเอกชน พร้อมเปิดขาย 4 กองทุน Thai ESGX IPO 2-8 พ.ค.นี้ หนุนตลาดหุ้นไทยกลับมาคึกคัก

SCB WEALTH จัดงานเสวนาออนไลน์ ผ่านทาง SCB WEALTH Line official ในหัวข้อ "ทิศทางเศรษฐกิจ ดอกเบี้ย ค่าเงิน และตลาดหุ้นไทย หลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน" โดยการผนึกกำลังกันของหน่วยงาน SCB EIC, SCB Finance Market, SCB CIO และ บริษัทหลักทรัพย์ อินโนเวสท์ เอกซ์ ให้แก่ลูกค้า SCB WEALTH และนักลงทุนทั่วไป เพื่อวิเคราะห์ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ให้ลูกค้าได้รับทราบอย่างทันท่วงทีภายหลังการประกาศผลการประชุมลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% มาอยู่ที่ 1.75%ต่อปี พร้อมให้คำแนะนำการลงทุนเพื่อ

นางพรนิภา เริงหิรัญ (ตรงกลาง) รองประธานกร... SVR ประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 — นางพรนิภา เริงหิรัญ (ตรงกลาง) รองประธานกรรมการบริษัท เป็นประธานที่ประชุม นายรณฤทธิ์ ฐิติสุริยารักษ์ (ที่2จากซ้าย)...

รศ.ดร. นริศ ชัยสูตร ประธานกรรมการบริษัท ด... FTI จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผถห.อนุมัติไฟเขียวทุกวาระ จ่ายปันผล 0.04 บาทต่อหุ้น — รศ.ดร. นริศ ชัยสูตร ประธานกรรมการบริษัท ดร. วิกร ภูวพัชร์ ป...

นายกฤษณะ บุญยะชัย (ที่ 4 จากขวา) ประธานกร... ผู้ถือหุ้น TQR โหวตหนุนจ่ายปันผลปี 67 อีก 0.216 บ./หุ้น รวมทั้งปี 0.40 บ./หุ้น — นายกฤษณะ บุญยะชัย (ที่ 4 จากขวา) ประธานกรรมการ, นายชนะพันธุ์ พิริยะพันธุ์...

บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) จัดการประ... เอ็ม บี เค จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 — บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) จัดการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 นำโดย นายบันเทิง ตันติวิท ป...

การประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ของ ... XPG ส่งสัญญาณดี แย้มปันผลปีหน้า — การประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ของ บริษัท เอ็กซ์สปริง แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) หรือ XPG ที่จัดผ่าน E-AGM ปีนี้...

ที่ สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ (สลช.) อ.ศรีร... "เพิ่มพูน" แนะปรับกิจกรรมลูกเสือให้เหมาะสมกับช่วงวัย-ทันสมัย-ปลอดภัย — ที่ สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ (สลช.) อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศึ...

นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี แ... รองนายกฯ ประเสริฐ ย้ำบทบาทผู้นำไทย! จัดประชุมวิชาการ "The 3rd UNESCO Global Forum on the Ethics of AI 2025" — นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และร...

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไท... EXIM BANK จัดเต็ม โปรโมชันดี ๆ ช่วยผู้ส่งออกฝ่ามรสุมทรัมป์ 2.0 — ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) จัดเต็ม บริการทางการเงิน พร้อมโปรโ...