กนอ.ผนึก กฟน.-ทีโอที-SME Bank ร่วมเดินหน้าโครงการความร่วมมือพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน" ในนิคมอุตสาหกรรมสมาร์ทปาร์ค มุ่งพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานอัจฉริยะ ทั้งระบบโครงข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง พลังงานอัจฉริยะ ศูนย์การให้บริการด้านข้อมูลอัจฉริยะ และการสนับสนุนการให้บริการทางการเงิน กับผู้ประกอบการ เพิ่มศักยภาพการแข่งขัน อุตสาหกรรมไทย ในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูง
ดร.สมจิณณ์ พิลึก ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า รัฐบาลได้กำหนดนโยบาย ที่ชัดเจน ในการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมทั่วประเทศ การเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน โดยเน้นการต่อยอดการพัฒนาอุตสาหกรรมไปสู่อุตสาหกรรมที่ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อการผลิตและเป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อมในการขับเคลื่อนเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี โดย กนอ.มีบทบาทในการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมสมาร์ทปาร์ค ซึ่งในวันนี้ (23 มกราคม 2562) ได้มีการลงนามบันทึกความร่วมมือกับพันธมิตร 3 ฝ่าย ได้แก่ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) หรือ ทีโอที และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ธพว.) หรือ SME Bank ในการศึกษา "โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบดิจิทัลและสื่อสารสื่อสารโทรคมนาคมอัจฉริยะ (Smart Digital/Telecommunication)และบันทึกความร่วมมือโครงการพัฒนาพลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy)" ในนิคมอุตสาหกรรมสมาร์ทปาร์ค เพื่อเตรียมความพร้อมในการให้บริการระบบสาธารณูปโภคอัจฉริยะก้าวไปสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ในอนาคต ทั้งในด้านการวางระบบโครงข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ระบบให้บริการธุรกรรมทางการเงิน การใช้พลังงานอัจฉริยะที่สอดคล้องกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0
"ความร่วมมือในการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมสมาร์ทปาร์ค ในครั้งนี้ เป็นความร่วมมือในการต่อยอดภาคการผลิต เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของประเทศ ซึ่งจะเป็นโอกาสของไทยในการพัฒนาในด้านต่างๆ รวมทั้งการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมที่จะเป็นก้าวแรกที่สำคัญของการเปลี่ยนแปลงระบบการผลิตของไทย ด้วยนวัตกรรมที่จะเชื่อมโยงความเจริญไปสู่ภูมิภาค"ดร.สมจิณณ์ กล่าว
สำหรับเป้าหมายของความร่วมมือในโครงการดังกล่าว กนอ. กฟน. ทีโอที และ SME Bank จะร่วมกันพัฒนานิคมฯ สมาร์ท ปาร์ค ในด้านต่างๆให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมร่วมกัน ประกอบด้วย 1.การพัฒนาพลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy) ที่จะนำไปใช้พื้นที่ทั้งในด้านการใช้พลังงานทดแทน (Renewable Energy) การบริหารจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ (Energy Efficiency) เพื่อการผลิตสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
2.การให้บริการสื่อสารโทรคมนาคมที่เกี่ยวข้องกับบริการระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ทั้งในการวางระบบการสื่อสารผ่านดาวเทียม ระบบการสื่อสารไร้สาย รวมทั้ง Digital Solution Platform ที่ประกอบด้วยการให้บริการด้านการเก็บรักษาข้อมูลให้กับผู้ประกอบการโดยใช้ระบบศูนย์กลางการเก็บข้อมูล หรือ Data Center ด้วยรูปแบบการให้บริการในระบบต่างๆ อาทิ คลาวด์แพลตฟอร์ม (Cloud Platform ) ที่มีความสามารถในการวิเคราะห์และจัดการข้อมูล สามารถตอบโจทย์การทำงานของธุรกิจได้เป็นอย่างดี Internet of Things หรือ IoT Platform เป็นการเชื่อมโยงข้อมูล ด้วยระบบอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน Cyber Security หรือ ระบบการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ เพื่อป้องกันการเจาะข้อมูลเข้าสู่ระบบ Big Data หรือ ระบบศูนย์ข้อมูลกลางที่สามารถนำไปประมวลผลเพื่อประโยชน์การผลิตและวางแผน และ AI Platform หรือระบบประมวลผลอัจฉริยะเป็นต้น
3.การสนับสนุนทางด้านแหล่งเงินทุน องค์ความรู้ทางการตลาด การจัดการผลิตภัณฑ์ ตลอดจนการประชาสัมพันธ์ที่ควบคู่กับการใช้นวัตกรรม เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์ เพื่อเพิ่มศักยภาพให้ผู้ประกอบการ นิคมอุตสาหกรรมที่เข้ามาใช้พื้นที่ นิคมอุตสาหกรรมสมาร์ทปาร์ค
นายกีรพัฒน์ เจียมเศรษฐ์ ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) กล่าวว่า สำหรับความร่วมมือในครั้งนี้ กฟน. ในฐานะหน่วยงานรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงมหาดไทย ถือเป็นส่วนสำคัญในการดำเนินโครงการเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสารโทรคมนาคมอัจฉริยะ และโครงการพัฒนาพลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy) ในนิคมอุตสาหกรรม ร่วมกับ กนอ.และทีโอที ซึ่งบทบาทของ กฟน.จากพิธีลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ คือ การร่วมกับ กนอ.พัฒนาพลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy) ในนิคมอุตสาหกรรมโดยศึกษาและพัฒนาระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่เกี่ยวข้องด้านพลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy) พลังงานทดแทน (Renewable Energy) การบริหารจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ (Energy Efficiency) อันเป็นพื้นฐานสำคัญในการนำไปสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมทั่วประเทศมุ่งเน้นกลุ่มอุตสาหกรรมแห่งอนาคต (New S-Curve) โครงการนิคมอุตสาหกรรมสมาร์ทปาร์ค ตามแนวนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งจะส่งเสริมให้นิคมอุตสาหกรรมมีความทันสมัย ชุมชนในนิคมอุตสาหกรรมมีคุณภาพชีวิตที่ดี
ด้านนายมนต์ชัย หนูสง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทีโอที กล่าวว่า เป้าหมายของความร่วมมือที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ ทีโอที ต้องขอขอบคุณ กนอ. ธพว. และ กฟน.ที่ให้ความไว้วางใจ ทีโอที ในการที่จะร่วมพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสารโทรคมนาคมสู่ดิจิทัล 4.0 เพื่อเพิ่มศักยภาพขององค์กรและของบุคลากร รวมถึงสนับสนุนด้านโทรคมนาคมและดิจิทัลให้กับผู้ประกอบในนิคมอุตสาหกรรม อาทิ กลุ่มอุตสาหกรรมแห่งอนาคต New S-Curve โครงการนิคมอุตสาหกรรมสมาร์ทปาร์ค และรวมถึงผู้ประกอบการ SMEs ในการพัฒนาเพื่อปรับเปลี่ยนไปสู่ Digital Transformation ด้วยการดำเนินงานที่ใช้ดิจิทัลเป็นbase และพัฒนาธุรกิจไปสู่ดิจิทัล 4.0 เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และพัฒนาขยายตลาดสร้างรายได้เพื่อรองรับการลงทุนในอุตสาหกรรมใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงที่จะเข้ามาลงทุนในอนาคตต่อไป
"ทั้งนี้ ในวันนี้ (23 มกราคม 2562) กฟน.และทีโอที ได้ร่วมลงนามความร่วมมือ เพื่อร่วมกันพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางไฟฟ้าและการสื่อสารที่จะนำไปสู่เมืองอัจฉริยะ (Smart City) อันจะเป็นการสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐในการจัดสร้างและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางไฟฟ้าและการสื่อสารสำหรับนิคมอุตสาหกรรมเพื่อลดการลงทุนซ้ำซ้อน และปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในนิคมอุตสาหกรรมให้สวยงามเป็นระเบียบ ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการ บูรณาการการทำงานของหน่วยงานภาครัฐเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและการสื่อสาร และ การพัฒนาเมืองอัจฉริยะให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศได้อย่างยั่งยืน"นายมนต์ชัยกล่าว
อย่างไรก็ตามโครงการนิคมอุตสาหกรรมสมาร์ท ปาร์ค พัฒนาอยู่บนพื้นที่ ประมาณ 2,000 ไร่ ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง เพื่อรองรับการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรม New S-Curve ประกอบด้วย 1.หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม (ROBOTICS) 2.อุตสาหกรรมการบิน และโลจิสติกส์ (AVIATION AND LOGISTICS) 3.อุตสาหกรรมดิจิทัล (DIGITAL) 4.อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ (BIOFUELS AND BIOCHEMICALS) 5.อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (MEDICAL HUB)
นายศุภวัฒน์ คุณวรวินิจ รักษาการกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอิร์ธ เท็ค เอนไวรอนเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ "ETC" เข้ารับรางวัลธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย ประจำปี 2567 ที่ได้ผลการประเมินด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยในเกณฑ์ระดับดีเยี่ยม จัดโดยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) โดยได้รับเกียรติจากนายสุเมธ ตั้งประเสริฐ กรรมการ รักษาการผู้ว่าการฯ กนอ.มอบรางวัลฯพร้อมเกียรติบัตร ณ ห้อง World Ballroom ชั้น 23 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ สำหรับโครงการธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม
เอกนัฏ เปิดตัว"แจ้งอุต" แจ้งปัญหาอุตสาหกรรมง่ายๆ ผ่านไลน์ ดึงปชช. ร่วมปราบ โรงงานเถื่อน สินค้าไม่ได้มาตรฐาน มลพิษPM2.5
—
กระทรวงอุตสาหกรรม คิกออฟ "แจ้งอุต...
ดานิลี่ คว้าธงขาวดาวเขียวติดต่อกันเป็นปีที่ 3
—
บริษัท ดานิลี่ จำกัด รับรางวัลธงขาวดาวเขียว (Green Star Award) ติดต่อกันเป็นปีที่ 3 ในฐานะโรงงานเกณฑ์ "ดี...
ดานิลี่ รับรางวัล I-EA-T Sustainable Business Awards (ISB Awards) 2024 ระดับผู้นำ (Leader) และ ISB List 2024 ต่อเนื่องปีที่2
—
"กนอ." จัด ISB Forum & Awar...
"เบตเตอร์ กรุ๊ป" พร้อมเดินหน้าสู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ พัฒนาเศรษฐกิจไทย ควบคู่รักษาสิ่งแวดล้อม
—
คุณเอกณัฐ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ...
"เบตเตอร์ กรุ๊ป" พร้อมเดินหน้าสู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ พัฒนาเศรษฐกิจไทย ควบคู่รักษาสิ่งแวดล้อม
—
คุณเอกณัฐ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ...
Dow เดินหน้า "เก็บ เซฟ โลก" วันอนุรักษ์ชายฝั่งสากลปีที่ 22 ผนึกกำลังจิตอาสากว่า 3 พันคน นำทัพกู้วิกฤตขยะทะเลกว่า 3.8 ตัน
—
กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow)...
GGC คว้ารางวัล ISB EXCELLENCE ระดับดีเยี่ยม
—
บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) เข้าร่วมโครงการพัฒนาเกณฑ์ผลสัมฤทธิ์ทางสังคมสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ...