เอ็นไอเอ ตั้งเป้าดันประเทศไทยทะยานสู่อินโนเวชั่นเนชั่นงัดกลยุทธ์เสริม 4 จุดแกร่งสร้างแรงขับเคลื่อนระบบนวัตกรรม

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA เตรียมขับเคลื่อนประเทศไทยก้าวสู่ Innovation Nation หรือประเทศที่มีการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม โดยได้กำหนดเป้าหมายสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบนวัตกรรม 4 ด้าน ได้แก่ การบ่มเพาะมหาวิทยาลัยผู้ประกอบการ การเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานทางนวัตกรรมของผู้ประกอบการภูมิภาค การส่งเสริมกลุ่มสตาร์ทอัพด้วยโปรแกรมที่เข้มข้น การพัฒนากลไกสนับสนุนการเติบโตให้กับนวัตกรรมที่มีศักยภาพสูง นอกจากนี้ ยังได้เผยถึงจุดอ่อนทางนวัตกรรมเดิมที่ไทยต้องแก้ไขให้ดีขึ้น อาทิ การสร้างองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมสำหรับการจ้างงานของแต่ละองค์กร กองทุนด้านนวัตกรรมเพื่อผู้ประกอบการรายย่อย สถาบันหรือองค์กรเพื่อส่งเสริมนวัตกรรมที่ต้องมีมากขึ้น 
          รศ.ดร.วีระพงศ์ แพสุวรรณ ประธานกรรมการนวัตกรรมแห่งชาติ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เปิดเผยว่า กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภายใต้การดำเนินงานของ NIA ได้ตั้งเป้าให้ประเทศไทยเดินหน้าไปสู่ Innovation Nation หรือประเทศที่มีการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม โดยแนวคิดดังกล่าวหลายประเทศทั่วโลกกำลังเร่งผลักดันให้เกิดขึ้นอย่างจริงจัง เนื่องจากสามารถตอบโจทย์ในหลายๆภาคส่วนได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด ไม่ว่าจะเป็น การกระตุ้นการเติบโตของ GDP การยกระดับคุณภาพชีวิต การสร้างงานในประเทศให้เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้เกิดความเท่าเทียมทั้งในระดับภูมิภาคและส่วนกลาง ซึ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งสำคัญที่ประเทศไทยจำเป็นต้องเร่งพัฒนาให้รุดหน้าอย่างรวดเร็ว
          รศ.ดร.วีระพงศ์ กล่าวต่อว่า สำหรับกลยุทธ์ในการก้าวสู่ Innovation Nation นั้น ประเทศไทยจำเป็นต้องเร่งสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบนวัตกรรม NIA จึงได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาและส่งเสริมระบบนวัตกรรมของประเทศในด้านต่างๆดังนี้ 
          1.มหาวิทยาลัยผู้ประกอบการ เป้าหมายสำคัญของ มหาวิทยาลัยผู้ประกอบการ คือการสร้างผู้ประกอบการที่เติบโตจากฐานความรู้และฐานงานวิจัย เพื่อให้เกิดการนำองค์ความรู้และงานวิจัยไปขยายผล เกิดเป็นธุรกิจใหม่ที่ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคม โดยการพลิกโฉมไปสู่ มหาวิทยาลัยผู้ประกอบการ มีหัวใจสำคัญอยู่ 3 ประเด็น ได้แก่ การสร้างความเป็นผู้ประกอบการ การสร้างคุณค่าให้กับงานวิจัย และความเป็นเลิศด้านงานวิจัย ทั้งนี้ NIA มีการทำงานร่วมกับเครือข่ายมหาวิทยาลัยทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เพื่อสนับสนุนให้อาจารย์ นักวิจัยและนักเรียนนักศึกษารุ่นใหม่ ได้มีโอกาสนำองค์ความรู้และงานวิจัยมาต่อยอดสู่การนำไปใช้จริง ผ่านโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพความเป็นผู้ประกอบการ และการให้ทุนสนับสนุนในการขยายผลงานวิจัย นอกจากนี้ ยังได้มีการบ่มเพาะเยาวชนภายใต้โปรแกรม STEAM 4 Innovator เพื่อผลักดันให้กลุ่มนักเรียน นักศึกษา ได้มีทักษะนวัตกรรมที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพ และก้าวสู่ผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมได้อย่างรวดเร็วขึ้น
          2.การเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานทางนวัตกรรมของผู้ประกอบการภูมิภาค NIA ได้ดำเนินโครงการ Regional Connect เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานทางนวัตกรรมของผู้ประกอบการภูมิภาค โดยทำงานร่วมกับอุทยานวิทยาศาสตร์และมหาวิทยาลัยในระดับภูมิภาค รวมทั้งกลุ่มผู้ประกอบการและสมาคมธุรกิจในพื้นที่อย่างใกล้ชิด โดยได้สนับสนุนทรัพยากรทางนวัตกรรมที่สำคัญคือ เงินทุนสนับสนุนจากภาครัฐ ความรู้เชิงเทคนิคและวิชาการ การเข้าถึงบริการด้านห้องปฏิบัติการ (Laboratory Facilities) รวมทั้งกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพและความสามารถของผู้ประกอบการ ซึ่งได้ดำเนินการให้มีความเท่าเทียมกับในระดับส่วนกลางทั้งด้านปริมาณ ความต่อเนื่อง และประสิทธิภาพ
          3.การส่งเสริมกลุ่มสตาร์ทอัพ NIAในฐานะหน่วยงานนำของโปรแกรม Startup Thailand ได้พัฒนาแพลตฟอร์มสนับสนุนการเติบโตของ Startup ตั้งแต่การบ่มเพาะ (incubate) ไอเดียทางธุรกิจ การเร่งการเติบโต (accelerating) ของธุรกิจอย่างก้าวกระโดด การสนับสนุนด้านการเงินในลักษณะทุนให้เปล่า การเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ เช่น การออกกฎหมายสนับสนุนการลงทุนและการจ้างงานแรงงานทักษะและความรู้สูง ส่งเสริมการขยายลงทุนสู่ต่างประเทศ การเปิดโอกาสให้สตาร์ทอัพเข้าถึงการพัฒนา แพลทฟอร์มหรือการจัดซื้อจัดจ้างในภาครัฐ การสนับสนุนวีซ่าชนิดพิเศษ (Smart Visa) เป็นต้น 
          4. การพัฒนากลไกสนับสนุนการเติบโต (Growth Mechanism) ปัจจุบันยังมีนวัตกรรมที่มีศักยภาพสูงแต่ไม่ได้รับโอกาสการสนับสนุนให้สามารถเติบโตอย่างก้าวกระโดด ทำให้นวัตกรรมดังกล่าวไม่สามารถขยายผลหรือไม่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงในวงกว้างได้ NIA จึงมีกลไกสนับสนุนการเติบโต อาทิ 1) นวัตกรรมตลาด (Market Innovation) ที่ช่วยเชื่อมโยงผู้ประกอบการนวัตกรรมไปสู่กลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ 2) โครงการ MIND Credit ที่ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงและใช้บริการจากบริษัทที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนาหรือขยายผลธุรกิจนวัตกรรม 3) โครงการนวัตกรรมไม่มีดอกเบี้ย ที่เป็นการให้ทุนสนับสนุนในรูปแบบดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับโครงการนวัตกรรมที่ต้องการขยายผลการลงทุน นอกจากนี้ ยังมี การจัดตั้งสถาบันเฉพาะทางเพื่อพัฒนาความรู้ ทักษะความสามารถ และความเชี่ยวชาญทางนวัตกรรม เพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานของแต่ละภาคส่วนและระดับบุคลได้จริงและตรงจุด เช่น สถาบันวิทยาการนวัตกรรม (NIA Academy) สถาบันการมองอนาคตนวัตกรรม ศูนย์สร้างสรรค์ธุรกิจนวัตกรรมการเกษตร (ABC Center) รวมถึงการพัฒนาย่านนวัตกรรมที่ทำให้เกิดธุรกิจ และแพลทฟอร์มยกระดับคุณภาพชีวิตรูปแบบใหม่ๆในระดับพื้นที่ เป็นต้น
          อย่างไรก็ดี นอกจากการสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบนวัตกรรมทั้ง 4 ด้านดังกล่าวแล้ว NIA ยังพบว่า จากดัชนีชี้วัดทางนวัตกรรม ที่จัดทำโดยองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลกในปีล่าสุด ประเทศไทยยังมีจุดอ่อนทางนวัตกรรมเดิมที่ต้องแก้ไขให้ดีขึ้นเพิ่มเติม ได้แก่ การสร้างองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมสำหรับการจ้างงานของแต่ละองค์กร การให้ข้อมูลข่าวสารและความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีและระบบดิจิทัลแก่สาธารณชน กองทุนด้านนวัตกรรมเพื่อผู้ประกอบการรายย่อย สถาบันหรือองค์กรเพื่อส่งเสริมนวัตกรรมที่ต้องมีมากขึ้นโดยยังรวมไปถึงระบบการศึกษา หลักสูตรและบุคลากรด้านนวัตกรรมที่ต้องปรับตัวเช่นกัน 
          รศ.ดร.วีระพงศ์ กล่าวทิ้งท้ายว่า การขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ Innovation Nation นั้น การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมให้เข้มแข็งด้านเดียวอาจยังไม่เพียงพอเท่าไรนัก NIA ยังได้วางเป้าหมายที่จะสร้างการเชื่อมโยงไปสู่ภาคส่วนต่างๆ เพื่อเพิ่มความสามารถในการประยุกต์ใช้ และยกระดับการแข่งขันให้มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น อาทิ การปรับเปลี่ยนจากธุรกิจโภคภัณฑ์ไปสู่ธุรกิจนวัตกรรม ภาคการท่องเที่ยวที่ต้องก้าวสู่การท่องเที่ยวเชิงอัจฉริยะ ( Smart Tourism) มากขึ้น การสนับสนุนอุตสาหกรรมบริการทดแทนอุตสาหกรรมการผลิต การถ่ายทอดผลงานวิจัยและ พัฒนา และเทคโนโลยี สู่เกษตรกรรายย่อย วิสาหกิจ ชุมชนและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมถึงการเข้าถึงกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-CURVE) เช่น การแพทย์ ยานยนต์ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อให้ไปถึงเป้าหมายได้รวดเร็วขึ้น
          สำหรับผู้ที่สนใจรายละเอียด สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) โทรศัพท์ 02-0175555 เว็บไซต์ www.nia.or.th หรือ facebook.com/niathailand
เอ็นไอเอ ตั้งเป้าดันประเทศไทยทะยานสู่อินโนเวชั่นเนชั่นงัดกลยุทธ์เสริม 4 จุดแกร่งสร้างแรงขับเคลื่อนระบบนวัตกรรม
 
เอ็นไอเอ ตั้งเป้าดันประเทศไทยทะยานสู่อินโนเวชั่นเนชั่นงัดกลยุทธ์เสริม 4 จุดแกร่งสร้างแรงขับเคลื่อนระบบนวัตกรรม
เอ็นไอเอ ตั้งเป้าดันประเทศไทยทะยานสู่อินโนเวชั่นเนชั่นงัดกลยุทธ์เสริม 4 จุดแกร่งสร้างแรงขับเคลื่อนระบบนวัตกรรม
เอ็นไอเอ ตั้งเป้าดันประเทศไทยทะยานสู่อินโนเวชั่นเนชั่นงัดกลยุทธ์เสริม 4 จุดแกร่งสร้างแรงขับเคลื่อนระบบนวัตกรรม
 
 

ข่าวสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ+มหาวิทยาลัยผู้ประกอบการวันนี้

NIA เวทีโชว์ศักยภาพ 21 ทีมธุรกิจนวัตกรรมไทยสู่ตลาดโลก ในโครงการ Global Investment Link โดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA จัดงาน Demo Day Tommorow Starts Here ภายใต้โครงการ Global Investment Link เพื่อผลักดันศักยภาพของผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) ไทย จำนวน 21 ทีม ใน 6 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ นวัตกรรมด้านอาหารและผลไม้ไทยมูลค่าสูงเพื่อการส่งออก นวัตกรรมด้านพืชและสัตว์เศรษฐกิจ เศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ พลังงานสะอาด ธุรกิจดิจิทัลที่ใช้เทคโนโลยีด้าน AI, Robotic, Immersive & IoT (ARI Tech) ยานยนต์ไฟฟ้าและเทคโนโลยีที่เกี่ยวเนื่องและ E-Commerce &

ผ่านหลักสูตร PPCIL รุ่น 7 ผสานความรู้ ทัก... เอ็นไอเอปั้น 80 ผู้นำนวัตกรรมเชิงนโยบายหนุนมีส่วนร่วมพัฒนาประเทศ — ผ่านหลักสูตร PPCIL รุ่น 7 ผสานความรู้ ทักษะออกแบบ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขัน...

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ห... NIA เดินหน้าสร้าง "ชาติแห่งนวัตกรรม" เปิดรับสมัคร "รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ประจำปี 2568" — สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ภายใต้กระทรวงกา...

ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานน... NIA จับมือซีพี เครือข่ายภาครัฐ และธนาคาร เปิดหลักสูตร "IBEs Driving Green Innovation" — ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กล่าวว่า ...

ส่งออก 4 สตาร์ตอัปร่วมอวดศักยภาพสู่ตลาดกา... "เอ็นไอเอ" มั่นใจพร้อมดันยูนิคอร์นกลุ่มกรีนเทคแจ้งเกิดใน 3 ปี — ส่งออก 4 สตาร์ตอัปร่วมอวดศักยภาพสู่ตลาดกาตาร์ใน "Web Summit Qatar 2025" พร้อมชี้โอกาสนวัตก...

ผ่าน "โครงการ INNOProductivity for SMEs" ... เอ็นไอเอ เร่งขยายสัดส่วนธุรกิจขนาดกลาง พร้อมปิดแก็ปเอสเอ็มอีไทยโตไม่สมดุล — ผ่าน "โครงการ INNOProductivity for SMEs" ดึงโมเดลศักยภาพองค์กรนวัตกรรม ผสานการ...

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ขอแสดงควา... ชีววิทยา ม.พะเยา สุดเจ๋ง! คว้า 1 ใน 5 ทีม นวัตกรรมสร้างสุข ได้รับเงินต่อยอดจาก NIA — คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ขอแสดงความยินดีกับนิสิตสาขาวิชาชีววิท...

ธนาคารไทยพาณิชย์ ร่วมกับ สำนักงานนวัตกรรม... ไทยพาณิชย์-NIA-depa ชูความสำเร็จหลักสูตร IBE 6 นำผู้ประกอบการ 109 บริษัทสู่เส้นทางความยั่งยืน — ธนาคารไทยพาณิชย์ ร่วมกับ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ องค์การม...