สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) โดยการสนับสนุนของ สสส. จัดโครงการสัปดาห์รู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล 2561 (MIDL Week 2018)ชวนภาคีเครือข่ายถกแนวทางการพัฒนาเมืองต้องไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          วันที่ 3 – 4 พฤศจิกายน 2561 สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับภาคีเครือข่ายได้จัดโครงการสัปดาห์รู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล 2561 (MIDL Week 2018) ภายใต้แนวคิด MIDL for Inclusive Cities: สร้างเมืองของทุกคน ณ โรงภาพยนตร์ปรินซ์รามา บางรัก กรุงเทพมหานคร ภายในงาน มีกิจกรรมเดินเมืองเรียนรู้ชุมชนย่านบางรัก การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงการใช้สื่อเพื่อพัฒนาและออกแบบเมืองสำหรับทุกคน การฉายภาพยนตร์สารคดีที่เกี่ยวกับเมือง และเวทีระดมความคิดเห็นเพื่อวางยุทธศาสตร์การสร้างเมืองสำหรับทุกคน และเวที Talk จุดประกาย ท้าทายความคิด โดยมีผู้เข้าร่วมงานกว่า 100 คน          
          เข็มพร วิรุณาพันธ์ ผู้จัดการสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน กล่าวว่า เนื่องในระหว่างเดือนตุลาคม - พฤศจิกายน 2561 องค์กร UNESCOได้กำหนดให้มีกิจกรรม Global Media and Information Literacy Week 2018 ขึ้นร่วมกันทั่วโลก ภายใต้แนวคิด Media and Information Literate Cities: Voices, Power, and Change Makers ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการรู้เท่าทันสื่อ เทคโนโลยี และสารสนเทศ ในยุคดิจิทัล ถือเป็นโอกาสอันดีที่ประเทศไทยได้จัดกิจรรมเพื่อเผยแพร่แนวคิด การขับเคลื่อนสัปดาห์รู้เท่าทันสื่อในปีนี้ สสย. ได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายจากทั่วประเทศมากถึง 9 โครงการ ทั้งศูนย์ประสานงานเครือข่ายการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองประชาธิปไตย (Thai Civic Education Center) Documentary Club ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (UDDC) อาจารย์จากหลากหลายมหาวิทยาลัยได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ร่วมกับสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และเครือข่ายภาคประชาสังคม ได้แก่ กลุ่มมานีมานะ กลุ่มปันรัก กลุ่ม Inskru กลุ่ม Saturday School กลุ่มยังธน และสมัชชาเครือข่ายปฏิรูปการศึกษา ซึ่งแต่ละภาคีได้มีการขับเคลื่อนงานในพื้นที่ของตัวเองอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมาจนถึงปลายปีนี้ โดยมีรูปแบบกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น การฉายภาพยนต์สารคดีเกี่ยวกับเมือง กิจกรรมเดินเมืองสำรวจชุมชน เวทีเสวนาสาธารณะ และการสร้างสื่อเพื่อนำเสนอประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเมืองและนำไปสู่การออกแบบเมืองโดยคำนึงถึงคนทุกกลุ่มในพื้นที่ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการหลอมหลวมพลังชุดวิธีคิดและรูปแบบกระบวนการครั้งใหญ่ในประเด็นการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล เพื่อสร้างเมืองสำหรับทุกคน
          ช่วงเปิดเวทีแลกเปลี่ยนและร่วมกันวางยุทธศาสตร์การสร้างเมืองของทุกคนโดยมีผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนทั้งที่เป็นคนทำงานเชิงพื้นที่ ภาคการศึกษา กองทุนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ตลอดจนตัวแทนจาก สสส. และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) เข้าร่วมแลกเปลี่ยน นางสาวเข็มพร ชี้ให้เห็นประเด็นสำคัญว่า "การสร้างให้เห็นเป็นตัวอย่าง เป็นสื่อที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อการสร้างการเปลี่ยนแปลง หากเราเปิดมุมมองให้คนเกิดความรู้สึกร่วมและสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของ ก็จะช่วยให้เขาสามารถลุกขึ้นมาเป็นตัวอย่างในการเปลี่ยนแปลงเมืองได้"
          ในส่วนของ ผศ.อรรถพล อนันตวรสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานเครือข่ายการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองประชาธิปไตย (Thai Civic Education Center) กล่าวว่า "การรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัลเป็นการติดอาวุธพลเมืองที่รับผิดชอบต่อตนเอง ให้ลุกขึ้นมาทำงานร่วมกับคนอื่น และสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับสังคม มองเห็นบทบาทของคนที่รับสื่อไปสู่คนสร้างสื่อที่หลากหลายเพื่อสื่อสารประเด็นและสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับสังคม การมองเมืองใหม่ด้วยสายตาพลเมืองจึงเป็นการมองความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับเมือง มองเห็นช่องทางการใช้สื่อสร้างอำนาจการต่อรอง"
          นอกจากนี้ อ.พสุธา โกมลมาลย์ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ผู้ขับเคลื่อนโครงการพลเมืองขยับ (นคร) สกล ยังได้สะท้อนประเด็นสำคัญที่ว่า "เวลาเราพูดถึงการพัฒนาเมือง เราพูดถึงแค่ ในเมือง ในขณะที่เราทิ้งคนที่อยู่นอกเมือง เมืองจะ inclusive ได้อย่างไรถ้าการพัฒนานั้นมีคนนอกเมืองที่ไม่ได้ถูกนับอยู่ด้วย เมืองใช้เงินภาษีของประเทศในการพัฒนามากกว่าที่อื่น ในขณะที่ชนบทต้องแบกรับความเสี่ยงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น"
          นายโตมร อภิวัทนากร หนึ่งในผู้ขับเคลื่อนโครงการเมืองใจกว้าง ยังได้ร่วมสะท้อนมุมมองการวางยุทธศาสตร์สร้างเมืองของทุกคนไว้ว่า "เป็นเรื่องท้าทายของสังคมไทย การเปิดสายตามองเมืองใหม่ในฐานะพลเมือง การมองให้เห็นถึงชีวิตของผู้คนในเมืองทั้งในเชิงการใช้พื้นที่ และเรื่องราวของบุคคล ซึ่งเป็นฐานคิดสำคัญที่จะทำให้คนลุกขึ้นมาทำอะไร หรือไม่ทำอะไร เราต้องยอมรับวามีบางมุมเล็กๆในเมืองมีคนตัวเล็กอยู่ที่คนส่วนใหญ่ไม่ยอมมองเห็น นอกจากที่ว่าเราจะต้องมีตาเห็นสิ่งพวกนี้แล้ว เราต้องมีพื้นที่ปฏิบัติการให้คนมาแชร์กัน ร่วมกันหาวิธีปฏิบัติการในปัญหานั้น ๆ ร่วมกันส่งเสียงสื่อสารออกมในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งมองว่าเป็นนี่คือกระบวนการที่สำคัญในการเปลี่ยนวิธีคิดของสังคม "
          ทางด้านนายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กสทช. กล่าวว่า "พลังของ connectivity เป็นสิ่งที่สำคัญ เชื่อว่าเทคโนโลยีเป็นช่องทางที่ทำให้เกิดการกระจายอำนาจ เราสามารถนำความรู้ ความคิดเห็นไปสร้างการเปลี่ยนแปลงได้ ในสังคมประชาธิปไตยเทคโนโลยีคือช่องทางการสื่อสารที่สำคัญ ที่สำคัญคือเราต้องทำให้รัฐเห็นในสิ่งที่เราเชื่อ การปฏิบัติจึงจำเป็นต้องเกิดขึ้นโดยดึงเอาคนที่มีอำนาจตัดสินใจเข้ามามีส่วนร่วมด้วย"
          การจัดงานในครั้งนี้จึงถือเป็นการส่งเสียงครั้งใหญ่จากคนหลากหลายภาคส่วนทั้งผู้ขับเคลื่อนงานในพื้นที่และระดับนโยบาย ทำให้เกิดข้อเสนอและมุมมองการพัฒนาเมืองที่เล็งเห็นความสำคัญของการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารทั้งในเชิงการสร้างการมีส่วนร่วม การเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนความคิด และการต่อรองและเรียกร้องต่ออำนาจรัฐเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบนฐานคิดของการออกแบบและพัฒนาเมืองให้เป็นพื้นที่ที่นับรวมทุกคนและไม่ทอดทิ้งใครไว้ข้างหลัง….
สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) โดยการสนับสนุนของ สสส. จัดโครงการสัปดาห์รู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล 2561 (MIDL Week 2018)ชวนภาคีเครือข่ายถกแนวทางการพัฒนาเมืองต้องไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
 
สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) โดยการสนับสนุนของ สสส. จัดโครงการสัปดาห์รู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล 2561 (MIDL Week 2018)ชวนภาคีเครือข่ายถกแนวทางการพัฒนาเมืองต้องไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) โดยการสนับสนุนของ สสส. จัดโครงการสัปดาห์รู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล 2561 (MIDL Week 2018)ชวนภาคีเครือข่ายถกแนวทางการพัฒนาเมืองต้องไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
 
สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) โดยการสนับสนุนของ สสส. จัดโครงการสัปดาห์รู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล 2561 (MIDL Week 2018)ชวนภาคีเครือข่ายถกแนวทางการพัฒนาเมืองต้องไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
 
 
 
 
 
 
 

ข่าวสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน+รู้เท่าทันสื่อวันนี้

สสย. สสส. จับมือเทศบาลตำบลแม่สาย จ.เชียงราย ขานรับขยับพลังเยาวชน ผลักดันแม่สายสู่เมืองนิเวศสุขภาวะของทุกคน

สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) ภายใต้การสนับสนุนของ สสส. ร่วมกับ โรงเรียนแม่สายประสิทธิ์ศาสตร์ และ เทศบาลตำบลแม่สาย จังหวัดเชียงราย และภาคีเครือข่ายโครงการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศและดิจิทัลเพื่อสร้างเมืองของทุกคนในพื้นที่ภาคเหนือ จัดกิจกรรม "ศิลป์ สื่อ เด็ก ขยับเมือง" สะท้อนแนวคิดการสร้างเมืองเป็นเรื่องของทุกคน ผ่านนิทรรศการศิลปะของเยาวชนพลเมืองแม่สายและเครือข่ายเที่ยวบ้านเพื่อน ต่อยอดพลังเยาวชนสื่อสร้างสรรค์ เกิดเป็นกลไกในการผลักดันสู่การเปลี่ยนแปลงนโยบายสาธารณะอย่างเป็นรูปธรรม คุณเข็มพร

สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน จัดงาน “เวทีเสวนาเครือข่ายการศึกษา และMIDL เพื่อสร้างพลเมือง”

เรียนเชิญสื่อมวลชนประชาสัมพันธ์ และร่วมทำข่าวการสัมมนาเครือข่ายการศึกษา และMIDL เพื่อสร้างพลเมือง วันเสาร์ 22 ธันวาคม 2561 โรงแรมไอบิส สไตล์ กรุงเทพ ข้าวสาร เวียงใต้, กรุงเทพฯ การรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล...

กสทช.ร่วมกับภาคีเครือข่ายฯ จัดสัมมนาวิชาการ “เท่าทันสื่อและสารสนเทศในยุคดิจิตอล”

กสทช.ร่วมกับภาคีเครือข่ายฯ จัดสัมมนาวิชาการ "เท่าทันสื่อและสารสนเทศในยุคดิจิตอล" (Seminar on Media and Information Literacy (MIL) in the Digital Era) ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้เชี่ยวชาญจาก UNESCO แคนาดา ออสเตรเลีย...