สจล. ชี้ 3 ทักษะวิศวกรการเงิน อาชีพแห่งอนาคต (อันใกล้) รับประเทศไทยสู่ศูนย์กลางตลาดทุนภูมิภาค

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          สถานการณ์ของสถาบันทางการเงินช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมา เกิดปรากฎการณ์สถาบันทางการเงินขนาดใหญ่ทยอยปิดสาขาและปรับลดพนักงานลงมากกว่า 4.6% (ข้อมูล ณ สิ้นปี 2561 โดยธนาคารกลางแห่งประเทศไทย) จากกระแสความผันผวนของตลาดทุนทั่วโลกในปัจจุบัน และเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันทางด้านเทคโนโลยี หรือ เทคโนโลยีดิสรัปชั่น (Technology Disruption) ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงกับสถาบันการเงินและนักลงทุน ที่จำเป็นต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับแพลตฟอร์มรูปแบบใหม่ของบริการทางการเงิน ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยมีความจำเป็นในการผลิตบุคลากรในสายงานวิศวกรรมทางการเงิน เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมทางการเงินในการขับเคลื่อนตลาดทุนและอุตสาหกรรมการเงินของประเทศ 
          ดร.นัทธพงศ์ จึงธีรพานิช ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า ในปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีทางการเงิน หรือ ฟินเทค (FinTech : Financial Technology) มาใช้พัฒนาบริการทางการเงินอย่างแพร่หลาย เช่น โมบายแบงค์กิ้ง (Mobile Banking) ระบบชำระเงินออนไลน์ การซื้อ – ขายกองทุนและการเทรดหุ้นผ่านระบบออนไลน์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เป็นต้น แต่ทั้งหมดที่กล่าวข้างต้น เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันของอุตสาหกรรมการเงินในอนาคต การผลิตผู้เชี่ยวชาญที่มีความสามารถในด้านวิศวกรรมทางการเงินจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาตลาดทุนประเทศ ซึ่งวิศวกรการเงินต้องสามารถผสมผสานความรู้ความเข้าใจในหลากหลายศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ คณิตศาสตร์ และวิทยาการคอมพิวเตอร์ พร้อมทั้งความรู้ทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง พร้อมเสนอ 3 ทักษะความรู้ของวิศวกรการเงิน สำหรับการพัฒนาตลาดทุนไทย ดังนี้
          ทักษะการเรียนรู้เทคโนโลยีทางการเงินที่ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา 
          ในปัจจุบันผู้คนส่วนใหญ่อาจมองว่าเทคโนโลยีทางการเงินคือออนไลน์แบงค์กิ้ง (Online Banking) และระบบชำระเงินออนไลน์ แต่นั่นเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ของอุตสาหกรรมการเงินทั่วโลก เทคโนโลยีทางการเงินจะลดบทบาทของตัวกลางและผู้ให้บริการทางการเงินที่สำคัญในอดีต เช่น โบรกเกอร์ บริษัทหลักทรัพย์ หรือแม้แต่ธนาคาร และนำไปสู่ผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินรูปแบบใหม่ เช่น โรโบแอดไวเซอร์ (Robo Advisor) สกุลเงินดิจิทัล (Cryptocurrency) เทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) เป็นต้น เทคโนโลยีเหล่านี้จะสร้างระบบธุรกรรมทางการเงินแบบไร้ขอบเขตและไม่จำกัดเฉพาะรูปแบบธุรกรรมที่กระทำผ่านสถาบันทางการเงินเท่านั้น ซึ่งจะผลักดันให้เกิดฟินเทคสตาร์ทอัพจำนวนมาก ที่นำเอาเทคโนโลยีทางการเงินไปพัฒนาเป็นบริการทางการเงิน ที่เข้าถึงมือผู้ใช้ทั่วโลกได้โดยตรง เป็นผลให้สถาบันหรือหน่วยงานที่ไม่สามารถปรับตัวได้ทันอาจต้องปิดตัวลง
ทักษะการนำข้อมูลทางการเงินที่มีมหาศาลมาใช้ประโยชน์ 
          จากการที่ธุรกรรมทางการเงินจำนวนมากเกิดขึ้นในโลกออนไลน์ และในอนาคตธุรกรรมออนไลน์จะมีมากขึ้นทวีคูณ เป็นผลให้เกิดการสั่งสมของข้อมูลทางการเงินปริมาณมหาศาล นอกจากข้อมูลทางการเงินโดยตรงแล้วข้อมูลอื่นๆ ในโลกออนไลน์ เช่น ข่าวสารต่างๆ และข้อมูลในโซเชียลมีเดีย (Social Media) มักจะมีความเกี่ยวข้องและความสำคัญในเชิงการเงิน หากหน่วยงานที่มีข้อมูลเหล่านี้สามารถจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะช่วยสร้างประโยชน์และความได้เปรียบในการแข่งขันได้เป็นอย่างมาก วิศวกรการเงินจึงควรมีทักษะทางคอมพิวเตอร์และความรู้ทางคณิตศาสตร์และสถิติที่จำเป็นต่อการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประยุกต์ใช้เทคนิคทางปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) เพื่อเขียนโปรแกรมที่สามารถเรียนรู้ความสัมพันธ์ของข้อมูล และสามารถทำนายข้อมูลในอนาคตได้อย่างแม่นยำ
ทักษะการบูรณาการเทคโนโลยีควบคู่การตัดสินใจ 
          โลกการเงินในอนาคตอันใกล้ จะกลายเป็นโลกที่ไร้พรมแดนและปราศจากข้อจำกัดด้วยนวัตกรรมทางการเงินรูปแบบที่หลากหลาย ที่ทำให้คนทั่วไปในทุกชนชั้นทางเศรษฐกิจเข้าถึงความมั่งคั่ง การมีข้อมูลที่หลากหลายเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ ในโลกตลาดทุนต้องการการตัดสินใจอย่างเด็ดขาดบนพื้นฐานการบูรณาการข้อมูล (High Understanding High Return) ซึ่งแพลตฟอร์มที่จะช่วยให้การตัดสินใจง่ายและเด็ดขาดขึ้นมาจากการสร้างสรรค์นวัตกรรมการวิเคราะห์ทางการเงินในรูปแบบใหม่ เช่น การเรียนรู้และวิเคราะห์ข้อมูลผ่านระบบเอไอ (AI Learning) การใช้ระบบปฏิบัติการเครือข่ายการลงทุนในโลกดิจิทัลสำหรับธุรกิจ (Cisco Digital Network Architecture System) เป็นต้น โดยวิศวกรทางการเงินจะเป็นคนสำคัญที่อยู่เบื้องหลังการพัฒนาระบบฐานข้อมูลเหล่านี้และเป็นนักปฏิวัติทางการเงิน (Financial Disruptor) เพื่อรับการเปลี่ยนแปลง
          ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในอนาคตอันใกล้ เทคโนโลยีทางการเงินจะเข้ามามีบทบาทในชีวิตของเราในทุกๆ กิจกรรม ไม่ว่าจะเป็น การใช้จ่าย การลงทุน การซื้อขายในตลาดทุน ฯลฯ การเตรียมความพร้อมในการผลิตวิศวกรทางการเงินมืออาชีพเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อผลักดันประเทศไทยเข้าสู่การเป็นตลาดทุนใหม่ในภูมิภาค ผ่านการผสานความรู้ด้านเทคโนโลยีกับการเงินสร้างผลิตภัณฑ์ทางการเงินรูปแบบใหม่ที่น่าสนใจ และดึงดูดนักลงทุนเข้าสู่ตลาดทุนไทยได้ ดังนั้น การพัฒนาหลักสูตรด้านวิศวกรรมการเงินจึงเป็นเรื่องสำคัญและเป็นการสร้างโอกาสให้ตลาดทุนไทยก้าวเป็นดิสรัปเตอร์ (Disrupter) หรือนักปฏิวัติทางการเงิน สร้างมูลค่าให้แก่ระบบเศรษฐกิจไทยในยุคเทคโนโลยี 
          ด้าน ศาสตราจารย์ ดร. สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หรือ สจล. กล่าวว่า คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) และคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ล่าสุดได้ร่วมกันเปิดหลักสูตร "วิศวกรรมการเงิน (Financial Engineering)" ซึ่งเป็นหลักสูตรสองปริญญา (ตรีควบโท) นานาชาติ นักศึกษาในหลักสูตรจะได้เรียนและทำวิจัยกับทีมคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจากทั้งสองสถาบัน โดยใช้สถานที่เรียนทั้งที่สจล.และนิด้า ตั้งแต่ปีแรกจนจนตามแผนการศึกษาของหลักสูตร เมื่อเรียนจบปีที่ 4 นักศึกษาจะได้รับปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมการเงิน) จากสจล. และเมื่อเรียนจบปีที่ 5 จะได้รับปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิศวกรรมการเงิน) จากนิด้า เมื่อสำเร็จการศึกษามีสายงานรองรับมากมาย เช่น วิศวกรการเงินในสถาบันการเงินทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่ปรึกษาด้านการเงิน และผู้ประกอบการฟินเทค (Fintech Entrepreneurs) เป็นต้น
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. (School of International Engineering) หมายเลขโทรศัพท์ 02 – 329 – 8397, 02 – 329 – 8260 เว็บไซต์ http://nida.kmitl.ac.th หรือ https://www.facebook.com/kmitl.nida
สจล. ชี้ 3 ทักษะวิศวกรการเงิน อาชีพแห่งอนาคต (อันใกล้) รับประเทศไทยสู่ศูนย์กลางตลาดทุนภูมิภาค
สจล. ชี้ 3 ทักษะวิศวกรการเงิน อาชีพแห่งอนาคต (อันใกล้) รับประเทศไทยสู่ศูนย์กลางตลาดทุนภูมิภาค
 
สจล. ชี้ 3 ทักษะวิศวกรการเงิน อาชีพแห่งอนาคต (อันใกล้) รับประเทศไทยสู่ศูนย์กลางตลาดทุนภูมิภาค
สจล. ชี้ 3 ทักษะวิศวกรการเงิน อาชีพแห่งอนาคต (อันใกล้) รับประเทศไทยสู่ศูนย์กลางตลาดทุนภูมิภาค
 
 
 

ข่าวสถาบันทางการเงินช่วง+สถาบันทางการเงินวันนี้

เอพี ไทยแลนด์ จัดแคมเปญส่งท้ายปี "โปรใจใจ" เอพีลดฉ่ำทั้งเมือง ผนึก 4 แบงค์ใหญ่ มอบดอกเบี้ยพิเศษ โปรผ่อนต่ำ กับ 155 โครงการ ที่…ที่ดีที่สุด จากเอพี

บมจ. เอพี ไทยแลนด์ นำโดยนายวิทการ จันทวิมล รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานกลยุทธ์องค์กรและการสร้างสรรค์ ตอกย้ำผู้นำตัวจริงบริษัทอสังหาฯ อันดับหนึ่ง เปิดเผยว่า เอพี ไทยแลนด์ ผนึกกำลังครั้งยิ่งใหญ่กับ 4 พันธมิตรสถาบันทางการเงินชั้นนำ ได้แก่ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ธนาคารกรุงไทย (KTB) ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ (LH Bank) และธนาคารกรุงเทพ (BBL) ร่วมสร้างปรากฏการณ์ครั้งยิ่งใหญ่ กระตุ้นดีมานด์ลูกค้าอสังหาฯ ให้คึกคักมากยิ่งขึ้นในช่วงส่งท้ายปี เพื่อมอบสิ่งที่ดีที่สุด ช่วยให้คนไทยได้เป็นเจ้าของ "บ้านคุณภาพจาก

บมจ.หลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) คว้า... เมย์แบงก์ คว้ารางวัล Best Retail Broker in Thailand ระดับอาเซียน ปีที่ 13 — บมจ.หลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) คว้ารางวัลยอดเยี่ยมระดับอาเซียน Best Reta...

พิธีเปิดตัวบริษัท เซี่ยงไฮ้ อิเล็กทริก นิ... เซี่ยงไฮ้ อิเล็กทริก เปิดบริษัทใหม่ หวังเร่งขยายธุรกิจคาร์บอนต่ำและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม — พิธีเปิดตัวบริษัท เซี่ยงไฮ้ อิเล็กทริก นิว เอเนอร์จี ดีเวลอปเม...

APM ยื่นไฟลิ่ง RT ต่อ ก.ล.ต. เตรียมเปิดขา... APM ยื่นไฟลิ่ง RT ออกหุ้นกู้ฯ มูลค่า 1,000 ล้านบาท สนับสนุนการเติบโต — APM ยื่นไฟลิ่ง RT ต่อ ก.ล.ต. เตรียมเปิดขายหุ้นกู้ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน และ...

สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานหนองคาย (สนพ.หนอง... แรงงานสตรีหนองคาย เข้าเพิ่มทักษะการชงกาแฟ เพื่อประกอบอาชีพ — สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานหนองคาย (สนพ.หนองคาย) ดำเนินการจัดฝึกอบรมตามโครงการพัฒนาฝีมือแรงงานสต...