ซีพีเอฟ ร่วมแก้ปัญหาประมงผิดกฎหมายในภูมิภาคอย่างยั่งยืน

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          ซีพีเอฟมุ่งพัฒนาห่วงโซ่อุปทาน พร้อมสนับสนุนคู่ค้าให้พัฒนาการดำเนินงานสอดคล้องกับมาตรฐานสากล ทั้งในด้านนโยบายการจัดหา การตรวจสอบย้อนกลับ และแรงงาน เพื่อแก้ปัญหาประมงผิดกฎหมายในภูมิภาคอย่างยั่งยืน
          บริษัทได้ตั้งเป้าให้คู่ค้าธุรกิจหลักทั้งหมดในประเทศ โดยเฉพาะคู่ค้าธุรกิจปลาป่น ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารกุ้งของบริษัท และเป็นวัตถุดิบชนิดเดียวที่เชื่อมโยงธุรกิจของบริษัทกับการประมง ต้องผ่านการตรวจประเมินด้านความยั่งยืนครอบคลุมทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชน และการปฏิบัติต่อแรงงานภายในปี 2563 
          ทั้งนี้ บริษัทได้สนับสนุนให้คู่ค้าปลาป่นปรับปรุงห่วงโซ่อุปทานให้มีความยั่งยืน และสอดคล้องกับมาตรฐานระดับสากล โดยตั้งแต่ปี 2558 ปลาป่นทั้งหมดที่บริษัทจัดหาและใช้ในประเทศไทยมาจากแหล่งที่ได้รับรองมาตรฐาน IFFO Responsible Sourcing (IFFO RS) ซึ่งเป็นมาตรฐานการผลิตปลาป่นและน้ำมันปลาอย่างยั่งยืนในระดับสากลที่ดีที่สุดในปัจจุบัน ช่วยให้บริษัทสามารถตรวจสอบแหล่งที่มาของวัตถุดิบได้ถึงเรือประมงที่จับปลา นอกจากนี้บริษัทมีเป้าหมายที่จะเริ่มจัดหาปลาป่นในประเทศเวียดนาม อินเดีย และฟิลิปปินส์ ภายใต้ IFFO RS Improvers Programme (IFFO RS IP) ภายใน ปี 2562
          น.สพ. สุจินต์ ธรรมศาสตร์ ประธานผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการ สายธุรกิจสัตว์น้ำ ซีพีเอฟ อธิบายว่า มาตรฐาน IFFO RS เป็นเครื่องยืนยันถึงความยั่งยืน และความโปร่งใสในการจัดหาปลาป่นของบริษัท ช่วยให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ว่าวัตถุดิบที่บริษัทใช้มาจากการทำประมงที่ถูกกฎหมาย 
          "บริษัทมีนโยบายการจัดหาปลาป่นที่มาจากโรงงานแปรรูปปลา (By-Product) ซึ่งได้รับการรับรองมาตรฐาน IFFO RS หรือ IFFO RS IP ขณะที่ปลาป่นที่มาจากการจับปลา (By-Catch) จะต้องได้รับรองมาตรฐานสากลหรือสามารถตรวจสอบได้โดยกลไกตรวจสอบที่มีกฎหมายรองรับเท่านั้น" น.สพ. สุจินต์ กล่าว พร้อมชี้ว่าการรับรองมาตรฐาน IFFO RS จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับบริษัทในระยะยาวอีกด้วย
          บริษัทให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพคู่ค้าธุรกิจในเรื่องหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหารสัตว์ หรือ GMP+ และได้จัดการอบรมให้กับคู่ค้าสำคัญจำนวนทั้งสิ้น 95 รายในปีนี้ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในด้านสิทธิมนุษยชน การปฏิบัติต่อแรงงาน รวมทั้งการสร้างความปลอดภัย อาชีวอนามัย เพื่อให้พนักงานของคู่ค้ามีสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี เป็นไปตามจุดยืนของบริษัทในการต่อต้านการใช้แรงงานผิดกฎหมาย แรงงานทาส และการค้ามนุษย์ในทุกรูปแบบ รวมถึงมีการตรวจสอบ ควบคุมให้มั่นใจว่าปลาบ่นที่บริษัทใช้ มาจากการประมงที่ถูกต้องตามหลักสากล และปลอดแรงงานทาส
          นอกจากนี้ซีพีเอฟยังได้มีการจัดทำแผน 10 ประการ (CPF 10 Point Plan) โดยมีจุดประสงค์ในการลดการใช้ปลาป่น โดยได้พัฒนาสูตรอาหารกุ้งอย่างต่อเนื่องจนในปัจจุบันอาหารกุ้งของบริษัทมีปลาป่นเป็นส่วนประกอบเพียงประมาณ 5 ถึง 15 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
          การสนับสนุนภาคการประมงของบริษัทในระดับประเทศ และระดับโลก
          นับตั้งแต่ปี 2557 บริษัทได้ร่วมก่อตั้งโครงการ เช่น Thai Sustainable Fisheries Roundtable ซึ่งริเริ่มโครงการพัฒนาและปรับปรุงด้านการประมง (Fishery Improvement Projects) และคณะทำงานร่วมในระดับอุตสาหกรรมเพื่อส่งเสริมความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทานอาหารทะเล (Seafood Task Force) เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและสิ่งแวดล้อมในอุตสาหกรรม อาหารทะเลไทยผ่านห่วงโซ่อุปทานที่รับผิดชอบ โปร่งใส และตรวจสอบย้อนกลับได้ โดยมุ่งแก้ปัญหาแรงงานบังคับ การค้ามนุษย์ และการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม 
          ในช่วงเกือบ 4 ปีที่ผ่านมา ตัวแทนจากบริษัททำหน้าที่เป็นหนึ่งในคณะกรรมการ (Board of Directors) และ มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการควบคุมห่วงโซ่ อุปทาน ด้วยการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่อให้เข้าใจถึงพฤติกรรม เรือประมงในทะเล โดยสร้างการมีส่วนร่วมและสนับสนุนให้ หน่วยงานภาครัฐมีความสามารถในการพัฒนาระบบติดตามเรือประมง (Vessel Monitoring System: VMS) ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งครอบคลุมการดำเนินงานทั้งด้านการติดตาม การควบคุม และการเฝ้าระวัง (Monitoring, Control and Surveillance: MCS) การทำประมงผิดกฎหมายทั่วโลก และเพื่อให้แรงงานในภาคการประมงมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี บริษัทได้ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ประกอบด้วย องค์กรสะพานปลา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทย ในพระราชูปภัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และศูนย์อภิบาลผู้เดินทางทะเลสงขลา (บ้านสุขสันต์) จัดตั้งศูนย์สวัสดิภาพและธรรมาภิบาลแรงงานประมงสงขลา เพื่อแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ ให้ความรู้แรงงานประมง คำปรึกษาและเป็นที่พี่งให้แก่แรงงานและครอบครัว 
          ในปัจจุบัน บริษัทได้นำเอาแนวทางการประมงอย่ายั่งยืนในประเทศไทย ไปใช้ในธุรกิจสัตว์น้ำของบริษัทในต่างประเทศอีกด้วย
ซีพีเอฟ ร่วมแก้ปัญหาประมงผิดกฎหมายในภูมิภาคอย่างยั่งยืน
 

ข่าวประมงผิดกฎหมาย+ห่วงโซ่อุปทานวันนี้

เลขาธิการ ศรชล. ตรวจเยี่ยมทีมปฏิบัติการ BLACKJACK เสริมเขี้ยวเล็บเช็คเป้าเรือทะเล

พล.ร.อ.ชลธิศ นาวานุเคราะห์ เสธ.ทร./ เลขาธิการ ศรชล. ตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานของอากาศยานไร้คนขับ (UAV) BLACKJACK ในการสนับสนุนภารกิจของ ทรภ.1 และ ศรชล.ภาค 1 โดย น.อ.ธรรมนูญ จันทร์หอม รอง ผอ.สน.ฝอ.ศรชล.ภาค 1 ร่วมให้การต้อนรับ ณ อาคารปฏิบัติการบิน UAV กองการบินทหารเรือ ในการนี้ น.อ.สมชาย ญาติประชุม ผอ.ศยก.ศรชล.ภาค 1 ได้บรรยายแนวทางการใช้ UAV ในการตรวจสอบเป้าเรือประมงที่สุ่มเสี่ยงกระทำประมงผิดกฎหมายที่ได้รับแจ้งจากศูนย์ติดตามและควบคุมเรือประมง (FMC) ของกรมประมง การปฏิบัติเป็นไปด้วยความเรียบร้อย เสริม

ไทย' ร่วมกับ 'FAO' จัดงาน IUU DAY หวังกระตุ้นให้เห็นคุณค่าของทรัพยากรประมง พร้อมแสดงความสำเร็จของรัฐบาลไทยในการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย

พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังพิธีเปิดงานวันสากลในการต่อต้านการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุมInternational Day for the...

"บิ๊กตู่" ปลื้มประมงปลดใบเหลือง IUU จัดพิ... รัฐบาลมอบเกียรติบัตร-เข็มเกียรติคุณ แก่ชาวประมง NGO เอกชน ภาครัฐ ร่วมปลดล็อคประมงไอยูยู — "บิ๊กตู่" ปลื้มประมงปลดใบเหลือง IUU จัดพิธีมอบใบประกาศ และเข็มเก...

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ห... ซีพีเอฟ ร่วมกับกลุ่ม SeaBOS ประกาศเจตนารมณ์สร้างอุตสาหกรรมอาหารทะเลโปร่งใส และยั่งยืน — บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ร่วมกับผู้ประ...

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ห... ซีพีเอฟ ต่อยอดมาตรฐาน IFFO สู่กิจการในต่างประเทศ — บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ประกาศเดินหน้าต่อยอดมาตรฐาน IFFO Responsible Su...

หอการค้าไทยและสภาหอการค้าฯ ร่วมกับ 3 สมาคมการค้าสินค้าประมง : ขอบคุณและชื่นชมรัฐบาลปลดล็อคใบเหลือง IUU Fishing

คุณกลินท์ สารสิน ประธานกรรมการ หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย โดย ดร.พจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และประธานคณะกรรมการสายงานธุรกิจสินค้าเกษตรและอาหาร...

ประกาศแล้ว!! แนวทางการนำเรือออกนอกระบบ เปิดให้ชาวประมงยื่นความประสงค์ เข้าร่วมโครงการฯ ได้ ตั้งแต่ 19 ธันวานี้

ตามประกาศคณะทำงานตรวจสอบประวัติ ความถูกต้อง และคุณสมบัติเรือประมงและเจ้าของเรือ ฉบับที่ 1/2561 เรื่อง การแจ้งความประสงค์นำเรือออกนอกระบบ ลงวันที่ 18 ธันวาคม 2561 เพื่อให้ชาวประมงที่...

ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไ... กรมทรัพยากรทางทะเลฯกับภารกิจร่วมปลดใบเหลือง IUU — ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม สาเหตุหลักที่ทำให้สหภาพยุโรป (EU) ประกาศให้ใบเ...