พิตต์สเบิร์ก เพนกวินส์ ผนึกความร่วมมือ โคเวสโตร และ วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยคาร์เนกี เมลลอน ผลักดันโครงการ “Rethink the Rink” พัฒนาด้านวัสดุศาสตร์ เพื่อยกระดับความปลอดภัยกีฬาฮอกกี้น้ำแข็ง

ข่าวประชาสัมพันธ์ »
          - ประเดิมก้าวแรกของโปรเจกต์ความร่วมมือครั้งพิเศษด้วยกิจกรรม "Make-a-thon" เพื่อแสวงหาวิธีการใหม่ ๆ ในการทำให้กีฬาฮอกกี้น้ำแข็งมีความปลอดภัยมากขึ้นสำหรับผู้เล่นทุกวัย

          ทีมฮอกกี้น้ำแข็ง พิตต์สเบิร์ก เพนกวินส์ ของลีกเอ็นเอชแอล จับมือสองยักษ์ใหญ่ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับโลก ในแผนริเริ่มสุดท้าทายเพื่อทำให้การเล่นกีฬาฮอกกี้น้ำแข็งปลอดภัยขึ้นในทุกระดับ

          "Rethink The Rink" ถือเป็นโครงการแรกที่จะมาท้าทายเหล่านักศึกษาจากวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยคาร์เนกี เมลลอน ในการพัฒนาวัสดุที่จะช่วยตอบโจทย์การเพิ่มความปลอดภัยของกีฬาโดยไม่กระทบกับเกมการแข่งขัน โครงการริเริ่มดังกล่าวจะมุ่งเน้นไปที่การออกแบบแผ่นกันกระแทกและกระจกป้องกันในลานฮอกกี้น้ำแข็ง โดยนักศึกษาจะได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ ตลอดจนนำความรู้ทางด้านทฤษฎีและวิชาการไปปรับใช้ ทั้งยังสามารถเข้าถึงผู้เชี่ยวชาญและเทคโนโลยีวัสดุจาก โคเวสโตร (Covestro) ผู้ผลิตพอลิเมอร์ไฮเทคในฐานะที่เป็น "พันธมิตรด้านนวัตกรรมอย่างเป็นทางการของพิตต์สเบิร์ก เพนกวินส์" 

          "ผู้เล่นตัวใหญ่ขึ้น ว่องไวขึ้นและแข็งแรงมากกว่าที่เคย ดังนั้นความท้าทายของเราคือการหาวิธีใหม่ ๆ เพื่อให้พวกเขาปลอดภัยยิ่งขึ้น และลดการบาดเจ็บ" เดวิด มอร์เฮาส์ ประธานและซีอีโอของพิตต์สเบิร์ก เพนกวินส์ กล่าว "ความร่วมมือกับโคเวสโตรและมหาวิทยาลัยคาร์เนกี เมลลอนในครั้งนี้ เจาะจงไปที่การใช้ความก้าวหน้าล่าสุดในด้านวัสดุศาสตร์เพื่อแก้ปัญหาขอบเขตทางกายภาพรอบลานฮอกกี้น้ำแข็ง เราจะสามารถคิดค้นโซลูชันในด้านวัสดุที่จะช่วยลดการกระแทกของนักกีฬาบริเวณขอบสนามและทำให้การแข่งขันมีความปลอดภัยสำหรับผู้เล่นทุกวัยได้หรือไม่"

          สำหรับก้าวแรกที่สำคัญของกระบวนการดังกล่าวคือ "Make-a-thon" ซึ่งจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 12-16 มีนาคม ที่วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ โดยกิจกรรมแบบอินเตอร์แอคทีฟนี้จะเปิดโอกาสให้นักศึกษาของมหาวิทยาลัยคาร์เนกี เมลลอน ได้รวมทีมกันเพื่อออกแบบและพัฒนาต้นแบบสำหรับใช้ทดสอบ

          หากประสบความสำเร็จ ต้นแบบดังกล่าวจะถูกส่งไปยังผู้เชี่ยวชาญของเอ็นเอชแอล และสมาคมฮอกกี้นำแข็งสหรัฐ (USA Hockey) เพื่อขอคำแนะนำติชม จากนั้นจะมีการทดสอบวัสดุต้นแบบโดยนักกีฬาสมัครเล่น ที่ลานสเก็ตน้ำแข็ง FedEx Rink ภายใน UPMC Lemieux Sports Complex ในเมืองแครนเบอร์รี

          "ผมนึกไม่ออกว่าจะมีพันธมิตรรายใดที่ดีไปกว่า โคเวสโตร และ วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยคาร์เนกี เมลลอน สองแรงขับเคลื่อนระดับโลกซึ่งเป็นที่ยอมรับในด้านนวัตกรรมวัสดุและวิศวกรรม" มอร์เฮาส์กล่าว "เมื่อประกอบกับข้อมูลเจาะลึกเกี่ยวกับกีฬาฮอกกี้น้ำแข็งและการจัดการลานสเก็ตน้ำแข็งจากทีมเพนกวินส์และเอ็นเอชแอลแล้ว เราคิดว่านี่คือสุดยอดทีมที่จะมาร่วมกันเสาะแสวงหาวิธีการในการทำให้กีฬาที่ต้องใช้ร่างกายอย่างหนักหน่วงนั้นมีความปลอดภัยสำหรับผู้เล่นทุกคน และถ้าหากเราบรรลุเป้าหมายได้ นี่อาจเป็นโครงการวิจัยสำคัญที่สร้างผลลัพธ์ในระยะยาวต่อเกมการแข่งขัน"

          แนวคิด "Rethink the Rink" เริ่มต้นจากการพูดคุยกันมาอย่างต่อเนื่องระหว่างมอร์เฮาส์และเจอร์รี แมคเคลียร์รี ซีอีโอของโคเวสโตร แอลแอลซี ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาคอเมริกาเหนืออยู่ในพิตต์สเบิร์ก

          "เราสนใจทำโปรเจกต์นี้ด้วยเหตุผลหลายประการ ไม่ใช่เพราะโปรเจกต์นี้เป็นการผสมผสานระหว่างการแก้ปัญหาซึ่งเป็นสิ่งที่เราหลงใหล และความปลอดภัยซึ่งเป็นเรื่องที่เราให้ความสำคัญอย่างมากเท่านั้น แต่ยังเป็นเพราะเราเชื่อในศักยภาพระยะยาวของโครงการนี้" แมคเคลียร์รีกล่าว "เราวางแผนการเล่นไปพร้อมกับการเล่น และนั่นทำให้เราผลักดันขอบเขตออกไปได้เรื่อย ๆ และทำให้นวัตกรรมเกิดขึ้น แรงผลักดันของเราจะแข็งแกร่งมากยิ่งกว่าเดิม ด้วยพลังสามประสานที่อยู่เบื้องหลังโปรเจกต์นี้"

          "ที่คาร์เนกี เมลลอน เราท้าทายนักศึกษาให้เอาชนะปัญหาที่ไม่ธรรมดา ให้คิดใหม่ทำใหม่ ให้อยากรู้อยากเห็น และใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่จากโครงการเรียนรู้ด้วยตนเองสุดท้าทายอย่าง 'Rethink the Rink'" เจมส์ เอช. การ์เรตต์ จูเนียร์ คณบดีวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยคาร์เนกี เมลลอน กล่าว "โครงการนี้เกิดขึ้นจากสามองค์กรชั้นนำระดับโลก อันเป็นการสะท้อนถึงความร่วมมือระดับสูงที่เราลงมือผลักดันเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่"

          หากโครงการออกแบบแผ่นกันกระแทกและกระจกป้องกันในลานฮออกกี้น้ำแข็งนี้ประสบความสำเร็จ ทางกลุ่ม "Rethink the Rink" ก็จะทำการสำรวจบทบาทของวัสดุในขอบข่ายอื่น ๆ ของกีฬาฮอกกี้น้ำแข็งต่อไป อย่างเช่น อุปกรณ์สำหรับผู้เล่น และ การก่อสร้างลานฮอกกี้

          การ์เรตต์เสริมว่า "การนำสามองค์กรซึ่งตั้งอยู่ในเมืองพิตต์สเบิร์กมารวมตัวกันเพื่อคิดริเริ่มสร้างสรรค์เกี่ยวกับโครงการที่ท้าทายเช่นนี้ นับเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงพลังและจิตวิญญาณของเมืองแห่งนี้ อีกทั้งยังชี้ให้เห็นว่าเหตุใดพิตต์สเบิร์กจึงเฟื่องฟูในทุกวันนี้" 

          เกี่ยวกับโคเวสโตร แอลแอลซี 
          โคเวสโตร แอลแอลซี เป็นหนึ่งในผู้ผลิตพอลิเมอร์ประสิทธิภาพสูงชั้นนำในอเมริกาเหนือ และเป็นธุรกิจระดับโลกในเครือ โคเวสโตร ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทพอลิเมอร์รายใหญ่ที่สุดของโลกด้วยยอดขาย 1.19 หมื่นล้านยูโรในปี 2559 กิจกรรมทางธุรกิจของบริษัทมุ่งเน้นไปที่การผลิตวัสดุพอลิเมอร์ไฮเทค และการพัฒนาโซลูชั่นนวัตกรรมสำหรับผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน โดยรองรับกลุ่มอุตสาหกรรมหลัก ๆ ได้แก่ ยานยนต์ การก่อสร้าง การแปรรูปไม้และฟอร์นิเจอร์ ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และการแพทย์ รวมไปถึงอุตสาหกรรมอื่น ๆ อย่างกีฬาและสันทนาการ เครื่องสำอาง ตลอดจนอุตสาหกรรมเคมีเองด้วยเช่นกัน โคเวสโตร มีโรงงานผลิต 30 แห่งทั่วโลก และมีพนักงานราว 15,600 คน ณ สิ้นปี 2559

          เกี่ยวกับ มหาวิทยาลัยคาร์เนกี เมลลอน
          มหาวิทยาลัยคาร์เนกี เมลลอน (www.cmu.edu) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่ติดอันดับต้น ๆ ในระดับนานาชาติ ทั้งในสาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และธุรกิจ ไปจนถึงด้านนโยบายสาธารณะ มนุษยศาสตร์ และศิลปศาสตร์ โดยนักศึกษากว่า 13,000 คนที่กำลังศึกษาอยู่ในสถาบันและวิทยาลัยในเครือของมหาวิทยาลัยล้วนได้ประโยชน์จากอัตราส่วนอาจารย์ต่อนักศึกษาที่เหมาะสม และรูปแบบการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นการสร้างสรรค์และนำวิธีการต่าง ๆ ไปใช้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริง ตลอดจนการบูรณาการสหวิทยาการ และนวัตกรรม

          ติดต่อ: 
          Pittsburgh Penguins: Tom McMillan, 412-255-1828, [email protected]
          Covestro: Bob Walker, 412-413-2369, [email protected]
          Carnegie Mellon Engineering: Lisa Kulick, 412-268-5444, [email protected]

          วิดีโอ - https://www.youtube.com/watch?v=58jTItqgi34
          รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/652679/Rethink_the_Rink_GRAPHIC.jpg
          โลโก้ - https://mma.prnewswire.com/media/652680/Joint_Logo_Header_Logo.jpg


ข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี+มหาวิทยาลัยคาร์เนกีวันนี้

สวทช. จับมือมูลนิธิ SOS และ จ.ปทุมธานี สร้างชุมชนรักษ์อาหาร ดัน "ปทุมธานีฟูดแบงก์โมเดล" ต้นแบบการจัดการอาหารส่วนเกินระดับท้องถิ่น

สวทช. จับมือมูลนิธิ SOS และ จ.ปทุมธานี สร้างชุมชนรักษ์อาหาร ดัน "ปทุมธานีฟูดแบงก์โมเดล" ต้นแบบการจัดการอาหารส่วนเกินระดับท้องถิ่น มุ่งใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีบริหารจัดการอาหารส่วนเกินอย่างยั่งยืน สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ องค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดปทุมธานี สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดปทุมธานี และมูลนิธิสโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ (SOS) ลงนามความร่วมมือใน "การขยายผลโครงการบริหารจัดการอาหารส่วนเกิน

กระทรวง อว. โดย สวทช. กรมควบคุมโรค กระทรว... กระทรวง อว. โดย สวทช. - กรมควบคุมโรค กระทรวง สธ. ผนึกกำลังใช้ระบบ DDC-Care Platform เทคโนโลยีรับมือโรคระบาดข้ามพรมแดน — กระทรวง อว. โดย สวทช. กรมควบคุมโรค...

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโล... สำหรับนักเรียนทุน พสวท. ระดับมัธยมศึกษา ปีการศึกษา 2567 — สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จัดค่ายวิทยาศาสตร์ภาคฤดูร้อนสำหรับนักเรียนทุ...

ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกร... วว. จับมือพันธมิตรไทย-จีน เสริมสร้างความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม — ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกรรม สถาบันวิจัยวิทย...

นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระท... วว. นำเสนอนวัตกรรมเพิ่มมูลค่า "ข้าว" ภายใต้ ครม. สัญจร จังหวัดนครพนม/กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 — นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทร...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... สวทช. โดย นาโนเทค เฟ้นหา 8 ผู้ประกอบการ ต่อยอดนวัตกรรมสมุนไพรสู่ผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยศูนย์นาโนเท...

ดร.กุศลิน มุสิกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบั... สสวท. ประกาศชัยครู - นักเรียน ยอดฝีมือ เวทีประกวดงานวิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม GLOBE SRC 2025 — ดร.กุศลิน มุสิกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนว...

"การใช้สื่อชุดกิจกรรม IPST SMART BOX สร้า... สสวท. อบรมครูวิทย์และเทคโนโลยี 4 ภาค สมัครได้ถึง 3 พฤษภาคมนี้ — "การใช้สื่อชุดกิจกรรม IPST SMART BOX สร้างผลงานโดยไม่เขียนโปรแกรม" สถาบันส่งเสริมการสอนวิท...

ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัย... วว. ต้อนรับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในโอกาสเยี่ยมชมโครงสร้างพื้นฐาน วทน. — ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโ...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... วว. วิจัยพัฒนาการใช้ประโยชน์สารสกัด "ใบเตย" เสริมสุขภาพระบบกระดูก/ข้อ สำหรับสังคมก่อนและสูงวัย — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โด...