Thailand Aerospace Youth Forum ครั้งที่ 2 เวทีสร้างโอกาสให้เยาวชนไทย ต่อยอดความคิด สู่นวัตกรรมอวกาศ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA จับมือกับศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ทั้ง 5 แห่งจากทั่วประเทศ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ภาควิชาวิศวกรรม การบินและอวกาศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) บริษัท Drone Academy Thailand และบริษัท Dev Drone Mapper ร่วมกันจัดงาน Thailand Aerospace Youth Forum ครั้งที่ 2 ภายใต้แนวคิด "เปิดโลกอากาศยาน เปิดม่านแรงบันดาลใจ" ซึ่งเป็นเวทีที่ช่วยส่งเสริมการสร้างเยาวชนไทยให้มีทักษะการประยุกต์ใช้และพัฒนานวัตกรรมจากเทคโนโลยีอวกาศและยังเปิดโอกาสให้เยาวชนได้แลกเปลี่ยนความคิดกับผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีอวกาศของไทยโดยตรง เพื่อต่อยอดและเตรียมตัวสู่สายอาชีพนักพัฒนานวัตกรรมอวกาศในอนาคต
          ดร.พาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์ ที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า แนวทางการขับเคลื่อนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ ภายใต้แนวคิด "วิทย์สร้างชาติ" ซึ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่ Thailand 4.0 ที่ต้องการใช้นวัตกรรม และเทคโนโลยีนำประเทศไทยพัฒนาไปสู่ความยั่งยืน สิ่งสำคัญที่สุดคือการพัฒนาบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนให้ภาคส่วนต่าง ๆ เกิดการพัฒนาประเทศไทยอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ EEC ด้วยเหตุนี้ GISTDA จึงร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดงาน Thailand Aerospace Youth Forum ซึ่งจัดต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 2 ภายใต้แนวคิด "เปิดโลกอากาศยาน เปิดม่านแรงบันดาลใจ" เพื่อเป็นหนึ่งในกลไกเสริมสร้างทักษะความสามารถของเยาวชนไทยให้มีความพร้อมต่อการใช้เทคโนโลยีอวกาศให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตามรูปแบบการเรียนรู้แบบ STEM อีกทั้งยังส่งเสริมการสร้างแรงบันดาลใจเพื่อจุดประกายความคิดให้เยาวชนเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศของประเทศไทยให้เท่าเทียมกับนานาชาติ และสามารถต่อยอดสู่สายวิชาชีพในอนาคต
          ภายในงาน Thailand Aerospace Youth Forum ครั้งที่ 2 นี้ ประกอบไปด้วยกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อให้ครอบคลุมความสามารถของเยาวชนจากทุกระดับ โดยมีกิจกรรมที่สำคัญคือ Inspired Talk จากตัวแทนเยาวชนรุ่นใหม่ที่มีผลงานระดับนานาชาติจาก นายณัชธกฤษณ์ สาระไชย แชมป์บินโดรน หนึ่งในผู้ร่วมบันทึกความทรงจำทางอากาศ สำหรับภารกิจการค้นหา 13 ชีวิต ติดถ้ำหลวง นายพร้อม เสือทิม ตัวแทนนักวิจัยเยาวชนที่ส่งอาหารไทยไปอวกาศ นายกรทอง วิริยะเศวตกุล ผู้ร่วมก่อตั้ง SPACETH.CO เว็บไซต์ด้านอวกาศโดยกลุ่มเยาวชนไทย ที่ได้รับรางวัล Best New Blog จากงาน Thailand Best Blog Awards 2017 และนายหม่อง ทองดี แชมป์ร่อนเครื่องบินกระดาษ ยุวทูตประจำกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาร่วมบอกเล่าประสบการณ์ และแรงบันดาลใจที่ทำให้ประสบความสำเร็จเช่นในปัจจุบัน
          นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมส่งเสริมการให้ความรู้ในภาคทฤษฎีและปฏิบัติจริงควบคู่กับการพัฒนาทักษะการคิด ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ ก่อร่างสร้างโดรน, Space Maker Workshop, Aircraft Design Workshop, Drone Coding Workshop, Drone Mapping Workshop, Drone Traffic Workshop, การผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน, STEM DRONE PROJECT, YOUTH PRESENTER, APRSAF-Thailand Youth Poster และ The Master Debate on Stage
การจัดงาน Thailand Aerospace Youth Forum ในครั้งนี้ นับเป็นการเปิดเวทีแห่งการเรียนรู้ตั้งแต่ระดับประถมจนถึงระดับมัธยมศึกษาในด้านเทคโนโลยีอวกาศ สร้างความเข้าใจผ่านกิจกรรมการใช้ความคิดสร้างสรรค์ เน้นปฏิบัติให้เห็นภาพจริง สามารถทำให้เด็กเข้าใจ เข้าถึง และเห็นภาพ เรียนรู้ถึงวิธีการลำดับความคิดได้ชัดเจนยิ่งขึ้น มากกว่าการเรียนแค่ในตำราเท่านั้น การร่วมมือของทุกภาคส่วนล้วนแล้วแต่เป็นกำลังสำคัญในการส่งเสริมและให้อิสระทางความคิดกับการพัฒนาศักยภาพของเยาวชนไทย
Thailand Aerospace Youth Forum ครั้งที่ 2 เวทีสร้างโอกาสให้เยาวชนไทย ต่อยอดความคิด สู่นวัตกรรมอวกาศ
 
Thailand Aerospace Youth Forum ครั้งที่ 2 เวทีสร้างโอกาสให้เยาวชนไทย ต่อยอดความคิด สู่นวัตกรรมอวกาศ
 
Thailand Aerospace Youth Forum ครั้งที่ 2 เวทีสร้างโอกาสให้เยาวชนไทย ต่อยอดความคิด สู่นวัตกรรมอวกาศ
 
 

ข่าวสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี+สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศวันนี้

คลังความรู้ SciMath สสวท. พาหายสงสัย "น้ำท่วมอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินได้หรือไม่ ?"

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) พาคลายข้อกังขากับบทความ "น้ำท่วมอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินได้หรือไม่" เคยสงสัยหรือเปล่าว่าหากเกิดเหตุการณ์น้ำท่วม น้ำจะไหลลงไปในอุโมงค์ของรถไฟฟ้าใต้ดินได้หรือไม่ ความรู้ทางวิศวกรรมได้เตรียมการป้องกันไว้อย่างไร เนื่องจากจุดที่น้ำสามารถเข้าไปได้มีอยู่ 3 จุด คือจุดแรก ทางเข้า-ออกสถานี จุดที่สอง คือ อาคารระบายอากาศ และจุดที่สาม คือ จุดที่รถไฟฟ้าใช้ในการขึ้นลงเพื่อซ่อมบำรุง หาคำตอบเติมเต็มความรู้กันได้ที่คลังความรู้ SciMath สสวท. https://www.scimath.org

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโล... สสวท. ชวนครูเตรียมพร้อมรับเปิดเทอมกับ "ระบบจัดการเรียนรู้ออนไลน์ My IPST" — สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ชวนคุณครูเตรียมพร้อมรับเปิ...

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโล... สำหรับนักเรียนทุน พสวท. ระดับมัธยมศึกษา ปีการศึกษา 2567 — สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จัดค่ายวิทยาศาสตร์ภาคฤดูร้อนสำหรับนักเรียนทุ...

ดร.กุศลิน มุสิกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบั... สสวท. ประกาศชัยครู - นักเรียน ยอดฝีมือ เวทีประกวดงานวิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม GLOBE SRC 2025 — ดร.กุศลิน มุสิกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนว...

"การใช้สื่อชุดกิจกรรม IPST SMART BOX สร้า... สสวท. อบรมครูวิทย์และเทคโนโลยี 4 ภาค สมัครได้ถึง 3 พฤษภาคมนี้ — "การใช้สื่อชุดกิจกรรม IPST SMART BOX สร้างผลงานโดยไม่เขียนโปรแกรม" สถาบันส่งเสริมการสอนวิท...

นักเรียนโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความส... นักเรียนไทยคว้ารางวัลนำเสนอโครงงาน จากเวทีประชุมนานาชาตินักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ICYS 2025 — นักเรียนโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาส...

ทีมวิจัยเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ศูนย์เทคโน... สวทช. - สพฐ. - สสวท. สถ. คิกออฟ สร้าง 'ครูแกนนำ' สู่ยุคดิจิทัล ปูทาง AI ในห้องเรียน ด้วย "LEAD Education" — ทีมวิจัยเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ศูนย์เทคโนโลยีอ...

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโล... อ่านฟรีรับปีใหม่ นิตยสารสสวท.ออกแล้ว — สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ชวนอ่านฟรี นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 251 พบกับเนื้อหาน่าสนใจ "การ...

สสวท. จับมือสถาบันเกอเธ่ และหน่วยงานเครือ... เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ ครั้งที่ 20 เริ่มแล้ว — สสวท. จับมือสถาบันเกอเธ่ และหน่วยงานเครือข่ายพาชมฟรีหนังวิทย์ชั้นดีนานาชาติ หัวข้อ "การป...