มธบ.จัดแข่งขันตอบปัญหาทางบัญชี"ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพฯ ต่อยอดความรู้-ทักษะวิชาชีพพัฒนานักบัญชีสู่ตลาดแรงงาน 4.0 แนวโน้มต้องการสูง

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          ดร.พัทธนันท์ เพชรเชิดชู รองอธิการบดีสายงานภาคีสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (มธบ.) เปิดเผยว่า ตลาดแรงงานไทยในหลายสายงานมีแนวโน้มขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะ รวมถึงตลาดแรงงานด้านบัญชีและการเงิน จากข้อมูลของ แมนพาวเวอร์กรุ๊ป บริษัทระดับโลกด้านการจัดการบุคลากรและที่ปรึกษาด้านแรงงาน สำรวจไว้เมื่อปี 2560 พบว่า งานด้านบัญชีและการเงิน เป็นสายงานที่มีแนวโน้มขาดแคลนบุคลากรมาก ซึ่งตลาดมีความต้องการในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง ทั้งบุคลากรในระดับปฏิบัติการและระดับบริหารในธุรกิจทุกระดับ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เห็นความจำเป็น ในการพัฒนาบุคลากรให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีที่มีศักยภาพและต้องทันต่อเทคโนโลยีด้านการบัญชีที่เปลี่ยนแปลงไป จึงได้จัดให้มีการแข่งขันบัญชีวิชาการขึ้น โดยเราได้พัฒนา App บน IPAD เพื่อใช้ในการแข่งขัน และมีการนำ Data analytics มาช่วยวิเคราะห์ข้อมูลในระหว่างการแข่งขัน อันจะเป็นการสะท้อนถึงการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี ดังนั้นการแข่งขันครั้งนี้จึงเป็นเวทีให้นักเรียน ได้แสดงศักยภาพผ่านกระบวนการคิด วิเคราะห์ และพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รวมถึงการพัฒนาทักษะด้านการบัญชีไปพร้อมกับการพัฒนาของเทคโนโลยี
          "นอกเหนือการเรียนการสอนในเชิงวิชาการแล้วนักศึกษาจะต้องเน้นในเรื่องของการวิเคราะห์ แก้ปัญหาในสถานการณ์จริงได้ เพราะในอดีตจะเป็นการเรียนแบบท่องจำ รวมทั้งเทคโนโลยีจะเข้ามามีบทบาทควบคู่ไปกับกระบวนการทางความคิดและอีก 10 ปีข้างหน้าเราจะต้องมีนักบัญชีรุ่นใหม่ ที่สามารถวางแผน วิเคราะห์แผนงานได้อย่างมีเป็นระบบและถูกต้อง รวมทั้งทำให้สามารถทำงานร่วมกันเป็นทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพ"
          ด้าน ดร.ศิริเดช คำสุพรหม คณบดีวิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (College of Innovative Business and Accountancy: CIBA) กล่าวว่า โครงการแข่งขันตอบปัญหาทางบัญชี "สัมมาอาชีวบัญชี มหาจักรีสิรินธร" จัดขึ้นเป็นปีที่ 6 โดยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ร่วมกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ และได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี พระราชทานถ้วยรางวัล "สัมมาอาชีวบัญชี มหาจักรีสิรินธร" ในการแข่งขันตอบปัญหาบัญชีทั่วประเทศ
          โดยจัดขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมการพัฒนาความรู้และทักษะด้านปัญญาของนักเรียนสายวิชาชีพ ในระดับอาชีวศึกษา รวมไปถึงการพัฒนาทักษะด้านอื่นๆ เช่น เทคนิคทั่วไปและเทคนิคเฉพาะเกี่ยวกับวิชาชีพ (Technical Skills) ทักษะส่วนบุคคล (Personal Skills) ทักษะในการสื่อสารและการทำงานร่วมกับผู้อื่น (Interpersonal and Communication Skills) และยังเป็นการส่งเสริมให้คณาจารย์ได้ตระหนักถึงการจัดการศึกษาที่สามารถขยายผล เพื่อสร้างผู้ประกอบการวิชาชีพทางบัญชีที่มีศักยภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ 
          ทั้งนี้ การแข่งขันในครั้งนี้ เป็นปีที่ 2 ที่ใช้แอปพลิเคชั่น(Application) ซึ่งทาง CIBA พัฒนาขึ้นมารองรับการแข่งขันโดยเฉพาะ ชื่อ CIBA Banchee โดยนำระบบการวิเคราะห์ข้อมูลสมัยใหม่เข้ามาช่วยวิเคราะห์ทักษะทางวิชาชีพของผู้เข้าร่วมแข่งขัน หลังการแข่งขันเสร็จสิ้น ระบบจะสามารถจำแนกได้ว่า ผู้เข้าแข่งขันมีจุดเด่นทางทักษะวิชาชีพด้านใดบ้าง เช่น ทักษะทางการบัญชีบริหาร การบัญชีอุตสาหกรรม การบัญชีขั้นต้น การภาษีอากรและทักษะทางวิชาชีพอื่นๆ เป็นต้น ซึ่งผลการวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าว ทางวิทยาลัยสามารถนำข้อมูลไปปรับกระบวนการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมและเพิ่มพูนให้นักศึกษามีทักษะเพิ่มมากขึ้น 
          "ปัจจุบันตลาดแรงงานมีความต้องการนักบัญชีมากขึ้นแม้ว่าเทคโนโลยีจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาภาคธุรกิจก็ตาม แต่เป็นส่วนช่วยเท่านั้นหากแต่การวิเคราะห์ในเชิงลึกด้านต่าง ๆ จะสู้คนไม่ได้ แต่นักศึกษาที่เข้ามาเรียนบัญชี ก็จำเป็นต้องเรียนรู้เทคโนโลยีควบคู่ไปด้วยเช่นกัน"
          สำหรับการแข่งขันตอบปัญหาบัญชีระดับปวส. ทีมที่ชนะเลิศ คือ วิทยาลัยพณิชยการเชตุพน ส่วนทีมตอบปัญหาบัญชีระดับปวช. ทีมที่ชนะเลิศ คือ วิทยาลัยพณิชยการบางนา
มธบ.จัดแข่งขันตอบปัญหาทางบัญชี"ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพฯ ต่อยอดความรู้-ทักษะวิชาชีพพัฒนานักบัญชีสู่ตลาดแรงงาน 4.0 แนวโน้มต้องการสูง
 
มธบ.จัดแข่งขันตอบปัญหาทางบัญชี"ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพฯ ต่อยอดความรู้-ทักษะวิชาชีพพัฒนานักบัญชีสู่ตลาดแรงงาน 4.0 แนวโน้มต้องการสูง
 
มธบ.จัดแข่งขันตอบปัญหาทางบัญชี"ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพฯ ต่อยอดความรู้-ทักษะวิชาชีพพัฒนานักบัญชีสู่ตลาดแรงงาน 4.0 แนวโน้มต้องการสูง
มธบ.จัดแข่งขันตอบปัญหาทางบัญชี"ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพฯ ต่อยอดความรู้-ทักษะวิชาชีพพัฒนานักบัญชีสู่ตลาดแรงงาน 4.0 แนวโน้มต้องการสูง
 
 
 
 
 
 
 

ข่าวมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์+มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตวันนี้

CITE DPU ชู 4 หลักสูตร ป.โท Upskill - Reskill รองรับ AI และการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีดิจิทัลที่ทุกองค์กรต้องการ

วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี (CITE) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) พัฒนาหลักสูตรปริญญาโท 4 หลักสูตรด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาบุคลากรให้ก้าวทันเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ( Artificial Intelligence) ที่มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด และมีบทบาทสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม หลักสูตรทั้งหมดออกแบบเฉพาะสำหรับผู้ที่ต้องการ Upskill และ Reskill เพื่อเพิ่มศักยภาพให้ตนเองและองค์กรในยุคดิจิทัล ผศ.ดร.ชัยพร เขมะภาตะพันธ์ คณบดีวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี

CIBA DPU จับมือ ออมสิน เปิดโครงการ 'ออมสิ... CIBA DPU จับมือ ออมสิน เปิดโครงการ 'ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น 2568' ปีที่ 7 — CIBA DPU จับมือ ออมสิน เปิดโครงการ 'ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น 2568' ปีที่ 7 หนุน...