กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ม.นเรศวร ลงพื้นที่พัฒนาผลิตภัณฑ์ ณ กลุ่มหัตถกรรมเทพนม อ.ทุ่งเสลี่ยม จ.สุโขทัย ตามโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์และผู้ประกอบการ OTOP เครือข่ายภาคเหนือตอนล่าง

01 Nov 2018
เมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๖๑ นางสาววรรณชลี กุลศรีไชย หัวหน้างานบ่มเพาะและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร ในฐานะคณะผู้เชี่ยวชาญในโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์และผู้ประกอบการ OTOP เครือข่ายภาคเหนือตอนล่าง ปีงบประมาณ ๒๕๖๑ พร้อมด้วยบุคลากร ลงพื้นที่ ณ กลุ่มหัตถกรรมเทพนม อ.ทุ่งเสลี่ยม จ.สุโขทัย เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์จากหวายและผักตบชวาดั้งเดิมของกลุ่ม เช่น ตะกร้า ชั้นวางของ อุปกรณ์นวดนิ้ว ให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีความร่วมสมัย มีประโยชน์เพิ่มมากขึ้น ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในวงกว้าง โดยมีนางอัมพร โคตะสาน รองประธานกลุ่มฯ พร้อมด้วยสมาชิก ร่วมศึกษาเรียนรู้นำหวายและผักตบชวามาผสมผสานกับผ้า ตัดเย็บเป็นกระเป๋าสะพาย พร้อมการประยุกต์ตกแต่งด้วยวัสดุต่าง ๆ เช่น พู่ห้อยกระเป๋า ค้างคาวไม้แกะสลัก นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาต่อยอดนำค้างคาวไม้มาทำเป็นพวงกุญแจ หรือข้าวของเครื่องใช้ ของตกแต่งอื่น ๆ นับเป็นการเพิ่มคุณค่าและมูลค่า ทั้งยังสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชนได้อีกด้วย
กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ม.นเรศวร ลงพื้นที่พัฒนาผลิตภัณฑ์  ณ กลุ่มหัตถกรรมเทพนม อ.ทุ่งเสลี่ยม จ.สุโขทัย ตามโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์และผู้ประกอบการ OTOP เครือข่ายภาคเหนือตอนล่าง

กลุ่มหัตถกรรมเทพนมเป็น ๑ ใน ๑๐ กลุ่มที่ได้รับการคัดเลือก จาก ๓๑ กลุ่ม ภายหลังเข้ารับการอบรมโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์และผู้ประกอบการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ OTOP เพื่อเข้าสู่กระบวนการพัฒนาในเชิงลึก ตามโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์และผู้ประกอบการ OTOP เครือข่ายภาคเหนือตอนล่าง ดำเนินงานโดยหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษาเครือข่ายภาคเหนือตอนล่าง

กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ม.นเรศวร ลงพื้นที่พัฒนาผลิตภัณฑ์  ณ กลุ่มหัตถกรรมเทพนม อ.ทุ่งเสลี่ยม จ.สุโขทัย ตามโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์และผู้ประกอบการ OTOP เครือข่ายภาคเหนือตอนล่าง กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ม.นเรศวร ลงพื้นที่พัฒนาผลิตภัณฑ์  ณ กลุ่มหัตถกรรมเทพนม อ.ทุ่งเสลี่ยม จ.สุโขทัย ตามโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์และผู้ประกอบการ OTOP เครือข่ายภาคเหนือตอนล่าง กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ม.นเรศวร ลงพื้นที่พัฒนาผลิตภัณฑ์  ณ กลุ่มหัตถกรรมเทพนม อ.ทุ่งเสลี่ยม จ.สุโขทัย ตามโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์และผู้ประกอบการ OTOP เครือข่ายภาคเหนือตอนล่าง