ภาพข่าว: คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และภาคีเครือข่ายฯ ร่วมเสวนาเรื่องนวัตกรรมด้านความปลอดภัยทางถนน (iRAP)

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          รศ. ดร. เกษม ชูจารุกุล รองคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ที่ 5 จากขวา) จัดเสวนาวิชาการ หัวข้อ การประยุกต์ใช้ iRAP Star Rating บนโครงข่ายถนนในประเทศไทย และทิศทางการพัฒนามาตรฐานความปลอดภัยทางถนน สำหรับผู้ใช้ทางทุกประเภท โดยมีเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางถนน จากสำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท และสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กระทรวงคมนาคม เข้าร่วมประชุมและเสนอความคิดเห็น ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2562          
          ทั้งนี้โปรแกรม iRAP (International Road Assessment Program) เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการประเมินสภาพความปลอดภัยของถนน ทั้งในมิติของผู้ขับขี่รถยนต์ ผู้ขับขี่จักรยานยนต์ ผู้ใช้จักรยาน และคนเดินเท้า ที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล และได้นำมาใช้ในการสำรวจและประเมินความปลอดภัยทางถนนในกรุงเทพมหานคร ภายใต้การสนับสนุนของมูลนิธิบลูมเบิร์กเพื่อสาธารณประโยชน์ 
          เกี่ยวกับโครงการความคิดริเริ่มเพื่อความปลอดภัยทางถนนทั่วโลก มูลนิธิบลูมเบิร์กเพื่อสาธารณประโยชน์
ภาพข่าว: คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และภาคีเครือข่ายฯ ร่วมเสวนาเรื่องนวัตกรรมด้านความปลอดภัยทางถนน (iRAP)
About Bloomberg Philanthropies Initiative for Global Road Safety (BIGRS)
          กรุงเทพมหานครได้รับการคัดเลือกจากมูลนิธิบลูมเบิร์กเพื่อสาธารณประโยชน์ (Bloomberg Philanthropies) ซึ่งมีสำนักงานที่นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ให้เป็น 1 ใน 10 เมืองที่เข้าร่วม โครงการความคิดริเริ่มเพื่อความปลอดภัยทางถนนทั่วโลก (Bloomberg Philanthropies Initiative for Global Road Safety; BIGRS) เป็นระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2558-2562) โดยมุ่งลดการเกิดอุบัติเหตุทางถนนและลดความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นในกรุงเทพมหานครให้ได้มากที่สุด โดยผ่านการรณรงค์สร้างจิตสำนึกเพื่อเพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนน อาทิ ดื่มไม่ขับ การใช้ความเร็วที่เหมาะสม การคาดเข็มขัดนิรภัย การสวมหมวกนิรภัย รวมถึงการออกแบบพัฒนาปรับปรุงถนนให้มีความปลอดภัยยิ่งขึ้น
 

ข่าวจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย+สำนักการจราจรและขนส่งวันนี้

จุฬาฯ จับมือ 6 พันธมิตร AI ชั้นนำเปิดหลักสูตรผู้บริหารระดับสูง NEXUS AI ตามวิสัยทัศน์ AI University

ผู้นำยุคใหม่ต้องมีความรู้ความเข้าใจในปัญญาประดิษฐ์ AI จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมองเห็นความสำคัญในการพัฒนาผู้นำในองค์กรต่างๆ ให้มีความรู้ความเข้าใจด้าน AI เพิ่มศักยภาพและสร้างเครือข่ายผู้นำยุคใหม่ โดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จับมือ องค์กรพันธมิตรที่มีบทบาทสำคัญทั้งในระดับชาติและระดับโลก 6 พันธมิตร เปิดหลักสูตร "NEXUS AI" พร้อมขับเคลื่อนประเทศด้วยปัญญาประดิษฐ์ สู่อนาคตที่ยั่งยืนและแข่งขันได้ ศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จุฬาฯ ไม่ได้มองว่า AI เป็นเพียงเทคโนโลยี

ผู้บริหารบางจากฯ จุดประกายผู้นำรุ่นใหม่ ร... ถอดบทเรียน Passion with Purpose — ผู้บริหารบางจากฯ จุดประกายผู้นำรุ่นใหม่ รู้คุณค่าและรักในสิ่งที่ทำ สู่ความยั่งยืน นางกลอยตา ณ ถลาง รองกรรมการผู้จัดการ...

พบกับการบรรยายที่เปิดมุมมองใหม่อย่างชัดเจ... ขอเชิญเข้าร่วมฟังงาน Research Seminar ในหัวข้อ: AI, MARKETING ROBOTS AND LOVE — พบกับการบรรยายที่เปิดมุมมองใหม่อย่างชัดเจนเกี่ยวกับผลกระทบของ Artificial I...

ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับนิสิตชั้นปีที... เปิดโลกอุตสาหกรรมสีเขียว! ดั๊บเบิ้ล เอ ต้อนรับนิสิตวิศวฯ จุฬาฯ เยี่ยมชมโรงงานผลิตกระดาษ — ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับนิสิตชั้นปีที่ 4 ภาควิชาวิศวกรรมเคมี...

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังคงครองอันดับ 1 มห... จุฬาฯ อันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทย จากการจัดอันดับโดย THE Asia University Rankings 2025 — จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังคงครองอันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทย และ Top 200 ของ...