โครงการประกันภัยข้าวนาปี และโครงการประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปีการผลิต 2562

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2562 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบโครงการประกันภัยข้าวนาปี และโครงการประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปีการผลิต 2562 เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติให้แก่เกษตรกรผู้เพาะปลูกข้าวนาปีและผู้เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอทั้งนี้ โครงการประกันภัยทั้ง 2 โครงการ มีรายละเอียด ดังนี้
          1. โครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2562 มีการพัฒนาจากโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2561 ที่สำคัญ 3 ประการ คือ (1) โครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2562 ได้เพิ่มความคุ้มครอง "ภัยช้างป่า" ทำให้สามารถคุ้มครองความเสี่ยงภัยให้กับเกษตรกรได้ถึง 8 ประเภท จากเดิมที่ครอบคลุมเฉพาะท่วมหรือฝนตกหนัก ภัยแล้ง ฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วง ลมพายุหรือพายุไต้ฝุ่น ภัยอากาศหนาวหรือน้ำค้างแข็ง ลูกเห็บ ไฟไหม้ และภัยแมลงศัตรูพืชหรือโรคระบาด (2) โครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2562 มีอัตราค่าเบี้ยประกันภัย 85 บาทต่อไร่ (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มและอากรแสตมป์) ลดลงจากโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2561 ที่มีอัตราค่าเบี้ยประกันภัย 90 บาทต่อไร่ (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มและอากรแสตมป์) และ (3) โครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2562 มีหลักการให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยโดยสามารถซื้อหรือทำประกันภัยเพิ่มเติม (ส่วนที่ 2 หรือ Tier 2) เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองมากขึ้นจากส่วนที่ภาครัฐให้การอุดหนุน (ส่วนที่ 1 หรือ Tier 1) ทั้งนี้ สามารถสรุปหลักการและรายละเอียดของการรับประกันภัยโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2562 ได้ดังตาราง ดังนี้
 

รายละเอียด/เงื่อนไข

ส่วนที่ 1 (Tier 1)

ส่วนที่ 2 (Tier 2)

พื้นที่เป้าหมาย

30 ล้านไร่ ประกอบด้วย

(1) เกษตรกรที่เป็นลูกค้าสินเชื่อเพื่อการเพาะปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562 ของ ธ.ก.ส. ทุกราย จำนวนไม่เกิน 28 ล้านไร่

(2) เกษตรกรทั่วไปที่เพาะปลูกข้าวนาปีและไม่ใช่ลูกค้าสินเชื่อ ธ.ก.ส. จำนวนไม่เกิน 2 ล้านไร่

ไม่เกิน 5 ล้านไร่

ผู้เอาประกันภัย

เกษตรกรผู้เพาะปลูกข้าวนาปีที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกร (ทบก.) กับกรมส่งเสริมการเกษตร ในปีการผลิต 2562/63

อัตราค่าเบี้ยประกันภัย

85 บาทต่อไร่ (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มและอากรแสตมป์) หรือ 92.02 บาทต่อไร่ (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มและอากรแสตมป์) เท่ากันทุกพื้นที่  ทั่วประเทศ

3 อัตรา คือ 5 15 และ 25 บาทต่อไร่ (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มและอากรแสตมป์) ตามระดับความเสี่ยงภัยในแต่ละพื้นที่

วงเงินความคุ้มครอง

1,260 บาทต่อไร่ สำหรับภัยธรรมชาติทั้งหมด 7 ประเภท ได้แก่ น้ำท่วมหรือฝนตกหนัก ภัยแล้ง ฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วง ลมพายุหรือพายุไต้ฝุ่น ภัยอากาศหนาวหรือน้ำค้างแข็ง ลูกเห็บ ไฟไหม้ และภัยช้างป่า และวงเงินความคุ้มครองสูงสุด 630 บาทต่อไร่ สำหรับภัยศัตรูพืชหรือโรคระบาด

240 บาทต่อไร่สำหรับภัยธรรมชาติทั้งหมด 7 ประเภทดังกล่าว และสำหรับภัยศัตรูพืชและโรคระบาด จะได้รับวงเงินความคุ้มครองเพิ่มเติม 120 บาทต่อไร่

เมื่อรวมวงเงินความคุ้มครองส่วนที่ 1 และ 2 แล้ว จะได้รับความคุ้มครอง 1,500 และ 750 บาทต่อไร่ ตามลำดับ

การอุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัยของรัฐบาล

(1) รัฐบาลอุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัยให้แก่เกษตรกรทุกรายในอัตรา 58.02 บาทต่อไร่ (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มและอากรแสตมป์)

(2) ธ.ก.ส. อุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัยให้แก่เกษตรกรที่เป็นลูกค้าสินเชื่อเพื่อการเพาะปลูกข้าวนาปี ในอัตรา 34 บาทต่อไร่

เกษตรกรรับภาระค่าเบี้ยประกันภัยทั้งหมด

งบประมาณ

1,740,600,000 บาท

-

 
          2. โครงการประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปีการผลิต 2562 เป็นปีแรกในการดำเนินโครงการประกันภัยให้แก่เกษตรกรผู้เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยมีประเภทภัยที่ได้รับความคุ้มครอง มีการอุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัยของภาครัฐ และมีหลักการให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยโดยสามารถซื้อหรือทำประกันภัยเพิ่มเติมเพื่อให้ได้รับความคุ้มครองมากขึ้นในรูปแบบเดียวกันกับโครงการประกันภัยข้าวนาปี ทั้งนี้ สามารถสรุปหลักการและรายละเอียดของการรับประกันภัยโครงการประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปีการผลิต 2562 ได้ดังตาราง ดังนี้
 

รายละเอียด/เงื่อนไข

ส่วนที่ 1 (Tier 1)

ส่วนที่ 2 (Tier 2)

พื้นที่เป้าหมาย

3 ล้านไร่ ประกอบด้วย

(1) เกษตรกรที่เป็นลูกค้าสินเชื่อเพื่อการเพาะปลูก ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์    ปีการผลิต 2562 ของ ธ.ก.ส. ทุกราย จำนวนไม่เกิน 2.8 ล้านไร่

(2) เกษตรกรทั่วไปที่เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และไม่ใช่ลูกค้าสินเชื่อ ธ.ก.ส. จำนวนไม่เกิน 2 แสนไร่

ไม่เกิน 3 แสนไร่

ผู้เอาประกันภัย

เกษตรกรผู้เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกร (ทบก.) กับกรมส่งเสริมการเกษตร ในปีการผลิต 2562/63 ในพื้นที่ที่มีเอกสารสิทธิ์

อัตราค่าเบี้ยประกันภัย

59 บาทต่อไร่ (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มและอากรแสตมป์) หรือ 64.2 บาทต่อไร่ (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มและอากรแสตมป์) เท่ากันทุกพื้นที่   ทั่วประเทศ

3 อัตรา คือ 3 10 และ 23 บาทต่อไร่ (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มและอากรแสตมป์) ตามระดับความเสี่ยงภัยในแต่ละพื้นที่

วงเงินความคุ้มครอง

1,500 บาทต่อไร่ สำหรับภัยธรรมชาติทั้งหมด 7 ประเภท ได้แก่    น้ำท่วมหรือฝนตกหนัก ภัยแล้ง ฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วง ลมพายุหรือพายุไต้ฝุ่น ภัยอากาศหนาวหรือน้ำค้างแข็ง ลูกเห็บ ไฟไหม้ และภัยช้างป่า และวงเงินความคุ้มครองสูงสุด 750 บาทต่อไร่ สำหรับภัยศัตรูพืชหรือโรคระบาด

240 บาทต่อไร่สำหรับภัยธรรมชาติทั้งหมด 7 ประเภทดังกล่าว และสำหรับภัยศัตรูพืชและโรคระบาด    จะได้รับวงเงินความคุ้มครองเพิ่มเติม 120 บาทต่อไร่

เมื่อรวมวงเงินความคุ้มครองส่วนที่ 1 และ 2 แล้ว จะได้รับความคุ้มครอง 1,740 และ 870 บาทต่อไร่ ตามลำดับ

การอุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัยของรัฐบาล

(1) รัฐบาลอุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัยให้แก่เกษตรกรทุกรายในอัตรา 40.6 บาทต่อไร่ (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มและอากรแสตมป์)

(2) ธ.ก.ส. อุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัยให้แก่เกษตรกรที่เป็นลูกค้าสินเชื่อเพื่อการเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ในอัตรา 23.6 บาทต่อไร่

เกษตรกรรับภาระค่าเบี้ยประกันภัยทั้งหมด

งบประมาณ

121,800,000 บาท

-

 
          โครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2562 และโครงการประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปีการผลิต 2562 สามารถเริ่มดำเนินการได้ทันทีหลังได้รับการอนุมัติโดยมติคณะรัฐมนตรี
 
 

ข่าวโครงการประกันภัยข้าวนาปี+สำนักงานเศรษฐกิจการคลังวันนี้

ภาพข่าว: สมาคมประกันวินาศภัยไทย ผนึก 6 หน่วยงาน ร่วมขับเคลื่อนโครงการประกันภัยข้าวนาปี และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ประจำปี 2562/2563

นายกี่เดช อนันต์ศิริประภา ผู้อำนวยการบริหาร สมาคมประกันวินาศภัยไทย กล่าวว่า ตามที่ ครม. ได้มีมติเห็นชอบในหลักการการดำเนินโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2562 และ โครงการประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปีการผลิต 2562 เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2562 แล้วนั้น สมาคมประกันวินาศภัยไทย จึงได้จัดประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ซึ่งอยู่ภายใต้กระทรวงการคลัง กรมส่งเสริมการเกษตร กรมวิชาการเกษตร และกรมการข้าว ซึ่งอยู่ภายใต้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สถาบันวิจัย

สมาคมประกันวินาศภัยไทย พัฒนาแอปพลิเคชันเพ... ก้าวสู่ปีที่ 10 โครงการประกันภัยพืชผล ผุดไอเดียใช้แอปพลิเคชันรายงานความเสียหายจากภัยธรรมชาติ — สมาคมประกันวินาศภัยไทย พัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อเกษตรกร ในโครงก...

นายกี่เดช อนันต์ศิริประภา ผู้อำนวยการบริห... สมาคมประกันวินาศภัยไทย อบรมการใช้งานแอปพลิเคชันใหม่ สำหรับการรายงานความเสียหาย — นายกี่เดช อนันต์ศิริประภา ผู้อำนวยการบริหาร สมาคมประกันวินาศภัยไทย เปิดกา...

นายกี่เดช อนันต์ศิริประภา ผู้อำนวยการบริห... ภาพข่าว: ลงพื้นที่พบเกษตรกรจังหวัดอุบลราชธานี — นายกี่เดช อนันต์ศิริประภา ผู้อำนวยการบริหาร สมาคมประกันวินาศภัยไทย ร่วมลงพื้นที่ให้ความรู้และรับฟัง...

นายจีรพันธ์ อัศวะธนกุล นายกสมาคมประกันวิน... สมาคมประกันวินาศภัยไทย พร้อมจ่ายสินไหมฯ ประกันภัยข้าวนาปีให้ชาวนาที่ประสบภัยพิบัติทันที — นายจีรพันธ์ อัศวะธนกุล นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย กล่าวว่า จากสถ...

นายกี่เดช อนันต์ศิริประภา ผู้อำนวยการบริห... ภาพข่าว: มอบคอมพิวเตอร์ สนับสนุนการปฏิบัติงาน — นายกี่เดช อนันต์ศิริประภา ผู้อำนวยการบริหารสมาคมประกันวินาศภัยไทย มอบคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะพร้อมอุปกรณ์...

นายกี่เดช อนันต์ศิริประภา ผู้อำนวยการบริห... ภาพข่าว: จ่ายเคลมประกันภัยข้าวนาปี ครั้งที่ 1 รวม 224 ล้านบาท — นายกี่เดช อนันต์ศิริประภา ผู้อำนวยการบริหาร สมาคมประกันวินาศภัยไทย พร้อมด้วย ดร. จุฑาทอง จ...

สมาคมประกันวินาศภัยไทย เผยผลการดำเนินโครง... สมาคมประกันวินาศภัยไทย จ่ายเคลมประกันภัยข้าวให้ชาวนา ครั้งที่ 1 รวม 224 ล้านบาท — สมาคมประกันวินาศภัยไทย เผยผลการดำเนินโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปี 2560 มี...