นายทวีชัย เจริญเศรษฐศิลป์ ผู้อำนวยการวิจัย สถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา (ไอเอฟดี) แถลงข่าวผลการจัดทำดัชนีประสิทธิผลประเทศไทยพลัส (Thailand Effectiveness Index Plus) ประจำไตรมาส 3 ปี 2561 ดัชนีดังกล่าวนำข้อมูลมาจากการสำรวจการรับรู้ (perception) ของประชาชนที่มีต่อการดำเนินงานใน 3 ภาคส่วน ได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดยสุ่มตัวอย่างประชาชนจำนวน 3,528 ตัวอย่าง กระจายทุกภูมิภาคทั่วประเทศ
ในภาพรวม ดัชนีประสิทธิผลประเทศไทยพลัสไตรมาส 3 ปี 2561 อยู่ที่ 70.2% เพิ่มขึ้น 1.2% จากไตรมาสที่แล้ว ซึ่งพบว่าทั้ง 3 ภาคมีประสิทธิผลเพิ่มขึ้น ภาคที่เพิ่มขึ้นสูงสุดเรียงตามลำดับ ได้แก่ ภาคประชาชน ภาคเอกชน และภาครัฐ โดยได้คะแนนเพิ่มขึ้น 2.0%, 1.3% และ 0.4% เป็นเท่ากับ 72.4%, 71.3% และ 66.9% ตามลำดับ
ประสิทธิผลด้านที่ได้คะแนนสูงสุดและเพิ่มขึ้นมากที่สุดในไตรมาสที่ผ่านมาเป็นด้านเดียวกัน ได้แก่ การตอบสนองต่อประชาชน (responsiveness) โดยได้คะแนนอยู่ที่ 72.2 เพิ่มขึ้น 2.4% เนื่องจากธุรกิจ/ร้านค้าส่วนใหญ่มีสินค้าและบริการตรงความต้องการของประชาชน รวมถึงองค์กรภาคประชาชนแก้ปัญหาตรงความต้องการของสังคม ทันต่อเหตุการณ์ และทำงานสำเร็จเห็นผลเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการช่วยดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดกรณีเด็กและผู้หญิงที่ถูกข่มขืน/ถูกล่วงละเมิดทางเพศ และหน่วยงานภาครัฐทำงานตอบสนองได้ตรงกับความต้องการของประชาชน โดยเฉพาะการช่วยเหลือเด็กและโค้ชที่ติดถ้ำทั้ง 13 คนได้อย่างปลอดภัย
ประสิทธิผลด้านที่ได้คะแนนเพิ่มขึ้นมากที่สุดอันดับสอง คือ ความเป็นมืออาชีพ (professionalism) ได้คะแนนอยู่ที่ 70.9 เพิ่มขึ้น 1.6% เนื่องจากธุรกิจ/ร้านค้าส่วนใหญ่ปรับตัวได้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจมากขึ้น รวมถึงองค์กรภาคประชาชนมีทักษะ ความรู้ความสามารถ และความเชี่ยวชาญตรงกับงาน มุ่งมั่นทำงานจนกว่าจะสำเร็จอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ ขณะที่ตัวชี้วัดประสิทธิภาพ (efficiency) ได้คะแนนเพิ่มขึ้นน้อยที่สุด
ทั้งนี้ในภาพรวม ความคิดเห็นต่อการดำเนินงานของภาคส่วนต่างๆ ส่วนใหญ่เกิดจากประสบการณ์ตรงและทัศนคติของประชาชน แทนการได้รับข่าวสารมาอีกที โดยมีประชาชนร้อยละ 77.3 ที่มีความคิดเห็นดังกล่าว
สำหรับเรื่องที่ประชาชนเห็นว่าเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทย ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐยังใช้เงินภาษีไม่ค่อยคุ้มค่าเมื่อเทียบกับบริการที่ประชาชนได้รับ ปัญหาด้านการคอร์รัปชัน และมีการทำงานผิดพลาด อาทิ ปัญหาเรื่องระบบ TCAS ภาคเอกชนไม่ได้ช่วยกระตุ้นเตือนและเชิญชวนให้คนในสังคมรับรู้และร่วมแก้ไขปัญหาสำคัญของชุมชนหรือประเทศ อาทิ กรณีเรือล่มที่ภูเก็ตซึ่งทราบก่อนว่าจะต้องเผชิญฝนตกหนักและคลื่นลมแรง และปัญหาสินค้าที่ไม่สะอาด/มีสารปนเปื้อน
คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ร่วมกับสถาบันความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย สถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา และสถาบันการสร้างชาติ จะจัดการเสวนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของประเทศไทย (Thailand International Relations Forum) ในหัวข้อ "นโยบายพรรคการเมืองกับความสัมพันธ์ประเทศมหาอำนาจ" โดยมีวิทยากร ผู้ช่วยศาสตราจารย์สาธิน สุนทรพันธุ์ คณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ประธานสถาบันความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รองศาสตราจารย์ ดร.โภคิน
'ศ.ดร.เกรียงศักดิ์' ประธานสถาบันการสร้างชาติ นำปาฐกถา 'อิทธิพลอเมริกาในประเทศไทย' ที่ ม.ร. 27 ก.ย.นี้
—
สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสถาบันอนาคตศึ...
จัดการประชุมนานาชาติว่าด้วยการสร้างชาติ ครั้งที่ 5 (The 5th International Conference on Nation-Building 2021)
—
สถาบันการสร้างชาตินานาชาติ (Nation-Buildin...
NBI จัดงานประชุมระดับโลก ICNB 2020 ผลักดันแนวคิด Pandemic New Normal
—
สถาบันการสร้างชาตินานาชาติ (Nation-Building Institute International (NBII)) ร่วมกับ...
ICNB ระดมนักวิจัยทั่วโลก ชี้ทางพัฒนาชนบทให้เจริญอย่างยั่งยืน
—
สถาบันการสร้างชาติ ร่วมกับ สถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา และ The Women's Institute of Manag...
ผลสำรวจความเป็นจิตอาสาของคนไทย จากสถานการณ์เด็กและโค้ช 13 คนติดถ้ำ
—
จากเหตุการณ์ นักฟุตบอลเยาวชนและโค้ช 13 คน ติดอยู่ในวนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน จ.เชี...
“ปัญญาสมาพันธ์” จัดประชุมวิชาการนานาชาติเพื่อความยั่งยืน
—
สภาปัญญาสมาพันธ์ ร่วมกับ สถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา สถาบันการสร้างชาติ และ University of Lon...