วิศวลาดกระบัง จับมือ Infineon จัดสัมมนาสตาร์ทอัพ เรื่อง“การออกแบบและพัฒนา LSVE ยานยนต์ไฟฟ้าความเร็วต่ำ”

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ร่วมกับ Infineon ผู้นำเซมิคอนดักเตอร์ของโลกจากเยอรมนี จัดงานสัมมนาสตาร์ทอัพ "การออกแบบและพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าความเร็วต่ำ" (KIAEC Automotive Electronics Seminar Series : Low Speed EV Development) โดยมี ดร.สมภพ ผลไม้ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า เป็นประธานเปิดงาน พร้อมด้วย รศ.ดร.วีระเชษฐ์ ขันเงิน อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า , ดร.วีทิต วรรณเลิศลักษณ์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี จาก Teletronics และ นายชาง ดี (Zhang Di) วิศวกรอาวุโสของ Infineon เป็นวิทยากร โดยมีผู้ประกอบการ สตาร์ทอัพชิ้นส่วน อะไหล่และยานยนต์เข้าร่วมงาน ณ ศูนย์ EIDTs คณะวิศวลาดกระบัง
          ดร.สมภพ ผลไม้ (Sompob Polmai) หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า กล่าวว่า ยานยนต์ไฟฟ้าความเร็วต่ำ (LSEV) : Low-Speed Electric Vehicles เป็นยานยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก เหมาะกับการในระยะทางใกล้ ๆ เช่น ตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า มอเตอร์ไฟฟ้า รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า รถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งทุกวันนี้หลายภาคส่วนได้ให้ความสำคัญและตื่นตัวกับการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก ซึ่งการสัมมนาการออกแบบและพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าความเร็วต่ำ ครั้งนี้เป็นหนึ่งกิจกรรมของศูนย์อิเล็กทรอนิกส์ยานยนต์ KMITL – Infineon Automotive Electronics Cooperation (KIAEC) ที่มีเป้าหมายคือสร้างงานวิจัย และ ทรัพยากรบุคคลให้มีทักษะและความสามารถ เพื่อรองรับการพัฒนาอีโค่คาร์ รถยนต์ไฟฟ้าไปจนถึงยานยนต์สมัยใหม่ในยุคหน้า วัตถุประสงค์ของการจัดงานเพื่อ ถ่ายทอดองค์ความรู้แก่สตาร์ทอัพและผู้ประกอบการยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ได้เรียนรู้พื้นฐานทางเทคนิคที่สำคัญของการออกแบบระบบขับเคลื่อนกำลัง (Power Train) ของยานยนต์พลังงานไฟฟ้าความเร็วต่ำ และด้านอิเล็กทรอนิกส์ยานยนต์ ที่ครอบคลุมทั้งด้านการออกแบบผลิต และการตลาด รวมทั้งตัวอย่างการพัฒนาที่ประสบความสำเร็จในประเทศย่านเอเชียแปซิฟิก ซึ่งจะตอบสนองกับความต้องการและมีประโยชน์ต่อท้องถิ่น เนื่องจาก ยานยนต์ไฟฟ้าความเร็วต่ำใช้ชิ้นส่วนเกรดอุตสาหกรรมทั่วไปไม่ใช่เกรดเฉพาะสำหรับยานยนต์ทำให้ผู้ผลิตรายย่อยสามารถเข้าถึงตลาดได้ง่ายขึ้น ส่งผลให้การพัฒนาในอุตสาหกรรมใช้เวลาไม่นาน รวมทั้งรถยนต์ไฟฟ้าความเร็วต่ำมีราคาไม่สูงจึงทำให้ผู้บริโภคจับต้องได้ง่าย และความเร็วที่จำกัดสามารถวิ่งในชุมชนได้อย่างสบายใจ ปลอดภัยกว่า ลดปัญหาการเกิดอุบัติเหตุได้อีกทางหนึ่ง
          ด้าน ดร.วีทิต วรรณเลิศลักษณ์ (Weetit Wanalertlak) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี จากบริษัท Teletronics จำกัด ได้แนะนำระบบควบคุมในยานยนต์ และการระบบขับเคลื่อนแรงดันต่ำ การควบคุมมอเตอร์แบบต่าง ๆ ว่า ระบบ Low Speed ที่เกิดขึ้นประเทศจีนและอินเดียส่วนใหญ่การเลือกใช้จะคำนึงถึงความทนทานและราคาเป็นหลัก เช่น ใช้แรงดันไฟฟ้าแบตเตอรี่ไม่เกิน 100V ,การเลือกใช้ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์แบบระดับอุตสาหกรรมทดแทนชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ระดับยานยนต์ ซึ่งแม้ว่าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ 2 ส่วนนี้จะมีความแตกต่างเรื่องระดับอุณภูมิโดยชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรมทั่วไปจะทนอุณภูมิได้ต่ำกว่าเล็กน้อย แต่รายละเอียดการทำงานส่วนใหญ่คล้ายกัน และ สำหรับประเทศไทยที่มีแนวโน้มจะหันมาผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ใช้เอง ลดการนำเข้าจากต่างประเทศ การเลือกใช้หรือออกแบบควรให้มีความเหมาะสมกับสภาพการใช้งาน เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในการใช้พลังงาน และมีความปลอดภัย โดยอาจปรับเปลี่ยนการใช้ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในอุตสาหกรรมทั่วไปมาเป็นชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ระดับยานยนต์ เพื่อให้เข้ากับมาตรฐานในระดับสากลต่อไป
          ขณะที่ นายชาง ดี (Zhang Di) วิศวกรอาวุโสของ Infineon ซึ่งมีประสบการณ์ในการช่วยพัฒนาผู้ประกอบการยานยนต์ไฟฟ้าความเร็วต่ำในประเทศจีน อินเดีย และฟิลิปปินส์ ได้ถ่ายทอดความรู้ รูปแบบการดำเนินโมเดลทางธุรกิจ และโอกาสทางการตลาดให้แก่ผู้เข้าอบรม เพื่อเป็นประโยชน์ในการพัฒนาธุรกิจ LSEV ให้เติบโตและประสบผลสำเร็จในประเทศไทย ตัวอย่างในประเทศจีนจากความเจริญก้าวหน้าของเมืองและชนบท ทำให้เกิดความต้องการรถไฟฟ้าความเร็วต่ำ หรือ LSEV พุ่งสูง ถึง 41.6% ในปี 2016 จากจำนวน 1.23 ล้านคัน เพิ่มขึ้นเป็น 1.74 ล้านคันในปี 2017 อย่างไรก็ตามทางหน่วยงานรัฐได้พัฒนาการควบคุมมาตรฐานที่เข้มงวดมากยิ่งขึ้นสำหรับการผลิตLSEV ทั้งนี้คาดว่าในปี 2022 การผลิต LSEV จะอยู่ที่ประมาณ 3.37 ล้านคัน ซึ่งมีผู้นำในตลาดหลัก ได้แก่BYVIN , YOGOMO และ SHIFENG Group ซึ่งในอนาคตบางบริษัทก็จะพัฒนาเข้าสู่อุตสาหกรรม รถไฟฟ้า Micro ความเร็วสูง ต่อไป
วิศวลาดกระบัง จับมือ Infineon จัดสัมมนาสตาร์ทอัพ เรื่อง“การออกแบบและพัฒนา LSVE ยานยนต์ไฟฟ้าความเร็วต่ำ”
 
วิศวลาดกระบัง จับมือ Infineon จัดสัมมนาสตาร์ทอัพ เรื่อง“การออกแบบและพัฒนา LSVE ยานยนต์ไฟฟ้าความเร็วต่ำ”
 
วิศวลาดกระบัง จับมือ Infineon จัดสัมมนาสตาร์ทอัพ เรื่อง“การออกแบบและพัฒนา LSVE ยานยนต์ไฟฟ้าความเร็วต่ำ”
วิศวลาดกระบัง จับมือ Infineon จัดสัมมนาสตาร์ทอัพ เรื่อง“การออกแบบและพัฒนา LSVE ยานยนต์ไฟฟ้าความเร็วต่ำ”

ข่าวสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง+พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังวันนี้

สจล. ร่วมมือมูลนิธิปัญพัฒน์เพื่อคนพิการ ขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมอาชีพครอบครัวคนพิการอย่างยั่งยืน

รศ. ดร.คมสัน มาลีสี(คนที่ 2 จากซ้าย) อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ กับมูลนิธิปัญพัฒน์เพื่อคนพิการ โดยพลเอกจิรศักดิ์ บุตรเนียร (คนที่ 3 จากซ้าย) รองประธานมูลนิธิปัญพัฒน์เพื่อคนพิการ (รักษาการแทนประธานกรรมการ) ในโครงการส่งเสริมอาชีพครอบครัวคนพิการอย่างยั่งยืนแบบองค์รวม ซึ่งความร่วมมือในครั้งนี้มีเป้าหมายหลักในการจัดกิจกรรมส่งเสริมอาชีพให้กับครอบครัวของคนพิการ สจล. และมูลนิธิปัญพัฒน์ จะร่วมกันส่งเสริม

ฟอร์ติเน็ต ประเทศไทย ร่วมกับ สมาคมส่งเสริ... ฟอร์ติเน็ตร่วมกับ CIPAT มอบไฟร์วอลล์ ให้กับ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง — ฟอร์ติเน็ต ประเทศไทย ร่วมกับ สมาคมส่งเสริมนวัตกรรมเทคโนโลยีไซ...

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดก... สจล. ร่วมกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน มุ่งยกระดับฝีมือแรงงาน สอดคล้องความต้องการในอนาคต — สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) โดย รศ. ดร.คมสัน...