สวทน. ร่วมกับ วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาฯ เดินเครื่องขับเคลื่อน BCG Economy จัดสัมมนา “นโยบายและการลงทุนในอุตสาหกรรมไบโอรีไฟเนอรีของไทย”

18 Dec 2018
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) ร่วมกับ วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดสัมมนาพิเศษ หัวข้อ "นโยบายและการลงทุนในอุตสาหกรรมไบโอรีไฟเนอรีของไทย (Strategic Policy and Investment for Biorefinery in Thailand Forum)" เชิญวิทยากรระดับแนวหน้าแลกเปลี่ยนความรู้ และเปิดรับฟังความคิดเห็นจากทั้งภาครัฐและเอกชนต่อนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมไบโอรีไฟเนอรีของไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy : BCG Economy) โดยได้รับเกียรติจาก ดร.กาญจนา วานิชกร รองเลขาธิการ สวทน. มาบรรยาย หัวข้อ "BCG Economy : นโยบายและการลงทุนในอุตสาหกรรมไบโอรีไฟเนอรีของไทย" และยังได้รับเกียรติจากวิทยากรบริษัทชั้นนำ อาทิ บริษัท บางจากคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) และสมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพไทย มาร่วมเสวนาในหัวข้อ "โอกาสของธุรกิจไบโอรีไฟเนอรีและพลาสติกชีวภาพ"
สวทน. ร่วมกับ วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาฯ เดินเครื่องขับเคลื่อน BCG Economy จัดสัมมนา “นโยบายและการลงทุนในอุตสาหกรรมไบโอรีไฟเนอรีของไทย”

ดร.กาญจนา วานิชกร รักษาการรองเลขาธิการ สวทน. กล่าวว่า การสัมมนาและเปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาครัฐและภาคเอกชนเกี่ยวกับ "นโยบายและการลงทุนในอุตสาหกรรมไบโอรีไฟเนอรีของไทย" เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy : BCG Economy) ที่ประชาคมนักวิจัยได้ยื่นสมุดปกขาว BCG in Action ต่อนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2561 ที่ผ่านมา ณ ทำเนียบรัฐบาล โดย BCG Economy จะเป็นฐานเศรษฐกิจหลักของประเทศที่สร้างมูลค่ากว่า 4.3 ล้านล้านบาท (25% GDP) ใน 5 ปีข้างหน้า ซึ่งหนึ่งในสี่กลุ่มเป้าหมายที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG คือ เป้าหมายด้านพลังงาน เคมีและวัสดุชีวภาพ ซึ่งประเทศไทยได้ตั้งเป้าว่าจะมุ่งสู่การเป็น ไบโอรีไฟเนอรี ฮับ ของเอเชีย โดยต้องเตรียมความพร้อมในการฝึกอบรมช่างเทคนิคและวิศวกรด้านไบโอรีไฟเนอรีเพื่อรองรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศ พร้อมมีการลงทุนในโรงงานต้นแบบ และส่งเสริมการวิจัยคอมปาวด์และการขึ้นรูปพลาสติกชีวภาพ

"โอกาสของอุตสาหกรรมไบโอรีไฟเนอรีของไทยเริ่มเห็นภาพชัดมากยิ่งขึ้นจากการที่ภาครัฐให้การสนับสนุนมาตรการต่าง ๆ อาทิ แผนจัดการขยะพลาสติก ปี 60 – 64 มาตรการลดหย่อนภาษีสำหรับผู้ประกอบการที่ซื้อบรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพ ตลอดจนมาตรการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพครบวงจร ที่จะก่อให้เกิด biocomplex ในพื้นที่ EEC ขอนแก่น และนครสวรรค์ แต่ยังมีประเด็นที่ไทยต้องหันมามองอย่างจริงจังเพื่อให้การลงทุนในอุตสาหกรรมไบโอรีไฟเนอรีเกิดประโยชน์สูงสุดกับเศรษฐกิจ ซึ่งถือเป็นโอกาสในการพัฒนาศักยภาพทางเทคโนโลยีของไทยให้ทัดเทียมระดับโลก และก้าวสู่ไบโอรีไฟเนอรี ฮับ ของเอเชีย ตามเป้าหมายที่วางไว้ อาทิ การสร้างแผนที่นำทาง (Roadmap) หรือแพลตฟอร์มวิจัยร่วมระหว่างนักวิจัยต่างสาขา มุ่งเน้นการวิจัยเพื่อเป็นผู้นำในอนาคต หรือการวิจัยเพื่อหาชีวเคมี (Biochemical) อื่น ๆ ที่มีศักยภาพ ตลอดจนแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานด้านกระบวนการชีวภาพ (Bioprocess) เป็นต้น" ดร.กาญจนา กล่าว

ทั้งนี้ ภาคเอกชนได้ให้ความเห็นต่อนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมไบโอรีไฟเนอรีของไทยอย่างหลากหลาย โดยหนึ่งในความเห็นที่น่าสนใจคือ อุตสาหกรรมไบโอนีไฟเนอรี่มีความโดดเด่นที่ไม่ใช่เพียงการสร้างประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศเท่านั้น แต่ยังให้ความสำคัญและสร้างคุณค่าต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนอีกทางหนึ่งด้วย โดยประเทศไทยมีวัตถุดิบต้นน้ำสำหรับอุตสาหกรรมไบโอรีไฟเนอรี่ที่พร้อมมาก แต่ยังต้องเน้นการให้ความสำคัญกับเรื่องความต้องการของตลาดให้มีความชัดเจน และมีการวางกลยุทธ์เรื่องการตลาดควบคู่ไปด้วยจะสามารถทำให้ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไบโอรีไฟเนอรี่ของไทยสู่ "ไบโอรีไฟเนอรี ฮับ ของเอเชีย" ได้อย่างไม่ยาก

สวทน. ร่วมกับ วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาฯ เดินเครื่องขับเคลื่อน BCG Economy จัดสัมมนา “นโยบายและการลงทุนในอุตสาหกรรมไบโอรีไฟเนอรีของไทย” สวทน. ร่วมกับ วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาฯ เดินเครื่องขับเคลื่อน BCG Economy จัดสัมมนา “นโยบายและการลงทุนในอุตสาหกรรมไบโอรีไฟเนอรีของไทย” สวทน. ร่วมกับ วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาฯ เดินเครื่องขับเคลื่อน BCG Economy จัดสัมมนา “นโยบายและการลงทุนในอุตสาหกรรมไบโอรีไฟเนอรีของไทย”