แม้ว่า 13 ชีวิตทีมหมูป่า รอดปลอดภัย แม้ว่าจะต้องประสบภัยในถ้ำยาวนานกว่า 10 วัน ทว่าเหตุการณ์ครั้งนี้ ได้สะท้อนให้เห็นถึงบทเรียนต่อการจัดการ ซึ่งในอนาคตจะต้องมีมาตรปรับปรุงต่อไป
นั่นก็คือ มีความไม่พร้อมในการรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดคิดของประเทศไทย รวมทั้งได้แสดงให้เห็นถึงความร่วมมือต่างๆ ที่ยังไม่พร้อมให้ความช่วยเหลืออย่างทันท่วงทีของหน่วยงานต่างๆ ก่อนการเกิดเหตุ
ล่าสุด www.medhubnews.com เว็บไซต์สุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยว วาไรตี้ และ เพจ sasook รายงานว่า วันนี้ ( 3 สิงหาคม 2561) ที่โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร
ในงานประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติครั้งที่ 17 ประจำปี 2561 กรมสุขภาพจิตได้จัดพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกรมสุขภาพจิต
โดยนาวาอากาศตรีนายแพทย์บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิตกับ ศาสตราจารย์นายแพทย์โยชิฮารุ คิม ประธานศูนย์ข้อมูลด้านความเครียดและสุขภาพจิตภัยพิบัติแห่งชาติประเทศญี่ปุ่นพัฒนาระบบบริการด้านสุขภาพจิตในภาวะภัยพิบัติ
ซึ่งมีแนวโน้มเกิดถี่และรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะการปฐมพยาบาลทางใจ ( Psychological First Aid : PFA ) ใช้ดูแลให้กำลังใจขั้นต้นแก่ผู้ประสบภัยหรือรอดชีวิตจากเหตุภัยพิบัติทุกประเภทรวมทั้ง อุบัติเหตุ อัคคีภัย ความรุนแรงทางสังคม ซึ่งก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานทั้งต่อบุคคล ครอบครัว ชุมชนและสังคมได้อย่างทันการเปิดกว้างให้บุคลากรทุกสาขาอาชีพและประชาชนทั่วไปได้เรียนรู้โดยไม่มีข้อจำกัดทางด้านเวลา สถานที่ ในหลักสูตรนี้จะมีทั้งความรู้เรื่องการปฐมพยาบาลทางใจ วิธีการช่วยเหลือผู้ประสบภัย ผู้รอดชีวิตจากเหตุภัยพิบัติ เหยื่อความรุนแรงทั้งเด็กและผู้ใหญ่ที่เหมาะสมซึ่งมีหลักปฏิบัติง่ายๆเพียง 3 อย่าง จำง่ายๆคือ 3 ส.หรือ 3Lคือ สอดส่องมองหา( Look ) ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ ,ใส่ใจรับฟัง ( Listen )และส่งต่อเชื่อมโยง( Link ) ให้ได้รับการดูแลกรณีมีความเสี่ยงสูง เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประสบภัยฟื้นคืนสู่สภาวะปกติโดยเร็ว ป้องกันผลกระทบระยะยาว โดยเฉพาะโรคเครียดภายหลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญ หรือ โรคพีทีเอสดี ( Post Traumatic Stress Disorder:PTSD )มักเกิดหลังเหตุการณ์รุนแรงประมาณ 6 สัปดาห์ รวมทั้งวิธีการดูแลใจของผู้ที่เป็นทีมกู้ชีพกู้ภัยอื่นๆ อาสาสมัครต่างๆ ที่อาจเกิดความเครียดสะสมจากการทำงานแข่งกับเวลาเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย ภายใต้ความเสี่ยงภัยตนเองและ 3. ร่วมกันพัฒนาและผลักดันนโยบายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิตจากภัยพิบัติ เพื่อขยายผลใช้ในภูมิภาคเอเชียทุกประเทศและในระดับนานาชาติด้วย
การดำเนินการดังกล่าวนี้กรมสุขภาพจิตได้มอบหมายให้ 4 หน่วยงานหลักคือ โรงพยาบาลจิตเวชสงขลาราชนครินทร์ ศูนย์สุขภาพจิตที่ 12 กองบริหารระบบบริการสุขภาพจิต และสำนักระบาดวิทยาสุขภาพจิต เป็นแกนหลักประสานทำงานร่วมกับคณะทำงานของญี่ปุ่น
ในเบื้องต้นนี้จะทำหลักสูตรเป็น 2 ภาษาก่อนคือไทย และ มลายู เพื่อใช้ทั้งประเทศและในพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนใต้ คาดว่าจะสามารถนำขึ้นเว็บไซต์ ในอีกไม่เกิน 6 เดือน จากนั้นจะมีการวิจัยประสิทธิภาพของหลักสูตรด้วย และในอนาคตจะเพิ่มอีก 4 ภาษาเพื่อให้ผู้ใช้แรงงานที่มาจากกัมพูชา เมียนมาร์ ลาว และเวียดนาม ที่มีนับล้านคน ได้เรียนรู้และเอาไปใช้ได้ด้วยหากเกิดสถานการณ์
สำหรับโรคพีทีเอสดีนั้น เป็นโรคทางจิตเวช ที่มีโอกาสพบได้มาก หากผู้รอดชีวิตทุกวัยไม่ได้รับการช่วยเหลือเยียวยา ดูแลจิตใจมาตั้งแต่ต้นหรือทันทีหลังเกิดเหตุ มีลักษณะอาการเด่นสำคัญ 3 อาการคือ หลอน –เร้า –หลบ กล่าวคือ มีภาพเก่าๆ ผุดในสมองอยู่เนืองๆ เมื่อได้ยินเสียงดังคล้ายเหตุการณ์ที่ประสบมาจะมีอาการใจสั่น กลัวและมักจะหลบหรือไม่กล้าที่จะไปตรงจุดที่เกิดเหตุคนเดียว อาการเหล่านี้จะรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันมากจนถึงขึ้นทำงาน เรียนหนังสือไม่ได้ ผลสำรวจล่าสุดในปี 2556 และปี 2559 ประเทศไทยพบอัตราเกิดในผู้ที่มีอายุ13 ปี ขึ้นไป เฉลี่ยร้อยละ 0.3
คาดว่าทั่วประเทศจะมีคนป่วยโรคนี้ประมาณ 170,000 คน ทั้งนี้ประเทศไทยได้นำการปฐมพยาบาลทางใจมาใช้ตั้งแต่พ.ศ. 2553 แต่ยังใช้ค่อนข้างวงจำกัดคือในกลุ่มบุคลากรทีมสุขภาพจิตเอ็มแคทหรือทีมเยียวยาใจและอสม.เชี่ยวชาญสุขภาพจิตชุมชน
คาดว่าเมื่อขยายหลักสูตรเป็นแบบออนไลน์ให้ประชาชนทุกกลุ่มเข้าถึงด้วย มั่นใจว่าจะลดปัญหาการเกิดโรคทางจิตเช่นโรคซึมเศร้า ฆ่าตัวตายหลังเกิดเหตุการณ์รุนแรงลงได้มาก และจะช่วยให้ผู้ประสบภัย ฟื้นตัวกลับสู่สภาวะปกติได้เร็วยิ่งขึ้น อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าว
ทางด้านศาสตราจารย์นายแพทย์โยชิฮารุ คิม ประธานศูนย์ข้อมูลด้านความเครียดและสุขภาพจิตภัยพิบัติแห่งชาติประเทศญี่ปุ่นกล่าวว่า ขณะนี้ญี่ปุ่นได้พัฒนาบุคลากรในการปฐมพยาบาลทางใจช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติหลายระดับ เช่นระดับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ภาคประชาสังคม ประชาชน และตำรวจซึ่งเป็นผู้เข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยในระยะต้นหลังเกิดภัยพิบัติ จัดทำฐานข้อมูลผู้ผ่านการอบรมเพื่อเป็นเครือข่ายการทำงานในพื้นที่โดยได้จัดทำเป็นคู่มือการปฐมพยาบาลทางใจและทำสื่อการสอนเรื่องนี้ทางระบบออนไลน์คือ www.mhpss-Elearning.aecelight.jp เพื่อเป็นทางเลือกหนึ่งในการให้ความรู้แก่ประชาชนที่ไม่สามารถไปเข้าร่วมการอบรมได้
บริษัท ไทยยามาฮ่ามอเตอร์ จำกัด จับมือการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และอัมรินทร์ ทีวี เปิดตัวแคมเปญ "สุดทุกฟีล…ชิลทุกวัน @ภาคตะวันออก" มอบสิทธิพิเศษเอ็กซ์คลูซีฟทริป แก่ลูกค้ารถจักรยานยนต์ยามาฮ่า XMAX ที่ซื้อระหว่างงาน บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ผ่านมา และลูกค้ารถจักรยานยนต์ยามาฮ่า XMAX ที่ใช้คะแนนสะสมจากแอปพลิเคชัน YAMAHA Smart Reward 4,000 คะแนน จำนวน 20 สิทธิ์ เข้าร่วม เอ็กซ์คลูซีฟทริป เส้นทาง กรุงเทพฯ นครนายก ปราจีนบุรี เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว และส่งเสริมเศรษฐกิจ
อบก. จับมือ กกท. ลงนาม MOU ร่วมรณรงค์ลดก๊าซเรือนกระจก ดันกิจกรรมด้านกีฬาสู่รูปแบบ Carbon Neutral Event ผ่าน 4 องค์กรกีฬา
—
องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระ...
กรุงไทยนำเทรนด์! จับมืออินฟลูฯสายท่องเที่ยว สร้างปรากฏการณ์ TOURIST สู่ TOURICH ผ่าน Krungthai Travel Debit Card
—
ธนาคารกรุงไทย จับมือกับอินฟลูเอ็นเซอร์ท...
นักวิจัย จุฬาฯ พัฒนา "ปะการังสู้โลกร้อน" เพื่อทางรอดระบบนิเวศทางทะเล
—
นักวิจัยสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาฯ พัฒนาแนวทางช่วยปะการังให้ปรับตัวรับมือกับภา...
นักวิจัยจุฬาฯ พัฒนา "ปะการังสู้โลกร้อน" เพื่อทางรอดระบบนิเวศทางทะเล
—
นักวิจัยสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาฯ พัฒนาแนวทางช่วยปะการังให้ปรับตัวรับมือกับภาว...
สัมผัสเรื่องราวของศรีลังกา ผ่านประสบการณ์การท่องเที่ยวสุดประทับใจกับไมเนอร์ โฮเทลส์
—
เริ่มต้นจากโคลัมโบ เมืองหลวงอันคึกคัก ก่อนมุ่งหน้าสู่คาลูทารา ต่อด้ว...
กลุ่มเซ็นทรัลจับมือผู้ประกอบการย่านศูนย์กลางธุรกิจ ผนึกกำลัง กทม. และ ททท. เสริมความมั่นใจ กรุงเทพฯ เมืองปลอดภัย พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก
—
กลุ่มเซ็นทร...
กลุ่มผู้ประกอบการเกาะพยามและเครือข่ายภาคประชาชนระนอง-ชุมพร จัดงาน "ดินเนอร์ ทอล์ค" ห่วงโครงการแลนด์บริดจ์กระทบธรรมชาติ-วิถีชีวิต
—
เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2...
ออปโป้จับมือททท. เปิดแกลเลอรี่ภาพพอร์ตเทรต 'Color Your Moment, Proud of Portrait' สัมผัสเสน่ห์เมืองไทยเก็บสีสันในทุกช่วงเวลา
—
ย้อนชมบรรยากาศงานเปิดแกลเลอ...