ปวดเกร็งท้อง ต้องสงสัยอะไรบ้าง?

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          ความแปรปรวนในระบบทางเดินอาหารและความผิดปกติของอวัยวะในช่องท้อง เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดเกร็งท้อง ซึ่งสาเหตุหรือโรคที่พบบ่อย ได้แก่
          - กระเพาะอาหารอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด และพฤติกรรมการกิน เช่น ทานอาหารไม่ตรงเวลา จึงทำให้มีอาการปวดท้อง จุก ที่แถบเหนือสะดือค่อนไปด้านซ้าย รวมถึงมีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ คลื่นไส้อาเจียน และอาหารไม่ย่อย
          - กรดไหลย้อน การที่กรดในกระเพาะอาหาร ไหลย้อนขึ้นมายังหลอดอาหาร จึงทำให้มีอาการปวดเกร็งท้อง จุกแน่นลิ้นปี่ ร่วมกับมีอาการแสบระคายเคืองช่วงอกและลำคอ ท้องอืด อาหารไม่ย่อย คลื่นไส้อาเจียน
          - ลำไส้อักเสบ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส ที่ปนเปื้อนในอาหาร ทำให้มีอาการปวดเกร็งท้องหรือปวดบิดอย่างรุนแรง ร่วมกับอาการท้องร่วง ถ่ายเหลว บางครั้งอาจคลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลีย
          - ไส้ติ่งอักเสบ มักทำให้เกิดอาการปวดเกร็งตรงกลางท้อง หรือด้านล่างขวาใต้สะดือ รวมถึงอาการคลื่นไส้ อาเจียน มีไข้ และหากไม่ได้รับการรักษา อาการปวดท้องจะยิ่งรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ
          - ตับอักเสบ เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อไวรัส การดื่มแอลกอฮอล์ โรคตับอักเสบจะทำให้เกิดอาการปวดเสียดท้องรุนแรงบริเวณด้านขวาบน และอาจปวดร้าวจนถึงหลังหรือใต้สะบัก รวมถึงมีอาการดีซ่าน ตัวเหลือง ตาเหลือง คลื่นไส้ อาหารไม่ย่อย และอ่อนเพลีย
          - นิ่วในถุงน้ำดี หากนิ่วมีขนาดเล็กมักไม่แสดงอาการ แต่หากก้อนนิ่วมีขนาดใหญ่ มักทำให้เกิดอาการปวดท้องด้านขวาบนอย่างรุนแรง ร่วมกับอาการตัวเหลืองตาเหลือง คลื่นไส้ อาเจียน 
          นอกจากนั้นหากปวดในบริเวณท้องน้อย อาจเกิดจากภาวะกระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรือภาวะมดลูก ปีกมดลูกอักเสบในสุภาพสตรีได้ จะเห็นได้ว่าอาการปวดเกร็งท้องเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ ทั้งสาเหตุที่ไม่รุนแรงและที่รุนแรง ที่อาจเป็นอันตรายได้ หากไม่รีบทำการรักษา ดังนั้นเมื่อมีอาการควรมาพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดจะได้รู้ว่าอาการปวดเกร็งท้องที่เราเป็นนั้นเกิดจากสาเหตุหรือโรคอะไรกันแน่ครับ
ปวดเกร็งท้อง ต้องสงสัยอะไรบ้าง?
 

ข่าวระบบทางเดินอาหาร+และพฤติกรรมวันนี้

เทคโนโลยีอัลตราซาวนด์ผ่านกล้องส่องทางเดินอาหาร (EUS) มองลึก ทะลุผนัง เก็บชิ้นเนื้อได้แม่นยำ

การตรวจสุขภาพภายในร่างกายโดยเฉพาะระบบทางเดินอาหารเป็นสิ่งสำคัญ แต่จะดีแค่ไหน? ถ้าเราสามารถมองเห็นความผิดปกติที่ซ่อนอยู่ได้ลึกกว่าที่เคย... Endoscopic Ultrasound (EUS) หรือ การอัลตราซาวนด์ผ่านกล้องส่องทางเดินอาหาร เทคโนโลยีที่ช่วยให้แพทย์ตรวจพบและวินิจฉัยโรคได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น EUS คือการตรวจที่รวมเอาการส่องกล้อง Endoscope เข้ากับเทคโนโลยีอัลตราซาวนด์ โดยแพทย์จะใช้กล้องส่องที่มีลักษณะเป็นท่อขนาดเล็ก ปลายโค้งงอได้ สอดเข้าไปทางปากหรือทวารหนัก เพื่อเข้าไปดูในระบบทางเดินอาหาร เมื่อถึงตำ

การสูญเสียฟันไม่ใช่แค่เรื่องความสวยงาม แต... รอยยิ้มใหม่ เริ่มต้นด้วย.. "รากเทียม" — การสูญเสียฟันไม่ใช่แค่เรื่องความสวยงาม แต่ส่งผลต่อระบบทางเดินอาหารเพราะจะเกิดปัญหาการเคี้ยวอาหาร รว...

โรงพยาบาลเมดพาร์ค เปิดตัวแคมเปญ "Stay Hea... รพ.เมดพาร์ค ชูแคมเปญใหม่ ชวนประชาชน ตรวจคัดกรองมะเร็งระบบทางอาหาร — โรงพยาบาลเมดพาร์ค เปิดตัวแคมเปญ "Stay Healthy, Stay Safe from Cancer" ชวนประชาชนตรวจคั...

เนื่องในโอกาสวันสตรีสากล คณะแพทยศาสตร์มหา... เคล็ดลับความสำเร็จจากศิษย์เก่าของ มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ ในวันสตรีสากลสำหรับแพทย์หญิงรุ่นใหม่ — เนื่องในโอกาสวันสตรีสากล คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ...

พญ.นฤภร ต่อศิริสุข กุมารแพทย์เฉพาะทางโรคต... โรต้าไวรัสโรคฮิต.. ที่พบบ่อยในเด็กเล็ก — พญ.นฤภร ต่อศิริสุข กุมารแพทย์เฉพาะทางโรคต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม คลินิกเด็ก ศูนย์แม่และเด็ก โรงพยาบาลหัวเฉียว...

หน้าหนาวแบบนี้ มีโรคใหม่กำลังระบาดอีกแล้ว... รู้ทันสัญญาณอันตราย "โนโรไวรัส (Norovirus)" — หน้าหนาวแบบนี้ มีโรคใหม่กำลังระบาดอีกแล้ว!! นั่นก็คือ "โนโรไวรัส" มักเกิดขึ้นในเด็ก ซึ่งตอนนี้มีเด็ก ๆ ติด...

ระวัง! "โนโรไวรัส" ระบาดหนักหน้าหนาว! ใคร... ระวัง! "โนโรไวรัส" ระบาดหนักหน้าหนาว! ใครบ้างที่เสี่ยง? — ระวัง! "โนโรไวรัส" ระบาดหนักหน้าหนาว! ใครบ้างที่เสี่ยง? จากข่าว "โนโรไวรัส" ที่กำลังระบาดในหลายพ...