TISCO Market Insight (09/07/2019) : กระแสหลักทรัพย์ - TFG, RETAILERS : กระแสข่าวเด่น - ALL, ATP30, DEMCO, EA, IRPC, JWD, SSP, TU

09 Jul 2019

: SET -0.20 จุด ความหวัง FED ลดดบ.น้อยลงกดดันตลาด

SET แกว่งไซด์เวย์อิงแดนลบเล็กน้อยในกรอบ 1722-34 ถูกกดดันจากความหวัง FED ลดดบ.ลดน้อยลง หลังตัวเลขการจ้างงานสหรัฐฯ แข็งแกร่งเกินคาด โดยนลท.รอติดตามถ้อยแถลงของปธ.FED ต่อสภาคองเกรสในช่วงกลางสัปดาห์นี้ ต่างชาติพลิกขายสุทธิ 650 ลบ. ยุติซื้อ 5 วันติด และพลิก Short S50 Futures 6,687 สัญญา n

ทิศทางตลาดวันนี้

: ไซด์เวย์ออกข้าง รอถ้อยแถลงปธ.FED กลางสัปดาห์นี้

หุ้นโลกเมื่อวาน (8 ก.ค.) ปรับลงต่อ นำโดยการร่วงลงของหุ้น Apple หลังนักวิเคราะห์ปรับลดคำแนะนำลง รวมทั้งหุ้น Boeing เนื่องจากสายการบินแห่งชาติของซาอุฯ ยกเลิกคำสั่งซื้อเครื่องบิน 737 Max โดยบรรยากาศการลงทุนโดยรวมถูกกดดันต่อเนื่องจากความหวัง FED จะลดดอกเบี้ยเจือจางลง ด้านราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปิดไร้ทิศทาง (WTI ขยับขึ้น 15 เซนต์ แต่ Brent ขยับลง 12 เซนต์) ท่ามกลางความไม่แน่นอนในนโยบายการเงินของ FED และสถานการณ์ตึงเครียดในตะวันออกกลาง มอง SET มีแนวโน้มแกว่งไซด์เวย์ออกด้านข้าง ขาดปัจจัยใหม่กระตุ้น คาดนลท.จะรอติดตามหลายปัจจัยในสัปดาห์นี้ โดยเฉพาะความคืบหน้าในการเจรจาการค้าสหรัฐฯ-จีน และการแถลงนโยบายการเงินและแนวโน้มศก.ต่อสภาคองเกรสของปธ.FED ในวันที่ 10-11 ก.ค. เพื่อประเมินโอกาสการลดดอกเบี้ยในการประชุม FED 30-31 ก.ค. อย่างไรก็ดี มองจะมีแรงซื้อเก็งกำไรหุ้นเป็นรายตัว โดยเฉพาะหุ้นขนาดกลาง-เล็กช่วยสร้างสีสันแก่ตลาด แนวรับ 1720-22 แนวต้าน 1735, 1740-45 n

กลยุทธ์การลงทุน

: ลงซื้อ-ขึ้นขายในกรอบ หรือเลือกรอดูอาการ SET ต่ออีก

มองตลาดช่วงสั้นๆ ยังแกว่งไม่ไปไหน อาจใช้กลยุทธ์ลงซื้อ-ขึ้นขายในกรอบ แบบไม่หวังส่วนต่างราคามาก หรือจะเลือกชะลอการเก็งกำไร รอปัจจัยชี้นำใหม่ / ส่วนการเทรดดิ้งตามรอบ แนะถือทนแกว่ง

  • ประเด็นหุ้นน่าสนใจ Fundamental Pick BBL – คาดกำไร 2Q19F ที่ 9.79 พันลบ. +6.5% YoY และ +8.5% QoQ ดีกว่าค่าเฉลี่ยอุตฯ โดยรวมที่คาดลดลงทั้ง YoY และ QoQ, การประเมินมูลค่าถูก คิดเป็น PER ไม่ถึง 10x ปีนี้ และ PBV ที่ 0.9x และมี Div. Yield 4%, คาดหลังการประกาศงบ Q2 จะจ่ายปันผล 2 บ./หุ้น, เป้าพื้นฐาน 228 บ. / 5 หุ้นเด่นครึ่งปีหลังจากผลสำรวจ IAA – ADVANC, AMATA, CPALL, CPF, STEC / หุ้นปันผลเด่น – INTUCH, KAMART, KKP, LH, QH, ROJNA, SCCC, SPALI, TVO / ตลท.เปิดเทรดหุ้น SP 16 ตัวชั่วคราว 1-31 ก.ค. – A5, BLISS, BUI, CHOU, EARTH, GSTEL, IFEC, KC, KTECH, NBC, NMG, POLAR, PRO, STHAI, TSF, WR นอกจากนี้มีหุ้นอีก 3 ตัว เปิดเทรดชั่วคราว 1-9 ก.ค. ก่อนเพิกถอนออกจากตลาด - IEC, LVT, YNP / หุ้นได้ประโยชน์บาทแข็ง – ชอบ COM7, ILINK, SYNEX, TPIPL ขณะที่หุ้นเสียประโยชน์หลัก คือ หุ้นส่งออก (กลุ่มอิเล็กฯ, กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม, กลุ่มเกษตร) / หุ้นรับอานิสงส์จัดตั้งรัฐบาล ด้านบริโภค - CPALL, BJC, CPN, MAJOR, KTC, AEONTS ด้านลงทุน - AMATA, ROJNA, WHA, CK, STEC, UNIQ, SEAFCO, PYLON ด้านท่องเที่ยว – AOT, MINT, CENTEL, ERW / ทยอยสะสมหุ้นคาดเบื้องต้นว่ากำไรปกติ Q2 โต YoY และมีปันผลระหว่างกาล – ชอบ AMATA, BAY, BCH, BGRIM, BLA, CBG, GGC, HMPRO, LPN, MAJOR, PYLON, ROJNA, SEAFCO, SPALI, TASCO, TFG, TPIPP / หุ้นพื้นฐานดี-รายได้มั่นคง-ปลอดภัยจากสงครามการค้า – ADVANC, AOT, BEM, BTS, INTUCH, MAJOR และกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน DIF, JASIF
  • หุ้นเด่น ก.ค. (Smart Tactics) BBL, CK, EASTW, GPSC, INTUCH, LH, MAJOR, SCCC
  • หุ้นเด่นครึ่งปีหลัง BTS, CK, EASTW, KTC, PLANB, ROJNA n

RETAILERS : กระแสตอบรับจากการโรดโชว์ต่างประเทศ

เราได้เข้าพบผู้จัดการกองทุนหลายกองที่สิงคโปร์ในช่วงที่ผ่านมา โดยมีประเด็นสำคัญคือ แผนการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลมูลค่า 3.48 แสนล้านบาท ที่จะกระตุ้นในปี 2020 ซึ่งจะทำให้การบริโภคกลับมาเพิ่มขึ้นได้ 6.7% ในปี 2020F (จะสูงที่สุดในทศวรรษ) ทำให้เรามองกลุ่มค้าปลีกมีความเสี่ยงในเชิงบวก โดยหุ้นแนะนำของเราได้แก่ BJC และ CPALL

แผนกระตุ้นเศรษฐกิจปี 2020 มีการตอบรับที่ดี; แต่มีกระแสต้านการลดภาษี : แผนการกระตุ้นเศรษฐกิจมีการตอบรับที่ดีจากนักลงทุน และมีความเป็นไปได้สูง (สวัสดิการต่างๆ และนโยบายด้านเกษตร) แต่ในด้านการลดภาษีบุคคลธรรมดา 10% มีความเห็นต่าง ซึ่งคิดเป็นเงินราว 1.72 แสนล้านบาท โดยนักลงทุนส่วนใหญ่มองว่า รัฐบาลน่าจะลดภาษีให้เฉพาะคนในกลุ่มที่มีรายได้น้อยเท่านั้น (ฐานภาษีที่ 5% และ 10%) ซึ่งจะคิดเป็นประมาณ 5 หมื่นล้านบาท จากเดิม 1.72 แสนล้านบาท และทำให้การบริโภคจะโตเพียง 6% เท่านั้นในปี 2020

BJC : โครงสร้างที่ซับซ้อนทำให้วัดขนาดการเติบโตได้ยาก นักลงทุนให้ความสนใจในอัตรากำไรที่เพิ่มขึ้น, การเติบโตของธุรกิจบรรจุภัณฑ์ และ SSSf ที่ลดลงเป็นหลัก โดยเราได้ชี้ให้เห็นว่า BJC มีแผนที่จะเข้าถึงลูกค้าเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับ CPALL เพื่อหนุนศักยภาพในการทำกำไรในระยะยาว แม้ว่าบางกองทุนจะชอบ CPALL มากกว่า แต่หลายกองทุนก็มองว่า BJC มีประเด็นการฟื้นตัวที่น่าสนใจ และตลาดยังไม่ได้ให้ความสนใจ แต่ในด้านการประเมินมูลค่าของ BJC ทำได้ยาก เนื่องจากธุรกิจที่หลากหลาย แต่ทุกคนมองตรงกันว่า BJC เป็นหุ้นที่ Laggard และมีโอกาสที่จะกลับมาตาม CPALL ทัน หากการบริโภคฟื้นตัว

CPALL : ราคาแพง, มีคนสนใจมาก และได้ประโยชน์โดยตรง นักลงทุนมองว่า CPALL จะเป็นหุ้นที่ได้ประโยชน์จากการบริโภคสูงสุด (จาก SSSg ที่มีความสัมพันธ์กับ PCI สูง) และด้วยการเติบโตที่น่าสนใจ ทำให้คนส่วนใหญ่มองว่า CPALL ควรซื้อขายในราคาที่สูง และเด่นสุดในกลุ่มค้าปลีก แต่นักลงทุนส่วนใหญ่มีสถานะในหุ้นตัวนี้ตั้งแต่ปีก่อนหน้านี้แล้ว

เราแนะนำให้ "ซื้อ" BJC และ CPALL โดยมีมูลค่าที่เหมาะสม 59 บาท และ 92 บาท ตามลำดับ (DCF) n

กระแสข่าวเด่นในประเทศ

ALL : เดินหน้าแผนครึ่งปีหลัง เปิดคอนโด 4 โครงการ มูลค่า 1.24 หมื่นล้าน

ALL กางแผนครึ่งปีหลังเล็งผุดคอนโดมิเนียม 4 โครงการ มูลค่ารวม 12,450 ล้านบาท มั่นใจยอดขายปีนี้ตามนัด 7,000 ล้านบาท เชื่อความต้องการมีต่อเนื่อง พร้อมตุนแบ็กล็อกเต็มมือกว่า 7,211 ล้านบาท (ข่าวหุ้น) n

ATP30 : ทุ่ม 10 ล้านเพิ่มรถทำเงินการันตีผลงานโตตามเป้า 15%

ATP30 ควักเงิน 10 ล้านบาท เพิ่มรถให้บริการ 7 คัน หลังได้ลูกค้าใหม่ 3 ราย มองทิศทางผลงานครึ่งปีแรกโดดเด่น บอสใหญ่ "ปิยะ เตชากูล" การันตีรายได้ปีนี้โตตามเป้า 10-15% อวดแบ็กล็อกเต็มมือ 1.3 พันล้านบาท บุ๊กเป็นรายได้ 460-480 ล้านบาท (ทันหุ้น) n

DEMCO : คว้างานกฟภ.160 ล้าน จ่อประมูลงาน 2 หมื่นล้านในครึ่งปีหลัง

DEMCO คว้างานโครงการจ้างเหมาก่อสร้างปรับปรุงระบบจำหน่าย 22 เควี เป็นเคเบิลใต้ดิน จ.นครราชสีมา ของ "กฟภ." มูลค่า 160 ล้านบาท ส่งซิกครึ่งปีหลังลุยประมูลงานราว 2 หมื่นล้านบาท ดันแบ็กล็อกปีนี้พุ่ง 2,785 ล้านบาท (ข่าวหุ้น) n

EA : บุ๊กขายรถยนต์ไฟฟ้า ปี 63 รายได้พุ่ง 2 หมื่นล.

EA วางเป้าปี 63 รายได้พุ่ง 2 หมื่นล้านบาท คาดทยอยบุ๊กรายได้ขายรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ราว 5,000 ล้านบาท และรับรู้รายได้จากโรงไฟฟ้าพลังงานลม "หนุมาน" 260 MW เต็มปี ล่าสุดจับมือ 4 พันธมิตร "เชฟรอนฯ-CPALL-บริดจสโตนฯ -ROBINS" ผุดสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าทั่วประเทศ วางเป้าครบ 1,000 สถานีภายในปีนี้ (ข่าวหุ้น) n

IRPC : หวั่นเทรดวอร์กระทบ เลื่อนลงทุนโครงการ MARS

IRPC หวั่นสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน กระทบดีมานด์ใช้ปิโตรเคมีลดลง เลื่อนสรุปลงทุนโครงการ MARS จากไตรมาส 2 ไปเป็นช่วงปลายปีนี้ พร้อมเดินหน้าโครงการปรับปรุงคุณภาพน้ำมันยูโร 5 ให้เสร็จตามแผนปี 2565 (ข่าวหุ้น) n

JWD : ผลงานพีครับไฮซีซัน ดีมานด์ดันพอร์ตลูกค้าพุ่ง

JWD ส่งสัญญาณครึ่งหลังปี 2562 ผลงานพีครับไฮซีซัน หนุนดีมานด์พุ่ง บิ๊ก "ชวนินทร์" ปักเป้าปี 2562 รายได้โต 20% จากปีก่อน พอร์ตลูกค้าขยายตัว-ธุรกิจอาหารหนุนด้านโบรกเกอร์ ฟันธงกำไรฉลุย 53% (ทันหุ้น) n

SSP : ขายไฟมองโกเลีย กำลังผลิตพุ่ง 157 MW เป้ารายได้ปีนี้โต 40%

SSP เผยเดินเครื่องจ่ายไฟโครงการโซลาร์ฟาร์มมองโกเลีย กำลังการผลิต 16.4 เมกะวัตต์ เรียบร้อยแล้ว หนุนกำลังการผลิตไฟฟ้าเพิ่มเป็น 157 เมกะวัตต์ ดันรายได้ปีนี้โต 30-40% ตามแผน กำไรสร้างสถิติสูงสุดใหม่ จ่อ COD โรงไฟฟ้าเพิ่มอีก 65.6 เมกะวัตต์ (ทันหุ้น) n

TU : เข้าสู่ไฮซีซันเร่งปั๊มกำลังผลิตดันมาร์จิ้นแกร่ง

TU โบรกส่อง TU เห็นสัญญาณ Q3/2562 ผลงานเติบโตสูง เนื่องจากเป็นช่วงพีคไฮซีซันของธุรกิจ เป็นโอกาสเร่งปั๊มกำลังผลิตรองรับดีมานด์และหนุนอัตรากำไรเพิ่ม อีกทั้งการบริหารจัดการต้นทุนได้ดี (ทันหุ้น) n

กระแสข่าวเด่นต่างประเทศ

"คุโรดะ" เผยเศรษฐกิจญี่ปุ่นยังขยายตัวได้ แม้การผลิต-ส่งออกได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัวนายฮารุฮิโกะ คุโรดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) กล่าวในระหว่างเปิดการประชุมผู้จัดการสาขา BOJ ระดับภูมิภาคว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นกำลังขยายตัวในระดับปานกลาง แม้ว่าเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกและการผลิตภายในประเทศก็ตาม ทั้งนี้คาดว่าที่ประชุมจะหารือกันเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันและการคาดการณ์เศรษฐกิจญี่ปุ่นในระดับภูมิภาค ท่ามกลางความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ลงในบรรดาผู้ผลิต ซึ่งได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าและการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจจีน (อินโฟเควสท์) n

บล.จีนคาดดัชนี CPI จีนขยายตัว 2.6% ในเดือนมิ.ย.หนังสือพิมพ์มันเดย์ ซิเคียวริตีส์ เดลี รายงานว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของจีนซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่สำคัญมีแนวโน้มว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นในเดือนมิ.ย.เมื่อเทียบรายปี ดัชนี CPI มีแนวโน้มขยายตัวที่ระดับ 2.6% เทียบรายปีในเดือนมิ.ย. จากระดับต่ำสุดที่ 2.2% ถึงระดับสูงสุดที่ 2.9% (อินโฟเควสท์) n

แบงก์ชาติฝรั่งเศสหั่นคาดการณ์เศรษฐกิจไตรมาส 2 เหลือเพียง 0.2% เหตุภาคอุตฯซบธนาคารกลางฝรั่งเศสประกาศปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจในไตรมาส 2 ลง 1.0% เหลือเพียง 0.2% โดยระบุถึงภาคอุตสาหกรรมที่ซบเซา ธนาคารกลางเปิดเผยว่า การผลิตในภาคอุตสาหกรรมได้ลดลงอย่างมากในเดือนมิ.ย. โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมรถยนต์ ยาง พลาสติก สินค้าโทรคมนาคม และอุปกรณ์อิเลคทรอนิคขณะเดียวกัน ธนาคารกลางได้กำหนดเป้าหมายการขยายตัวของเศรษฐกิจฝรั่งเศสในปีนี้ที่ระดับ 1.5% โดยต่ำกว่าเป้าหมายของรัฐบาลที่ระดับ 1.7% (อินโฟเควสท์) n

ญี่ปุ่นเผยความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือนมิ.ย. ร่วงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 3 ปีสำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ความเชื่อมั่นทางธุรกิจของชาวญี่ปุ่นที่ประกอบอาชีพที่มีความอ่อนไหวต่อภาวะเศรษฐกิจเดือนมิ.ย. ดิ่งลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 3 ปี เนื่องจากผู้บริโภคได้งดการใช้จ่ายอย่างต่อเนื่องภายหลังช่วงวันหยุดยาวถึง 10 วันติดต่อกันในเดือนก่อนหน้านั้น ดัชนีความเชื่อมั่น diffusion index ซึ่งสะท้อนความเชื่อมั่นในกลุ่มอาชีพที่อ่อนไหวต่อสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน เช่น พนักงานขับรถแท็กซี่ และพนักงานร้านอาหาร ขยับลง 0.1 จุดจากเดือนพ.ค. มาอยู่ที่ 44.0 จุด ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย. 2559 และยังปรับตัวลดลงเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน อย่างไรก็ดี ดัชนีดังกล่าวปรับตัวลงไม่มากนัก เพราะยังพอได้รับปัจจัยหนุนจากความต้องการก่อนที่ญี่ปุ่นจะปรับขึ้นภาษีบริโภคในเดือนต.ค.นี้ทั้งนี้ ตัวเลขที่ต่ำกว่า 50 บ่งชี้ว่า ผู้ที่มีมุมมองเป็นลบมีจำนวนมากกว่าผู้ที่มีมุมมองบวกในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา (อินโฟเควสท์) n

สนง.สถิติเยอรมนีเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนพ.ค.ดีดขึ้น 0.3% เทียบรายเดือนสำนักงานสถิติแห่งชาติของเยอรมนี (Destatis) เปิดเผยว่าการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนพ.ค.ของเยอรมนีปรับตัวลง 3.7% เมื่อเทียบรายปี ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะลดลงเพียง 1.1% อย่างไรก็ตาม หากเทียบเป็นรายเดือน การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนพ.ค.ของเยอรมนีปรับตัวขึ้น 0.3% ซึ่งสวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลง 0.4% และช่วยลดความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจเยอรมนีซึ่งใหญ่ที่สุดในยุโรป (อินโฟเควสท์) n

ฝากข่าวประชาสัมพันธ์?

ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit