ธรรมศาสตร์ เปิดห้องเรียน “โรงเรียนผู้สูงอายุ” ส่งเสริมความรู้รองรับเอจจิ้งโซไซตี้ พร้อมเตรียมเปิดหลักสูตร “รีเทรนนิ่ง” รับยุทธศาสตร์ชาติ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เปิดห้องเรียน "โรงเรียนผู้สูงอายุ" กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุรอบด้าน ทั้งด้านร่างกาย จิตใจและสังคม โดยผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา ใน 3 มิติ ได้แก่ ความรู้ที่ผู้สูงอายุต้องรู้ ความรู้ที่ผู้สูงอายุควรรู้ และความรู้ที่ผู้สูงอายุอยากรู้ เพื่อรองรับสภาพสังคมผู้สูงอายุ (Aging Society)ในปัจจุบัน พร้อมเตรียมเปิดหลักสูตรรีเทรนนิ่ง (Re-training) หลักสูตรที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่จบการศึกษาแล้ว เรียนซ้ำในกลุ่มหลักสูตรที่มีความต้องการของภาคแรงงาน เพื่อรองรับยุทธศาสตร์ชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ งานแถลงข่าวเปิดตัว "โรงเรียนผู้สูงอายุ" จัดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ ณ ห้องประชุมนิคม จันทรวิทุร อาคารอเนกประสงค์ 1 ชั้น 7 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ งานสื่อสารองค์กร มธ. โทรศัพท์ 02-564-4493 หรือเว็บไซต์ www.tu.ac.th/news
          ผศ.ดร.ศุภชัย ศรีสุชาติ ผู้อำนวยการสถาบันเสริมศึกษาและทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวว่า เพื่อรองรับจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นในประเทศไทยและพัฒนาศักยภาพของผู้สูงอายุ ทางสถาบันเสริมศึกษาและทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงได้จัดตั้ง "โรงเรียนผู้สูงอายุ" ขึ้น เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุรอบด้าน โดยมุ่งหวังให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้นำวิชาความรู้ ไปพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองและเป็นการลดปัญหาทั้งด้านร่างกาย จิตใจและสังคม จากการถ่ายทอดความรู้โดยคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์ต่าง ๆ ทั้งจากภายใน มธ. และวิทยากรรับเชิญจากภายนอก ผ่านการเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ผ่านความรู้ทั้ง 3 มิติ ได้แก่
          1) มิติความรู้ที่ผู้สูงอายุต้องรู้ โดยเน้นความรู้ด้านสุขภาพ เพื่อการส่งเสริมสุขภาพที่ดีของผู้สูงอายุอย่างยั่งยืน โดยมีรายวิชา อาทิ โภชนาการที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ การดูแลสุขภาพฟันและการฝึกกายภาพบำบัดในทุกเช้า
          2) มิติความรู้ที่ผู้สูงอายุควรรู้ โดยเน้นการให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพสังคมในปัจจุบัน เศรษฐกิจและเทคโนโลยี รวมทั้งแนวทางการดำเนินชีวิตในวัยชรา ผ่านรายวิชา อาทิ เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารสำหรับผู้สูงอายุ กฎหมาย สิทธิและสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุ สัจธรรม ชีวิตและความตาย และศาสตร์พระราชา "ชีวิตที่เป็นสุข"
          3) มิติความรู้ที่ผู้สูงอายุอยากรู้ โดยความรู้ในมิตินี้ ผู้ร่วมโครงการจะเป็นกำหนดเอง เพื่อให้ตรงกับความสนใจของตนเองมากที่สุด โดยเน้นไปในแนวทางการส่งเสริมอาชีพ อาทิ กิจกรรมสอนทำอาหารเพื่อสุขภาพ เช่น ก๋วยเตี๋ยวลุยสวน และกิจกรรมนันทนาการต่าง ๆ เพื่อความผ่อนคลาย อาทิ กิจกรรมการเต้นลีลาศเพื่อสุขภาพ รวมทั้งการทัศนศึกษาภายนอก อาทิ การศึกษาดูงานโครงการบ้านปลอดภัยสำหรับผู้สูงวัย และมีการร่วมกันทำกิจกรรมจิตอาสาซึ่งแสดงถึงศักยภาพและความสามารถ ศักดิ์ศรีของผู้สูงอายุที่พร้อมจะทำกิจกรรมเพื่อสังคม
          สังคมไทยกำลังเข้าสู่ยุคสังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) จากการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของกลุ่มประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย ที่มีจำนวนเกือบ 10 ล้านราย หรือคิดเป็นร้อยละ 16 ของประชากรในประเทศ และยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสวนทางกับแนวทางการจัดการคุณภาพชีวิต ทั้งในด้านร่างกาย จิตใจและสังคมของผู้สูงอายุในไทย ที่ยังคงขาดความพร้อมเพื่อรองรับสถานการณ์ดังกล่าว เห็นได้จากสังคมส่วนใหญ่มองว่าผู้สูงอายุเป็นวัยที่ไม่เหมาะกับการกิจกรรมต่าง ๆ ได้ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่จึงมักถูกทอดทิ้งให้อยู่ในที่พักอาศัยเพียงลำพัง ซึ่งเป็นต้นเหตุของการเกิดโรคทางจิตและปัญหาด้านการดูแลตนเอง อาทิ โรคซึมเศร้า และการหกล้มในผู้สูงอายุ ซึ่งแท้จริงแล้วผู้สูงอายุและวัยเกษียณยังคงมีศักยภาพและพร้อมที่จะพัฒนาตนเอง รวมทั้งยังเป็นวัยที่มีเวลาว่างและมีภาระหน้าที่น้อย เพียงแต่ยังคงขาดความรู้สมัยใหม่ อาทิ นวัตกรรมและเทคโนโลยี รวมทั้งยังคงขาดความรู้ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนการดำเนินชีวิต อาทิ สิทธิของผู้สูงอายุตามกฎหมาย การวางแผนทางการเงินให้เหมาะสม ดังนั้นการส่งเสริมความรู้ใหม่ ๆ ให้กับผู้สูงอายุ จึงเป็นแนวทางการพัฒนาวัยเกษียณให้มีคุณภาพ ผศ.ดร.ศุภชัย กล่าว
          ด้าน รศ.ดร.ชาลี เจริญลาภนพรัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ของประชาชนทุกวัยและทุกอาชีพ ในทุกเวลา เพราะเล็งเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลกปัจจุบัน ความรู้เดิมที่เคยมีอาจไม่เพียงพอต่อการทำงานและการดำรงชีวิต มธ. จึงมีแนวคิดในการเปิดโครงการธรรมศาสตร์ตลาดวิชา (GENEX-ACADEMY) เพื่อเปิดโอกาสให้วัยทำงานและวัยเกษียณสามารถเข้าคอร์สเรียนเพิ่มเสริมทักษะ (Re-training) เพื่อทบทวนความรู้เดิม รวมทั้งแสวงหาความรู้ใหม่ ตามความต้องการได้อย่างไร้ขีดจำกัด เพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้เท่าทันปัจจุบันและไม่หยุดนิ่งในการพัฒนาตนเอง โดยหลักสูตรดังกล่าวจะเป็นหลักสูตรที่มีความต้องการของภาคแรงงาน เพื่อรองรับยุทธศาสตร์ชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีแนวคิดให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการเรียนรู้ได้โดยการเรียนแบบออนไลน์ และไม่จำกัดวุฒิและอายุของผู้เรียน อีกทั้งยังสามารถรับประกาศนียบัตร อนุปริญญาหรือปริญญาบัตร ตามข้อกำหนดของแต่ละหลักสูตรอีกด้วย
          ทั้งนี้ งานแถลงข่าวเปิดตัว "โรงเรียนผู้สูงอายุ" จัดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ ณ ห้องประชุมนิคม จันทรวิทุร อาคารอเนกประสงค์ 1 ชั้น 7 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ งานสื่อสารองค์กร มธ. โทรศัพท์ 02-564-4493 หรือเว็บไซต์ www.tu.ac.th/news

          บทสัมภาษณ์ผู้สูงอายุที่ร่วมโครงการโรงเรียนผู้สูงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
          นางสุรภา ธรรมสัมคีติ ผู้เรียนในในโครงการโรงเรียนผู้สูงอายุ วัย 75 ปี กล่าวว่า โครงการ "โรงเรียนผู้สูงอายุ" ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นั้น แตกต่างจากหลักสูตรสำหรับผู้สูงอายุในหลายที่ โดยมิได้มีเพียงกิจกรรมสันทนาการให้ความบันเทิงเท่านั้น แต่ที่นี่ได้ให้ความรู้ผู้สูงอายุครอบคลุมทุกศาสตร์ที่มีความจำเป็นต่อการดำเนินชีวิต สามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันและนำไปวางแผนการใช้ชีวิตในอนาคต นอกจากนี้การเข้าร่วมโรงเรียนผู้สูงอายุของ มธ. เปรียบเสมือนการฟื้นฟูสมรรถภาพทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ โดยการได้รับความรู้ใหม่ ๆ เป็นการฝึกสมอง ป้องกันการเป็นโรคอัลไซเมอร์ที่ดีวิธีหนึ่ง อีกทั้งการได้รับความรู้เกี่ยวกับการทำกายภาพบำบัด นับเป็นประโยชน์ในการดูแลตัวเองอย่างมาก สามารถลดการพึ่งพาบุตรหลานและพยาบาลอีกด้วย ในขณะที่สภาพจิตใจได้ถูกเติมเต็มจากการได้พบปะเพื่อนร่วมชั้นเรียน มีการพูดคุย สนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและทำกิจกรรมร่วมกัน จึงไม่เสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าที่มักพบในผู้สูงอายุที่ต้องอยู่เพียงลำพัง และยังคงเป็นการส่งเสริมด้านสังคมอีกด้วย
ธรรมศาสตร์ เปิดห้องเรียน “โรงเรียนผู้สูงอายุ” ส่งเสริมความรู้รองรับเอจจิ้งโซไซตี้ พร้อมเตรียมเปิดหลักสูตร “รีเทรนนิ่ง” รับยุทธศาสตร์ชาติ
 
ธรรมศาสตร์ เปิดห้องเรียน “โรงเรียนผู้สูงอายุ” ส่งเสริมความรู้รองรับเอจจิ้งโซไซตี้ พร้อมเตรียมเปิดหลักสูตร “รีเทรนนิ่ง” รับยุทธศาสตร์ชาติ
 
ธรรมศาสตร์ เปิดห้องเรียน “โรงเรียนผู้สูงอายุ” ส่งเสริมความรู้รองรับเอจจิ้งโซไซตี้ พร้อมเตรียมเปิดหลักสูตร “รีเทรนนิ่ง” รับยุทธศาสตร์ชาติ
ธรรมศาสตร์ เปิดห้องเรียน “โรงเรียนผู้สูงอายุ” ส่งเสริมความรู้รองรับเอจจิ้งโซไซตี้ พร้อมเตรียมเปิดหลักสูตร “รีเทรนนิ่ง” รับยุทธศาสตร์ชาติ

ข่าวพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ+คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุวันนี้

กทม. เดินหน้าพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุทุกมิติ-หนุนจัดตั้งศูนย์พัฒนาฯ ส่งเสริมกิจกรรมเชิงป้องกัน

นางสาวกาญจนา ภูพิพัฒน์ผล รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสังคม รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสังคม (สพส.) กทม. กล่าวกรณีมีข้อเสนอแนะการจัดตั้งศูนย์พัฒนาผู้สูงอายุของ กทม. รวมถึงการจัดกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในพื้นที่กรุงเทพฯ ว่า สพส. ได้ดำเนินการตามนโยบายส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในพื้นที่กรุงเทพฯ อย่างต่อเนื่อง ภายใต้การดำเนินงานของศูนย์บริการผู้สูงอายุดินแดง ซึ่งจัดบริการสำหรับผู้สูงอายุที่ครอบคลุมมิติต่าง ๆ อาทิ ด้านเศรษฐกิจ

บริษัท ไทยอาซาฮีเคมีภัณฑ์ จำกัด (AGC) มอบ... AGC มอบผ้าอ้อมผู้ใหญ่สำเร็จรูปให้แก่กองทุนพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการ — บริษัท ไทยอาซาฮีเคมีภัณฑ์ จำกัด (AGC) มอบผ้าอ้อมผู้ใหญ่สำเร็จรูปให้แก่กอ...

ศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชส... ศูนย์วิทย์ฯ ราชภัฏโคราช ถ่ายทอดความรู้ชุมชน บำบัดสุขภาพผู้สูงวัย อบต.หนองจะบก — ศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ได้ลงพื้นที่ให้บริการวิชาการ ...

สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานเพชรบูรณ์ ร่วมกับ... สนพ.เพชรบูรณ์ พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ด้านการสื่อสารทางสังคมยุคใหม่ — สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานเพชรบูรณ์ ร่วมกับ สำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอั...

สพร.9 พิษณุโลก ร่วมสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนยากจนภาคเหนือ

สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 9 พิษณุโลก โดยกลุ่มงานพัฒนาฝีมือแรงงาน ฝ่ายประสานการพัฒนาฝีมือแรงงาน ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดพิษณุโลก ดำเนินการเปิดฝึกอบรม ตาม...

คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช... ผ้ามัดย้อม ฝึกจินตนาการทางสมองผู้สูงอายุ — คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี สอนมัดย้อม ผู้สูงอายุ เทศบาลเมืองบึงยี่โถ...