Britannia Pharmaceuticals Ltd เผยผลการศึกษา TOLEDO เฟส 3 ชี้การใช้ยา Apomorphine ชนิดฉีดเข้าใต้ผิวหนังช่วยลดปัญหาอาการตอบสนองต่อยาไม่สม่ำเสมอในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน (PD) ซึ่งมีอาการที่ไม่สามารถควบคุมได้ด้วยการรับประทานยา

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          บริษัท Britannia Pharmaceuticals Ltd ได้เผยแพร่ผลการศึกษา TOLEDO (Clinical Trial of Apomorphine Subcutaneous Infusion in Patients With Advanced Parkinson's Disease) แบบให้ยาจริงกับยาหลอกกับคนไข้  (double-blind phase)  ในนิตยสาร Lancet Neurology[1]

          การรักษาด้วยยา APO-go(R) / MOVAPO(R) (apomorphine) โดยฉีดเข้าใต้ผิวหนังเป็นเวลา 12 สัปดาห์ ทำให้ลดเวลา OFF time (ระยะเวลาที่การรักษา PD ไม่ได้ผล) ลงได้อย่างมีนัยสำคัญ จากการให้ยาจริง (baseline) เมื่อเทียบกับการให้ยาหลอก (placebo): -2.47 ชั่วโมง/วัน เทียบกับ -0.58 ชั่วโมง/วันตามลำดับ ซึ่งเป็นช่วงความแตกต่างของการรักษาเกือบ 2 ชั่วโมง (p = 0.0025) และเพิ่มการเปลี่ยนแปลงใน OFF time เป็นสองเท่า ซึ่งถือว่ามีความหมายต่อผู้ป่วยโรค PD  โดยสถิติที่ลดลงเหล่านี้เกิดขึ้นในสัปดาห์แรกของการรักษาด้วยการฉีดยา APO-go(R) / MOVAPO(R)

          เมื่อเทียบกับการให้ยาหลอกนั้น เวลา ON time (ระยะเวลาที่มีการควบคุมการเคลื่อนไหวที่ดี) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยไม่มีอาการขยับยุกยิกหรืออาการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ (dyskinesia)   หรือ 'good' ON time  จากการสังเกตการให้ยาจริง (baseline) ด้วยการฉีดยา APO-go(R) / MOVAPO(R): 2.77 ชั่วโมงต่อวันเมื่อเทียบกับ 0.80 ชั่วโมงต่อวันตามลำดับ (p=0.0008) และผู้ป่วยยังสามารถลดปริมาณและจำนวนการรักษาด้วยยา PD แบบรับประทานร่วมด้วยลงได้อย่างมาก (p=0.0014)

          การฉีดยา APO-go(R) / MOVAPO [(R) /] เป็นการรักษาโรค PD ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของเซลล์ประสาทที่มี dopamine ในสมอง ส่งผลให้สูญเสียการควบคุมความเคลื่อนไหว โดย TOLEDO เป็นการทดลองแบบ double blind แบบหลายศูนย์และสุ่มตัวอย่างครั้งแรกเพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัยในโรค PD และได้ดำเนินการกับผู้ป่วย 107 คนจาก 23 โรงพยาบาลใน 7 ประเทศที่มีอาการที่ไม่สามารถควบคุมได้ แม้ว่าจะใช้วิธีการรักษาที่หลากหลายแล้วก็ตาม

          การปรับปรุงทางคลินิกสะท้อนให้เห็นในการประเมินผลการรักษาของผู้ป่วย: ผู้ป่วยที่ได้รับการฉีดยา  APO-go(R) / MOVAPO(R) ได้รับการจัดอันดับว่า "ดีขึ้น" (71%) เทียบกับการให้ยาหลอก (18%; p <0.0001)

          ศาสตราจารย์ Regina Katzenschlager ซึ่งเป็นนักวิจัยหลักของ TOLEDO กล่าวว่า:

          "TOLEDO เป็นส่วนเสริมสำคัญยิ่งlesiy[ความรู้ของเรา ซึ่งเป็นหลักฐานระดับ 1 เป็นครั้งแรกและยังยืนยันการศึกษาเชิงสังเกตการณ์ก่อนหน้านี้ การฉีดยา Apomorphine มีประสิทธิภาพและเป็นที่ยอมรับอย่างดีของผู้ป่วยที่เผชิญกับความผันผวนของการตอบสนองต่อการรักษา แม้จะได้รับการรักษาที่ดีที่สุดแล้ว"

          ศาสตราจารย์ Andrew Lees นักวิจัยในการทดลองทางคลินิกที่สำคัญ ซึ่งนำไปสู่การอนุญาตให้ใช้ยา apomorphine ซึ่งได้รับอนุญาตสำหรับการรักษาโรค PD ในสหราชอาณาจักร กล่าวเสริมว่า:

          "เราหวังว่าผลการศึกษาในเชิงบวกของ TOLEDO  จะช่วยรับประกันสำหรับการฉีดยา  apomorphine ซึ่งมีการใช้งานโดยใช้ปั๊มเคลื่อนที่ขนาดเล็ก และจะถูกรวมในแนวทางการรักษาโรค PD แห่งชาติ"

          การศึกษาของ TOLEDO ได้รับการสนับสนุนจาก Britannia Pharmaceuticals Ltd. ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มบริษัท STADA Arzneimittel AG และผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ apomorphine

          บริษัท Britannia Pharmaceuticals Limited ก่อตั้งขึ้นในปี 2525 โดยเป็นบริษัทด้านเภสัชกรรมที่ตั้งอยู่ในเมืองรีดดิ้งของสหราชอาณาจักร ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในตลาดระบบประสาทวิทยา

          Britannia มีบริษัท STADA Arzneimittel AG ซึ่งตั้งอยู่ที่แฟรงค์เฟิร์ต เป็นเจ้าของ

          ผลิตภัณฑ์ APO-go(R) วางจำหน่ายในสหราชอาณาจักรโดยบริษัท Britannia Pharmaceuticals Ltd และถูกโอนไปพร้อมกับการซื้อ Britannia ให้เป็นผลงานของ STADA ในปี 2007 โดยผลิตภัณฑ์ APO-go(R) มีการทำการตลาดนอกสหราชอาณาจักรผ่านทางบริษัทในเครือและหุ้นส่วนที่ได้รับอนุญาต

          สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับ:

          บริษัท Britannia Pharmaceuticals Ltd:  

          http://www.britannia-pharm.com

          การศึกษาTOLEDO:  

          https://www.clinicaltrials.gov/ct2/show/NCT02006121?term=NCT02006121&rank=1

          สำหรับ the APO-go(R) infusion SmPC:  

          https://www.medicines.org.uk/emc/product/3908/smpc 

          [1]Katzenschlager R, et al. Lancet Neurology, 2018. เผยแพร่ออนไลน์วันที่ 25 ก.ค. 2018 http://dx.doi.org/10.1016/S1474-4422(18)30239-4

          ที่มา: Britannia Pharmaceuticals Ltd


ข่าวผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน+โรคพาร์กินสันวันนี้

เต๋าอิ่นเพื่อการฟื้นฟูโรคพาร์กินสัน โดย คลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว

โรคพาร์กินสัน (Parkinson's disease : ????) คือ โรคที่เกิดจากความเสื่อมของเซลล์ประสาทบริเวณก้านสมอง ส่งผลให้การผลิตสารบางอย่างหรือโดพามีน (dopamine : ???) ลดลง ทำให้เกิดความผิดปกติ เช่น เคลื่อนไหวช้า อาการสั่นแข็งเกร็ง และปัญหาการทรงตัว ซึ่งเป็นอาการหลักสำคัญของโรคพาร์กินสัน เนื่องด้วยปัจจุบันจำนวนผู้ป่วยโรคพาร์กินสันทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยพบมากในกลุ่มผู้สูงอายุมากกว่า 50 ปี มีอัตราการเกิดโรคถึง 1.7% สาเหตุที่ทำให้การผลิตสารโดพามีนลดลงนั้น ยังไม่ทราบเหตุผลที่แน่ชัด ซึ่งที่พบบ่อย

โรคพาร์กินสัน (Parkinson's disease) เป็นโ... โรคพาร์กินสันคืออะไร? — โรคพาร์กินสัน (Parkinson's disease) เป็นโรคของความเสื่อมที่เกิดขึ้นในระบบประสาท โดยเกิดขึ้นกับเซลล์ประสาทที่ผลิตสารสื่อประสาท...

แพทย์จุฬาฯ พัฒนาถุงมือพาร์กินสัน ลดอาการม... จุฬาฯ เปิดตัวถุงมือพาร์กินสันลดสั่นรุ่นล่าสุด ใช้ง่ายเบา ลดอาการมือสั่นได้ดี — แพทย์จุฬาฯ พัฒนาถุงมือพาร์กินสัน ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ ใส่ง่าย น้ำห...

ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสัน... จุฬาฯ เปิดตัวแอปพลิเคชัน PDPlus ติดตามอาการผู้ป่วยพาร์กินสัน เพิ่มคุณภาพชีวิต — ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสันฯ โรงพยาบาลจุฬาฯ เปิดตัวแอปพลิเค...

โรคพาร์กินสัน (Parkinson's Disease) ถือเป... แพทย์ศรีสะเกษลุยแผนเชิงรุกสร้างเครือข่ายคัดกรองผู้ป่วยโรคพาร์กินสันทั่วภาคอีสาน — โรคพาร์กินสัน (Parkinson's Disease) ถือเป็นโรคทางระบบประสาทและสมองที่พบบ...

ด้วยนวัตกรรมล่าสุดสำหรับผู้ป่วยโรคพาร์กิน... นิสิตศศินทร์ รับถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ชนะเลิศแผนธุรกิจระดับโลก The mai Bangkok Business Challenge @Sasin 2017 — ด้วยนวัตกรร...

ทีม PDvice นิสิตศศินทร์ รับถ้วยพระราชทานพ... นิสิตศศินทร์ รับถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ชนะเลิศแผนธุรกิจระดับโลก The mai Bangkok Business Challenge?@Sasin 2017 — ทีม PDvice ...

พบแนวโน้มอุบัติการณ์โรคในกลุ่มคนวัยทำงานแ... แพทย์เผย ร้อยละ8 ของผู้ป่วยโรคพาร์กินสันในไทยมีอายุน้อยกว่า 40ปี — พบแนวโน้มอุบัติการณ์โรคในกลุ่มคนวัยทำงานและวัยกลางคน หลายคนคงเคยได้ยินชื่อ "โรคพาร์กินส...

ภาพข่าว: ศูนย์รักษาโรคพาร์กินสัน จุฬา ชี้ร้อยละ 74.3 ของผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ประสบปัญหาอาการผิดปกติตอนกลางคืน

ศูนย์พาร์กินสัน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ร่วมกับ หน่วยประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และหน่วยประสาทวิทยา กลุ่มงานอายุรกรรม ...