หยุดคุกคาม 'ประเทศไทย’ หยุด 'เชื้อดื้อยา’

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          พูดเรื่องการดื้อยา หลายคนคงทำหน้าเบ้ ไม่ทราบว่าหมายถึงหรือเกี่ยวข้องกับตัวเองอย่างไร แต่ความจริงแล้วเรื่องนี้ใกล้ตัวกว่าที่คิด เพราะไม่ว่าใครๆ ก็มีโอกาสเกิดการอาการดื้อยาได้ทั้งสิ้น และถ้าไม่หาวิธีควบคุมเสียก่อน ผลลัพธ์ที่รุนแรงอย่างการเสียชีวิตก็ไม่ใช่เรื่องไกลตัว ยืนยันได้จากตัวเลขผู้เสียชีวิตเพราะดื้อยาปีหนึ่งที่สูงถึง 300,000 กว่าคน แถมตอนนี้ยังลุกลามไปไกลถึงสัตว์เลี้ยง และสิ่งแวดล้อมแล้ว
          แต่วันนี้เมืองไทยเริ่มตั้งไข่ประเด็นนี้อย่างจริงจัง ด้วยพันธกิจ 'ประเทศไทยปักหมุด...หยุดเชื้อดื้อยา' พร้อมเชื้อเชิญผู้เกี่ยวข้องมาถกประเด็นในเวที 'แผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย : จากยุทธศาสตร์สู่การลงมือทำ' เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมแกรนด์ มิราเคิล คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ
          หนึ่งในภารกิจหนึ่งที่แผนยุทธศาสตร์ต้องเร่งดำเนินการ คือการรวบประเด็นดื้อยาให้มาอยู่ภายใต้แนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว ด้วยการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกัน ทั้งเรื่องคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม ทว่าต้องยอมรับว่าในบ้านเราประเด็นนี้ยังไม่คืบหน้าเท่าที่ควร ที่ผ่านมากระทรวงสาธารณสุขได้เป้าอัตราการป่วยจากเชื้อดื้อยาต้องลดลง อย่างน้อยร้อยละ 50 แต่กว่าจะไปถึงจุดนั้นได้ คงไม่ใช่เรื่องง่ายๆ
          หากอยากสำเร็จ สิ่งแรกที่ประเทศไทยต้องเร่งดำเนินการเสียก่อน คือ 'การจัดการข้อมูล' ไม่ถึงจะตั้งเป้ามาแล้ว แต่ความจริงคือ เมืองไทยไม่เคยสรุปปัญหาการดื้อยาอย่างละเอียดว่า มีจำนวนผู้ที่มีปัญหาดื้อยาเท่าใด ที่สำคัญคือต้องทำอย่างไรถึงจะลดปัญหาได้ รวมไปถึงปริมาณการลดควรเป็นอย่างไร เพราะข้อมูลสถิติเหล่านี้จะเป็นหัวใจหลักที่ทำให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องกลับวิเคราะห์และสืบค้นฐานทรัพยากรที่ตัวเองมีอยู่ เพื่อนำไปสู่การกำหนดเป้าหมายและแผนยุทธศาสตร์ที่สอดคล้องกับสถานการณ์จริง
          ที่สำคัญการทำงานต้องเน้น 'คนทำงาน' เป็นหลัก หากหยิบยกมิติของเรื่องคนมานำเสนอ โรงพยาบาลก็คงเปรียบเสมือนด่านแรกที่จะต้องมีวิธีรีบมือกับการดื้อยาอย่างมีประสิทธิภาพ เรื่องหนึ่งที่ต้องเร่งดำเนินการ คือการพัฒนาทีมงาน ตั้งแต่ แพทย์ นักจุลชีววิทยา เภสัชกร ระบบควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล ให้แข็งแกร่งและสามารถททำงานสอดประสานกันเป็นอย่างดี
อีกปัจจัยคือการพัฒนาห้องวิจัย ปัจจุบันห้องวิจัยทางการแพทย์มีทั้งระดับชาติ อย่างกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และระดับรองลงมาคือโรงพยาบาลต่างๆ ซึ่งการจะทำให้แผนยุทธศาสตร์สำเร็จ ห้องวิจัยจะต้องมีมาตรฐานที่เพียงพอและสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว เพราะยิ่งมีประสิทธิภาพก็จะลดอัตราการเสียชีวิตได้รวดเร็วขึ้น ที่สำคัญต้องจัดทำฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกันไปมาได้ เพราะห้องวิจัยของแต่ละโรงพยาบาลมีขีดความสามารถที่แตกต่างกัน การเข้าถึงข้อมูลร่วมกันจะนำไปสู่การส่งต่อข้อมูลที่ถูกต้องและรวดเร็วจะนำไปมาซึ่งผลสัมฤทธิ์ที่แม่นยำยิ่งขึ้น
          นอกจากการสร้างระบบข้อมูลแล้ว การควบคุมการกระจายยาอย่างเหมาะสมก็เป็นอีกยุทธศาสตร์สำคัญของแผน เพราะปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการดื้อยามากมาจากพฤติกรรมการใช้ยาอย่างไม่ถูกต้อง และไม่มีความรู้ที่เพียงพอ เช่น บางคนยังเข้าผิดว่ายาปฏิชีวนะสามารถรักษาโรคที่ติดเชื้อไวรัสได้ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาล ร้านขายยา ต้องมีมาตรการรับมืออย่างรอบด้าน และเท่าทันกับสถานการณ์ในปัจจุบัน
          ตัวอย่างหนึ่งที่ทำได้ทันที คือการจัดทำหลักเกณฑ์การจัดประเภทยา ซึ่งเน้นความโปร่งใส เป็นที่ยอมรับ เป็นสากล และมีเหตุผลชัดเจน คืออย่างน้อยๆ ก็ต้องกำหนดระดับผู้สั่งใช้ยาให้ชัดเจนว่าเป็นแพทย์ เภสัชกร หรือบุคคลทั่วไป มีกลไกในการจ่ายยาที่เหมาะสม เช่นยาบางประเภทต้องสั่งจ่ายตามใบรับรองแพทย์เท่านั้น หรือยาบางประเภทสำหรับสถานพยาบาลเท่านั้น รวมไปถึงคำแนะนำและการแจ้งเตือน เพื่อประชาชนรับทราบข้อมูลที่ถูกต้อง ตลอดจนกำหนดหรือปรับแก้กฎหมายให้เท่าทันและสอดคล้องกับแนวคิดเรื่องการจัดการเชื้อดื้อยาในประเทศไทย
          ที่สำคัญคือการรณรงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและปรับทัศนคติเกี่ยวกับการใช้ยาแก่ผู้เกี่ยวข้อง เพราะถือเป็นหนทางของความสำเร็จในระยะยาว โดยก่อนอื่นต้องยอมรับว่า การซื้อยาทุกวันนี้บางครั้งก็เกิดจากความเคยชิน หรือการคาดเดาโดยไม่ได้อาศัยข้อมูลที่เชื่อถือได้ บางครั้งยาบางตัวก็มีจำหน่ายในร้านค้าปลีก ทั้งที่เป็นยาอันตราย ซึ่งต้องอาศัยเภสัชกรในการแนะนำข้อมูล หากสามารถจัดการได้การดื้อยาก็จะลดลงอย่างแน่นอน เพราะการปรับนิสัยและสร้างความรับผิดชอบของทุกคนในสังคมจะนำซึ่งการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน และทำให้การลดอัตราการดื้อยา 50 เปอร์เซ็นต์ที่กระทรวงสาธารณสุขวางไว้มีโอกาสเป็นจริง

หยุดคุกคาม 'ประเทศไทย’ หยุด 'เชื้อดื้อยา’

ข่าวและสิ่งแวดล้อม+สัตว์เลี้ยงวันนี้

ก้าวอีกขั้น นีโอ คอร์ปอเรท ผนึก ม.วลัยลักษณ์ ผลักดันงานวิจัยสู่ตลาด ปั้นสินค้า FMCG ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย

บริษัท นีโอ คอร์ปอเรท จำกัด (มหาชน) หรือ NEO โดย บริษัท นีโอ แฟคทอรี่ จำกัด จับมือ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ต่อยอดงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์ ปั้นสินค้า FMCG ตอบโจทย์ผู้คนทุกช่วงวัยและทุกไลฟ์สไตล์ พร้อมเพิ่มขีดความสามารถของอุตสาหกรรม ครอบคลุมวิทยาศาสตร์สุขภาพของคนรวมถึงสัตว์เลี้ยง เทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์และวัสดุภัณฑ์ ตลอดจนมิติด้าน ESG ตอกย้ำบทบาท "Segment Creator" ผู้นำด้านนวัตกรรม FMCG เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตผู้คน พร้อมสร้างคุณค่าให้โลกและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน นางสาวณิชมน ถกลศรี รองประธาน

เชียงใหม่ เปิดสวนสุนัขแห่งแรกในภาคเหนือ (... 'เชียงใหม่' ยกระดับคุณภาพชีวิตสัตว์เลี้ยง เปิดตัวสวนสุนัขแห่งแรกในภาคเหนือ — เชียงใหม่ เปิดสวนสุนัขแห่งแรกในภาคเหนือ (Dog Park) ณ สวนสาธารณะองค์การบริหารส...

เปิดแล้ว วันนี้....งาน "Thai Water Expo แ... เปิดแล้ว วันนี้....งาน "Thai Water Expo และ Water Forum 2025" — เปิดแล้ว วันนี้....งาน "Thai Water Expo และ Water Forum 2025" ได้รับเกียรติจาก นายปวิช เกศ...

จิบเครื่องดื่มถ้วยโปรดกับวิวสายฝนที่สุดแส... เที่ยวเชียงรายหน้าฝนสุดแสนโรแมนติกที่โรงแรมเฮอริเทจ เชียงราย โฮเทล แอนด์คอนเวนชั่น — จิบเครื่องดื่มถ้วยโปรดกับวิวสายฝนที่สุดแสนโรแมนติกในฤดูกาลแห่งสีเขียว...