“วิ่ง” อย่างไรไม่ให้เสี่ยงอัมพาต-เสียชีวิต! แพทย์แนะรันเนอร์ เลิฟเวอร์ ตรวจ “หัวใจ-ความดัน” ก่อนออกสตาร์ท

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          กลายเป็นกระแสโลกไปแล้วสำหรับการออกกำลังกายด้วยการวิ่ง ดังนั้น งานวิ่งเพื่อสุขภาพจึงผุดขึ้นราวกับดอกเห็ด ไม่ว่าจะเป็นทั้งในต่างประเทศและในประเทศไทย โดย รศ.บุญญฤทธิ์ อุยยานนวาระ ผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท ไทยดอทรัน จำกัด เผยว่า ในปี 2560 ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีอีเวนต์งานวิ่งมากถึง 700-800 งาน ส่วนในปีนี้มีงานวิ่งที่จัดขึ้นแล้วทั่วประเทศราว 900-1,000 งาน และคาดว่าเมื่อจบปี 2561 จะมีงานวิ่งที่จัดให้คนรักสุขภาพได้ร่วมเก็บเหรียญและสถิติแห่งความภาคภูมิใจไม่น้อยกว่า 1,200 งาน เท่ากับว่าประเทศไทยจัดงานวิ่งเดือนละ 100 งาน หรือเฉลี่ยวันละ 3 งาน เลยทีเดียว ตัวเลขที่เติบโตนี้กล่าวได้ว่าเกือบร้อยละ 100
          เมื่อออกวิ่งเพราะต้องการสร้างเสริมสุขภาพ ดังนั้น การวิ่งที่ดีและการจัดงานวิ่งที่ดีควรคำนึงถึง "สุขภาพที่ปลอดภัย" เป็นหลัก เนื่องจากสถิติการจัดงานวิ่งในระดับฮาล์ฟ มาราธอน (Half Marathon) จะพบนักวิ่งบาดเจ็บและเจ็บป่วยขั้นรุนแรงเสี่ยงต่อชีวิตเฉลี่ย 1-3 ราย/งาน และบาดเจ็บ เจ็บป่วยไม่รุนแรง เช่น ข้อเท้าพลิก กล้ามเนื้อบาดเจ็บ ปวด ประมาณร้อยละ 5-10 ส่วนระดับไมโคร มาราธอน (Micro Marathon) และมินิ มาราธอน (Mini Marathon) จากสถิติพบนักวิ่งบาดเจ็บและเจ็บป่วยขั้นรุนแรงเสี่ยงต่อชีวิตเฉลี่ย 0-1 ราย/งาน และบาดเจ็บ เจ็บป่วยไม่รุนแรงประมาณร้อยละ 3-5
          เกี่ยวกับเรื่องนี้ นพ.สุทิน จันทิมา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรกรรมทั่วไป หัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลพญาไทศรีราชา จ.ชลบุรี กล่าวว่า โรคหัวใจเป็นหนึ่งสาเหตุหลักที่อาจทำให้นักวิ่งหรือผู้ที่ชื่นชอบการออกกำลังกายเสี่ยงต่ออาการเจ็บป่วยขณะวิ่งจนถึงแก่ชีวิตได้ เพราะผู้ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจมักไม่แสดงอาการ ทั้งนี้ จากสถิติของผู้ที่รับการตรวจหัวใจ พบว่าร้อยละ 70-80 มีปัญหาใดปัญหาหนึ่ง เช่น หัวใจโต กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หัวใจเต้นผิวจังหวะ คลื่นไฟฟ้าหัวใจขัดข้อง หัวใจบล็อกไม่นำส่งกระแสไฟฟ้า
          "อยากแนะนำให้กลุ่มคนที่วิ่งเป็นประจำหรือรันเนอร์ เลิฟเวอร์ รวมถึงคนที่ชื่นชอบการออกกำลังกายแบบหนักๆ ให้เข้ารับการตรวจหัวใจและเช็คร่างกายก่อนลงสนาม ไม่ว่าจะเป็นการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ อัลตราซาวนด์หัวใจ ตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Echo) และเดินสายพาน หากเป็นวัยรุ่น การตรวจเช็คเพียง 1 ครั้ง ก็การันตีความปลอดภัยไปได้หลายปี ส่วนกลุ่มสูงวัยอายุ 40 ปีขึ้นไป ควรตรวจเช็ค 1-2 ปี/ครั้ง และถ้าเป็นกลุ่มที่หัวใจมีปัญหาควรตรวจเช็คทุกๆ 6 เดือน เนื่องจากหากขณะออกกำลังกายแล้วหัวใจหยุดเต้น ไม่มีออกซิเจนไปเลี้ยงสมอง ผู้ป่วยจะอยู่ได้เพียง 4-5 นาที หากนานกว่านั้นและทำ CPR หรือปั๊มหัวใจไม่ทัน แม้จะนำส่งโรงพยาบาลและกระตุ้นหัวใจให้กลับมาเต้นได้ แต่สมองจะตายและกลายเป็นเจ้าชายนิทราในที่สุด" แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรกรรมทั่วไป หัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลพญาไทศรีราชา ระบุ
          นพ.สุทิน กล่าวต่ออีกว่า อีกโรคหนึ่งที่นักวิ่งและคนที่ชอบออกกำลังกายควรระวังคือ โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นโรคที่ไม่แสดงอาการ ต้องเข้ารับการตรวจจากแพทย์ถึงจะเจอเช่นกัน ซึ่งหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นแล้ว ผลที่ตามมาคือผู้ป่วยอาจเป็นอัมพฤก อัมพาต ได้
          ขณะที่ นพ.เกษม ใช้คล่องกิจ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลพญาไท ศรีราชา ในฐานะผู้อำนวยการด้านการแพทย์ (Medical Director) งานวิ่งบางแสน21 ฮาล์ฟมาราธอน 2018 (Bangsaen21 The Finest Running Event Ever 2018) กล่าวว่า การเตรียมความพร้อมความปลอดภัยสำหรับการวิ่งเพื่อสร้างสุขภาวะ ไม่ใช่แค่ที่ตัวนักวิ่งเพียงอย่างเดียว แต่หัวใจหลักอีกประการ คือต้องเตรียมงานบริการทางการแพทย์เพื่อความปลอดภัยด้านสุขภาพอย่างเข้มข้นเช่นเดียวกัน โดยในงานวิ่งบางแสน 21 ฮาล์ฟมาราธอน 2018 ที่ผ่านมา ทีมงานได้จัดเตรียมความพร้อมสำหรับงานนี้อย่างเต็มที่ ทั้ง แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่กู้ชีพฉุกเฉิน อาสาสมัครทีมนักกายภาพบำบัด และแพทย์แผนไทย รวมกว่า 300 คน จัดจุดให้บริการทางการแพทย์ทุก 2 กม. ตลอดระยะทาง 21 กม. และเพิ่มความถี่ในช่วงใกล้เส้นชัยเป็น 13 หน่วยบริการทางการแพทย์ ยังมีทีมจักรยานที่พกพาเครื่องกระตุ้นหัวใจดูแลนักวิ่งทุกๆ 4 กม. และแพทย์นักวิ่งอาสาที่วิ่งปนไปกับนักวิ่งอื่นๆ อีก 10 คน รถกู้ชีพอีก 10 คัน รวมถึงมีศูนย์บัญชาการทางการแพทย์ที่เทียบได้กับโรงพยาบาลขนาดย่อมอีก 1 แห่ง ซึ่งการเตรียมการทั้งหมดในงานนี้ เข้มข้นมากกว่ามาตรฐานที่ทางสหพันธ์สมาคมกรีฑานานาชาติ (International Association of Athletics Federations) หรือ IAAF ระบุไว้
นพ.เกษม กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ก่อนสมัครเข้าร่วมงาน นักวิ่งทุกคนต้องตอบคำถามและกรอกรายละเอียดสุขภาพของตัวเองตามจริง หากใครเข้าข่ายมีภาวะไม่ปกติ ทีมงานจะคัดกรองและแยกกลุ่มไว้ โดยก่อนวิ่งจะมีการตรวจสุขภาพและตรวจหัวใจผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงว่าพร้อมหรือไม่ และในส่วนของผู้ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจจะมีอุปกรณ์สัญญาณ GPS ให้ติดตามตัว และสามารถกดเรียกเจ้าหน้าที่กรณีเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินได้ทันที
          "ที่เตรียมความพร้อมไว้ขนาดนี้ เพราะเล็งเห็นถึงชีวิตของนักวิ่งเป็นสำคัญ มาวิ่งแล้วต้องได้สุขภาพกลับไป ไม่ใช่เกิดอันตรายจนถึงแก่ชีวิต ซึ่งภายในงานก็มีนักวิ่งไมโคร มาราธอน ที่เกิดภาวะผิดปกติใกล้เส้นชัย แต่ทีมแพทย์และอาสาสมัครก็เข้าชาร์จได้ทันเวลา เราจึงภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขภาพในงานวิ่งครั้งนี้ ถือได้ว่าเป็นมาตรฐานที่สูงที่สุดในประเทศไทยแล้ว และเทียบกับระดับโลกได้เลยทีเดียว" ผู้อำนวยการด้านการแพทย์ (Medical Director) งานวิ่งบางแสน21 ฮาล์ฟมาราธอน 2018 กล่าว.
“วิ่ง” อย่างไรไม่ให้เสี่ยงอัมพาต-เสียชีวิต! แพทย์แนะรันเนอร์ เลิฟเวอร์ ตรวจ “หัวใจ-ความดัน” ก่อนออกสตาร์ท
 

ข่าวบุญญฤทธิ์ อุยยานนวาระ+วิ่งเพื่อสุขภาพวันนี้

ไทยประกันชีวิตมอบเงินจากกิจกรรม We Love We Run We Share Running ช่วยเหลือเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

นางสาวฐิติมา เลี้ยงพาณิชย์ ผู้อำนวยการฝ่าย กลุ่มสื่อสารองค์กร บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วย ผศ.ดร.บุญญฤทธิ์ อุยยานนวาระ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และนายประวีณ มากบุญส่ง กรรมการผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท ไทยดอทรัน จำกัด ร่วมมอบเงินบริจาคจำนวน 600,000 บาท จากการจัดกิจกรรม We Love We Run We Share Running แก่นางสาวภาสินี ปรีชาธนาพล กรรมการและเลขานุการ มูลนิธิหนึ่งคนให้ หลายคนรับ เพื่อสมทบทุนโครงการ "หนึ่งคนให้ หลายคนรับ เพื่อชีวิตใหม่หัวใจเด็ก" สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายผ่าตัดผู้ป่วย

SIIT Hackathon 2014

สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (SIIT) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดกิจกรรม “SIIT Hackathon 2014” ขึ้นเป็นปีที่ 2 นำทีมโดย รองศาสตราจารย์ ดร.บุญญฤทธิ์ อุยยานนวาระ อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คอมพิวเตอร์ และการสื่อสาร (ICT) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการเขียนโปร...

SIIT Hackathon Night 2013

สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (SIIT) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดกิจกรรม SIIT Hackathon Night 2013, Programming is Fun! การแข่งขันเขียนโปรแกรมและแก้โจทย์ปัญหา โดยทำให้เป็นเรื่องสนุก! นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมต่างๆและมีของรางวัลมอบให้สำหรับผู้เข้าแข่งขัน รวมทั้งแชร์ประสบการณ์การ...

วิชาการดอทคอม ร่วมจัดโครงการ การแข่งขัน พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 12 (National Software Contest: NSC 2010)

ดร.บุญญฤทธิ์ อุยยานนวาระ ผู้บริหารบริษัท วิชาการดอทคอม เว็บไซต์เพื่อการศึกษาที่ได้รับการสนับสนุนจาก สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และ บริษัท ปตท. จำกัด ...

วิชาการดอทคอมจับมือ เนคเทค สถาบัน SIIT เผยโค้งสุดท้ายการแข่งขันหุ่นยนต์ ด้วย Robocode ประจำปี 2009

นายบุญญฤทธิ์ อุยยานนวาระ ผู้บริหาร บริษัท วิชาการดอทคอม เปิดเผยว่า ตามที่ วิชาการดอทคอม ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) และสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร...

วิชาการดอทคอมจับมือ เนคเทค สถาบัน SIIT จัดการแข่งขันหุ่นยนต์ ด้วย Robocode ประจำปี 2009

นายบุญญฤทธิ์ อุยยานนวาระ กรรมการบริษัท วิชาการดอทคอมแจ้งว่า วิชาการดอทคอม ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) และสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธรมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดการ...

ฝึกสมองให้พร้อม เพื่อชิงรางวัล ผู้ชนะเลิศการแข่งขันหุ่นยนต์ ด้วย Robocode ประจำปี 2009

นายบุญญฤทธิ์ อุยยานนวาระ กรรมการบริษัท วิชาการดอทคอมแจ้งว่า วิชาการดอทคอม ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) และสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธรมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดการ...

ฝึกสมองให้พร้อม เพื่อชิงรางวัล ผู้ชนะเลิศการแข่งขันหุ่นยนต์ ด้วย Robocode ประจำปี 2009

นายบุญญฤทธิ์ อุยยานนวาระ กรรมการบริษัท วิชาการดอทคอมแจ้งว่า วิชาการดอทคอม ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) และสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธรมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดการ...

วิชาการดอทคอมเชิญชวนตอบปัญหาชิงรางวัลประจำเดือนธันวาคม 2550

ผศ. ดร. บุญญฤทธิ์ อุยยานนวาระ เว็บมาสเตอร์เว็บไซต์วิชาการดอทคอม (http://www.vcharkarn.com) เปิดเผยว่า วิชาการดอทคอมได้จัดร่วมสนุกกับผู้เช้าชมเว็บไซต์โดยจัดทำคำถามท้าทายชิงรางวัลเป็นประจำทุกเดือน สำหรับเดือนธันวาคมนี้ คำถามมีอยู่ว่าการ...