ฉลากอิเล็กทรอนิกส์ (E-Label) และบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะ ผู้เปลี่ยนโฉม อุตสาหกรรมการผลิตแบบต่อเนื่องในปี 2561

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          โดย นายคอลิน เอลกินส์
          ผู้อำนวยการอุตสาหกรรมส่วนกลางด้านการผลิตแบบต่อเนื่องของบริษัท ไอเอฟเอส

          การติดฉลากอัจฉริยะ (E-labeling) บรรจุภัณฑ์อัจฉริยะ (Smart Packaging) และการสร้างพันธมิตรทั่วโลก นำไปสู่แนวทางใหม่สำหรับบริษัทต่างๆ ในการสร้างฐานลูกค้าและผลกำไรเพิ่มมากขึ้น ในปี พ.ศ. 2561 ปัจจัยเหล่านี้จะมีความสำคัญอย่างมากต่อความสำเร็จ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอาหารที่ลูกค้ากำลังให้ความสำคัญกับความโปร่งใสมากขึ้นเรื่อยๆ คอลิน เอลกินส์ ผู้อำนวยการอุตสาหกรรมส่วนกลางด้านการผลิตแบบต่อเนื่องของไอเอฟเอส ได้คาดการณ์ว่าจะเกิดสิ่งต่อไปนี้ขึ้นในปี พ.ศ. 2561
          1) การใช้ฉลากอิเล็กทรอนิกส์ (E-Label) จะเติบโตเพิ่มขึ้น 50 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากบริษัทต่างๆ เริ่มตระหนักถึงศักยภาพของฐานลูกค้าที่มั่นคงและโอกาสในการเพิ่มผลกำไรจากการขายต่อยอดจากผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่เดิม
          ลองนึกภาพว่า เมื่อคุณหยิบกระป๋องซุปในซูเปอร์มาร์เก็ตแถวบ้านขึ้นมาดูแล้วเห็นข้อมูลระบุส่วนประกอบ 2 อย่างบนฉลาก ได้แก่ E948 และ E242 สงสัยไหมว่าสองตัวนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร E948 คือออกซิเจน (ซึ่งนั่นไม่ใช่ปัญหา) แต่คุณมองสังเกตเห็นอะไรไหม ใช่แล้ว E242 คือ "ไดเมทิลคาร์บอเนต" สารเคมีอันตรายที่เป็นสาเหตุให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง ดวงตา และทางเดินหายใจ ตัวอย่างนี้บอกให้เราทราบว่าการติดฉลากนั้นมีประสิทธิภาพมากเพียงใด และทำไมผู้บริโภคจำนวนมากจึงให้ความสนใจกับเรื่องนี้เป็นอย่างมาก จากผลการวิจัยล่าสุดของเคอรี่ กรุ๊ป (Kerry Group) พบว่า 74% ของผู้บริโภคระบุว่าการติดฉลากอาหารสะอาด (Clean Label: ผลิตภัณฑ์อาหารนั้นไม่มีการใช้สารเคมีสังเคราะห์) เป็นสิ่งสำคัญสูงสุดในการตัดสินใจเลือกซื้ออาหารในปัจจุบัน และ 9 ใน 10จาก 53% ของผู้บริโภคที่อ่านฉลากมีความยินดีที่จะจ่ายเงินเพิ่มสำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากอาหารสะอาดติดอยู่ ในปี พ.ศ. 2561 เราจะได้เห็นแนวโน้มที่มีศักยภาพอย่างมากของฉลากทั้งสองรูปแบบ โดยเฉพาะในด้านการแปรรูปอาหาร (การติดฉลากอาหารสะอาดและการติดฉลากอิเล็กทรอนิกส์) เนื่องจากสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับผู้ผลิตที่เริ่มนำมาใช้ก่อนใคร
          จากคำกล่าวที่ว่า "กินอย่างไรได้อย่างนั้น" จะดีกว่าไหมหากเรามั่นใจได้ 100% ว่าอาหารที่เรากำลังใส่เข้าปากนั้นคืออะไร ซึ่งความโปร่งใสและความสามารถในการตรวจสอบย้อนกลับได้จากฉลากอาหารกำลังเป็นเทรนด์ที่ได้รับความสนใจอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน การติดฉลากอาหารสะอาดได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของผู้บริโภคและห่วงโซ่มังสวิรัติแล้วในตอนนี้ และกำลังเดินหน้าอย่างต่อเนื่องเข้าไปในร้านค้าบนฟากฝั่งของถนนทั้งสองข้างทางด้วย โดยเมื่อเร็วๆ นี้ Aldi ได้ประกาศอย่างชัดเจนว่าจะไม่ใช้สารเติมแต่งและสารกันบูด 200 ชนิดในผลิตภัณฑ์ของตน ซึ่งการใช้สารแต่งเติมและสารกันบูดดังกล่าวถือเป็นเรื่องค่อนข้างปกติอย่างมากสำหรับอาหารแปรรูปในท้องตลาด ขณะที่ Walmart ก็เริ่มตระหนักถึงยอดขายและฐานลูกค้าที่เพิ่มขึ้นเมื่อมีการนำฉลากอาหารสะอาดและความโปร่งใสเข้ามาปรับใช้กับผลิตภัณฑ์ ฉลาก Great for You (เหมาะกับคุณ) ที่แปะบนตัวผลิตภัณฑ์นั้นเป็นตัวชี้วัดว่าผลิตภัณฑ์นี้เป็นไปตามเกณฑ์ความสดและโภชนาการที่เหมาะสม ซึ่งได้รับการนำมาใช้ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2555 และกำลังขยายตัวเพิ่มมากขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ ปัจจุบันมีจำนวนรายการอาหารของWalmart มากกว่า 30% ที่ติดฉลาก Great for You เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และในปี พ.ศ. 2560 กลุ่ม Consumer Goods Forum (CGF) ในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นเครือข่ายของบริษัทสินค้าอุปโภคบริโภค 400 แห่งใน 70 ประเทศทั่วโลกได้ประกาศว่าจะเดินหน้าปรับโฉมฉลากอาหารให้ง่ายกว่าเดิมภายในปี พ.ศ. 2563
          ฉลากอิเล็กทรอนิกส์: เป็นเพียงป้ายกำกับหรือช่องทางการขายใหม่กันแน่
          ภายใต้ความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม กลุ่มผู้บริโภค และผู้ค้าปลีกรายใหญ่ที่กำลังพยายามสร้างแรงกดดันให้เกิดความโปร่งใสและมีการแจ้งข้อมูลเพิ่มมากขึ้น ทำให้ฉลากที่เรียบง่ายกว่าเดิมในรูปของฉลากอิเล็กทรอนิกส์กลายเป็นทางออกที่มีประสิทธิภาพอย่างมาก และอาจเป็นช่องทางการขายใหม่ที่น่าสนใจและมีศักยภาพอย่างน่าสนใจอีกด้วย รหัส QR บนผลิตภัณฑ์อาหารสามารถนำผู้ซื้อไปยังเว็บไซต์ที่ไม่เพียงเห็นแค่ข้อมูลสำคัญตามที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น แต่ยังมีข้อมูลสารที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ ความเป็นมาด้านสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ สถานะ GMO ว่ามาจากฟาร์มและเกษตรกรรายใด ข้อมูลด้านจริยธรรม ข้อดีด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และความพยายามด้านการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ของแบรนด์ สำหรับผู้บริโภคแล้ว การติดฉลากอิเล็กทรอนิกส์หมายถึงความสามารถในการตรวจสอบย้อนกลับได้ ความโปร่งใส และความน่าเชื่อถือที่เพิ่มมากขึ้น ขณะที่สำหรับผู้ผลิตแล้ว การติดฉลากอิเล็กทรอนิกส์จะหมายถึงโอกาสในการขายต่อยอดและการสร้างจุดขายสำหรับคนรุ่นใหม่ซึ่งเป็นผู้บริโภคยุคใหม่ที่มีความใส่ใจสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก
          แต่ไม่ได้จบเพียงเท่านั้น การติดฉลากอิเล็กทรอนิกส์ยังนำเสนอโอกาสที่น่าดึงดูดใจในรูปของการติดฉลากแบบอินเตอร์แอคทีฟที่มีรูปแบบเฉพาะตัวอีกด้วย ฉลากที่ช่วยให้นักช็อปประเภท DIY สามารถมองเห็นภาพโมเดลสุดท้ายบนหน้าจอได้ก่อนตัดสินใจซื้อ เพียงแค่ใส่ข้อมูลขนาดของห้องเมื่อต้องการเลือกซื้อสีทาห้องหรือผ้าม่าน เป็นต้น และด้วยเทคโนโลยี Near Field Communication (NFC) นักช็อปไม่จำเป็นต้องกวาดนิ้ว รอเวลา หรือดาวน์โหลดเพื่อเข้าถึงฉลากที่เต็มไปด้วยข้อมูลเหล่านี้อีกต่อไป เพียงแค่เดินผ่านไปใกล้ผลิตภัณฑ์ ก็จะมีการแจ้งเตือนแบบพุชให้ทราบโดยทันที

          2) บรรจุภัณฑ์อัจฉริยะราคาย่อมเยากำลังสร้างปรากฏการณ์ใหม่ให้กับชั้นวางสินค้า ซึ่งจะเริ่มใช้งานกับเนื้อสัตว์ก่อนเป็นอันดับแรก
          ของเสีย: สำหรับผู้ผลิต โลก และผู้คน ไม่เคยมีเรื่องไหนจะเร่งด่วนเท่านี้มาก่อน ทราบหรือไม่ว่ามีอาหารที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เลยรวมกันทั่วโลกมากถึง 4 พันล้านตันทุกปี และในอเมริกาพบว่า 50% ของอาหารไม่เคยถูกกินเลย อีกทั้งในทุกปี 33% ของเนื้อสัตว์โดยเฉลี่ยที่ชาวอเมริกันซื้อไว้ไม่เคยถูกกินมีแต่เก็บเน่าจนต้องทิ้ง ด้วยเหตุนี้ ของเสียจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างมากที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมโดยตรง ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายของสหภาพยุโรปเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์เมื่อปี พ.ศ. 2558 ที่อนุญาตให้ผู้ผลิตสามารถใช้ส่วนประกอบต่างๆ ในบรรจุภัณฑ์ได้ตราบเท่าที่ไม่ส่งผลให้รสชาติของผลิตภัณฑ์เกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งผมเชื่อว่าภายในสิ้นปี พ.ศ. 2561 เราจะเริ่มเห็นบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะบุกเข้าสู่ร้านค้าปลีกทั่วไปภายใต้การสนับสนุนขององค์กรและหน่วยงานภาครัฐที่ต้องการจัดการปัญหาด้านของเสียให้สำเร็จ ซึ่งจะเริ่มดำเนินการกับเนื้อสัตว์ก่อนเป็นอันดับแรก
          จะเห็นได้ว่าวันที่ "บริโภคก่อน" และ "ใช้ไม่เกิน" บนบรรจุภัณฑ์ในทุกวันนี้ยังไม่ถูกต้องชัดเจนเลยทีเดียว ซึ่งหมายถึงต้องเสียเวลาผลิตไปโดยเปล่าประโยชน์ และจะเกิดอะไรขึ้นหากตัวบรรจุภัณฑ์บอกคุณได้เลยว่าสินค้าเหลือเวลาให้ใช้ได้อีกกี่วัน หรือได้เวลาแล้วต้องรีบนำไปบริโภคทันที และหากลงลึกการแจ้งเตือนไปถึงระดับชั่วโมงด้วยล่ะ แน่นอนว่าการประหยัดเวลา อาหาร และค่าใช้จ่ายจากการใช้บรรจุภัณฑ์อัจฉริยะย่อมสร้างความสามารถในการแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
          ปัจจุบันบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะประเภทนี้มีพร้อมให้ใช้งานแล้ว มาทำความรู้จักกับบริษัท ripeSense ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์สำหรับผลไม้กัน เริ่มจากเซ็นเซอร์อัจฉริยะบนฉลากบรรจุภัณฑ์ของของผลไม้จะเปลี่ยนสีเพื่อบอกให้ผู้บริโภคทราบว่าผลไม้มีความสุกมากน้อยเพียงใดแล้ว ตั้งแต่ความกรอบ (สีแดง) ความแน่น (สีส้ม) ไปจนถึงความฉ่ำ (สีเหลือง) โดยเซ็นเซอร์จะทำปฏิกิริยากับกลิ่นที่ปล่อยออกมาจากผลไม้เมื่อสุก และบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะของ ripeSense จะช่วยให้ผู้ซื้อสามารถเลือกซื้อผลไม้ที่เหมาะกับความต้องการได้อย่างง่ายดาย ทั้งยังช่วยยืดอายุผลิตภัณฑ์และลดการเกิดของเสียได้อย่างมากอีกด้วย
          ทั้งนี้ สมาคมบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะทั่วโลกที่ชื่อว่า Active & Intelligent Packaging Industry Association (AIPIA) ได้คำนวณมูลค่าตลาดของบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะที่มีการใช้งานอยู่ในปัจจุบันว่าอยู่ที่ระดับ 1.35 พันล้านยูโรต่อปี และคาดว่าจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าทุก 5 ปี ด้วยเหตุนี้ บรรจุภัณฑ์อัจฉริยะที่สามารถช่วยลดของเสียได้อย่างมากจึงกำลังขยายตัวอย่างมากในตอนนี้ และด้วยเทคโนโลยีที่สมบูรณ์ในราคาย่อมเยา เช่น เซ็นเซอร์แสง, อาร์เอฟไอดี (RFID - Radio frequency identification), เซ็นเซอร์ชีวภาพ, เซ็นเซอร์สารเคมี และเซ็นเซอร์ก๊าซ ล้วนมีส่วนสำคัญในการช่วยยืดอายุความสดใหม่ของผลิตภัณฑ์บนชั้นวางได้อีกหลายวัน ซึ่งส่งผลดีต่อธุรกิจของผู้ผลิตแบบต่อเนื่องโดยตรงทั้งเรื่องเวลา การวางแผน และรายได้

          3) 1 ใน 4 ของผู้ผลิตอาหารระดับโลกจะสร้างความร่วมมือรูปแบบใหม่เพื่อรับประกันถึงความพร้อมของวัตถุดิบที่หายาก
          "จงใกล้ชิดกับเพื่อนๆ แต่ใกล้ชิดกับศัตรูให้มากกว่า" เป็นคำกล่าวสุดคลาสสิกตั้งแต่ศตวรรษที่ 5 จากตำราพิชัยสงครามของซุนวู และตอกย้ำอีกครั้งโดยไมเคิล คอร์เลโอเนที่พูดวลีนี้ในเรื่อง The Godfather II ดูเหมือนว่าทิศทางการดำเนินธุรกิจในปี พ.ศ.2561 น่าจะสอดคล้องกับคำกล่าวดังกล่าวและน่าจะเป็นปีแห่ง "ศัตรูผู้เป็นมิตร" (frenemies) และ "การร่วมมือแข่งขัน" (coopetition) ที่พร้อมเป็นแรงผลักดันที่แท้จริงของกระแสโลกาภิวัตน์ โดยเห็นได้จากการร่วมมือกันครั้งล่าสุดระหว่าง Kellogg, Pillsbury และ Nabisco เกี่ยวกับการขายออนไลน์ที่แสดงให้เห็นว่าในโลกที่กำลังขาดแคลนทรัพยากรนั้น ความร่วมมือกับคู่แข่งก่อให้เกิดประโยชน์ได้อย่างมาก
          การรวมกิจการและการเข้าซื้อกิจการจะยังคงเป็นวิธีการที่ใช้กันทั่วไปสำหรับบริษัทต่างๆ ในการจัดหาวัสดุและอุปทานทั่วโลก แต่แนวทางดังกล่าวส่งผลกระทบโดยตรงต่อค่าใช้จ่ายและสร้างความท้าทายใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น การเข้าซื้อกิจการของซัพพลายเออร์ในบราซิล อาจทำให้ผู้เข้าซื้อกิจการมั่นใจได้ถึงจำนวนทรัพยากรที่แน่นอน แต่ก็อาจเกิดความยุ่งยากรูปแบบใหม่ๆ ในกระบวนการผลิตเพิ่มขึ้นด้วย การร่วมทุนเพื่อความคล่องตัวและการเป็นพันธมิตรระหว่างกันของผู้แพ้ในตลาดอาจกลายเป็นสิ่งปกติแบบใหม่ที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2561 เนื่องจากบรรดาคู่แข่งจะหันมาจับมือและทำงานร่วมกันเพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ซึ่งนั่นจะนำไปสู่การได้รับมูลค่าสูงสุดจากห่วงโซ่อุปทานและรับประกันได้ถึงวัตถุดิบในมือ นวัตกรรมที่เพิ่มมากขึ้นจะสร้างกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลายมากขึ้นซึ่งจะช่วยผลักดันให้ผู้เล่นขนาดเล็กจนถึงขนาดกลางเดินหน้าเข้าสู่อุตสาหกรรมที่ต้องมีความร่วมมือระหว่างกันเพิ่มขึ้น และแน่นอนว่าเป็นรูปแบบของ "การร่วมมือแข่งกัน"
          แนวทางการทำงานร่วมกันที่เรียกว่า รู้จักมิตรผู้เป็นศัตรู' จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับผู้ผลิตได้อย่างมาก การค้นหาผู้ที่สามารถทำสิ่งต่างๆ ที่คุณทำไม่ได้ และในทางกลับกันนั้น จะช่วยขยายข้อเสนอของคุณไปยังผู้ค้าปลีกโดยไม่จำเป็นต้องลงทุนเงินเป็นจำนวนมาก และเพื่อรับมือกับแนวโน้มทั้งหมดนี้ คุณจะต้องแน่ใจให้ได้ว่ามีความสามารถด้านระบบคลาวด์และเว็บที่เหมาะสม ซึ่งนั่นจะทำให้คุณสามารถแข่งขันและทำงานร่วมกับทรัพยากรที่มีอยู่ได้ทุกที่ตามต้องการ

          เกี่ยวกับไอเอฟเอส
          ไอเอฟเอส (IFS(TM)) เป็นผู้นำระดับโลกด้านการพัฒนาและนำเสนอซอฟต์แวร์สำหรับการวางแผนทรัพยากรองค์กร (Enterprise Resource Planning หรือERP) การบริหารจัดการสินทรัพย์ขององค์กร (Enterprise Asset Management หรือ EAM) และ การบริหารจัดการงานบริการขององค์กร (Enterprise Service Management หรือ ESM) ทั้งนี้ ไอเอฟเอสก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2526 โดยมีส่วนช่วยสนับสนุนให้ลูกค้าที่เป็นกลุ่มเป้าหมายสามารถดำเนินธุรกิจได้ดีขึ้น ตลอดจนผลักดันให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินงาน พร้อมทั้งจัดเตรียมสิ่งต่างๆ สำหรับอุตสาหกรรมเพื่อให้พร้อมรับมือกับอนาคต ไอเอฟเอส มีพนักงาน 2,800 คนที่พร้อมให้การสนับสนุนผู้ใช้ทั่วโลกมากกว่า 1 ล้านคนผ่านสำนักงานสาขาในเขตพื้นที่ต่างๆ และผ่านเครือข่ายพันธมิตรที่กำลังขยายตัวเพิ่มมากขึ้น สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดไปที่เว็บไซต์: IFSworld.com
          ติดตามเราทาง Twitter: @ifsworld
          เยี่ยมชมบล็อกของไอเอฟเอสเกี่ยวกับเทคโนโลยี นวัตกรรม และผลงานสร้างสรรค์ต่างๆ: http://blog.ifsworld.com/
ฉลากอิเล็กทรอนิกส์ (E-Label) และบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะ ผู้เปลี่ยนโฉม อุตสาหกรรมการผลิตแบบต่อเนื่องในปี 2561
 
ฉลากอิเล็กทรอนิกส์ (E-Label) และบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะ ผู้เปลี่ยนโฉม อุตสาหกรรมการผลิตแบบต่อเนื่องในปี 2561

ข่าวไอเอฟเอส การติดฉลากอัจฉริยะ+อุตสาหกรรมอาหารวันนี้

FoSTAT และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ จับมือ ProPak Asia 2025 จัดสัมมนา ปั้นอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารสู่มาตรฐานสากล ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม

สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ และ สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารแห่งประเทศไทย (FoSTAT) และ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ผู้จัดงาน ProPak Asia 2025 งานแสดงเทคโนโลยี เครื่องจักร และโซลูชันด้านกระบวนการผลิต การแปรรูป และบรรจุภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรมอาหาร อาหารแปรรูป เครื่องดื่ม และบรรจุภัณฑ์ ยังคงยึดมั่นในพันธกิจที่จะส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตไทยให้แข็งแกร่งเป็นฟันเฟืองสำคัญของเศรษฐกิจประเทศ เพื่อเดินหน้ายกระดับองค์ความรู้สู่ผู้ประกอบการในทุกภูมิภาค ดังนั้นทั้ง 3

บริษัท สเปเชี่ยลตี้ เนเชอรัล โปรดักส์ จำก... SNPS จับมือ Partner พัฒนาผลิตภัณฑ์ กลุ่มอาหารสัตว์พรีเมียม — บริษัท สเปเชี่ยลตี้ เนเชอรัล โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) "SNPS" ร่วมเปิดตัวสินค้าใหม่ ประเภทกลุ่มอ...

นางสาวศุภมาส อิศรภักดี (ที่ 4 จากขวา) รัฐ... 'Food ingredients Asia Thailand และ Vitafoods Asia 2025' จัดงานดินเนอร์ ทอล์ก เนื่องในวันสตรีสากล — นางสาวศุภมาส อิศรภักดี (ที่ 4 จากขวา) รัฐมนตรีว่าการกร...