มรภ.สงขลา สอนเด็ก ม.ปลาย ผลิตคลิปวิดีโอบนสมาร์ทโฟน เล่าเรื่อง ร.ร.ของฉัน ผ่านสื่อออนไลน์-ปูทางสู่นักนิเทศฯ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          มรภ.สงขลา ลงพื้นที่บริการวิชาการ สอนนักเรียนมัธยมปลายผลิตคลิปวิดีโอผ่านสมาร์ทโฟน ตั้งโจทย์ "โรงเรียนของฉัน" บอกเล่าเรื่องราวน่าสนใจทางสื่อสังคมออนไลน์ ปูพื้นฐานสู่นักนิเทศศาสตร์ในอนาคต
          นางสาวจุฬารัตน์ จุลภักดิ์ อาจารย์โปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) ผู้เสนอโครงการผลิตคลิปวิดีโอเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้สู่การเป็นนักนิเทศศาสตร์ผ่านสมาร์ทโฟน เมื่อเร็วๆ นี้ เปิดเผยว่า การอบรมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำสมาร์ทโฟนมาปรับใช้ในการเรียนการสอน และนำความรู้ด้านการผลิตสื่อผ่านแอพพลิเคชั่น KineMaster ไปถ่ายทอดให้กับนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนต่างๆ ในพื้นที่ให้บริการของมหาวิทยาลัย อันได้แก่ จ.สงขลา สตูล และ พัทลุง รวมถึงจังหวัดใกล้เคียงอย่าง จ.นครศรีธรรมราช ได้มีความเข้าใจในกระบวนการผลิตคลิปวิดีโอด้วยสมาร์ทโฟน และสร้างสรรค์ชิ้นงานที่มีคุณภาพ ทั้งยังเป็นการประชาสัมพันธ์โปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์ให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นแนวทางให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีความสนใจในวิชาชีพนิเทศศาสตร์เลือกเข้าศึกษาต่อที่ มรภ.สงขลา
          นางสาวจุฬารัตน์ กล่าวว่า ภายในงานมีกิจกรรมให้นักเรียนฝึกปฏิบัติผลิตคลิปวิดีโอด้วยตนเอง ภายใต้โจทย์ "โรงเรียนของฉัน" นำเสนอเรื่องราวหรือสิ่งที่น่าสนใจของสถานศึกษา และนำมาเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อให้วิทยากรได้แสดงความเห็น รวมถึงให้คำแนะนำสำหรับผู้ที่สนใจผลิตชิ้นงานครั้งต่อไป จนนำไปสู่การพัฒนาความคิด และสามารถนำความรู้ที่ได้รับมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของตนเองได้ โดยในการอบรมครั้งนี้มีนักเรียนโรงเรียนตะโหมด จ.พัทลุง เข้าร่วมกว่า 30 คน และได้รับเกียรติจาก นายสมพงศ์ บุญชรัตน์ ผู้อำนวยการโรงเรียนตะโหมด เป็นประธานในพิธีเปิด วิทยากรโดย นายธน แต้รุ่งเรือง นักศึกษาโปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์ชั้นปีที่ 4 ถ่ายทอดความรู้ในเรื่องเทคนิคการถ่ายวิดีโอและการตัดต่อด้วยสามาร์ทโฟนผ่านแอพพลิเคชั่น KineMaster 
          ด้าน ดร.ศุภฤกษ์ เวศยาสิรินทร์ อาจารย์โปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มรภ.สงขลา กล่าวว่า สมาร์ทโฟนเป็นเครื่องมือสื่อสารที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน ด้วยความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสารที่ถูกนำมาประยุกต์ใช้ให้ตรงกับความต้องการเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ใช้งาน ทั้งในด้านการสื่อสาร ด้านการศึกษาหรือแม้แต่ด้านความบันเทิง ที่มีการใช้งานเทียบเท่ากับระบบคอมพิวเตอร์ อาทิ ใช้สื่อสารทางไกล ติดตามข่าวสารบนสื่อสังคมออนไลน์ การถ่ายภาพ ถ่ายวิดีโอ การจัดเอกสารข้อมูลและยังสามารถเลือกติดตั้งแอพพลิเคชั่นต่างๆ ตามความต้องการของผู้ใช้งานได้อีกด้วย แอพพลิเคชั่นเป็นโปรแกรมที่อำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ ซึ่งในแต่ละระบบปฏิบัติการจะมีผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่นขึ้นมามากมาย อย่างเช่น แอพพลิเคชั่น KineMaster ที่สามารถผลิตวิดีโอ เพลง รูปภาพ เอฟเฟกต์ และการแทรกเสียง ซึ่งมีความละเอียดสูงสุดถึง 1080 p มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับโปรแกรมตัดต่อในคอมพิวเตอร์
          ดร.ศุภฤกษ์ กล่าวอีกว่า โปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์ มรภ.สงขลา จึงนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนทางด้านวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ โดยนำแอพพลิเคชั่น KineMaster เข้ามาใช้ในการผลิตสื่อรูปแบบคลิปวิดีโอให้กับหน่วยงานหรือท้องถิ่นมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการผลิตสื่อเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวให้กับชุมชน หรือการผลิตสื่อเพื่อรณรงค์การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นผ่านโครงการดีเจทีน ซึ่งได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดีมาโดยตลอด ประกอบกับปัจจุบันโรงเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายส่วนใหญ่มีรายวิชาเรียนที่เกี่ยวกับการผลิตสื่อ อาทิ หนังสั้น มิวสิควิดีโอ เป็นต้น แอพพลิเคชั่นKineMaster จึงเป็นอีกทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับการตัดต่อวิดีโอ ให้แก่นักเรียน นักศึกษา เนื่องจากเป็นแอพพลิเคชั่นที่สามารถนำไปใช้ในงานทางด้านการศึกษาได้เป็นอย่างดี
มรภ.สงขลา สอนเด็ก ม.ปลาย ผลิตคลิปวิดีโอบนสมาร์ทโฟน เล่าเรื่อง ร.ร.ของฉัน ผ่านสื่อออนไลน์-ปูทางสู่นักนิเทศฯ
 
มรภ.สงขลา สอนเด็ก ม.ปลาย ผลิตคลิปวิดีโอบนสมาร์ทโฟน เล่าเรื่อง ร.ร.ของฉัน ผ่านสื่อออนไลน์-ปูทางสู่นักนิเทศฯ
 
มรภ.สงขลา สอนเด็ก ม.ปลาย ผลิตคลิปวิดีโอบนสมาร์ทโฟน เล่าเรื่อง ร.ร.ของฉัน ผ่านสื่อออนไลน์-ปูทางสู่นักนิเทศฯ
มรภ.สงขลา สอนเด็ก ม.ปลาย ผลิตคลิปวิดีโอบนสมาร์ทโฟน เล่าเรื่อง ร.ร.ของฉัน ผ่านสื่อออนไลน์-ปูทางสู่นักนิเทศฯ

ข่าวมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา+มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลวันนี้

"เกษตร" มรภ.สงขลา นำ นศ. เรียนรู้กระบวนการผลิตและตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าว

มรภ.สงขลา นำนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช เรียนรู้กระบวนการผลิต เก็บรักษา และตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าว พร้อมรับองค์ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2567 ผศ.ดร.ภัทรพร ภักดีฉนวน อาจารย์คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) นำนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช ชั้นปีที่ 2 คณะเทคโนโลยีการเกษตร ศึกษาเรียนรู้วิธีการผลิต การเก็บรวบรวมรักษา และการตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวชั้นเมล็ดพันธุ์จำหน่าย และเมล็ดพันธุ์ขยาย ณ ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง และศูนย์

อาจารย์คณะเทคโนโลยีการเกษตร-คณะวิทยาศาสตร... มรภ.สงขลา เยือน "ม. UPNVJT" อินโดนีเซีย ร่วมสัมมนาด้านเทคโนโลยีอาหาร — อาจารย์คณะเทคโนโลยีการเกษตร-คณะวิทยาศาสตร์ฯ มรภ.สงขลา เยือน Universitas Pembangunan...

มรภ.สงขลา ร่วมประชุมสร้างความรู้ความเข้าใ... มรภ.สงขลา ร่วมเวทีประชุมเตรียมความพร้อมจัดอันดับ "Impact Ranking" — มรภ.สงขลา ร่วมประชุมสร้างความรู้ความเข้าใจและเตรียมความพร้อมในการจัดอันดับการดำเนินงาน...

วันที่ 10 มกราคม 2567 นายสมนึก พรหมเขียว ... มรภ.สงขลา เปิดบ้านรับการประชุมคณะอนุกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าสงขลา — วันที่ 10 มกราคม 2567 นายสมนึก พรหมเขียว ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานใน...