ผลสำรวจของสมาพันธ์ทันตแพทย์โลกเผยเด็กส่วนใหญ่เข้ารับการตรวจสุขภาพฟันช้าเกินไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          เนื่องในวันทันตสาธารณสุขโลกปีนี้ สมาพันธ์ทันตแพทย์โลก (FDI World Dental Federation) ได้ตั้งคำถามกับพ่อแม่ทั่วโลกว่าดูแลสุขภาพฟันของลูกอย่างไร และคำตอบที่ได้ทำให้ตระหนักว่าต้องมีการปรับปรุง เพราะการรักษาสุขภาพช่องปากให้สมบูรณ์เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ปากและฟันทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ทั้งยังช่วยรักษาสุขภาพและสุขภาวะโดยรวมด้วย

          รับชมข่าวประชาสัมพันธ์ในรูปแบบมัลติมีเดียได้ที่
          https://www.multivu.com/players/uk/8281451-survey-children-not-getting-dental-check-up

          ผลสำรวจใน 10 ประเทศพบว่า ในบรรดาพ่อแม่ที่มีลูกอายุไม่เกิน 18 ปี มีเพียง 13% ที่พาลูกไปพบทันตแพทย์ก่อนครบขวบปีแรก ซึ่งเป็นอายุแนะนำในการพาเด็กไปพบทันตแพทย์ครั้งแรก พ่อแม่ส่วนใหญ่พาลูกไปพบทันตแพทย์ครั้งแรกเมื่อเด็กมีอายุ 1-3 ขวบ (24%) หรือ 4-6 ขวบ (22%) ขณะที่ 20% ไม่เคยพาลูกไปตรวจสุขภาพฟันเลย

          Dr Kathryn Kell ประธาน FDI กล่าวว่า "น่าเป็นห่วงมากที่ได้รับรู้ว่าเด็กส่วนใหญ่ไม่ได้ตรวจสุขภาพฟันตามอายุที่แนะนำ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีเริ่มตั้งแต่อายุยังน้อย พ่อแม่ควรพาเด็กมาพบทันตแพทย์เมื่อฟันซี่แรกเริ่มขึ้นเพื่อป้องกันการเกิดฟันผุในเด็กเล็ก นอกจากนี้ โรคเกี่ยวกับช่องปากอาจส่งผลกระทบต่อทุกแง่มุมของชีวิตและมีความสัมพันธ์กับสุขภาพโดยรวม เนื่องในวันทันตสาธารณสุขโลกปีนี้ เราอยากให้ทุกคนตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพช่องปากกับสุขภาพโดยทั่วไป และเข้าใจผลกระทบที่มีซึ่งกันและกัน การรู้วิธีรักษาสุขภาพช่องปากและสุขภาพร่างกายในทุกช่วงวัยจะทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น"

          ครึ่งหนึ่ง (50%) ของพ่อแม่ที่พาลูกไปพบทันตแพทย์ ระบุว่าพาไปตรวจสุขภาพฟันตามปกติ ซึ่งเป็นคำตอบที่พบมากที่สุดในสหราชอาณาจักร (82%), สวีเดน (77%), อาร์เจนตินา (65%), ฝรั่งเศส (63%), สหรัฐอเมริกา (63%), ออสเตรเลีย (56%) และจีน (34%) แต่พ่อแม่ในอีกหลายประเทศพาลูกไปพบทันตแพทย์เพราะลูกมีอาการปวดฟัน ได้แก่ อียิปต์ (56%), ฟิลิปปินส์ (43%) และโมร็อกโก (38%)

          มากกว่าสองในห้า (43%) ของพ่อแม่ที่มีลูกอายุไม่เกิน 18 ปี มีการกำกับให้ลูกแปรงฟันก่อนนอนเพื่อป้องกันการเกิดโรคในช่องปาก ซึ่งเป็นข้อความสำคัญที่ FDI สื่อสารมาโดยตลอด ผลสำรวจยังระบุด้วยว่า 40% ของพ่อแม่กำกับให้ลูกแปรงฟันวันละ 2 ครั้ง และ 38% จำกัดอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงเพื่อป้องกันโรคในช่องปาก แต่มีเพียง 26% ที่ทำความสะอาดฟันให้ลูกตั้งแต่ฟันซี่แรกเริ่มขึ้น และมีแค่ 8% ที่ให้ลูกใส่ฟันยางระหว่างเล่นกีฬา

          FDI แนะนำให้ทุกคนฝึกดูแลสุขภาพช่องปาก หลีกเลี่ยงปัจจัยเสียงต่างๆ เช่น อาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ โดยเฉพาะอาหารที่มีน้ำตาลสูง ตลอดจนเข้ารับการตรวจสุขภาพฟันอย่างสม่ำเสมอเพื่อรักษาสุขภาพช่องปากและสุขภาพโดยรวมในทุกช่วงวัย พ่อแม่ควรเริ่มทำความสะอาดฟันให้ลูกก่อนนอนตั้งแต่ฟันซี่แรกเริ่มขึ้น รวมถึงกำกับให้ลูกแปรงฟันวันละ 2 ครั้งโดยใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์เพียงเล็กน้อย และพาลูกไปพบทันตแพทย์เป็นประจำตั้งแต่ก่อนอายุครบ 1 ขวบ

          เกี่ยวกับวันทันตสาธารณสุขโลก

          วันทันตสาธารณสุขโลก (World Oral Health Day) ซึ่งตรงกับวันที่ 20 มีนาคมของทุกปี ริเริ่มขึ้นโดย FDI เพื่อรณรงค์ให้ทั่วโลกตระหนักถึงการป้องกันและควบคุมโรคในช่องปาก http://www.worldoralhealthday.org; #WOHD18 #SayAhh

          พันธมิตรระดับโลกของวันทันตสาธารณสุขโลกประกอบด้วย Henry Schein, Philips Sonicare และ Unilever ส่วนผู้สนับสนุนวันทันตสาธารณสุขโลกประกอบด้วย Planmeca และ Wrigley

          เกี่ยวกับการสำรวจ

          ข้อมูลตัวเลขทั้งหมดที่ปรากฏมาจาก YouGov Plc. โดยได้มาจากการสำรวจผู้ใหญ่  11,552 คน ซึ่ง 4,056 คนในจำนวนนี้มีลูกอายุไม่เกิน 18 ปี การสำรวจทางออนไลน์เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 30 มกราคม ถึง 8 กุมภาพันธ์ 2561 โดยมีการถ่วงน้ำหนักและเลือกกลุ่มตัวอย่างมีอายุ 18 ปีขึ้นไป สำหรับจำนวนพ่อแม่ที่มีลูกอายุไม่เกิน 18 ปีแบ่งตามประเทศได้ดังนี้ สหราชอาณาจักร (468), ออสเตรเลีย (311), อียิปต์ (463), ฟิลิปปินส์ (506), ฝรั่งเศส (357), สหรัฐอเมริกา (295), โมร็อกโก (386), สวีเดน (272), จีน (529) และอาร์เจนตินา (469)

          (รูปภาพ: https://mma.prnewswire.com/media/654729/FDI_Children_Dental.jpg  )

          ที่มา: FDI World Dental Federation


ข่าวo:heal+o:prneวันนี้

5 อาการต้องระวัง! เสี่ยง "มะเร็งลำไส้" ไม่รู้ตัว

มะเร็งลำไส้ โรคร้ายที่ไม่เลือกอายุ เพศ หรือเชื้อชาติ ใครก็เสี่ยงเป็นได้ อาจเริ่มต้นจากอาการเล็กๆ ที่เราไม่ทันสังเกต และนี่คือ 5 สัญญาณเตือน ที่คุณไม่ควรละเลย! ท้องผูกสลับท้องเสีย ถ้ามีอาการนี้ต่อเนื่อง 2-4 สัปดาห์ เช่น ไม่ถ่ายหลายวัน แล้วจู่ๆ ก็ท้องเสีย อาจเป็นสัญญาณว่ามีสิ่งผิดปกติในลำไส้ ถ่ายเป็นมูกเลือด การมีเลือดปนมากับอุจจาระ ไม่ว่าจะมากหรือน้อย เป็นสัญญาณเตือนสำคัญว่าลำไส้ใหญ่กำลังมีปัญหา ลักษณะอุจจาระเปลี่ยนไป โดยปกติอุจจาระควรเป็นแท่งขนาดพอดี แต่ถ้ารูปร่างเปลี่ยนเป็น เส้นเล็ก เรียวยาว

"แกงส้มก็ซอฟต์พาวเวอร์ได้!" อภัยภูเบศรชูส... อภัยภูเบศรชูสมุนไพร-อาหารไทย สร้างสุขภาพ สร้างเศรษฐกิจ ในมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ 22 — "แกงส้มก็ซอฟต์พาวเวอร์ได้!" อภัยภูเบศรชูสมุนไพร-อาหารไทย สร้า...

ผู้ประกอบการทุกคนรู้ดีว่า หากกลุ่มเป้าหมา... เผย 5 เทคนิคการตลาดสุดปัง! สร้างกระแส (Buzz) ให้ธุรกิจเติบโตได้ด้วยตัวเอง — ผู้ประกอบการทุกคนรู้ดีว่า หากกลุ่มเป้าหมายไม่รู้จักผลิตภัณฑ์หรือบริการของคุณ ค...

การสูญเสียฟันไม่ใช่แค่เรื่องความสวยงาม แต... รอยยิ้มใหม่ เริ่มต้นด้วย.. "รากเทียม" — การสูญเสียฟันไม่ใช่แค่เรื่องความสวยงาม แต่ส่งผลต่อระบบทางเดินอาหารเพราะจะเกิดปัญหาการเคี้ยวอาหาร รว...

วันนี้ (30 มิถุนายน 2568) กรมอนามัย กระทร... ผนึกกำลัง กรมอนามัย - เอกชน ร่วมดูแลสุขภาพช่องปาก สร้างรอยยิ้มเด็กไทย — วันนี้ (30 มิถุนายน 2568) กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงควา...

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จรรยา จันทร์ผ่อง ภา... มะเร็งปากมดลูก : โรคใกล้ตัวที่ผู้หญิงควรรู้ — ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จรรยา จันทร์ผ่อง ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิ...

When it comes to resetting your health, l... Convincing Reasons to Head to Thailand & Stay at a Weight Loss Resort — When it comes to resetting your health, losing excess weight, and regaining co...

ฝ้าเกิดจากการสะสมของเม็ดสีเมลานินในชั้นผิ... 5 เทคนิคการรักษาฝ้า ให้จางหายอย่างเป็นธรรมชาติ — ฝ้าเกิดจากการสะสมของเม็ดสีเมลานินในชั้นผิวหนัง ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากฮอร์โมน แสงแดด การอักเสบ หรือการ...