ความเห็นของกรีนพีซต่อมาตรการเลิกใช้พลาสติก 7 ชนิดของประเทศไทย

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          จากการที่คณะอนุกรรมการบริหารจัดการขยะพลาสติกมีมติที่ประชุมต่อร่างแผนพลาสติก 20 ปีในวันที่ 26 ธันวาคมที่ผ่านมา โดยกำหนดเป้าหมายในการลด เลิกใช้ผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์พลาสติกจำนวน 7 ประเภท (1) อัญชลี พิพัฒพัฒนากุล หัวหน้าโครงการลดพลาสติกของกรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าวว่า
          "การกำหนดเป้าหมายและช่วงเวลาในการเลิกใช้พลาสติกทั้ง 7 รายการนี้ เป็นจุดพลิกผันทางนโยบายครั้งสำคัญเพื่อต่อกรกับวิกฤตมลพิษพลาสติกทั้งในระบบนิเวศทางทะเลและบนบก การเลิกใช้พลาสติก 7 รายการนี้จะพิสูจน์ให้เห็นว่ามาตรการที่มีผลบังคับใช้ทางกฎหมายอย่างเป็นระบบนั้นทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและดีกว่าการดำเนินการแบบสมัครใจที่ผ่านมา แต่การปฏิบัติให้เป็นไปตามนโยบายจากภาครัฐนี้ไม่อาจประสบความสำเร็จได้โดยลำพัง หากไร้ซึ่งมาตรการขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต(extended producer responsibility) และความรับผิดชอบร่วม(shared responsibility)ของผู้บริโภคด้วย"
          การประกาศเลิกใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่มีส่วนผสมของสารประเภท oxo ยังเป็นก้าวสำคัญอย่างยิ่ง (2) เนื่องจากพลาสติกประเภทนี้มักเข้าใจกันทั่วไปว่าเป็นพลาสติกที่ย่อยสลายได้(oxo-biodegradable plastic) แต่จริงๆ แล้วเป็นพลาสติกโพลีเอทีลีน(Polyethylene) โพไพรลีน(polypropylene) หรือไม่ก็โพลีสไตรลีน(polystyrene) ที่ผสมรวมกับสารเติมแต่งที่เป็นเกลือของโลหะ(metal salt additive)เพื่อช่วยเร่งปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของพลาสติกและแตกตัวเป็นชิ้นเล็กๆ กลายเป็นไมโครพลาสติก พลาสติกแบบ oxo จึงไม่ถือว่าเป็นพลาสติกที่ย่อยสลายได้ การศึกษาพฤติกรรมของพลาสติกชนิดนี้ในสิ่งแวดล้อมทางทะเลพบว่าเมื่อเวลาผ่านไปมากกว่า 40 สัปดาห์ ก็ยังพบวัสดุพลาสติกนี้มากกว่าร้อยละ 90 (3)
          "ประเทศไทยเริ่มต้นมาถูกทางแล้วในเรื่องบอกเลิกพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง หลายประเทศกำลังพิจารณาห้ามใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่มีส่วนผสมของของสารประเภท oxoและเวทีระดับโลกว่าด้วยเศรษฐกิจใหม่ของพลาสติก (The New Plastics Economy) เองก็มีการระดมกำลังจากองค์กรต่างๆ และภาคอุตสาหกรรมเพื่อสนับสนุนให้มีการยกเลิกการใช้พลาสติกชนิดนี้" อัญชลีกล่าวปิดท้าย
 
 
 

ข่าวบริหารจัดการขยะ+การบริหารจัดการวันนี้

ม.วลัยลักษณ์ พัฒนาธุรกิจจัดการขยะอย่างยั่งยืนให้เทศบาลปากพูน ลดปริมาณขยะลง 10 เท่า

ม.วลัยลักษณ์พัฒนาธุรกิจการจัดการขยะอย่างยั่งยืนให้เทศบาลปากพูน จ.นครศรีธรรมราช ช่วยลดปริมาณขยะจาก 18 ตัน/วัน เหลือเพียง 1.8 ตัน/วัน ลดภาระค่าใช้จ่ายของเทศบาล เพิ่มมูลค่าขยะมูลฝอย มุ่งสร้างความยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมมือกับเทศบาลเมืองปากพูนในการสำรวจ เก็บรวบรวมและสังเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับระบบการจัดการขยะของเทศบาลเมืองปากพูน โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการขยะด้วยเทคโนโลยีสีเขียวและเศรษฐกิจสีเขียวอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน โดยเมื่อวันที่ 12-16

กทม. เดินหน้าส่งเสริมคัดแยกขยะที่ต้นทาง นำร่อง "ถนนปลอดถุงขยะ" เพิ่มประสิทธิภาพจัดเก็บ

นายประพาส เหลืองศิรินภา ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม (สสล.) กทม. กล่าวถึงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการขยะในพื้นที่กรุงเทพฯ ว่า กทม. ได้กำหนดยุทธศาสตร์การจัดการขยะไว้ในแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร 20 ปี โดยมุ่ง...

บริษัท ทีอาร์ซี คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน... TRC เปิดบ้านต้อนรับนักลงทุน VI ชูแผนเพิ่มทุนหนุนการเติบโตในธุรกิจก่อสร้างและการลงทุนใหม่ — บริษัท ทีอาร์ซี คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRC จัดกิจกรรม ...

นายชูชาติ พุ่มน้อย ผู้อำนวยการเขตบางกะปิ ... เขตบางกะปิแจงแนวทางบริหารจัดการขยะริมถนน-หมู่บ้านจัดสรรในพื้นที่ — นายชูชาติ พุ่มน้อย ผู้อำนวยการเขตบางกะปิ กทม. กล่าวกรณีประชาชนร้องเรียนบริเวณถนนนวมินทร...

ดร.ประทีป วงศ์บัณฑิต รองผู้ว่าการวิจัยและ... วว. ร่วมขับเคลื่อน "เมืองสระบุรีคาร์บอนต่ำ" — ดร.ประทีป วงศ์บัณฑิต รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านพัฒนาอย่างยั่งยืน สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี...

ดร.เรวดี อนุวัฒนา ผู้เชี่ยวชาญวิจัย กลุ่ม... วว. ต้อนรับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ในโอกาสเยี่ยมชมการจัดการขยะ "ตาลเดี่ยวโมเดล" — ดร.เรวดี อนุวัฒนา ผู้เชี่ยวชาญวิจัย กลุ่มวิจัยและพัฒนาด้านพัฒนาอย่าง...