รายงานความคืบหน้าการดำเนินการของคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้นแห่งชาติ ประจำเดือนมิถุนายน 2561

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน ในฐานะโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยรายงานความคืบหน้าการดำเนินการของคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้นแห่งชาติ (National Startup Committee: NSC) (คณะกรรมการฯ) ซึ่งมีปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธานคณะกรรมการฯ ประจำเดือนมิถุนายน 2561 โดยมีรายละเอียด สรุปได้ ดังนี้
          1. จำนวนวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) ในประเทศไทย
          1.1 จำนวน Startup ที่ลงทะเบียนกับ http://startupthailand.org ของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ จำนวน 1,700 ราย ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า
          1.2 จำนวนผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมรายใหม่ (SMEs/New Startup) ที่ขอรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 658) พ.ศ. 2561 เพื่อยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับกำไรสุทธิของ SMEs/New Startup เป็นระยะเวลา 5 รอบระยะเวลาบัญชี ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2561 มียอดรวมของ SMEs/New Startup เข้ามาจดทะเบียนและยื่นขอรับการรับรองกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) แล้วจำนวน 155 ราย ได้รับการรับรองจาก สวทช. แล้วจำนวน 99 ราย และได้ขอใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีกับกรมสรรพากรแล้วจำนวน 82 ราย ซึ่งเมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว มีกิจการเข้ามายื่นขอรับการรับรองกับ สวทช. เพิ่มขึ้นจำนวน 1 ราย ได้รับการรับรองเพิ่มขึ้นจำนวน 3 ราย และขอใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพิ่มขึ้นจำนวน 5 ราย
          1.3 จำนวน Startup ที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ผ่านการร่วมลงทุนกับธนาคารออมสิน ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย และธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2561 มียอดรวมของการอนุมัติการร่วมลงทุนใน Startup แล้ว 40 ราย วงเงินรวม 1,047.5 ล้านบาท โดยมี Startup 11 ราย ที่ได้มีการร่วมลงทุนแล้ว คิดเป็นเงินร่วมลงทุน 276 ล้านบาท ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว มี Startup ที่ได้รับการสนับสนุนเพิ่มขึ้น โดยมีกิจการ Startup ที่ได้รับอนุมัติการร่วมลงทุนเพิ่มจำนวน 4 ราย วงเงิน 219.5 ล้านบาท และมีกิจการ Startup ที่ได้รับการร่วมลงทุนแล้วเพิ่มจำนวน 1 ราย วงเงิน 60 ล้านบาท
          2. จำนวนกลุ่มนักลงทุนในประเทศไทย
          2.1 จำนวนกลุ่มนักลงทุนที่ลงทะเบียนกับ Web Portal ปัจจุบันมีกลุ่มนักลงทุนเข้าลงทะเบียนบนเว็บไซต์ http://startupthailand.org แล้วจำนวน 400 ราย เพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้วจำนวน 100 ราย
          2.2 กิจการเงินร่วมลงทุน (Venture Capital: VC) และทรัสต์เพื่อกิจการเงินร่วมลงทุน (Private Equity Trust: PE Trust) ที่ขอรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 636) พ.ศ. 2560 เพื่อขอรับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้จากเงินปันผลและรายได้จากการโอนหุ้นของบริษัทเป้าหมาย เป็นระยะเวลา 10 รอบระยะเวลาบัญชี ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2561 มีผู้จดแจ้งการเป็น VC และ PE Trust กับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แล้ว จำนวนทั้งสิ้น 32 ราย เพิ่มขึ้นจำนวน 2 ราย เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว
          3. ความเคลื่อนไหวที่สำคัญในเดือนมิถุนายน 2561 
          การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการการพัฒนาครูและบุคลากรในสถาบันการศึกษาระดับมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษาด้านมายเซ็ตการประกอบการ ครั้งที่ 4
          คณะกรรมการฯ ร่วมกับสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กรมบัญชีกลาง และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย จัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการพัฒนาครูและบุคลากรในสถาบันการศึกษาระดับมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษาด้านมายเซ็ตการประกอบการ (การฝึกอบรมฯ) ครั้งที่ 4 ในระหว่างวันที่ 25 - 26 มิถุนายน 2561 ณ โรงแรมเดอะ เบอร์เคลีย์ ประตูน้ำ กรุงเทพมหานคร โดยปลัดกระทรวงการคลังได้ให้เกียรติมากล่าวเปิดการฝึกอบรมดังกล่าว ทั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมทั้งหมด 65 ท่าน เป็นครูจากโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ Startup Club จำนวน 44 ท่าน จาก 21 สถาบัน ผู้แทนสำนักงานคลังเขต 1 2 และ 7 จำนวน 5 ท่าน และคณะผู้บริหารการคลังประจำจังหวัด (คบจ.) 16 ท่าน จาก 16 จังหวัดในภาคกลาง ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรสาคร สมุทรปราการ สมุทรสงคราม พระนครศรีอยุธยา ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ฉะเชิงเทรา ตราด ระยอง จันทบุรี และชลบุรี 
          สำหรับการฝึกอบรมฯ ครั้งที่ 5 จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 31 กรกฎาคม – 1 สิงหาคม 2561 ที่จังหวัดนครราชสีมา สำหรับ คบจ. และคุณครูสถาบันการศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ Startup Club ในภาคะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างและภาคตะวันออก
          สำนักนโยบายการออมและการลงทุน
          ส่วนนโยบายระบบการลงทุน
          โทร. 0 2273 9020 ต่อ 3650, 3654
 
 

ข่าวสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ+สำนักงานเศรษฐกิจการคลังวันนี้

เอ็นไอเอ เร่งขยายสัดส่วนธุรกิจขนาดกลาง พร้อมปิดแก็ปเอสเอ็มอีไทยโตไม่สมดุล

ผ่าน "โครงการ INNOProductivity for SMEs" ดึงโมเดลศักยภาพองค์กรนวัตกรรม ผสานการเพิ่มผลิตภาพช่วยเอสเอ็มอีไทยด้วยผู้เชี่ยวชาญประเมินองค์กรปรับสมรรถนะลึกรายบุคคล กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ร่วมกับสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ (FTPI) และ บริษัท ทริส คอร์ปอเรชั่น จำกัด (TRIS) เดินหน้าพัฒนาและสนับสนุนผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดย่อม ในการยกระดับศักยภาพด้านนวัตกรรมควบคู่กับการเพิ่มผลิตภาพอย่างเป็นระบบ เพื่อเติบ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ขอแสดงควา... ชีววิทยา ม.พะเยา สุดเจ๋ง! คว้า 1 ใน 5 ทีม นวัตกรรมสร้างสุข ได้รับเงินต่อยอดจาก NIA — คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ขอแสดงความยินดีกับนิสิตสาขาวิชาชีววิท...

ธนาคารไทยพาณิชย์ ร่วมกับ สำนักงานนวัตกรรม... ไทยพาณิชย์-NIA-depa ชูความสำเร็จหลักสูตร IBE 6 นำผู้ประกอบการ 109 บริษัทสู่เส้นทางความยั่งยืน — ธนาคารไทยพาณิชย์ ร่วมกับ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ องค์การม...

เอ็นไอเอครองแชมป์อันดับหนึ่ง "องค์การมหาช... เอ็นไอเอครองแชมป์อันดับหนึ่ง "องค์การมหาชน" ด้านนวัตกรรม-เทคโนโลยี 4 ปีซ้อน — เอ็นไอเอครองแชมป์อันดับหนึ่ง "องค์การมหาชน" ด้านนวัตกรรม-เทคโนโลยี 4 ปีซ้อน ...