นายชาตรี วัฒนเขจร ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม กทม. ชี้แจงกรณีสื่อมวลชนเสนอข้อสังเกต สาเหตุที่ประเทศไทยยังคัดแยกขยะไม่สำเร็จ ส่วนหนึ่งมาจากพนักงานเก็บขยะนำขยะจากถังขยะแยกประเภทและขยะที่ประชาชนคัดแยกแล้ว ไปเทรวมกันในรถเก็บขยะ อีกทั้งประชาชนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการคัดแยกขยะว่า กทม. มีระบบบริหารจัดการขยะและแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บขยะให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ ไม่ให้มีขยะตกค้าง และนำไปกำจัดอย่างถูกสุขลักษณะให้หมดวันต่อวัน ตามประกาศของกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดการมูลฝอย พ.ศ.2560 โดยส่งเสริมให้ทุกภาคส่วน ลดและคัดแยกขยะที่แหล่งกำเนิด ทั้งการคัดแยกขยะอันตรายออกจากขยะทั่วไป การคัดแยกขยะรีไซเคิลนำกลับมาใช้ใหม่ การสร้างวินัยและจิตสำนึกการคัดแยกขยะในโรงเรียน รวมถึงจัดระบบถังรองรับมูลฝอยแยกประเภท ได้แก่ มูลฝอยทั่วไป มูลฝอยรีไซเคิล มูลฝอยอินทรีย์ และมูลฝอยอันตราย ตั้งวางในชุมชนและที่สาธารณะต่าง ๆ ในส่วนของขยะที่จัดเก็บได้แต่ละวันกว่า 10,700 ตัน ได้นำไปกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ดังนี้ การฝังกลบอย่างถูกสุขลักษณะ ร้อยละ 80 การหมักทำปุ๋ย ร้อยละ 15 และเตาเผาขยะผลิตไฟฟ้า ร้อยละ 5
ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม กล่าวอีกว่า สำหรับกรณีประชาชนแยกขยะแล้ว แต่เจ้าหน้าที่นำมาเทรวมกันในรถ กทม. จะเร่งสร้างความเข้าใจให้ประชาชนรับทราบการจัดระบบรองรับการเก็บขยะแยกประเภท ด้วยการติดสติ๊กเกอร์แยกประเภทขยะไว้ที่รถเก็บขนมูลฝอยบริเวณช่องตะแกรงระหว่างหัวเก๋งกับตัวถัง โดยทำเป็นช่องใส่ขยะแยกประเภท ประกอบด้วย ช่องสำหรับใส่มูลฝอยรีไซเคิลและมูลฝอยอันตราย พร้อมทั้งรณรงค์ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่าง ๆ ให้ประชาชนรับทราบถึงการแยกประเภทมูลฝอยในรถเก็บขนมูลฝอยของ กทม. เพื่อสร้างความมั่นใจว่า เมื่อประชาชนแยกขยะก่อนทิ้ง กทม. จะมีระบบการแยกเก็บขยะรองรับตามประเภทที่กฎหมายกำหนด นอกจากนี้ จะดำเนินการปรับปรุงรถเก็บขนมูลฝอย โดยพ่นสีที่ตัวตะแกรงให้มีสีเดียวกับสัญลักษณ์มูลฝอยรีไซเคิลและมูลฝอยอันตราย ด้านละสี คือ สีเหลือง มูลฝอยรีไซเคิล และสีส้ม มูลฝอยอันตราย ให้เห็นอย่างชัดเจน เพื่อให้ประชาชนได้ทราบแนวทางการเก็บมูลฝอยแยกประเภทของรถเก็บขนมูลฝอย ซึ่งคาดว่ารถดังกล่าวจะให้บริการประชาชนได้ประมาณปลายปี 2562 นี้
นายประพาส เหลืองศิรินภา ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม (สสล.) กทม. กล่าวถึงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการขยะในพื้นที่กรุงเทพฯ ว่า กทม. ได้กำหนดยุทธศาสตร์การจัดการขยะไว้ในแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร 20 ปี โดยมุ่งเน้นพัฒนาระบบบริหารจัดการขยะและของเสียอันตรายด้วยแนวคิดขยะเหลือศูนย์ (Zero Waste Management) และการนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) เพื่อให้ขยะที่จะเข้าสู่ระบบกำจัดเหลือน้อยที่สุด และกำจัดส่วนที่เหลือด้วยเทคโนโลยีที่มีประสิทธิผล โดยในปี 2575 มีเป้าหมายลดปริมาณขยะที่ต้องกำจัดร้อยละ 20
กทม. พร้อมรับมือฝุ่นสูงออกหน่วยบริการสาธารณสุขเคลื่อนที่ฯ - ตรวจแหล่งกำเนิดฝุ่นต่อเนื่อง
—
นายประพาส เหลืองศิรินภา ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม (สสล.) กทม....