กรมควบคุมโรค แนะ..ทุกภาคส่วนใช้กลยุทธ์“ผู้ก่อการดี (Merit Maker)ป้องกันการจมน้ำ” หวังปิดเทอมปีนี้!! ไม่มีเด็กไทยจมน้ำเสียชีวิตแม้แต่รายเดียว

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          ทุกๆปีเรามักจะได้พบเห็นข่าวการเสียชีวิตของเด็กจากการจมน้ำอยู่บ่อยครั้ง จากข้อมูลย้อนหลัง10ปี (พ.ศ. 2550 - 2559 )มีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เสียชีวิตจากการจมน้ำเฉลี่ยปีละ 1,500 คน สูงสุดจะอยู่ในช่วงปิดเทอมใหญ่และช่วงที่อากาศร้อนๆ คือช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม รองลงมาคือเดือนตุลาคม ปิดเทอมปีนี้กรมควบคุมโรค แนะ..ทุกชุมชนและทุกภาคส่วนร่วมด้วยช่วยกัน ดำเนินการตามกลยุทธ์ "ผู้ก่อการดี (Merit Maker)ป้องกันการจมน้ำ" หวังไม่มีเด็กไทยจมน้ำเสียชีวิตแม้แต่รายเดียว
นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรคกล่าวว่าช่วงนี้ใกล้ปิดเทอมและได้ก้าวเข้าสู่ฤดูร้อนแล้ว ซึ่งจะเป็นช่วงที่มีข่าวเด็กจมน้ำเสียชีวิตมากที่สุด โดยเฉพาะช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม รองลงมาคือเดือนตุลาคมซึ่งตรงกับช่วงปิดเทอมเช่นกัน การเสียชีวิตจากการจมน้ำเป็นสาเหตุการตายลำดับต้นๆของเด็กทั่วโลกและจากรายงานการจมน้ำระดับโลก (Global Report on Drowning)ขององค์การอนามัยโลกระบุว่าแต่ละปีทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากการจมน้ำสูงถึง 372,000 คน มากกว่าร้อยละ50 อยู่ในกลุ่มอายุต่ำกว่า 25 ปี ในขณะที่กลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีการจมน้ำเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับที่3(เสียชีวิตปีละ 140,219 คน)รองจากโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ(Meningitis) และเอดส์ ซึ่งต่างกับประเทศไทยที่การจมน้ำเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับที่1 จากข้อมูลย้อนหลัง10ปี(พ.ศ. 2550 – 2559)พบผู้เสียชีวิตจากการจมน้ำ(ทุกกลุ่มอายุ)เฉลี่ยปีละ3,846 คน เป็นกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีเฉลี่ยปีละ 1,500คน เพศชายมีอัตราการเสียชีวิตจากจมน้ำสูงกว่าเพศหญิงประมาณ 2 เท่าตัว วันเสาร์และอาทิตย์จะมีการจมน้ำสูงสุด สถานที่เกิดเหตุสูงสุดได้แก่แหล่งน้ำธรรมชาติ อ่างเก็บน้ำ รองลงมาคืออ่างอาบน้ำ และสระว่ายน้ำ ช่วงที่มีการเกิดเหตุสูงสุด คือเวลา15.00-18.00 น.อัตราการเสียชีวิตสูงที่สุดคือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รองลงมาคือภาคใต้ ภาคกลาง(ไม่รวมกรุงเทพมหานคร)และภาคเหนือ
          อธิบดีกรมควบคุมโรคได้กล่าวถึงสาเหตุหลักๆของการจมน้ำเสียชีวิตว่าเกิดจากการที่เด็กๆชวนกันไปเล่นน้ำเป็นกลุ่ม โดยเด็กขาดทักษะเอาชีวิตรอดในน้ำและการช่วยเหลือที่ถูกต้อง ส่วนสถานที่เกิดเหตุส่วนใหญ่เป็นแหล่งน้ำสาธารณะใกล้บ้าน ที่อยู่ในชุมชน เช่น สระเก็บน้ำ บ่อขุดเพื่อการเกษตร ฝายทดน้ำ อ่างเก็บน้ำ ซึ่งแหล่งน้ำส่วนใหญ่ไม่มีการจัดการแหล่งน้ำเสี่ยง เช่น การปักป้ายเตือน การกั้นรั้ว การติดตั้งอุปกรณ์ช่วยคนตกน้ำ
          ส่วนปัจจัยเสี่ยงของการจมน้ำนั้นอธิบดีกรมควบคุมโรคอธิบายว่าจะมีความแตกต่างกันในแต่ละช่วงอายุ โดยกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีมักเกิดจากปัจจัยทางด้านผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็กและการจัดการแหล่งน้ำภายในบ้านและบริเวณบ้าน ส่วนเด็กอายุตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไปมักเกิดจากการปัจจัยด้านตัวเด็กเองที่มักชวนกันไปไปเล่นน้ำ โดยที่เด็กไม่มีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำ ไม่มีทักษะการเอาชีวิตรอดในน้ำและวิธีการช่วยเหลือที่ถูกต้อง นอกจากปัจจัยทางด้านตัวเด็กเองแล้วยังมีปัจจัยอื่นๆร่วมด้วยเช่น สิ่งแวดล้อมสภาพเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งปัจจัยด้านการจัดการแหล่งน้ำบริเวณรอบๆบ้านและในชุมชน
          อธิบดีกรมควบคุมโรคกล่าวและย้ำว่าการจมน้ำเสียชีวิตในเด็กถือเป็นภัยเงียบที่ไม่ควรเพิกเฉย ปิดเทอมนี้พ่อแม่ ผู้ปกครอง ควรดูแลบุตรหลานอย่างใกล้ชิด เด็กๆควรได้รับการสอนให้ว่ายน้ำ ได้เรียนรู้ที่จะลอยตัวในน้ำ เพื่อรอการช่วยเหลือ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการลดการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการจมน้ำ เพราะสาเหตุการจมน้ำส่วนใหญ่เกิดจากการที่เด็กพลาดตกลงไปในน้ำ แต่ไม่สามารถลอยตัวขึ้นมาได้ เพราะถ้าลอยตัวได้ก็จะสามารถช่วยตัวเองได้ และควรสอนให้เด็กใส่ชูชีพ หัดลอยตัวเมื่อใส่ชูชีพ ให้ใส่ชูชีพทุกครั้งเมื่อมีการเดินทางทางน้ำ ควรให้เด็กๆได้เรียนรู้สิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมเสี่ยงต่อการจมน้ำ สอนให้รู้ว่าแหล่งน้ำไหนเสี่ยง ไม่ควรไป วิ่งเล่นใกล้ๆ โดยอาจจะพาเด็กเดินสำรวจสิ่งแวดล้อมในชุมชนและพาไปดูว่าจุดไหนที่อันตรายและจุดไหนที่ปลอดภัย
          ปิดเทอมปีนี้จึงไม่ควรมีเด็กไทยเสียชีวิตจากการจมน้ำแม้แต่รายเดียว เพราะการจมน้ำเป็นสิ่งที่ป้องกันได้โดยการร่วมมือกัน กรมควบคุมโรคขอแนะนำให้ทุกชุมชนและทุกภาคส่วนร่วมด้วยช่วยกันดำเนินการตามกลยุทธ์ "ผู้ก่อการดี (Merit Maker)ป้องกันการจมน้ำ" ดังนี้ 1.สำรวจแหล่งน้ำเสี่ยงในชุมชน 2.เฝ้าระวังและแจ้งเตือนในชุมชน เช่น ประกาศเสียงตามสาย คอยตักเตือนเมื่อเห็นเด็กเล่นน้ำตามลำพัง 3.จัดการแหล่งน้ำเพื่อให้เกิดความปลอดภัย เช่น สร้างรั้ว ติดป้ายคำเตือน จัดให้มีอุปกรณ์ช่วยคนตกน้ำไว้บริเวณแหล่งน้ำเสี่ยง (ถังแกลลอนเปล่าผูกเชือก ขวดน้ำพลาสติกเปล่าไม้)และ4.สอนให้เด็กรู้จักแหล่งน้ำเสี่ยงและอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น สำหรับผู้ปกครองควรเตือนเด็กและสอนให้เด็กเรียนรู้กฎความปลอดภัยทางน้ำ เช่น ไม่เล่นใกล้แหล่งน้ำ รู้จักประเมินแหล่งน้ำเช่นความลึกความตื้นและกระแสน้ำ
          "ผู้ก่อการดี (Merit Maker)ป้องกันการจมน้ำ" เป็นกลยุทธ์ที่สำคัญและสอดคล้องกับแนวทางการดำเนินงานป้องกันการจมน้ำระดับโลกที่ทุกประเทศเห็นร่วมกันว่าการมีส่วนร่วมของชุมชนในรูปแบบสหสาขา และการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่คือสิ่งสำคัญเป็นกลยุทธ์ที่จะทำให้เกิดการดำเนินงานป้องกันการจมน้ำอย่างต่อเนื่องและทุกมาตรการ เพราะเพียงมาตรการเดียวไม่ทำให้การเสียชีวิตจากการจมน้ำลดลงมากนัก เนื่องจากเด็กแต่ละช่วงอายุจะมีปัจจัยเสี่ยงที่แตกต่างกัน หากมีข้อสงสัยประชาชนสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422"อธิบดีกรมควบคุมโรคกล่าว

กรมควบคุมโรค แนะ..ทุกภาคส่วนใช้กลยุทธ์“ผู้ก่อการดี (Merit Maker)ป้องกันการจมน้ำ” หวังปิดเทอมปีนี้!! ไม่มีเด็กไทยจมน้ำเสียชีวิตแม้แต่รายเดียว
กรมควบคุมโรค แนะ..ทุกภาคส่วนใช้กลยุทธ์“ผู้ก่อการดี (Merit Maker)ป้องกันการจมน้ำ” หวังปิดเทอมปีนี้!! ไม่มีเด็กไทยจมน้ำเสียชีวิตแม้แต่รายเดียว
กรมควบคุมโรค แนะ..ทุกภาคส่วนใช้กลยุทธ์“ผู้ก่อการดี (Merit Maker)ป้องกันการจมน้ำ” หวังปิดเทอมปีนี้!! ไม่มีเด็กไทยจมน้ำเสียชีวิตแม้แต่รายเดียว
กรมควบคุมโรค แนะ..ทุกภาคส่วนใช้กลยุทธ์“ผู้ก่อการดี (Merit Maker)ป้องกันการจมน้ำ” หวังปิดเทอมปีนี้!! ไม่มีเด็กไทยจมน้ำเสียชีวิตแม้แต่รายเดียว
 

ข่าวร่วมด้วยช่วยกัน+กรมควบคุมโรควันนี้

“ไม่เห็นโลกร้อน ไม่หลั่งน้ำตา” การท่องเที่ยวเปลี่ยนอย่างไร? บนเส้นทางเดินสู่ความยั่งยืนทุกคนต้องร่วมด้วยช่วยกัน

เมื่อสภาพอากาศคาดเดาไม่ได้อีกต่อไป อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวต้องเผชิญกับความท้าทายที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมกับบริษัท คลาวด์แอนด์กราวนด์ จำกัด และพันธมิตรที่เป็นตัวจริงด้านความยั่งยืนอย่างสมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทย (TOCA) และสมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย (TEATA) ร่วมพูดคุยและเน้นย้ำถึงผลกระทบที่ชัดเจน ความจริงอันน่ากลัว รวมถึงทิศทางการปรับตัวของทุกห่วงโซ่ในอุตสาหกรรม ผ่านการเสวนาหัวข้อ “ไม่เห็นโลกร้อน ไม่หลั่งน้ำตา” : ความเปลี่ยน

สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดนครราชสีมา เร... ป.ป.ช. โคราช เร่งตรวจสอบข้อเท็จจริง ถนนสร้างปีครึ่ง แตก พัง — สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดนครราชสีมา เร่งตรวจสอบข้อเท็จจริง หลังได้รับแจ้งจากศูนย์ CDC และ...

ขอเชิญนักปั่น และผู้ที่สนใจทุกๆท่าน เข้าร... Bike For Zero Trash 2023 ปั่น... ลดขยะ — ขอเชิญนักปั่น และผู้ที่สนใจทุกๆท่าน เข้าร่วมกิจกรรม Bike For Zero Trash 2023 ปั่น... ลดขยะ ณ อำเภอปราณบุรี...

มหาวิทยาลัยศรีปทุม โดย กลุ่มงานกิจการนักศ... ม.ศรีปทุม ร่วมกับ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ขอเชิญร่วมบริจาคโลหิต PLUS 1 — มหาวิทยาลัยศรีปทุม โดย กลุ่มงานกิจการนักศึกษา ร่วมกับ ศูนย์บริการโลห...

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เปิดตัว 2 แคมเปญ "Gre... ชไนเดอร์ อิเล็คทริค รุกหน้า ผุดแคมเปญ #GreenHeroesforLife ความยั่งยืนต้องร่วมด้วยช่วยกัน — ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เปิดตัว 2 แคมเปญ "Green Heroes for Life" ร่...